เราต้องมีความซื่อสัตย์และยอมรับความผิดพลาดของตัวเองให้มากขึ้น นี่เป็นคำพูดของหนึ่งในนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ชั้นนำของยุคนี้อย่าง ซอล เพิร์ลมัตเตอร์
เพิร์ลมัตเตอร์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 2011 และเขายังได้เปลี่ยนมุมมองที่เรามีต่อโลก หลังจากที่งานวิจัยของเขาค้นพบว่า จักรวาลกำลังขยายตัวด้วยอัตราเร่ง
เขากล่าวว่า การค้นพบของเขาจะไม่เกิดขึ้น หากเขาไม่ทำผิดพลาดในงานวิจัยชิ้นก่อนหน้า นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เพิร์ลมัตเตอร์สนับสนุนให้ทุกคนไม่กลัวความล้มเหลว
สมัยที่ยังเป็นนักวิจัยหลังปริญญาเอกวัยหนุ่ม เพิร์ลมัตเตอร์และทีมงานของนักวิทยาศาสตร์อาวุโสคิดว่า พวกเขาใกล้จะค้นพบสิ่งยิ่งใหญ่ที่ยังไม่มีใครค้นพบมาก่อน
พวกเขาตรวจพบสัญญาณที่ดูเหมือนจะตรงกับสัญญาณที่ดาวเคราะห์จะส่งออกมา และเชื่อว่าพวกเขาได้พบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะเป็นครั้งแรก
การค้นพบครั้งนั้นเกือบจะเป็นเรื่องใหญ่ต่อของโลกใบนี้ แต่โชคร้ายไปหน่อยที่มันไม่เป็นเช่นนั้น
ปรากฏว่าสัญญาณที่พวกเขาตรวจจับได้ มาจากเครื่องจักรที่อยู่ถัดจากกล้องโทรทรรศน์ที่มีความไวสูงของพวกเขา
"โชคดีที่ผมยังหนุ่ม และอยู่ท่ามกลางนักวิทยาศาสตร์ที่มีประสบการณ์และมีชื่อเสียงมาก" เพิร์ลมัตเตอร์ระลึกถึงความผิดพลาดครั้งนั้น
"ผมคิดว่าเราออกมาอธิบายได้เร็วพอว่าเกิดอะไรขึ้น ทำให้คนไม่ถือโทษโกรธเคืองเรามากเกินไป" เขาเผยในหนังสือใหม่ของเขาชื่อ "Third Millennium Thinking: Creating Sense in a World of Nonsense" ซึ่งเขาร่วมเขียนกับนักปรัชญา จอห์น แคมป์เบล และนักจิตวิทยา โรเบิร์ต แมคเคาน์
แม้การยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเมื่อหลายสิบปีที่แล้วอาจฟังดูขัดกับความรู้สึก แต่เพิร์ลมัตเตอร์ต้องการท้าทายความหมายเชิงลบเกี่ยวกับความล้มเหลว โดยบอกว่ามันช่วยปรับปรุงผลงานของเขาในระยะยาว
"ผู้คนมักรู้สึกอายมากที่จะบอกว่าตัวเองทำผิดพลาด" เพิร์ลมัตเตอร์บอกกับบีบีซี "ผมหวังว่าเราทุกคนจะสามารถหาช่วงเวลาแบบนั้นได้ ผมคิดว่ามันจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก" เขากล่าว โดยชี้ว่าการยอมรับข้อผิดพลาดทำให้เขา "รอบคอบมากขึ้นในภายหลัง"
ในงานวิจัยชิ้นต่อมา ตอนแรกเขาคาดว่าจะค้นพบอัตราการขยายตัวของจักรวาลที่ช้าลง แต่เขากลับค้นพบสิ่งที่ตรงกันข้ามในปี 1998 หลังจากการวิจัยอย่างละเอียดและถี่ถ้วน ผลลัพธ์ชี้ให้เห็นว่ามีพลังงานลึกลับที่เรียกว่า "พลังงานมืด" (dark energy) เป็นตัวขับเคลื่อนการเร่งตัว
เพิร์ลมัตเตอร์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2011 สำหรับการค้นพบนี้ ร่วมกับนักดาราศาสตร์อีกสองคนคือ ไบรอัน ชมิดท์ และ อดัม รีสส์
"สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ทำ ผมคิดว่าคือ การมองหาข้อผิดพลาดของตัวเอง" เพิร์ลมัตเตอร์กล่าวกับองค์กร Nobel Prize Outreach
"พวกเราแค่จะออกไปวัดอะไรสักอย่าง และการวัดนั้นยาก คุณใช้เวลามากมายในการพยายามคิดว่า: 'สิ่งที่ฉันทำวันนี้ถูกต้องหรือไม่ ?'" เขากล่าวเสริม
สำหรับเพิร์ลมัตเตอร์แล้ว มันไม่ใช่แค่การยอมรับข้อผิดพลาดของตัวเองเท่านั้น เขามีภารกิจที่กว้างไกลกว่านั้นในการนำวิทยาศาสตร์และการคิดวิเคราะห์ไปสู่คนทั่วไป
เขาอธิบายว่าเขาเริ่มตั้งคำถามว่า เหตุใดการตัดสินใจที่ง่ายและปฏิบัติได้จริง จึงถูกโต้แย้งในฐานะประเด็นทางอารมณ์หรือความขัดแย้งทางการเมือง มากกว่าการพิจารณาอย่างมีเหตุผล
"มันดูเหมือนเป็นการต่อกันไม่ติด" เพิร์ลมัตเตอร์กล่าว "ผมสังเกตว่า ในบทสนทนาที่โต๊ะอาหารกลางวันระหว่างนักวิทยาศาสตร์ พวกเขาใช้ชุดเครื่องมือทางความคิดที่แตกต่างไปจากคนทั่วไปโดยสิ้นเชิง"
เพิร์ลมัตเตอร์กล่าวว่า เขาต้องการแก้ไขปัญหานี้ และได้ดำเนินการผ่านหนังสือของเขาและหลักสูตรที่เขาพัฒนาขึ้นร่วมกับองค์กร Nobel Prize Outreach ที่มหาวิทยาลัยเบิร์กลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
เพิร์ลมัตเตอร์ต้องการส่งมอบพลังให้คนทั่วไป ผ่านการมอบเครื่องมือที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ
แก้ปัญหาอย่างนักวิทยาศาสตร์
หัวข้อหนึ่งที่เพิร์ลมัตเตอร์พูดถึงคือ การรู้ว่าจะไว้ใจผู้เชี่ยวชาญคนไหน ในโลกที่เต็มไปด้วยข้อมูลมากมาย เราจะเลือกฟังใครดี ?
เขาบอกว่าไม่มีใครที่ไม่เคยผิดพลาด หรือถูกต้องตลอดเวลา แต่ทุกคนสามารถเข้าใกล้สิ่งที่เพิร์ลมัตเตอร์เรียกว่า "การทดสอบความถูกต้อง 100%"ได้ การทดสอบความถูกต้องนี้ ในโลกวิทยาศาสตร์หมายถึงการระบุระดับความมั่นใจ
ตัวอย่างเช่น ถ้าหมอบอกว่าคุณเป็นเนื้องอกในสมอง เพิร์ลมัตเตอร์แนะนำว่า แทนที่จะเชื่อโดยไม่คิด เราควรพิจารณาสถานการณ์เหมือนนักวิทยาศาสตร์ โดยถามหมอว่า พวกเขามั่นใจแค่ไหนเกี่ยวกับการวินิจฉัย อาจจะถามเป็นเปอร์เซ็นต์ด้วย
วิธีนี้อาจฟังดูง่าย แต่ถ้าหมอบอกว่ามั่นใจ 99% เทียบกับ 5% มันอาจส่งผลต่างกันอย่างมากกับสิ่งที่คุณจะทำต่อไป
เพิร์ลมัตเตอร์บอกว่า คนเรามีแนวโน้มที่จะมั่นใจในตัวเองมากเกินไป ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญที่ประเมินความรู้ของตัวเองอย่างสมจริง ดูเหมือนเป็นคนที่ควรเชื่อถือ
การคิดแบบนักวิทยาศาสตร์อาจเป็นประโยชน์ในกรณีของหมอที่เราหยิบยกมาเป็นตัวอย่าง หรือแม้กระทั่งตอนที่นายหน้าแนะนำผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้านที่ดีที่สุด เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ตลาดปัจจุบัน ทว่าเพิร์ลมัตเตอร์แนะนำว่า บทสนทนาประเภทนี้อาจเป็นประโยชน์ในทางการเมืองด้วย
เขาโต้แย้งว่า นโยบายสาธารณะควรมีคำเตือนว่า มันอาจจะไม่สมบูรณ์แบบตั้งแต่แรก
"ถ้าคุณคิดแผนสำหรับระบบดูแลสุขภาพ มันอาจจะมีปัญหา คุณจำเป็นต้องสร้างกลไกการติดตาม ทดลองดำเนินการ ดูว่าอะไรผิดพลาด อะไรถูกต้อง แล้วลองปรับปรุงใหม่"
"เราอยากเห็นโลกที่การโต้เถียงทางการเมืองทั้งหมดใช้ภาษาแบบนี้ เพราะมันแสดงให้เห็นว่ามีพื้นที่สำหรับการเรียนรู้และปรับตัว แต่แน่นอนว่า มันไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้คนทั่วไปพูดว่า 'อ๋อ นี่แหละคือคนที่ฉันจะลงคะแนนเลือก' อย่างน้อยก็ยังไม่ใช่ตอนนี้" เพิร์ลมัตเตอร์และผู้เขียนร่วมยอมรับในหนังสือ
เขาทิ้งท้ายว่า ถ้าเราในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสังคม การปฏิบัติต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น เราจะยอมรับความผิดพลาดของผู้อื่นได้ดีขึ้น เขาเชื่อว่าจริง ๆ แล้วไม่มีอะไรที่เป็นความผิดพลาด แต่มันเป็นโอกาสในการเรียนรู้ หรืออย่างที่เขาพูดว่า "มันไม่ใช่ความล้มเหลว แต่มันคือกระบวนการ"
https://www.bbc.com/thai/articles/c8880ng9d24o
ทำไมพบความล้มเหลวบ้างก็เป็นเรื่องดี
เพิร์ลมัตเตอร์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 2011 และเขายังได้เปลี่ยนมุมมองที่เรามีต่อโลก หลังจากที่งานวิจัยของเขาค้นพบว่า จักรวาลกำลังขยายตัวด้วยอัตราเร่ง
เขากล่าวว่า การค้นพบของเขาจะไม่เกิดขึ้น หากเขาไม่ทำผิดพลาดในงานวิจัยชิ้นก่อนหน้า นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เพิร์ลมัตเตอร์สนับสนุนให้ทุกคนไม่กลัวความล้มเหลว
สมัยที่ยังเป็นนักวิจัยหลังปริญญาเอกวัยหนุ่ม เพิร์ลมัตเตอร์และทีมงานของนักวิทยาศาสตร์อาวุโสคิดว่า พวกเขาใกล้จะค้นพบสิ่งยิ่งใหญ่ที่ยังไม่มีใครค้นพบมาก่อน
พวกเขาตรวจพบสัญญาณที่ดูเหมือนจะตรงกับสัญญาณที่ดาวเคราะห์จะส่งออกมา และเชื่อว่าพวกเขาได้พบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะเป็นครั้งแรก
การค้นพบครั้งนั้นเกือบจะเป็นเรื่องใหญ่ต่อของโลกใบนี้ แต่โชคร้ายไปหน่อยที่มันไม่เป็นเช่นนั้น
ปรากฏว่าสัญญาณที่พวกเขาตรวจจับได้ มาจากเครื่องจักรที่อยู่ถัดจากกล้องโทรทรรศน์ที่มีความไวสูงของพวกเขา
"โชคดีที่ผมยังหนุ่ม และอยู่ท่ามกลางนักวิทยาศาสตร์ที่มีประสบการณ์และมีชื่อเสียงมาก" เพิร์ลมัตเตอร์ระลึกถึงความผิดพลาดครั้งนั้น
"ผมคิดว่าเราออกมาอธิบายได้เร็วพอว่าเกิดอะไรขึ้น ทำให้คนไม่ถือโทษโกรธเคืองเรามากเกินไป" เขาเผยในหนังสือใหม่ของเขาชื่อ "Third Millennium Thinking: Creating Sense in a World of Nonsense" ซึ่งเขาร่วมเขียนกับนักปรัชญา จอห์น แคมป์เบล และนักจิตวิทยา โรเบิร์ต แมคเคาน์
แม้การยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเมื่อหลายสิบปีที่แล้วอาจฟังดูขัดกับความรู้สึก แต่เพิร์ลมัตเตอร์ต้องการท้าทายความหมายเชิงลบเกี่ยวกับความล้มเหลว โดยบอกว่ามันช่วยปรับปรุงผลงานของเขาในระยะยาว
"ผู้คนมักรู้สึกอายมากที่จะบอกว่าตัวเองทำผิดพลาด" เพิร์ลมัตเตอร์บอกกับบีบีซี "ผมหวังว่าเราทุกคนจะสามารถหาช่วงเวลาแบบนั้นได้ ผมคิดว่ามันจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก" เขากล่าว โดยชี้ว่าการยอมรับข้อผิดพลาดทำให้เขา "รอบคอบมากขึ้นในภายหลัง"
ในงานวิจัยชิ้นต่อมา ตอนแรกเขาคาดว่าจะค้นพบอัตราการขยายตัวของจักรวาลที่ช้าลง แต่เขากลับค้นพบสิ่งที่ตรงกันข้ามในปี 1998 หลังจากการวิจัยอย่างละเอียดและถี่ถ้วน ผลลัพธ์ชี้ให้เห็นว่ามีพลังงานลึกลับที่เรียกว่า "พลังงานมืด" (dark energy) เป็นตัวขับเคลื่อนการเร่งตัว
เพิร์ลมัตเตอร์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2011 สำหรับการค้นพบนี้ ร่วมกับนักดาราศาสตร์อีกสองคนคือ ไบรอัน ชมิดท์ และ อดัม รีสส์
"สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ทำ ผมคิดว่าคือ การมองหาข้อผิดพลาดของตัวเอง" เพิร์ลมัตเตอร์กล่าวกับองค์กร Nobel Prize Outreach
"พวกเราแค่จะออกไปวัดอะไรสักอย่าง และการวัดนั้นยาก คุณใช้เวลามากมายในการพยายามคิดว่า: 'สิ่งที่ฉันทำวันนี้ถูกต้องหรือไม่ ?'" เขากล่าวเสริม
สำหรับเพิร์ลมัตเตอร์แล้ว มันไม่ใช่แค่การยอมรับข้อผิดพลาดของตัวเองเท่านั้น เขามีภารกิจที่กว้างไกลกว่านั้นในการนำวิทยาศาสตร์และการคิดวิเคราะห์ไปสู่คนทั่วไป
เขาอธิบายว่าเขาเริ่มตั้งคำถามว่า เหตุใดการตัดสินใจที่ง่ายและปฏิบัติได้จริง จึงถูกโต้แย้งในฐานะประเด็นทางอารมณ์หรือความขัดแย้งทางการเมือง มากกว่าการพิจารณาอย่างมีเหตุผล
"มันดูเหมือนเป็นการต่อกันไม่ติด" เพิร์ลมัตเตอร์กล่าว "ผมสังเกตว่า ในบทสนทนาที่โต๊ะอาหารกลางวันระหว่างนักวิทยาศาสตร์ พวกเขาใช้ชุดเครื่องมือทางความคิดที่แตกต่างไปจากคนทั่วไปโดยสิ้นเชิง"
เพิร์ลมัตเตอร์กล่าวว่า เขาต้องการแก้ไขปัญหานี้ และได้ดำเนินการผ่านหนังสือของเขาและหลักสูตรที่เขาพัฒนาขึ้นร่วมกับองค์กร Nobel Prize Outreach ที่มหาวิทยาลัยเบิร์กลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
เพิร์ลมัตเตอร์ต้องการส่งมอบพลังให้คนทั่วไป ผ่านการมอบเครื่องมือที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ
แก้ปัญหาอย่างนักวิทยาศาสตร์
หัวข้อหนึ่งที่เพิร์ลมัตเตอร์พูดถึงคือ การรู้ว่าจะไว้ใจผู้เชี่ยวชาญคนไหน ในโลกที่เต็มไปด้วยข้อมูลมากมาย เราจะเลือกฟังใครดี ?
เขาบอกว่าไม่มีใครที่ไม่เคยผิดพลาด หรือถูกต้องตลอดเวลา แต่ทุกคนสามารถเข้าใกล้สิ่งที่เพิร์ลมัตเตอร์เรียกว่า "การทดสอบความถูกต้อง 100%"ได้ การทดสอบความถูกต้องนี้ ในโลกวิทยาศาสตร์หมายถึงการระบุระดับความมั่นใจ
ตัวอย่างเช่น ถ้าหมอบอกว่าคุณเป็นเนื้องอกในสมอง เพิร์ลมัตเตอร์แนะนำว่า แทนที่จะเชื่อโดยไม่คิด เราควรพิจารณาสถานการณ์เหมือนนักวิทยาศาสตร์ โดยถามหมอว่า พวกเขามั่นใจแค่ไหนเกี่ยวกับการวินิจฉัย อาจจะถามเป็นเปอร์เซ็นต์ด้วย
วิธีนี้อาจฟังดูง่าย แต่ถ้าหมอบอกว่ามั่นใจ 99% เทียบกับ 5% มันอาจส่งผลต่างกันอย่างมากกับสิ่งที่คุณจะทำต่อไป
เพิร์ลมัตเตอร์บอกว่า คนเรามีแนวโน้มที่จะมั่นใจในตัวเองมากเกินไป ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญที่ประเมินความรู้ของตัวเองอย่างสมจริง ดูเหมือนเป็นคนที่ควรเชื่อถือ
การคิดแบบนักวิทยาศาสตร์อาจเป็นประโยชน์ในกรณีของหมอที่เราหยิบยกมาเป็นตัวอย่าง หรือแม้กระทั่งตอนที่นายหน้าแนะนำผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้านที่ดีที่สุด เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ตลาดปัจจุบัน ทว่าเพิร์ลมัตเตอร์แนะนำว่า บทสนทนาประเภทนี้อาจเป็นประโยชน์ในทางการเมืองด้วย
เขาโต้แย้งว่า นโยบายสาธารณะควรมีคำเตือนว่า มันอาจจะไม่สมบูรณ์แบบตั้งแต่แรก
"ถ้าคุณคิดแผนสำหรับระบบดูแลสุขภาพ มันอาจจะมีปัญหา คุณจำเป็นต้องสร้างกลไกการติดตาม ทดลองดำเนินการ ดูว่าอะไรผิดพลาด อะไรถูกต้อง แล้วลองปรับปรุงใหม่"
"เราอยากเห็นโลกที่การโต้เถียงทางการเมืองทั้งหมดใช้ภาษาแบบนี้ เพราะมันแสดงให้เห็นว่ามีพื้นที่สำหรับการเรียนรู้และปรับตัว แต่แน่นอนว่า มันไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้คนทั่วไปพูดว่า 'อ๋อ นี่แหละคือคนที่ฉันจะลงคะแนนเลือก' อย่างน้อยก็ยังไม่ใช่ตอนนี้" เพิร์ลมัตเตอร์และผู้เขียนร่วมยอมรับในหนังสือ
เขาทิ้งท้ายว่า ถ้าเราในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสังคม การปฏิบัติต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น เราจะยอมรับความผิดพลาดของผู้อื่นได้ดีขึ้น เขาเชื่อว่าจริง ๆ แล้วไม่มีอะไรที่เป็นความผิดพลาด แต่มันเป็นโอกาสในการเรียนรู้ หรืออย่างที่เขาพูดว่า "มันไม่ใช่ความล้มเหลว แต่มันคือกระบวนการ"
https://www.bbc.com/thai/articles/c8880ng9d24o