นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ สภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย (สยยท.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า วันนี้ (วันที่ 17 ต.ค.60) เกษตรกรขายยางก้อนถ้วยราคา 17 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ตลาดกลางยางพารา จังหวัดสงขลา ยางแผ่นดิบ 45.55 บาท โดยที่ราคากลาง การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กำหนดราคาไว้ที่ 46.77 บาทต่อกิโลกรัม ต่ำกว่าราคากลาง 1.22 บาทต่อกิโลกรัม ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) ที่ 63.65 บาทต่อกิโลกรัม
"สวนทางกับ กยท.ปรับเพิ่มเงินเซสส์ อัตราคงที่ 2 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อนำไปใช้เป็นเงินเดือน เบี้ยเลี้ยง ค่ารักษาพยาบาลเอกชน ไม่ได้คำนึงถึงเกษตรกรเลย ทาง สยยท. จึงขอให้ พล.อ.ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข ประธานกรรมการ กยท.และ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ลงมาช่วยแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรอย่างเร่งด่วน"
นายอุทัย กล่าวอีกว่า การลงทุนของ 5 บริษัทใหญ่กับ กยท. ยังไม่เห็นแผนงานชัดเจน ควรซื้อทั้ง 6 ตลาดพร้อมกัน จะช่วยชี้นำราคายางได้ ไม่ใช่ไปซื้อยางตลาดเล็กๆ และมีกระแสข่าวว่าซื้อยางมารอขายขาดทุนร่วมหมื่นตันไม่มีโกดังเก็บ ทำให้ยางราคาขึ้นเหนียว รอขายเป็นขี้ยาง ท้ายสุดจะเข้าทางพ่อค้ามาช้อนซื้อยางราคาถูกในภายหลัง
แหล่งข่าวจากพ่อค้ายาง เผยว่า จริงๆ แล้วความต้องการยางไม่ได้ลดน้อย แต่พ่อค้าจีนหันไปซื้อยางประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ กัมพูชา เมียนมา และลาว แทนเพราะราคาถูกกว่า และไม่ต้องเสียเงินเซสส์ อย่างเมืองไทยด้วย
http://www.thansettakij.com/content/220756?utm_content=bufferc30df&utm_medium=social&utm_source=twitter.com&utm_campaign=buffer
ราคายางดิ่ง 5 โล 100 ชาวสวนกระอัก
"สวนทางกับ กยท.ปรับเพิ่มเงินเซสส์ อัตราคงที่ 2 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อนำไปใช้เป็นเงินเดือน เบี้ยเลี้ยง ค่ารักษาพยาบาลเอกชน ไม่ได้คำนึงถึงเกษตรกรเลย ทาง สยยท. จึงขอให้ พล.อ.ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข ประธานกรรมการ กยท.และ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ลงมาช่วยแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรอย่างเร่งด่วน"
นายอุทัย กล่าวอีกว่า การลงทุนของ 5 บริษัทใหญ่กับ กยท. ยังไม่เห็นแผนงานชัดเจน ควรซื้อทั้ง 6 ตลาดพร้อมกัน จะช่วยชี้นำราคายางได้ ไม่ใช่ไปซื้อยางตลาดเล็กๆ และมีกระแสข่าวว่าซื้อยางมารอขายขาดทุนร่วมหมื่นตันไม่มีโกดังเก็บ ทำให้ยางราคาขึ้นเหนียว รอขายเป็นขี้ยาง ท้ายสุดจะเข้าทางพ่อค้ามาช้อนซื้อยางราคาถูกในภายหลัง
แหล่งข่าวจากพ่อค้ายาง เผยว่า จริงๆ แล้วความต้องการยางไม่ได้ลดน้อย แต่พ่อค้าจีนหันไปซื้อยางประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ กัมพูชา เมียนมา และลาว แทนเพราะราคาถูกกว่า และไม่ต้องเสียเงินเซสส์ อย่างเมืองไทยด้วย
http://www.thansettakij.com/content/220756?utm_content=bufferc30df&utm_medium=social&utm_source=twitter.com&utm_campaign=buffer