ในช่วงที่มีลมจัด หรือ มรสุมเข้ามาเยือน ชาวประมงก็จะหยุดออกเรือจับปูปลา เพราะลมและคลื่นจัด
ทำให้รายได้ขาดหายไป ทุกอย่างจึงต้องประหยัด มีผักมีปลาอะไร ก็ต้องเอามาทำกิน
จากที่กินปลาตัวใหญ่ๆ ก็ปรับเปลื่ยนมากินปลาตัวเล็กบ้าง ปลาเค็มบ้าง ในช่วงยามนี้
น้ำช่วงนี้เป็นน้ำแรม9ค่ำ เราเรียกว่าน้ำตาย เพราะน้ำจะไม่ไหลเขี่ยว แค่เพียงเอื่อยๆ
การขึ้นลงดูจากระดับน้ำ เปลื่ยนแปลงไม่มาก ต่างกับช่วงน้ำเกิด ขึ้นลงแต่ละวัน สูงถึง1 เมตร
เครื่องมือ ที่หากินใกล้ฝั่ง ในการจับปลากระบอก นอกจากแห กัด(อวนติด) แล้ว ก็มี บาม (ยอ) นี่แหละ
ที่นิยมใช้จับปลากระบอก เพราะปลาชนิดนี้ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง และมีความรวดเร็ว
จัดว่าเป็นปลาขี้ระแวงชนิดนึง เพราะในยามที่อยู่ในน้ำ ยากที่จะเห็นตัวได้ง่ายๆ ต้องอาศัยที่สูง
มองลงพื้นน้ำใสๆของทะเล จะเห็นหลังปลาสีดำๆแหวกว่าย เมื่อเข้าในพื้นที่ รัศมีของ บาม
ชาวประมงก็ต้องรีบ หมุนเชือกที่มีลักษณะคล้ายกว้าน ด้วยความรวดเร็ว เพื่อให้ได้ตัวปลา
เมื่อยกปลาที่เข้าบามได้แล้ว ก็จะใช้สวิงยาวช้อนมาเก็บไว้ในกระติกดองน้ำแข็ง
หรือจะขังในถุงอวนที่ผูกไว้ใต้บาม เพื่อให้ปลามีชีวิต คงความสดกว่าการที่วางไว้เฉยๆ
การยกบาม ต้องใช้ความอดทน เฝ้ารอดูฝูงของปลา วันนึงอาจจะได้หลายสิบกิโล หรือ อาจจะไม่ได้สักตัว
ขึ้นอยู่กับดวงและความเพียรพยายาม และต้องอดทน ทั้งเปลวแดดที่ร้อน สะท้อนผืนน้ำ
การยกบาม เริ่มตั้งแต่พระอาทิตย์ทอฉายแสง จนดวงอาทิตย์เริ่มจะลาลับฟ้า
หากมีฝนตก ก็ต้องดูว่า มีลมมีคลื่นที่จะพัดเอาดินทรายทำให้น้ำขุ่น มองไม่เห็นปลาหรือไม่
เม็ดฝนที่ตกลง ก็มีผลต่อการสังเกตุฝูงปลา ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถจับปลาได้ เหมือนสภาพอากาศปกติ
ปลาที่จับได้จะถูกแบ่งขาย ที่เหลือเก็บไว้ทำกับข้าวเพียงมื้อๆ กินเนื้อปลามื้อนี้หมด มื้อต่อไปอาจจะได้กินแต่น้ำแกง
แกงส้ม ทางใต้ไม่เน้นผักใส่ในแกง เท่าใดนัก แต่จะ เหนาะ(แนม)ผักสดๆ เช่นแตงกวา มะเขือ ยอดพืชต่างๆและสะตอ
แต่ช่วงนี้ เงินทองหายาก จึงต้องใช้ผักจากสวนหลังบ้าน คว้าได้มีด ก็ตัด ทางโชน หรือ ออดิบ
ผักพื้นบ้านของเรามาใส่ในแกงเพิ่มปริมาณให้แยะขึ้น
เงินทอง ช่างไม่เข้าใคร ออกใคร จริงๆ
ดังนั้นจึงต้อง มัดไว้ก่อน
ตะโกน้อย ชวนฝอย อร่อยกับ “แกงส้มปลาบอก”
ทำให้รายได้ขาดหายไป ทุกอย่างจึงต้องประหยัด มีผักมีปลาอะไร ก็ต้องเอามาทำกิน
จากที่กินปลาตัวใหญ่ๆ ก็ปรับเปลื่ยนมากินปลาตัวเล็กบ้าง ปลาเค็มบ้าง ในช่วงยามนี้
น้ำช่วงนี้เป็นน้ำแรม9ค่ำ เราเรียกว่าน้ำตาย เพราะน้ำจะไม่ไหลเขี่ยว แค่เพียงเอื่อยๆ
การขึ้นลงดูจากระดับน้ำ เปลื่ยนแปลงไม่มาก ต่างกับช่วงน้ำเกิด ขึ้นลงแต่ละวัน สูงถึง1 เมตร
เครื่องมือ ที่หากินใกล้ฝั่ง ในการจับปลากระบอก นอกจากแห กัด(อวนติด) แล้ว ก็มี บาม (ยอ) นี่แหละ
ที่นิยมใช้จับปลากระบอก เพราะปลาชนิดนี้ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง และมีความรวดเร็ว
จัดว่าเป็นปลาขี้ระแวงชนิดนึง เพราะในยามที่อยู่ในน้ำ ยากที่จะเห็นตัวได้ง่ายๆ ต้องอาศัยที่สูง
มองลงพื้นน้ำใสๆของทะเล จะเห็นหลังปลาสีดำๆแหวกว่าย เมื่อเข้าในพื้นที่ รัศมีของ บาม
ชาวประมงก็ต้องรีบ หมุนเชือกที่มีลักษณะคล้ายกว้าน ด้วยความรวดเร็ว เพื่อให้ได้ตัวปลา
เมื่อยกปลาที่เข้าบามได้แล้ว ก็จะใช้สวิงยาวช้อนมาเก็บไว้ในกระติกดองน้ำแข็ง
หรือจะขังในถุงอวนที่ผูกไว้ใต้บาม เพื่อให้ปลามีชีวิต คงความสดกว่าการที่วางไว้เฉยๆ
การยกบาม ต้องใช้ความอดทน เฝ้ารอดูฝูงของปลา วันนึงอาจจะได้หลายสิบกิโล หรือ อาจจะไม่ได้สักตัว
ขึ้นอยู่กับดวงและความเพียรพยายาม และต้องอดทน ทั้งเปลวแดดที่ร้อน สะท้อนผืนน้ำ
การยกบาม เริ่มตั้งแต่พระอาทิตย์ทอฉายแสง จนดวงอาทิตย์เริ่มจะลาลับฟ้า
หากมีฝนตก ก็ต้องดูว่า มีลมมีคลื่นที่จะพัดเอาดินทรายทำให้น้ำขุ่น มองไม่เห็นปลาหรือไม่
เม็ดฝนที่ตกลง ก็มีผลต่อการสังเกตุฝูงปลา ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถจับปลาได้ เหมือนสภาพอากาศปกติ
ปลาที่จับได้จะถูกแบ่งขาย ที่เหลือเก็บไว้ทำกับข้าวเพียงมื้อๆ กินเนื้อปลามื้อนี้หมด มื้อต่อไปอาจจะได้กินแต่น้ำแกง
แกงส้ม ทางใต้ไม่เน้นผักใส่ในแกง เท่าใดนัก แต่จะ เหนาะ(แนม)ผักสดๆ เช่นแตงกวา มะเขือ ยอดพืชต่างๆและสะตอ
แต่ช่วงนี้ เงินทองหายาก จึงต้องใช้ผักจากสวนหลังบ้าน คว้าได้มีด ก็ตัด ทางโชน หรือ ออดิบ
ผักพื้นบ้านของเรามาใส่ในแกงเพิ่มปริมาณให้แยะขึ้น
เงินทอง ช่างไม่เข้าใคร ออกใคร จริงๆ
ดังนั้นจึงต้อง มัดไว้ก่อน