สังคมไทยกำลังเผชิญปัญหาความไม่สมดุลของจำนวนผู้สูงอายุกับคนรุ่นใหม่
เสมือนพีระมิดหนักอึ้ง (แถมหัวกลับ) ลูกๆ จึงถูกคาดหวังให้เป็นที่พึ่งสุดท้ายของพ่อแม่
ท่ามกลางปัจจัยบีบคั้นและการถูกตั้งคำถามถึงความ ‘กตัญญู’ ทำให้พวกเราเจ็บหนักกว่า
เป็น Talk of The Town ระดับแซ่บเว่อร์เบียดการชิงตำแหน่งผู้นำโลกซะตกขอบเวที
ในกรณีข้อพิพาทของดาราสาวสวยยอดนิยมและแม่แท้ๆ ของตัวเอง
ที่ดูเหมือนแม่จะทำหน้าแบบ
‘อำนาจเบ็ดเสร็จ’ อยู่ไม่น้อยในการควบคุมชีวิตลูกสาว
ผู้เป็นกระแสรายได้หลักที่หล่อเลี้ยงครอบครัว (แม้แต่การใช้บัตร ATM ยังถูกควบคุม)
ร่วมถึงการเข้าไปมีอิทธิพลในสายสัมพันธ์ของลูกสาวที่มีแนวโน้ม
จะทำให้ปริมาณงานบันเทิงลดลง และต้องแบกรับภาระหน้าที่รับผิดชอบไว้เพียงผู้เดียว
เป็นดาราก็อย่าหวังว่าทุกอย่างจะไหลลื่นไปเสียหมด เพราะต่อให้เป็นคนธรรมดาอย่างเราๆ
ก็ถูกครอบครัวคาดหวังไว้สูงลิ่ว สวนทางกับความเป็นจริงของสังคม
บีบคั้นเราให้เผชิญหน้ากับทางเลือกที่น้อยนิดนัก คุณจะเหนื่อยและรู้สึกไร้ความหมาย
อย่าเสียใจไป คุณไม่ได้รู้สึกคนเดียว
เราทุกคนปรารถนาให้พ่อแม่มีสุขภาพชีวิตที่ดีกันทั้งนั้น ในฐานะลูกหลาน
ที่ถูกเลี้ยงจนเติบใหญ่ได้ขนาดนี้ก็ผลาญพลังงานกิโลแคลอรี่เป็นพันล้านหน่วย
และเงินจำนวนไม่ต่ำกว่า 7 หลัก เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม การทดแทนบุญคุณ
ก็เป็นรูปแบบการจัดการทางสังคมที่ใครๆก็พึงปฏิบัติ และการถูกปลูกฝังความกตัญญู
ตั้งแต่วัยเด็ก ทำให้คุณไม่สามารถมองข้ามพ่อแม่ไปได้
แต่ปัจจัยทางสังคมสวนทางกับทรัพยากรที่มี ชีวิตไม่เคยง่ายเหมือนแต่ก่อน
ต่อให้คุณวิ่งหัวหมุนรับงานฝิ่นเป็นร้อยๆ ก็ไม่เพียงพออยู่ดี เรากำลังเผชิญหน้า
กับสังคมผู้สูงอายุแบบเต็มขั้น เป็นกลุ่มประเทศที่ก้าวผ่านเร็วที่สุดในโลก
โดยไทยมีประชากรสูงวัยร้อยละ 12 จากจำนวนประชากรทั้งสิ้น 63 ล้านคน
คาดการณ์ว่าในปี 2050 ไทยจะติดอันดับเป็น 1 ใน 20 ของโลกที่มีผู้สูงอายุเกิน 65 ปี
หรือเฉลี่ยแล้ว มีคนในวัยแรงงาน 1 คน ต้องดูแลผู้สูงอายุถึง 6 คน!
แต่ที่น่ากลัวคือ เราแทบไม่มีการเตรียมแผนไว้ในระยะยาว
ผู้สูงอายุไม่ได้เตรียมแผนการเงินไว้สำหรับภาวะเกษียณอายุ ไม่มีการบริหารจัดการรายได้
และทรัพยากรในขณะที่ยังมีแรง ภาระจึงต้องตกไปที่การฝากความหวังให้ลูกหลานเลี้ยงดู
โดยใช้อิทธิพลของคำว่า กตัญญู บีบให้คนรุ่นใหม่ไม่มีทางเลือกมากนัก
และการที่คุณเป็นลูกคนเดียวในครอบครัวขนาดใหญ่ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจอันฝืดเคืองสนิมกิน
ถ้าไม่มีโชคจริงๆ คุณไม่มีทางเลี้ยงคนที่บ้านได้เพียงพอ หากยังคงดันทุรังทำงานคนเดียว
Concept ความกตัญญูที่รู้อยู่เต็มอก แต่ทำให้ไม่ได้จริงๆ
กลายเป็นความวิตกกังกล (Anxiety) ของหนุ่มสาว Gen ปัจจุบัน
ที่ต้องพยายามสร้างความก้าวหน้า แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง
กตัญญู ต่างจาก ‘การติดหนี้’ (Indebtedness)
เป็นเรื่องเจ็บปวดที่พ่อแม่หลายครอบครัว
มองลูกเป็นการลงทุนระยะยาว (Long Term Investment) เป็นสินทรัพย์ที่มีราคา
มีสินสอดในราคาโขกสับซึ่งล้วนต้องการภาวะคืนทุนในภายหลัง ทำให้ลูกหลาน
รู้สึกถึงสภาวะการเป็นหนี้ทางใจ (Indebtedness) ที่ต้องทดแทนไปมาเป็นสภาวะถาวร
ใครช่วยมาต้องช่วยกลับ ต่อให้เขาร้ายแค่ไหนก็ตาม แต่หากคุณสับสน Concept
ระหว่าง
‘กตัญญูกับการเป็นหนี้’ คุณจะต้องเหนื่อยกว่าเดิมเป็นทวีคูณ
เพราะความวิตกกังวล มักเกิดขึ้นเมื่อความคาดหวังระหว่างเจ้าหนี้
และลูกหนี้ไม่มีทางเติมเต็มให้กันได้ หรือสวนทางกัน บุญคุณไม่มี Currency rate
หรือ อัตราแลกเปลี่ยน ไม่แปลกเมื่อถึงจุดหนึ่งคุณจะเผชิญหน้ากับจุดแตกหัก
ทางความสัมพันธ์และข้อพิพาทจำนวนมาก เพียงเพราะคุณ จ่ายดอกเบี้ยได้ไม่ดีพอ
อย่าใช้ความกตัญญูหลีกเลี่ยงปัญหาที่แท้จริง
คนรุ่นใหม่มีเป้าหมายที่แน่นอนว่าพวกเขาจะนำชีวิตครอบครัวไปสู่จุดที่คาดหวังอย่างไร
แต่กระบวนการไปถึงจุดนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย สังคมไทยติดกับดักความคิด
เรื่องผู้สูงอายุและบ้านพักคนชรา ถูกมองว่าเป็นสถานที่ไร้หวังสำหรับลูกหลานที่ไม่มีปัญญาเลี้ยงดู
แต่กลายเป็นว่า ผู้สูงอายุจำนวนมากถูกทอดทิ้งในบ้านโดยไม่มีใครดูแล
เพราะทุกคนต้องออกไปทำงานกันหมด กลายเป็นความโดดเดี่ยว
ของชีวิตที่ไม่มีคนรุ่นเดียวได้สนทนา และหากเกิดปัญหาสุขภาพกะทันหัน
ก็แทบไม่มีใครสามารถจัดการได้ทันท่วงที คุณจะเห็นลูกหลานหลายครอบครัว
ให้เทคนิคส่งต่อ ‘ไม้ผลัด’ ช่วยกันดูแลผู้สูงอายุในบ้านสลับกันไปมา
แต่หากคุณเป็นลูกคนเดียว จะทำอย่างไรล่ะ?
ผู้สูงอายุในบ้านมักมีรูปแบบกิจกรรมซ้ำๆ และขาดการออกกำลังกาย
ทำให้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าระยะยาว รู้สึกไร้ค่า และมันจะเลวร้ายกว่าเดิม
เมื่อคุณกลับมาเหนื่อยๆ แต่ต้องเผชิญหน้าทางอารมณ์กับคนแก่ที่ไม่ได้ทำอะไรเลย
กลายเป็นว่าผู้สูงอายุกลายเป็นพื้นที่รองรับอารมณ์คนในบ้านอย่างถาวร
เปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ คนแก่ยุคหน้าต้อง ‘สู้เป็น ออมเป็น’
ผลกระทบจากสังคมสูงวัยในด้านเศรษฐศาสตร์ประชากร
ทำให้ไทยอยู่ในช่วงการปันผลทางประชากรระลอกแรก มีคนวัยแรงงาน 42 ล้านคน
ส่วนใหญ่จบการศึกษาป.6 และมีวัยแรงงาน 1 คนต่อการดูแลผู้สูงอายุ 6 คน
ผู้สูงอายุต้องเรียนรู้วิถีแห่งการออมด้วยตัวเอง (ที่ไม่ใช่เม้มเงินลูกทุกเดือน)
เพื่อใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพและการรักษาพยาบาล เพราะเงินประกันสังคมไม่เพียงพอ
ต่อให้รัฐบาลเปลี่ยนผ่านกี่สมัย มันก็ไม่มากไปกว่านี้ เลิกฝันล้มๆ แล้งๆ ไปได้เลย
เพราะขนาดองค์กรเอง ก็ยังต้องเตรียมตัวรับมือกับการเพิ่มจำนวนของพนักงานสูงวัยรุ่นเดอะ
ที่มีแต่เพิ่มจำนวน ไม่ได้สมดุลกับคนรุ่นใหม่ ดังนั้นจึงต้องมีการปรับโครงสร้างสังคม ทั้งตลาดแรงงาน
และการเงิน เพราะขณะนี้ไทยอยู่ในจุดหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญที่จะก้าวสู่สังคมสูงวัยแบบเต็มพิกัด
วางแผนการเงินและการลงทุนที่ดีโดยเริ่มจากวินัยการออม
ซึ่งนักลงทุนสูงอายุจะถือสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อยลง เช่น เล่นหุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำ
และการลงทุนด้านสุขภาพก็ไม่ควรมองข้าม พ่อแม่บางคนไม่เคยดูแลสุขภาพตัวเองเลย
กลายเป็นปัดภาระให้ลูกหลานต้องดูแลทั้งหมด ซึ่งกว่าจะฟื้นฟูสุขภาพเอาภายหลัง
ก็ใช้เงินไม่ต่ำกว่า 7 หลัก และมันก็ไม่ดีเท่าเดิม
เตรียมตัวแก่ไปด้วยกัน
วันหนึ่งพวกเราก็ต้องแก่ และมีลูกหลานสืบทอดเจตนารมณ์ต่อไป
มันจึงอยู่ในจุดสำคัญแล้วว่า คุณจะบริหารความสัมพันธ์ระยะยาวกับพวกเขาอย่างไร
คุณสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้แก่พวกเขาหรือยัง และคุณเตรียมตัวเองได้ดีแค่ไหน
ที่จะมีชีวิตบั้นปลายที่สมบูรณ์ไม่สร้างความหนักใจให้ใคร
ความกตัญญูเป็นสิ่งสวยงาม แต่ไม่ใช่ข้ออ้างในการผลักภาระอันหนักอึ้งให้ใครเพียงคนใดคนหนึ่ง
คำว่า "กตัญญู" กำลังค้ำคอคนรุ่นใหม่ เมื่อลูกต้องแบกโลกทั้งใบของพ่อแม่
สังคมไทยกำลังเผชิญปัญหาความไม่สมดุลของจำนวนผู้สูงอายุกับคนรุ่นใหม่
เสมือนพีระมิดหนักอึ้ง (แถมหัวกลับ) ลูกๆ จึงถูกคาดหวังให้เป็นที่พึ่งสุดท้ายของพ่อแม่
ท่ามกลางปัจจัยบีบคั้นและการถูกตั้งคำถามถึงความ ‘กตัญญู’ ทำให้พวกเราเจ็บหนักกว่า
เป็น Talk of The Town ระดับแซ่บเว่อร์เบียดการชิงตำแหน่งผู้นำโลกซะตกขอบเวที
ในกรณีข้อพิพาทของดาราสาวสวยยอดนิยมและแม่แท้ๆ ของตัวเอง
ที่ดูเหมือนแม่จะทำหน้าแบบ ‘อำนาจเบ็ดเสร็จ’ อยู่ไม่น้อยในการควบคุมชีวิตลูกสาว
ผู้เป็นกระแสรายได้หลักที่หล่อเลี้ยงครอบครัว (แม้แต่การใช้บัตร ATM ยังถูกควบคุม)
ร่วมถึงการเข้าไปมีอิทธิพลในสายสัมพันธ์ของลูกสาวที่มีแนวโน้ม
จะทำให้ปริมาณงานบันเทิงลดลง และต้องแบกรับภาระหน้าที่รับผิดชอบไว้เพียงผู้เดียว
เป็นดาราก็อย่าหวังว่าทุกอย่างจะไหลลื่นไปเสียหมด เพราะต่อให้เป็นคนธรรมดาอย่างเราๆ
ก็ถูกครอบครัวคาดหวังไว้สูงลิ่ว สวนทางกับความเป็นจริงของสังคม
บีบคั้นเราให้เผชิญหน้ากับทางเลือกที่น้อยนิดนัก คุณจะเหนื่อยและรู้สึกไร้ความหมาย
อย่าเสียใจไป คุณไม่ได้รู้สึกคนเดียว
เราทุกคนปรารถนาให้พ่อแม่มีสุขภาพชีวิตที่ดีกันทั้งนั้น ในฐานะลูกหลาน
ที่ถูกเลี้ยงจนเติบใหญ่ได้ขนาดนี้ก็ผลาญพลังงานกิโลแคลอรี่เป็นพันล้านหน่วย
และเงินจำนวนไม่ต่ำกว่า 7 หลัก เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม การทดแทนบุญคุณ
ก็เป็นรูปแบบการจัดการทางสังคมที่ใครๆก็พึงปฏิบัติ และการถูกปลูกฝังความกตัญญู
ตั้งแต่วัยเด็ก ทำให้คุณไม่สามารถมองข้ามพ่อแม่ไปได้
แต่ปัจจัยทางสังคมสวนทางกับทรัพยากรที่มี ชีวิตไม่เคยง่ายเหมือนแต่ก่อน
ต่อให้คุณวิ่งหัวหมุนรับงานฝิ่นเป็นร้อยๆ ก็ไม่เพียงพออยู่ดี เรากำลังเผชิญหน้า
กับสังคมผู้สูงอายุแบบเต็มขั้น เป็นกลุ่มประเทศที่ก้าวผ่านเร็วที่สุดในโลก
โดยไทยมีประชากรสูงวัยร้อยละ 12 จากจำนวนประชากรทั้งสิ้น 63 ล้านคน
คาดการณ์ว่าในปี 2050 ไทยจะติดอันดับเป็น 1 ใน 20 ของโลกที่มีผู้สูงอายุเกิน 65 ปี
หรือเฉลี่ยแล้ว มีคนในวัยแรงงาน 1 คน ต้องดูแลผู้สูงอายุถึง 6 คน!
แต่ที่น่ากลัวคือ เราแทบไม่มีการเตรียมแผนไว้ในระยะยาว
ผู้สูงอายุไม่ได้เตรียมแผนการเงินไว้สำหรับภาวะเกษียณอายุ ไม่มีการบริหารจัดการรายได้
และทรัพยากรในขณะที่ยังมีแรง ภาระจึงต้องตกไปที่การฝากความหวังให้ลูกหลานเลี้ยงดู
โดยใช้อิทธิพลของคำว่า กตัญญู บีบให้คนรุ่นใหม่ไม่มีทางเลือกมากนัก
และการที่คุณเป็นลูกคนเดียวในครอบครัวขนาดใหญ่ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจอันฝืดเคืองสนิมกิน
ถ้าไม่มีโชคจริงๆ คุณไม่มีทางเลี้ยงคนที่บ้านได้เพียงพอ หากยังคงดันทุรังทำงานคนเดียว
Concept ความกตัญญูที่รู้อยู่เต็มอก แต่ทำให้ไม่ได้จริงๆ
กลายเป็นความวิตกกังกล (Anxiety) ของหนุ่มสาว Gen ปัจจุบัน
ที่ต้องพยายามสร้างความก้าวหน้า แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง
กตัญญู ต่างจาก ‘การติดหนี้’ (Indebtedness)
เป็นเรื่องเจ็บปวดที่พ่อแม่หลายครอบครัว
มองลูกเป็นการลงทุนระยะยาว (Long Term Investment) เป็นสินทรัพย์ที่มีราคา
มีสินสอดในราคาโขกสับซึ่งล้วนต้องการภาวะคืนทุนในภายหลัง ทำให้ลูกหลาน
รู้สึกถึงสภาวะการเป็นหนี้ทางใจ (Indebtedness) ที่ต้องทดแทนไปมาเป็นสภาวะถาวร
ใครช่วยมาต้องช่วยกลับ ต่อให้เขาร้ายแค่ไหนก็ตาม แต่หากคุณสับสน Concept
ระหว่าง ‘กตัญญูกับการเป็นหนี้’ คุณจะต้องเหนื่อยกว่าเดิมเป็นทวีคูณ
เพราะความวิตกกังวล มักเกิดขึ้นเมื่อความคาดหวังระหว่างเจ้าหนี้
และลูกหนี้ไม่มีทางเติมเต็มให้กันได้ หรือสวนทางกัน บุญคุณไม่มี Currency rate
หรือ อัตราแลกเปลี่ยน ไม่แปลกเมื่อถึงจุดหนึ่งคุณจะเผชิญหน้ากับจุดแตกหัก
ทางความสัมพันธ์และข้อพิพาทจำนวนมาก เพียงเพราะคุณ จ่ายดอกเบี้ยได้ไม่ดีพอ
อย่าใช้ความกตัญญูหลีกเลี่ยงปัญหาที่แท้จริง
คนรุ่นใหม่มีเป้าหมายที่แน่นอนว่าพวกเขาจะนำชีวิตครอบครัวไปสู่จุดที่คาดหวังอย่างไร
แต่กระบวนการไปถึงจุดนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย สังคมไทยติดกับดักความคิด
เรื่องผู้สูงอายุและบ้านพักคนชรา ถูกมองว่าเป็นสถานที่ไร้หวังสำหรับลูกหลานที่ไม่มีปัญญาเลี้ยงดู
แต่กลายเป็นว่า ผู้สูงอายุจำนวนมากถูกทอดทิ้งในบ้านโดยไม่มีใครดูแล
เพราะทุกคนต้องออกไปทำงานกันหมด กลายเป็นความโดดเดี่ยว
ของชีวิตที่ไม่มีคนรุ่นเดียวได้สนทนา และหากเกิดปัญหาสุขภาพกะทันหัน
ก็แทบไม่มีใครสามารถจัดการได้ทันท่วงที คุณจะเห็นลูกหลานหลายครอบครัว
ให้เทคนิคส่งต่อ ‘ไม้ผลัด’ ช่วยกันดูแลผู้สูงอายุในบ้านสลับกันไปมา
แต่หากคุณเป็นลูกคนเดียว จะทำอย่างไรล่ะ?
ผู้สูงอายุในบ้านมักมีรูปแบบกิจกรรมซ้ำๆ และขาดการออกกำลังกาย
ทำให้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าระยะยาว รู้สึกไร้ค่า และมันจะเลวร้ายกว่าเดิม
เมื่อคุณกลับมาเหนื่อยๆ แต่ต้องเผชิญหน้าทางอารมณ์กับคนแก่ที่ไม่ได้ทำอะไรเลย
กลายเป็นว่าผู้สูงอายุกลายเป็นพื้นที่รองรับอารมณ์คนในบ้านอย่างถาวร
เปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ คนแก่ยุคหน้าต้อง ‘สู้เป็น ออมเป็น’
ผลกระทบจากสังคมสูงวัยในด้านเศรษฐศาสตร์ประชากร
ทำให้ไทยอยู่ในช่วงการปันผลทางประชากรระลอกแรก มีคนวัยแรงงาน 42 ล้านคน
ส่วนใหญ่จบการศึกษาป.6 และมีวัยแรงงาน 1 คนต่อการดูแลผู้สูงอายุ 6 คน
ผู้สูงอายุต้องเรียนรู้วิถีแห่งการออมด้วยตัวเอง (ที่ไม่ใช่เม้มเงินลูกทุกเดือน)
เพื่อใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพและการรักษาพยาบาล เพราะเงินประกันสังคมไม่เพียงพอ
ต่อให้รัฐบาลเปลี่ยนผ่านกี่สมัย มันก็ไม่มากไปกว่านี้ เลิกฝันล้มๆ แล้งๆ ไปได้เลย
เพราะขนาดองค์กรเอง ก็ยังต้องเตรียมตัวรับมือกับการเพิ่มจำนวนของพนักงานสูงวัยรุ่นเดอะ
ที่มีแต่เพิ่มจำนวน ไม่ได้สมดุลกับคนรุ่นใหม่ ดังนั้นจึงต้องมีการปรับโครงสร้างสังคม ทั้งตลาดแรงงาน
และการเงิน เพราะขณะนี้ไทยอยู่ในจุดหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญที่จะก้าวสู่สังคมสูงวัยแบบเต็มพิกัด
วางแผนการเงินและการลงทุนที่ดีโดยเริ่มจากวินัยการออม
ซึ่งนักลงทุนสูงอายุจะถือสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อยลง เช่น เล่นหุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำ
และการลงทุนด้านสุขภาพก็ไม่ควรมองข้าม พ่อแม่บางคนไม่เคยดูแลสุขภาพตัวเองเลย
กลายเป็นปัดภาระให้ลูกหลานต้องดูแลทั้งหมด ซึ่งกว่าจะฟื้นฟูสุขภาพเอาภายหลัง
ก็ใช้เงินไม่ต่ำกว่า 7 หลัก และมันก็ไม่ดีเท่าเดิม
เตรียมตัวแก่ไปด้วยกัน
วันหนึ่งพวกเราก็ต้องแก่ และมีลูกหลานสืบทอดเจตนารมณ์ต่อไป
มันจึงอยู่ในจุดสำคัญแล้วว่า คุณจะบริหารความสัมพันธ์ระยะยาวกับพวกเขาอย่างไร
คุณสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้แก่พวกเขาหรือยัง และคุณเตรียมตัวเองได้ดีแค่ไหน
ที่จะมีชีวิตบั้นปลายที่สมบูรณ์ไม่สร้างความหนักใจให้ใคร
ความกตัญญูเป็นสิ่งสวยงาม แต่ไม่ใช่ข้ออ้างในการผลักภาระอันหนักอึ้งให้ใครเพียงคนใดคนหนึ่ง
Source : https://thematter.co/byte/the-problem-with-gratitude/10661