ผมเป็นคนหนึ่งที่สงสัยมานานกับระบบการศึกษาบ้านเราที่ผ่านมากี่สิบปีแต่ก็ยังคงเหมือนเดิม ปัญหาทั้งความเหลื่อมล่ำทางการศึกษา เด็กบางคนไม่ได้เรียนจนเข้าสู่ทางที่ผิด การแข่งขันที่สูงจนโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยที่แย่งเด็กเข้ามาเรียนจนมองข้ามหน้าที่ของตนเองคือ การผลิตคนที่มีคุณภาพกลับเข้าสู่สังคม คุณภาพการศึกษาที่ตกต่ำลงเรื่อยๆ ปัญหาเด็กเรียนไม่จบ หรือจบมาก็ไม่มีงานทำ ปัญหาเหล่านี้มันส่งผลร้ายแรงกว่าปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอีก ผมไม่ได้ว่าเด็กไทยไม่ฉลาดนะเด็กไทยที่เก่งสู้ชาติอื่นๆได้ในทุกด้านทางวิชาการ แต่ที่ผมจะพูดคือเด็กที่ไม่ได้เรียนหรือได้เรียนแต่เรียนแบบไม่มีคุณภาพ เรียนไปให้รู้ว่าจบแล้ว จบแล้วไงต่อ ? อนาคตของเด็กเหล่านี้จะเป็นยังไงต่อไป คุณภาพการศึกษาจะบ่งบอกถึงคุณภาพของเด็กไทยเราว่ามีศักยภาพแค่ไหนที่จะไปสู้กับคนอื่นเค้าหลังจากเรียนจบไปแล้ว ใครจะรู้ไหมว่างบประมาณกระทรวงศึกษาธิการในแต่ละปีมันเยอะมากแค่ไหน ลองค้นหาดูใน google คุณจะรู้ว่ามันเยอะแค่ไหน แต่ระบบการศึกษาบ้านเราก็เหมือนเดิม ผมขอข้ามระบบการศึกษาบ้านเราไปละกัน ผมจะพาไปดูระบบการศึกษาของประเทศฟินแลนด์กันว่าถ้าเราลองนำระบบของเค้ามาใช้ดูบ้างมันจะโอเคไหม
Education หรือ การศึกษา เป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานที่ทุกประเทศต้องมีให้แก่ประชาชนของตนเอง โดยแต่ละประเทศก็จะมีระบบการศึกษาที่จะแตกต่างกันไปอาจขึ้นอยู่กับสังคม วัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจ ของประเทศ พูดแบบง่ายๆคือการศึกษาที่มีคุณภาพจะขึ้นอยู่กับความเจริญของประเทศนั้นๆ หลายองค์กรจัดทำผลสำรวจและการวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพทางการศึกษาของแต่ละประเทศล่าสุด World Economic Forum จัดทำผลสำรวจจาการสอบถามคนที่ทำงานในต่างประเทศ 14,300 คน ซึ่งมาจาก 174 ประเทศ และอาศัยอยู่ใน 191 ประเทศ พวกเขาได้ประเมินหัวข้อต่าง ๆ เกี่ยวกับชีวิตในต่างประเทศ 43 ด้าน รวมถึงด้านสุขภาพ ความปลอดภัย ค่าครองชีพ และคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะในด้านการศึกษาที่ลูกของผู้ตอบแบบสอบถามได้รับจากประเทศนั้นๆ โดยประเทศที่มีคุณภาพด้านการศึกษาที่ดีที่สุด คือประเทศฟินแลนด์ โดยมุมมองของระบบการศึกษาที่รัฐบาลฟินแลนด์เห็นเป็นสำคัญที่สุดคือ ประชาชนทุกคนต้องได้รับการศึกษาทำให้ประชาชนของฟินแลนด์รู้หนังสือถึง 100% ปัจจัยที่ทำให้ประเทศฟินแลนด์มีระบบการศึกษาที่ดีติดอันดับต้นๆของโลก
- ปัจจัยแรก คือการทดลองและการวิจัยทางการศึกษาที่หลายคนคิดว่าไม่น่าใช้ได้จริงหรือนำทฤษฎีต่างๆมาทดลองจริงในห้องเรียน เช่น พัฒนาการทางสมองที่จะช่วยให้เด็กจดจำหรือเรียนรู้ได้ดีในช่วงเวลาใดของวัน การทดลองให้เด็กเรียนน้อยลงจากวันละ 6-7 ชั่วโมง ลดเหลือ 4-5 ชั่วโมง และทุกๆ 1 ชั่วโมง จะต้องแบ่งเวลา 15 นาที ให้เด็กได้ทำกิจกรรมใดก็ได้ที่ไม่ใช่การเรียนเนื่องจากทฤษฎีรากฐานของการศึกษาฟินแลนด์ที่ว่าเด็กควรต้องรักษาความเป็นเด็กไว้ให้นานที่สุด และได้รับการพิสูจน์จากงานวิจัยจำนวนมากที่พบว่าเด็กที่ได้พักเล่นระหว่างเรียน จะมีความประพฤติและผลการเรียนดีกว่าเด็กที่ไม่มีเวลาเล่น หรือจะเป็นการลดจำนวนเด็กในห้องเรียนเหลือ 10 -20 คนเท่านั้นโดยการทดลองพบว่าถ้ามีเด็กในห้องมากเกินไปจะทำให้การเรียนการสอนไม่ครอบคลุมถึงเด็กทุกคนในห้องเรียนจะทำให้เด็กบางคนไม่ได้รับการสอนอย่างเท่าเทียม เป็นต้น
- ปัจจัยที่สองคือ ครูในฟินแลนด์เป็นอาชีพที่ได้รับความเคารพ และเงินเดือนสูงมากโดยเงินเดือนขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณ 34,000-35,000 USD
( ประมาณ 1,000,000 บาท ) ทำให้มีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้น โดยอัตราผู้สอบเข้าบรรจุครูได้อยู่ที่ร้อยละ 7 เท่านั้น ผลก็คือผู้ที่จะเป็นครู ต้องเป็นบุคลากรระดับหัวกะทิของประเทศเท่านั้น และไม่มีการสอบวัดมาตรฐานจึงให้ครูมีเวลาทุ่มเทกับการสอนมากกว่า โดยจะมีทั้งครูประจำชั้น ครูประจำวิชา และครูพิเศษ ที่จะคอยช่วยเหลือนักเรียนที่เรียนตามเพื่อนไม่ทัน ผู้ที่จะเข้ามาเป็นครูได้ต้องจบการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป และนักศึกษาครูจะต้องผ่านการฝึกสอนกับโรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัยของตนเองก่อน จึงทำให้อาชีพครูในประเทศฟินแลนด์มีความสำคัญในฐานะอาชีพที่จะสร้างเยาวชนให้เป็นอนาคตของชาติต่อไป
- ปัจจัยจัยที่สาม หลักสูตรการสอนและบทบาทของโรงเรียน โรงเรียนในประเทศฟินแลนด์จะมีหลักสูตรที่ไม่เหมือนกันและโรงเรียนสามารถกำหนดหลักสูตรที่เหมาะสมกับนักเรียนได้ด้วยตนเอง นักเรียนจะได้เรียนรู้ได้สิ่งที่ตนอยากเรียน ให้นักเรียนได้ลองผิดลองถูกด้วยตนเองโดยมีครูคอยให้คำแนะนำ เรื่องของการบ้านนี้แถบไม่ต้องพูดถึงเลยนักเรียนในฟินแลนด์แถบจะไม่มีการบ้านให้กลับมาทำที่บ้านเลยจึงทำให้เด็กมีเวลาได้ทำในสิ่งที่ตนชอบหรือใช้เวลาอยู่กับครอบครัว ส่วนโรงเรียนในฟินแลนด์นั้นไม่จำเป็นต้องแข่งขันกันสร้างชื่อเสียง ในประเทศฟินแลนด์ไม่มีโรงเรียนเอกชนในประเทศเลย ทุกสถาบันการศึกษาดำเนินการโดยงบประมาณจากภาครัฐ โรงเรียนสามารถจ้างผู้บริหารจากเอกชนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกรรมการโรงเรียนเพื่อช่วยในการบริหารโรงเรียนได้อีกด้วย
- ปัจจัยที่สี่ การสนับสนุนจากรัฐบาล โดยการศึกษาจะมีภาคบังคับ 9 ปี คือประชาชนที่อายุ 7 ปีจะต้องได้รับการศึกษาจนถึงอายุ 16 ปีส่วนอนุบาลนั้นรัฐเห็นว่าช่วงวัยเด็กเป็นวัยสำคัญที่ควรใช้ชีวิตกับครอบครัวและเรียนรู้วัฒนธรรมจากพ่อแม่จะดีกว่าการส่งมาเรียนที่โรงเรียน แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีอนุบาลพ่อแม่สามารถส่งลูกมาเรียนได้ตั้งแต่ 3-6 ขวบ โดยจะได้รับสวัสดิการและการศึกษาฟรีจากโรงเรียน และไม่ใช่ฟรีแค่ตอนอนุบาลเท่านั้นแต่ฟรีไปจนถึง มหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนอาชีวะศึกษาขั้นสูง ภาครัฐให้อิสระแก่โรงเรียนและจะไม่เข้ามาแทรกแซงการบริหารหรือนโยบายของแต่ละโรงเรียน
ปัจจัยเหล่านี้เป็นแค่ส่วนน้อยนิดของหลักการในการพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศฟินแลนด์ที่ทุกคนไม่ว่าจะ ครอบครัว อาจารย์ โรงเรียน และรัฐบาล ให้ความสำคัญของการศึกษาที่เป็นรากฐานในการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ ต่อไปบุคคลเหล่านี้ก็จะกลับมาพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพหากเราให้ความสำคัญกับการศึกษาที่คนเป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนาผมเชื่อว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาในบ้านเราทั้ง ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาทางสังคม ปัญหาความเหลื่อมล่ำ ความแตกแยกของคนไทยที่ผ่านมา ปัญหาการคอรัปชั่นของข้าราชการและนักการเมือง ผมว่ามันน่าจะมีแนวโน้มลดลง ถ้าหากทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน ทุกคนมิสิทธิเข้าถึงการศึกษาตามที่รัฐธรรมนูญ หมวด 5 มาตรา 54 ได้เขียนไว้ว่า " รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจบจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย " เด็กเหล่านี้คืออนาคตของชาติ คือคนที่จะขับเคลื่อนประเทศไปข่างหน้า แล้วถ้าหากพวกเขาได้รับการศึกษาที่ดีละ ที่ไม่ใช่สอนแค่เก่งด้านวิชาการอย่างเดียว แต่เด็กทุกคนต้องมีคุณธรรม มีจริยธรรม รู้สิทธิรู้หน้าที่ของตนเอง เคารพและรักษากฎหมาย ให้พวกเขามีความสุขในการเรียน สร้างจิตสำนึกให้รู้จักมีความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ แต่สิ่งสำคัญที่สุดของการศึกษาคือต้องสร้างให้พวกเขาเป็นคนดีของสังคม ผมเชื่อว่าสักวันประเทศไทยจะได้รับการพัฒนาด้านการศึกษาและในอนาคตคงติดอันดับของประเทศที่พัฒนาแล้ว
ถ้านำระบบการศึกษาของประเทศฟินแลนด์มาใช้ในประเทศไทยจะทำได้ไหม ?
Education หรือ การศึกษา เป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานที่ทุกประเทศต้องมีให้แก่ประชาชนของตนเอง โดยแต่ละประเทศก็จะมีระบบการศึกษาที่จะแตกต่างกันไปอาจขึ้นอยู่กับสังคม วัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจ ของประเทศ พูดแบบง่ายๆคือการศึกษาที่มีคุณภาพจะขึ้นอยู่กับความเจริญของประเทศนั้นๆ หลายองค์กรจัดทำผลสำรวจและการวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพทางการศึกษาของแต่ละประเทศล่าสุด World Economic Forum จัดทำผลสำรวจจาการสอบถามคนที่ทำงานในต่างประเทศ 14,300 คน ซึ่งมาจาก 174 ประเทศ และอาศัยอยู่ใน 191 ประเทศ พวกเขาได้ประเมินหัวข้อต่าง ๆ เกี่ยวกับชีวิตในต่างประเทศ 43 ด้าน รวมถึงด้านสุขภาพ ความปลอดภัย ค่าครองชีพ และคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะในด้านการศึกษาที่ลูกของผู้ตอบแบบสอบถามได้รับจากประเทศนั้นๆ โดยประเทศที่มีคุณภาพด้านการศึกษาที่ดีที่สุด คือประเทศฟินแลนด์ โดยมุมมองของระบบการศึกษาที่รัฐบาลฟินแลนด์เห็นเป็นสำคัญที่สุดคือ ประชาชนทุกคนต้องได้รับการศึกษาทำให้ประชาชนของฟินแลนด์รู้หนังสือถึง 100% ปัจจัยที่ทำให้ประเทศฟินแลนด์มีระบบการศึกษาที่ดีติดอันดับต้นๆของโลก
- ปัจจัยแรก คือการทดลองและการวิจัยทางการศึกษาที่หลายคนคิดว่าไม่น่าใช้ได้จริงหรือนำทฤษฎีต่างๆมาทดลองจริงในห้องเรียน เช่น พัฒนาการทางสมองที่จะช่วยให้เด็กจดจำหรือเรียนรู้ได้ดีในช่วงเวลาใดของวัน การทดลองให้เด็กเรียนน้อยลงจากวันละ 6-7 ชั่วโมง ลดเหลือ 4-5 ชั่วโมง และทุกๆ 1 ชั่วโมง จะต้องแบ่งเวลา 15 นาที ให้เด็กได้ทำกิจกรรมใดก็ได้ที่ไม่ใช่การเรียนเนื่องจากทฤษฎีรากฐานของการศึกษาฟินแลนด์ที่ว่าเด็กควรต้องรักษาความเป็นเด็กไว้ให้นานที่สุด และได้รับการพิสูจน์จากงานวิจัยจำนวนมากที่พบว่าเด็กที่ได้พักเล่นระหว่างเรียน จะมีความประพฤติและผลการเรียนดีกว่าเด็กที่ไม่มีเวลาเล่น หรือจะเป็นการลดจำนวนเด็กในห้องเรียนเหลือ 10 -20 คนเท่านั้นโดยการทดลองพบว่าถ้ามีเด็กในห้องมากเกินไปจะทำให้การเรียนการสอนไม่ครอบคลุมถึงเด็กทุกคนในห้องเรียนจะทำให้เด็กบางคนไม่ได้รับการสอนอย่างเท่าเทียม เป็นต้น
- ปัจจัยที่สองคือ ครูในฟินแลนด์เป็นอาชีพที่ได้รับความเคารพ และเงินเดือนสูงมากโดยเงินเดือนขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณ 34,000-35,000 USD
( ประมาณ 1,000,000 บาท ) ทำให้มีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้น โดยอัตราผู้สอบเข้าบรรจุครูได้อยู่ที่ร้อยละ 7 เท่านั้น ผลก็คือผู้ที่จะเป็นครู ต้องเป็นบุคลากรระดับหัวกะทิของประเทศเท่านั้น และไม่มีการสอบวัดมาตรฐานจึงให้ครูมีเวลาทุ่มเทกับการสอนมากกว่า โดยจะมีทั้งครูประจำชั้น ครูประจำวิชา และครูพิเศษ ที่จะคอยช่วยเหลือนักเรียนที่เรียนตามเพื่อนไม่ทัน ผู้ที่จะเข้ามาเป็นครูได้ต้องจบการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป และนักศึกษาครูจะต้องผ่านการฝึกสอนกับโรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัยของตนเองก่อน จึงทำให้อาชีพครูในประเทศฟินแลนด์มีความสำคัญในฐานะอาชีพที่จะสร้างเยาวชนให้เป็นอนาคตของชาติต่อไป
- ปัจจัยจัยที่สาม หลักสูตรการสอนและบทบาทของโรงเรียน โรงเรียนในประเทศฟินแลนด์จะมีหลักสูตรที่ไม่เหมือนกันและโรงเรียนสามารถกำหนดหลักสูตรที่เหมาะสมกับนักเรียนได้ด้วยตนเอง นักเรียนจะได้เรียนรู้ได้สิ่งที่ตนอยากเรียน ให้นักเรียนได้ลองผิดลองถูกด้วยตนเองโดยมีครูคอยให้คำแนะนำ เรื่องของการบ้านนี้แถบไม่ต้องพูดถึงเลยนักเรียนในฟินแลนด์แถบจะไม่มีการบ้านให้กลับมาทำที่บ้านเลยจึงทำให้เด็กมีเวลาได้ทำในสิ่งที่ตนชอบหรือใช้เวลาอยู่กับครอบครัว ส่วนโรงเรียนในฟินแลนด์นั้นไม่จำเป็นต้องแข่งขันกันสร้างชื่อเสียง ในประเทศฟินแลนด์ไม่มีโรงเรียนเอกชนในประเทศเลย ทุกสถาบันการศึกษาดำเนินการโดยงบประมาณจากภาครัฐ โรงเรียนสามารถจ้างผู้บริหารจากเอกชนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกรรมการโรงเรียนเพื่อช่วยในการบริหารโรงเรียนได้อีกด้วย
- ปัจจัยที่สี่ การสนับสนุนจากรัฐบาล โดยการศึกษาจะมีภาคบังคับ 9 ปี คือประชาชนที่อายุ 7 ปีจะต้องได้รับการศึกษาจนถึงอายุ 16 ปีส่วนอนุบาลนั้นรัฐเห็นว่าช่วงวัยเด็กเป็นวัยสำคัญที่ควรใช้ชีวิตกับครอบครัวและเรียนรู้วัฒนธรรมจากพ่อแม่จะดีกว่าการส่งมาเรียนที่โรงเรียน แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีอนุบาลพ่อแม่สามารถส่งลูกมาเรียนได้ตั้งแต่ 3-6 ขวบ โดยจะได้รับสวัสดิการและการศึกษาฟรีจากโรงเรียน และไม่ใช่ฟรีแค่ตอนอนุบาลเท่านั้นแต่ฟรีไปจนถึง มหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนอาชีวะศึกษาขั้นสูง ภาครัฐให้อิสระแก่โรงเรียนและจะไม่เข้ามาแทรกแซงการบริหารหรือนโยบายของแต่ละโรงเรียน
ปัจจัยเหล่านี้เป็นแค่ส่วนน้อยนิดของหลักการในการพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศฟินแลนด์ที่ทุกคนไม่ว่าจะ ครอบครัว อาจารย์ โรงเรียน และรัฐบาล ให้ความสำคัญของการศึกษาที่เป็นรากฐานในการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ ต่อไปบุคคลเหล่านี้ก็จะกลับมาพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพหากเราให้ความสำคัญกับการศึกษาที่คนเป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนาผมเชื่อว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาในบ้านเราทั้ง ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาทางสังคม ปัญหาความเหลื่อมล่ำ ความแตกแยกของคนไทยที่ผ่านมา ปัญหาการคอรัปชั่นของข้าราชการและนักการเมือง ผมว่ามันน่าจะมีแนวโน้มลดลง ถ้าหากทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน ทุกคนมิสิทธิเข้าถึงการศึกษาตามที่รัฐธรรมนูญ หมวด 5 มาตรา 54 ได้เขียนไว้ว่า " รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจบจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย " เด็กเหล่านี้คืออนาคตของชาติ คือคนที่จะขับเคลื่อนประเทศไปข่างหน้า แล้วถ้าหากพวกเขาได้รับการศึกษาที่ดีละ ที่ไม่ใช่สอนแค่เก่งด้านวิชาการอย่างเดียว แต่เด็กทุกคนต้องมีคุณธรรม มีจริยธรรม รู้สิทธิรู้หน้าที่ของตนเอง เคารพและรักษากฎหมาย ให้พวกเขามีความสุขในการเรียน สร้างจิตสำนึกให้รู้จักมีความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ แต่สิ่งสำคัญที่สุดของการศึกษาคือต้องสร้างให้พวกเขาเป็นคนดีของสังคม ผมเชื่อว่าสักวันประเทศไทยจะได้รับการพัฒนาด้านการศึกษาและในอนาคตคงติดอันดับของประเทศที่พัฒนาแล้ว