เสียงสะท้อนจากนักการศึกษา ครูมีคุณภาพแล้วหรือ????

กระทู้คำถาม
จากที่ติดตามข่าวการศึกษาชาติมาอย่างช้านานทำให้พบว่า การศึกษาไทยมีแต่จะตกต่ำและตกต่ำ
ลงไปเรื่อยๆ มันจะโทษใครดีละครับทุกวันนี้??? ระบบการคัดเลือกคนเป็นครูผมว่านี่ประเด็นสำคัญเลยนะครับ
ไม่แปลการศึกษาไทยรั้งท้ายในประชาคมอาเซียน  

แหล่งที่มา: http://www.kruthai.info/view.php?article_id=5976

บ่อยครั้งเมื่อปรากฏผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน นักศึกษาไทยแล้วพบว่ามีคะแนนต่ำ มักเกิดคำถามขึ้นมาเสมอว่าปัจจัยใดที่ทำให้เป็นเช่นนั้น หลากคำตอบที่เกิดขึ้นมักหนีไม่พ้นว่าเป็นเพราะหลักสูตร การเรียนการสอน นโยบายทางการศึกษา เรื่อยมาจนถึงคำตอบที่ว่าครูไม่มีศักยภาพมากพอ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่ามีหลายองค์ประกอบส่งผลต่อการศึกษาของไทย ในส่วนของครูที่สอนนักเรียนนักศึกษา หากมองถึงเส้นทางกว่าจะมาเป็นครู ส่วนใหญ่แล้วต้องผ่านการศึกษาในคณะครุศาสตร์หรือคณะศึกษาศาสตร์

           จากงานเสวนา "ศึกษาฟอรั่ม ครั้งที่ 2" สานต่อจากเวทีศึกษาเสวนา...ปฐมฤกษ์ ซึ่ง บมจ.ปิโก (ไทยแลนด์) จัดขึ้น โดยเปิดโอกาสให้ผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาที่เป็นกลุ่มแกนหลัก (Core Group) มาเข้าร่วมประชุมนำเสนอความคิดเห็น เพื่อนำข้อสรุปที่ได้ไปรับปรับใช้หรือต่อยอดกับหน่วยงานในสังกัดของตัวเอง ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการร่วมสร้างสรรค์การศึกษาไทยให้พัฒนาไป ในทางที่ดีขึ้น

           หนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจคือเรื่องครุศึกษาในประเทศ ไทย ซึ่ง "ดร.จุฑารัตน์ วิบูลผล" รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า การเข้าสู่วิชาชีพครูมีอยู่ 5 ช่องทาง คือ 1.การเรียนหลักสูตรครู 5 ปี 2.การเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู 3.การอบรม 4.การทดสอบและประเมินความรู้ 5.การสอบเทียบโอนความรู้ ซึ่งบทบาทของครุศึกษาที่เข้าไปมีส่วนร่วมมีแค่ 2 ช่องทางแรกเท่านั้น

           "ก่อนหน้านี้มีข่าวว่าการสอบครูผู้ช่วยของปีนี้มีผู้สอบผ่านประมาณ 5 พันคน หรือคิดเป็น 6.5% ของผู้สมัครทั้งหมด ข้อมูลนี้อาจตีความได้ว่าระบบการทดสอบเข้มข้น

           จนทำให้ผู้ที่ไม่ได้เรียนครูมาโดยตรง

           ไม่สามารถผ่านเข้าสู่ระบบได้ ขณะเดียวกัน คนที่ถือวุฒิปริญญาตรีก็ไม่สามารถสอบผ่านได้เช่นกัน จึงเป็นคำถามกลับมายังสถาบันผลิตครูว่าการผลิตคนของเรา

           มีคุณภาพหรือยัง"


           ฟังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

           ในส่วนของครุศึกษาจะเกี่ยวข้องโดยตรงคือการพัฒนาครูก่อนประจำการ ทั้งหลักสูตร, การคัดเลือกผู้เรียนครู และการจัดหลักสูตร แต่เมื่อมองการจัดหลักสูตรครุศึกษาในประเทศไทยพบว่าไม่ได้เปิดให้ผู้มีส่วน ได้ส่วนเสียร่วมจัดและพัฒนาหลักสูตร

           "เวลาที่ถามว่าใครเป็นผู้รับ ผิดชอบหลักสูตรครุศึกษา นิยามที่ให้คืออาจารย์ที่อยู่ในคณะครุศาสตร์ หรือศึกษาศาสตร์ ทั้งที่จริง ๆ แล้วหลักสูตรนี้ต้องไปใช้บริการของอาจารย์คณะอื่น ๆ เพราะนักศึกษาต้องไปเรียนกับคณะเจ้าของวิชา เช่น ถ้าเรียนเอกวิทยาศาสตร์ต้องไปเรียนกับรายวิชาวิทยาศาสตร์จำนวนมาก แต่ตอนทำหลักสูตรเราไม่ได้เชิญอาจารย์จากคณะอื่นที่สอนนิสิตเราเข้ามาร่วม พัฒนาหลักสูตร และไม่เคยถามผู้ใช้บัณฑิตทั้งโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยว่าเขาอยากได้ครูแบบ ไหน"

           นอกจากนั้น การผลิตครูของประเทศไทยจะเป็นแบบ Mass หรือเน้นปริมาณ และใช้ระบบคัดเลือกครูด้วยการสอบข้อเขียน จึงไม่สามารถคัดกรองคนตามที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการได้ แตกต่างจากประเทศที่ประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษาอย่างเกาหลีใต้ หรือสิงคโปร์ จะนำคนที่เป็นระดับท็อปมาเรียนครู โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศฟินแลนด์จะมีระบบการคัดเลือกครูหลายขั้นตอน ทั้งสอบข้อเขียน สัมภาษณ์วัดเจตคติ และสังเกตการทำงาน

           โมเดลต่าง-คุณภาพไม่เหมือน

           "ดร.จุฑารัตน์" กล่าวอีกว่า ปัจจุบันหลักสูตรการผลิตครูมีหลากหลายโมเดล เช่น จัดการเรียนการสอนอยู่ในครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ของตัวเอง, คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์รับผิดชอบการสอนโดยตรง และร่วมกับคณะอื่นที่เป็นวิชาเอก ตลอดจนนักศึกษาสังกัดอยู่คณะที่เป็นวิชาเอก และไปเรียนวิชาการสอนที่คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์

           "คำถามคือมาตรฐาน ของบัณฑิตแต่ละโมเดลสามารถเทียบเคียงได้หรือไม่ และครูที่สอนต้องมีสมรรถนะเพิ่มเติม หรือแตกต่างจากครูของคณะอื่น ๆ หรือไม่ ถ้าเข้าไปสังเกตวิธีคัดเลือกครูของคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ จะพบว่ามหาวิทยาลัยใช้เกณฑ์เดียวกันกับการคัดเลือกครูคณะอื่น ๆ

           จริงอยู่อาจมีความแตกต่างเรื่องของความรู้ แต่คุณสมบัติอื่น ๆ ไม่ได้แตกต่างกัน โดยมองว่าต้องเพิ่มเรื่องประสบการณ์การสอนเป็นอีกคุณสมบัติหนึ่ง เพราะครูจะถูกกำหนดให้ไปเป็นอาจารย์นิเทศก์นักศึกษาด้วย แต่ตอนกระบวนการคัดเลือกครูเข้ามาสอนไม่มีใครถามเลยว่าเราเคยนิเทศก์ใครหรือ เปล่า"

           ให้ความสำคัญกับครูใหม่

           เมื่อผลิตบัณฑิตออกไป เป็นครูแล้ว จึงเข้าสู่กระบวนการพัฒนาครูประจำการ ซึ่ง "ดร.จุฑารัตน์" ยกตัวอย่างโมเดลการพัฒนาวิชาชีพครูของประเทศฟินแลนด์ว่ามี 3 ระยะ คือการพัฒนาครูก่อนประจำการ ต่อมาจึงให้ความสำคัญกับการส่งเสริมครูใหม่ โดยช่วง 2-3 ปีแรก เขาจะมอบหมายให้ครูที่มีประสบการณ์มาเป็นอาจารย์พี่เลี้ยงให้คำปรึกษา เพื่อให้ครูใหม่เกิดความมั่นใจในการทำงาน หลังจากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการพัฒนาครูประจำการ

           "สำหรับประเทศไทยมี การสนับสนุนครูใหม่ในรูปแบบของการเป็นครูผู้ช่วย หลายครั้งที่เราพูดถึงเรื่องการพัฒนาครู หลายคนจะบอกว่าให้อดทน เพราะครูในระบบกำลังจะเกษียณเป็นจำนวนมาก เราจะเอาครูพันธุ์ใหม่มาล้างน้ำ แต่เมื่อมีครูพันธุ์ใหม่เข้ามาในระบบ 2 ปีแรกและถูกระบบโปรเวชั่น ครูใหม่คงจะหงอ ๆ ทำตัวคล้อยตามระบบ ตรงนี้มองว่าระบบครูผู้ช่วยไม่ได้ทำให้ครูใหม่เข้มแข็งไปถึงขั้นพัฒนา คุณลักษณะเฉพาะของตัวเองได้"

           หรือแม้แต่การพัฒนาครูประจำการผ่าน โครงการต่าง ๆ ทั้งการประชุม สัมมนา จะพบว่าหลักสูตรอบรมที่เกิดขึ้นมักเป็นการจัดตามกระแส หรือนโยบายด้านการศึกษาขณะนั้น ๆ อีกทั้งการอบรม

           ที่เกิดขึ้นจะเป็น แบบระยะสั้น ๆ ไม่ต่อเนื่องและไม่เชื่อมโยงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสถาบันการศึกษาของตัวเอง "ดร.จุฑารัตน์" ให้ความคิดเห็นทิ้งท้ายว่า สถาบันครุศึกษาน่าจะทำงานวิจัยเกี่ยวกับการผลิตบัณฑิตด้านครุศาสตร์/ศึกษา ศาสตร์ให้มากขึ้นว่าครูควรจะสอนนักศึกษาอย่างไร จากเดิมที่เน้นการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในชั้นเรียน

           "ที่สำคัญคือต้องระดมกลยุทธ์เพื่อให้นักครุศึกษาเห็นบทบาทของตัวเองในการเป็นผู้ นำนอกเหนือจากชั้นเรียนของตัวเอง น่าจะต้องปรับเปลี่ยนความคิดว่าไม่ใช่แค่สอนศิษย์ในวิชาเอก แต่เรามีบทบาทในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านครุศึกษาในวงกว้างด้วย"

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่