สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
มีข้อน่าสังเกตว่า
สยามสามารถนำกำลังเข้าไปถึงเขตแดนญวนได้ แต่ทัพญวนไม่สามารถเข้ามาในแดนสยามได้
- กองทัพสยามทางใต้ตีได้เมืองโจดกหรือเจิวด๊ก (Châu Đốc) และเกือบตีได้เมืองไซ่ง่อน
- กองทัพเรือสยามเข้าตีเมืองชายฝั่งของญวน และทำยุทธนาวีกับกองทัพเรือญวนบริเวณแหลมญวนและทะเลจีนใต้ แม้ฝ่ายสยามจะเป็นฝ่ายล่าถอย แต่กองทัพเรือญวน ก็ไม่เคยเข้ามาในน่านน้ำสยามได้เลย ไกลสุดก็ปากอ่าวเมืองกำปอดเท่านั้น
- กองทัพบกสยามของพระมหาเทพ ที่ตีหัวเมืองลาวตะวันออก คือ เมืองมหาชัย เมืองพอง เมืองพราน เมืองซุมพอน สามารถไหลกำลังเข้าตีเมืองแง่อาน ใกล้จมูกญวนเลยทีเดียว แม้จะตีแง่อานไม่สำเร็จแต่ก็เป็นการหยั่งกำลังที่ญวนต้องหวาดหวั่น เพราะแง่อานอยู่ใกล้กรุงเว้แค่นิดเดียว
- ในปลายสงครามสิ้นรัชกาลจักรพรรดิมินมาง เข้ารัชกาลจักรพรรดิเถียวจิ ฝีมือของกองทัพญวนอ่อนด้วยลงมาก เพราะอ่อนกำลังจากการปราบกบฏเล วัน คอย (Lê Văn Khôi) ที่ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสและราษฎรญวนฝ่ายใต้ กว่าราชสำนักเว้จะปราบได้ก็หืดขึ้นคอเหมือนกัน
- ปลายสงคราม องเตียนกุนแม่ทัพใหญ่ญวนเกิดเพลี่ยงพล้ำต่อเจ้าพระยาบดินทรเดชา ถึงกับแตกทัพเข้ามาเมืองโจดก องเตียนกุนเสียใจที่พ่ายแพ้สยามถึงกินยาพิษฆ่าตัวตายที่เมืองโจดก
สำหรับผลของสงคราม ในทัศนะของผม เห็นว่า "ฝ่ายสยามชนะในยุทธศาสตร์" ครับ
สถานการณ์ในกัมพูชา
ในสมัยรัชกาลที่ ๒ อิทธิพลของสยามเหนือกัมพูชาแทบจะหมดสิ้นไป จะเหลือก็แต่เขตแดนในปกครองของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์เท่านั้น เนื่องจากสมเด็จพระอุทัยราชา หรือนักองค์จันทร์ พระองค์ทรงนำกัมพูชาออกมาจากอำนาจสยามเพราะทรงไม่พอใจราชสำนักกรุงเทพที่หักหน้าพระองค์ที่ไม่ส่งเจ้าจอมมารดารดานักองค์อี และเจ้าจอมนักองค์เภาในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหาท ซึ่งเป็นพระปิตุฉาในสมเด็จพระอุทัยราชาตามที่ทรงขอ
และยังหนุนหลังศัตรูทางการเมืองของพระองค์ คือพระอนุชาทั้งสามประกอบด้วย นักองค์สงวน นักองค์อิ่ม และนักองค์ด้วง ( ทั้งสองฝ่ายจะทำสงครามกลางเมืองกัน แต่สมเด็จพระอุทัยราชาสู้ฝ่ายพระอนุชาไม่ได้ จึงขอกำลังญวนมาช่วย อีกฝ่ายจึงเข้าหากรุงเทพ จริง ๆ ราชสำนักกรุงเทพไม่ได้หนุนหลังฝ่ายใด เพียงแต่ห้ามสงครามกลางเมืองเท่านั้น) สมเด็จพระอุทัยราชาทรงฝักใผ่ราชสำนักเว้สุดขั้วมาก นอกจากจะมีกองทหารญวนมาตั้งค่ายในพนมเปญแล้ว ราชสำนักเขมรยังถูกครอบงำโดยธรรมเนียมญวนทั้งสิ้น กษัตริย์และขุนนางเขมรถูกบังคับให้แต่งตัวตามแบบขุนนางญวน มีการนำเอาวัฒนธรรมญวนเข้ามาให้ในเขมรอย่างเข้มข้น นักองค์จันทร์จะต้องมาเคารพศาลจักรพรรดิญวนแบบเดียวกับที่กษัตริย์เกาหลีต้องปฏิบัติต่อจักรพรรดิจีน ในพงศาวดารเขมรกล่าวว่า
"...องตากุน (*ชื่อแม่ทัพใหญ่ญวน) เป็นใหญ่ ให้ทำค่าย ๆ หนึ่งอยู่ฟากละว้าเอม ปลูกฉางเข้าเปลือก แล้วให้ถมดินทำที่ปลูกตำหนักสำหรับพระบารมีเจ้าเวียดนาม (*หมายถึง ศาลเคารพจักรพรรดิญวน) ไว้ที่แหลมจะโรยจัง ว่าครั้นถึง ณ วันขึ้นค่ำหนึ่ง แลขึ้นสิบห้าค่ำ ให้บรรดามุขมนตรีญวนเขมรไปถวายบังคมระลึกถึงพระคุณเจ้าเวียดนาม แล้วองตากุนเปนใหญ่จึงไว้องเชืองเกนเทืองเป็นเบาฮอ (*ข้าหลวง) กับองเหียบกิน องเบาทัน กับไพร่พล ๑๕๐๐ ให้อยู่รักษาพระบาทผู้เปนเจ้า (*สมเด็จพระอุทัยราชา)...ณ วันเดือนสามแรมสามค่ำ ปีระกา เจ้าเวียดนามตรัสใช้องเหียบกิน นำหมวกเสื้อกางเกงกับบรรดาเครื่องยศมาถวายพระบาทผู้เปนเจ้า...จึงองเหียบกินมอบเครื่องประดับให้เจ้าฟ้าทะละหะนำไปถวายให้เสด็จทรง ครั้นรุ่งขึ้นเพลาเช้าเสด็จไปถวายบังคมพระบารมีรับพระบัณฑูรเจ้าเวียดนาม บรรดาขุนนางนุ่งกางเกงใส่เสื้อโพกศรีษะตามเพศญวนทุกคน... "
(คัดจาก พระราชพงศาวดารเขมรฉบับหอหลวง)
จะเห็นได้ว่าในรัชกาลสมเด็จพระอุทัยราชานี้ อิทธิพลของญวนที่มีต่อราชสำนักเขมรเข้ามาแทนที่อิทธิของสยามเกือบทั้งหมด จากนโยบายกลืนชาติเขมร (assimilation) ของญวน แต่หลังจากสิ้นรัชกาลสมเด็จพระอุทัยราชา ญวนตั้งพระราชธิดาสมเด็จพระอุทยราชา พระนามนักองค์มี ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินกัมพูชา ทำให้เกิดการต่อต้านจากขุนนางต่าง ๆ ประกอบกับการขูดรีดภาษีที่ญวนส่งขุนนางของตนเข้ามาตั้งกองจัดเก็บภาษีด้วยตัวเอง ทำให้ราษฎรก่อการกระด้างกระเดื่อง และมีการนำกองทัพสยามเข้ามาตีกองทัพญวน โดยสยามตั้งนักองค์ด้วงเป็นกษัตริย์เขมรฝ่ายเหนือตั้งราชธานีที่กรุงอุดงมีชัย และญวนตั้งนักองค์มีเป็นกษัตริย์เขมรฝ่ายใต้ตั้งราชธานีที่กรุงพนมเปญ เกิดเป็นสงครามกลางเมืองนานถึง ๑๔ ปี ระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๗๖ - ๒๓๙๐ ในแผ่นดินเขมร ตามที่รู้กันในชื่ออันนามสยามยุทธ์นั่นแหล่ะครับ
ในปี พ.ศ. ๒๓๘๔ นักองค์แบนพระพี่นางเธอในกษัตริย์นักองค์มี ได้แอบต่อต่อกับแม่ทัพสยามเพื่อขอหนีออกจากเวียดนาม แต่ถูกฝ่ายเวียดนามจับได้ จักรพรรดิมิงมาง (Minh Mạng) โปรดให้จับนักองค์แบนถ่วงน้ำ เรื่องนี้ทำให้เกิดจลาจลในเขมร ชาวเขมรชื่อว่า ลัม ซัม (Lam Som) ได้ก่อกบฏขึ้นในจังหวัดจ่าวิญ (Trà Vinh) ต้องใช้เวลาปราบนานพอสมควร ทำให้ราชสำนักเว้ไม่วางใจเขมรอีก จึงปลดนักองค์มีออกจากกษัตริย์เขมรและกวาดต้อนราชสำนักพนมเปญว่าไว้ที่กรุงเว้ แต่พอสิ้นสุดสงครามเพราะการสวรรคตของจักรพรรดิมินมาง จักรพรรดิพระองค์ใหม่พระนาม เถียวจิ (Thiệu Trị) ทรงเห็นว่าสงครามนี้ทำให้ราชสำนักเว้บอกช้ำมาก ญวนต้องเสียเงินและกำลังคนโดยไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันมากนัก จึงเร่งให้มีการการเจรจาสงบศึกในดินแดนเขมรและลาวระหว่างสยามกับญวน ซึ่งก็ไม่ใช่แค่ฝ่ายญวนเท่านั้นที่คิดแบบนี้ ราชสำนักกรุงเทพเองก็อยากหาทางลงด้วยอยู่แล้ว เพราะสงครามครั้งนี้สยามก็เสียทรัพยากรไปมากเช่นกัน ในความเห็นของเสนาบดีสยาม ใช้คำว่า "เหมือนพายเรือกลางมหาสมุทร มองไม่เห็นฝั่ง" ทั้งสองฝ่ายจึงสงบศึกกันใน ปี พ.ศ. ๒๓๗๐ โดยฝ่ายญวนยอมให้นักองค์ดวง ซึ่งเป็นกษัตริย์เขมรฝ่ายสยามขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินกัมพูชาเพียงพระองค์เดียว และตั้งราชธานีที่กรุงอุดงมีชัยซึ่งเป็นเขตอิทธิพลของสยามได้ โดยสยามยอมรักษาหน้าตาของฝ่ายญวน ด้วยการให้นักองค์ด้วงไปบรมราชาภิเษกที่กรุงพนมเปญที่เป็นเขตอิทธิพลญวน และเคารพศาลจักรพรรดิญวนที่แหลมจะโรยจัง
นักองค์ดวงประกอบพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบญวน และจัดเครื่องราชบรรณาการไปราชสำนักเว้ และบรมราชาภิเษกตามแบบสยามด้วย เป็น ๒ พิธี แต่นักองค์ด้วงกลับมาประทับที่อุดกงมีชัยเช่นเดิม ในด้านวัฒนธรรมและธรรมเนียมของราชสำนักเขมรกลับมีการฟื้นฟูแบบสยามอย่างเข้มข้นทั้งจารีต ธรรมเนียม หรือแม้แต่พระราชนิยม กษัตริย์สยามโปรดอย่างไร แฟชั่นราชสำนักสยามไปถึงไหน ราชสำนักเขมรก็ทำตามหมด
และที่เห็นได้ชัดว่า สยามประสบผลสำเร็จในการควบคุมราชสำนักเขมรได้มากกว่าญวน เห็นจะเป็นการที่รัชทายาทของเขมรทุกพระองค์ต้องมาเล่าเรียน ผนวช และอาศัยอยู่ในกรุงเทพก่อน ถึงจะไปครองเขมรได้ ในสมัยนักองค์ดวง เมื่อขึ้นครองเขมรแล้ว ก็จัดพระราชโอรสสองพระองค์มาไว้ที่กรุงเทพ คือ นักองค์ราราวดี (ต่อมาเป็นกษัตริย์ นโรดมพรหมบริรักษ์) และนักองค์ศรีสวัสดิ์ (ต่อมาเป็นกษัตริย์ ศรีสวัสดิ์มุณีวงศ์)
ขณะที่ราชสำนักเว้ แทบไม่มีบทบาทต่อความเป็นไปของราชสำนักเขมรอีกเลย นับแต่การบรมราชาภิเษกนักองค์ด้วงเป็นต้นมา
สยามสามารถนำกำลังเข้าไปถึงเขตแดนญวนได้ แต่ทัพญวนไม่สามารถเข้ามาในแดนสยามได้
- กองทัพสยามทางใต้ตีได้เมืองโจดกหรือเจิวด๊ก (Châu Đốc) และเกือบตีได้เมืองไซ่ง่อน
- กองทัพเรือสยามเข้าตีเมืองชายฝั่งของญวน และทำยุทธนาวีกับกองทัพเรือญวนบริเวณแหลมญวนและทะเลจีนใต้ แม้ฝ่ายสยามจะเป็นฝ่ายล่าถอย แต่กองทัพเรือญวน ก็ไม่เคยเข้ามาในน่านน้ำสยามได้เลย ไกลสุดก็ปากอ่าวเมืองกำปอดเท่านั้น
- กองทัพบกสยามของพระมหาเทพ ที่ตีหัวเมืองลาวตะวันออก คือ เมืองมหาชัย เมืองพอง เมืองพราน เมืองซุมพอน สามารถไหลกำลังเข้าตีเมืองแง่อาน ใกล้จมูกญวนเลยทีเดียว แม้จะตีแง่อานไม่สำเร็จแต่ก็เป็นการหยั่งกำลังที่ญวนต้องหวาดหวั่น เพราะแง่อานอยู่ใกล้กรุงเว้แค่นิดเดียว
- ในปลายสงครามสิ้นรัชกาลจักรพรรดิมินมาง เข้ารัชกาลจักรพรรดิเถียวจิ ฝีมือของกองทัพญวนอ่อนด้วยลงมาก เพราะอ่อนกำลังจากการปราบกบฏเล วัน คอย (Lê Văn Khôi) ที่ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสและราษฎรญวนฝ่ายใต้ กว่าราชสำนักเว้จะปราบได้ก็หืดขึ้นคอเหมือนกัน
- ปลายสงคราม องเตียนกุนแม่ทัพใหญ่ญวนเกิดเพลี่ยงพล้ำต่อเจ้าพระยาบดินทรเดชา ถึงกับแตกทัพเข้ามาเมืองโจดก องเตียนกุนเสียใจที่พ่ายแพ้สยามถึงกินยาพิษฆ่าตัวตายที่เมืองโจดก
สำหรับผลของสงคราม ในทัศนะของผม เห็นว่า "ฝ่ายสยามชนะในยุทธศาสตร์" ครับ
สถานการณ์ในกัมพูชา
ในสมัยรัชกาลที่ ๒ อิทธิพลของสยามเหนือกัมพูชาแทบจะหมดสิ้นไป จะเหลือก็แต่เขตแดนในปกครองของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์เท่านั้น เนื่องจากสมเด็จพระอุทัยราชา หรือนักองค์จันทร์ พระองค์ทรงนำกัมพูชาออกมาจากอำนาจสยามเพราะทรงไม่พอใจราชสำนักกรุงเทพที่หักหน้าพระองค์ที่ไม่ส่งเจ้าจอมมารดารดานักองค์อี และเจ้าจอมนักองค์เภาในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหาท ซึ่งเป็นพระปิตุฉาในสมเด็จพระอุทัยราชาตามที่ทรงขอ
และยังหนุนหลังศัตรูทางการเมืองของพระองค์ คือพระอนุชาทั้งสามประกอบด้วย นักองค์สงวน นักองค์อิ่ม และนักองค์ด้วง ( ทั้งสองฝ่ายจะทำสงครามกลางเมืองกัน แต่สมเด็จพระอุทัยราชาสู้ฝ่ายพระอนุชาไม่ได้ จึงขอกำลังญวนมาช่วย อีกฝ่ายจึงเข้าหากรุงเทพ จริง ๆ ราชสำนักกรุงเทพไม่ได้หนุนหลังฝ่ายใด เพียงแต่ห้ามสงครามกลางเมืองเท่านั้น) สมเด็จพระอุทัยราชาทรงฝักใผ่ราชสำนักเว้สุดขั้วมาก นอกจากจะมีกองทหารญวนมาตั้งค่ายในพนมเปญแล้ว ราชสำนักเขมรยังถูกครอบงำโดยธรรมเนียมญวนทั้งสิ้น กษัตริย์และขุนนางเขมรถูกบังคับให้แต่งตัวตามแบบขุนนางญวน มีการนำเอาวัฒนธรรมญวนเข้ามาให้ในเขมรอย่างเข้มข้น นักองค์จันทร์จะต้องมาเคารพศาลจักรพรรดิญวนแบบเดียวกับที่กษัตริย์เกาหลีต้องปฏิบัติต่อจักรพรรดิจีน ในพงศาวดารเขมรกล่าวว่า
"...องตากุน (*ชื่อแม่ทัพใหญ่ญวน) เป็นใหญ่ ให้ทำค่าย ๆ หนึ่งอยู่ฟากละว้าเอม ปลูกฉางเข้าเปลือก แล้วให้ถมดินทำที่ปลูกตำหนักสำหรับพระบารมีเจ้าเวียดนาม (*หมายถึง ศาลเคารพจักรพรรดิญวน) ไว้ที่แหลมจะโรยจัง ว่าครั้นถึง ณ วันขึ้นค่ำหนึ่ง แลขึ้นสิบห้าค่ำ ให้บรรดามุขมนตรีญวนเขมรไปถวายบังคมระลึกถึงพระคุณเจ้าเวียดนาม แล้วองตากุนเปนใหญ่จึงไว้องเชืองเกนเทืองเป็นเบาฮอ (*ข้าหลวง) กับองเหียบกิน องเบาทัน กับไพร่พล ๑๕๐๐ ให้อยู่รักษาพระบาทผู้เปนเจ้า (*สมเด็จพระอุทัยราชา)...ณ วันเดือนสามแรมสามค่ำ ปีระกา เจ้าเวียดนามตรัสใช้องเหียบกิน นำหมวกเสื้อกางเกงกับบรรดาเครื่องยศมาถวายพระบาทผู้เปนเจ้า...จึงองเหียบกินมอบเครื่องประดับให้เจ้าฟ้าทะละหะนำไปถวายให้เสด็จทรง ครั้นรุ่งขึ้นเพลาเช้าเสด็จไปถวายบังคมพระบารมีรับพระบัณฑูรเจ้าเวียดนาม บรรดาขุนนางนุ่งกางเกงใส่เสื้อโพกศรีษะตามเพศญวนทุกคน... "
(คัดจาก พระราชพงศาวดารเขมรฉบับหอหลวง)
จะเห็นได้ว่าในรัชกาลสมเด็จพระอุทัยราชานี้ อิทธิพลของญวนที่มีต่อราชสำนักเขมรเข้ามาแทนที่อิทธิของสยามเกือบทั้งหมด จากนโยบายกลืนชาติเขมร (assimilation) ของญวน แต่หลังจากสิ้นรัชกาลสมเด็จพระอุทัยราชา ญวนตั้งพระราชธิดาสมเด็จพระอุทยราชา พระนามนักองค์มี ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินกัมพูชา ทำให้เกิดการต่อต้านจากขุนนางต่าง ๆ ประกอบกับการขูดรีดภาษีที่ญวนส่งขุนนางของตนเข้ามาตั้งกองจัดเก็บภาษีด้วยตัวเอง ทำให้ราษฎรก่อการกระด้างกระเดื่อง และมีการนำกองทัพสยามเข้ามาตีกองทัพญวน โดยสยามตั้งนักองค์ด้วงเป็นกษัตริย์เขมรฝ่ายเหนือตั้งราชธานีที่กรุงอุดงมีชัย และญวนตั้งนักองค์มีเป็นกษัตริย์เขมรฝ่ายใต้ตั้งราชธานีที่กรุงพนมเปญ เกิดเป็นสงครามกลางเมืองนานถึง ๑๔ ปี ระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๗๖ - ๒๓๙๐ ในแผ่นดินเขมร ตามที่รู้กันในชื่ออันนามสยามยุทธ์นั่นแหล่ะครับ
ในปี พ.ศ. ๒๓๘๔ นักองค์แบนพระพี่นางเธอในกษัตริย์นักองค์มี ได้แอบต่อต่อกับแม่ทัพสยามเพื่อขอหนีออกจากเวียดนาม แต่ถูกฝ่ายเวียดนามจับได้ จักรพรรดิมิงมาง (Minh Mạng) โปรดให้จับนักองค์แบนถ่วงน้ำ เรื่องนี้ทำให้เกิดจลาจลในเขมร ชาวเขมรชื่อว่า ลัม ซัม (Lam Som) ได้ก่อกบฏขึ้นในจังหวัดจ่าวิญ (Trà Vinh) ต้องใช้เวลาปราบนานพอสมควร ทำให้ราชสำนักเว้ไม่วางใจเขมรอีก จึงปลดนักองค์มีออกจากกษัตริย์เขมรและกวาดต้อนราชสำนักพนมเปญว่าไว้ที่กรุงเว้ แต่พอสิ้นสุดสงครามเพราะการสวรรคตของจักรพรรดิมินมาง จักรพรรดิพระองค์ใหม่พระนาม เถียวจิ (Thiệu Trị) ทรงเห็นว่าสงครามนี้ทำให้ราชสำนักเว้บอกช้ำมาก ญวนต้องเสียเงินและกำลังคนโดยไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันมากนัก จึงเร่งให้มีการการเจรจาสงบศึกในดินแดนเขมรและลาวระหว่างสยามกับญวน ซึ่งก็ไม่ใช่แค่ฝ่ายญวนเท่านั้นที่คิดแบบนี้ ราชสำนักกรุงเทพเองก็อยากหาทางลงด้วยอยู่แล้ว เพราะสงครามครั้งนี้สยามก็เสียทรัพยากรไปมากเช่นกัน ในความเห็นของเสนาบดีสยาม ใช้คำว่า "เหมือนพายเรือกลางมหาสมุทร มองไม่เห็นฝั่ง" ทั้งสองฝ่ายจึงสงบศึกกันใน ปี พ.ศ. ๒๓๗๐ โดยฝ่ายญวนยอมให้นักองค์ดวง ซึ่งเป็นกษัตริย์เขมรฝ่ายสยามขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินกัมพูชาเพียงพระองค์เดียว และตั้งราชธานีที่กรุงอุดงมีชัยซึ่งเป็นเขตอิทธิพลของสยามได้ โดยสยามยอมรักษาหน้าตาของฝ่ายญวน ด้วยการให้นักองค์ด้วงไปบรมราชาภิเษกที่กรุงพนมเปญที่เป็นเขตอิทธิพลญวน และเคารพศาลจักรพรรดิญวนที่แหลมจะโรยจัง
นักองค์ดวงประกอบพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบญวน และจัดเครื่องราชบรรณาการไปราชสำนักเว้ และบรมราชาภิเษกตามแบบสยามด้วย เป็น ๒ พิธี แต่นักองค์ด้วงกลับมาประทับที่อุดกงมีชัยเช่นเดิม ในด้านวัฒนธรรมและธรรมเนียมของราชสำนักเขมรกลับมีการฟื้นฟูแบบสยามอย่างเข้มข้นทั้งจารีต ธรรมเนียม หรือแม้แต่พระราชนิยม กษัตริย์สยามโปรดอย่างไร แฟชั่นราชสำนักสยามไปถึงไหน ราชสำนักเขมรก็ทำตามหมด
และที่เห็นได้ชัดว่า สยามประสบผลสำเร็จในการควบคุมราชสำนักเขมรได้มากกว่าญวน เห็นจะเป็นการที่รัชทายาทของเขมรทุกพระองค์ต้องมาเล่าเรียน ผนวช และอาศัยอยู่ในกรุงเทพก่อน ถึงจะไปครองเขมรได้ ในสมัยนักองค์ดวง เมื่อขึ้นครองเขมรแล้ว ก็จัดพระราชโอรสสองพระองค์มาไว้ที่กรุงเทพ คือ นักองค์ราราวดี (ต่อมาเป็นกษัตริย์ นโรดมพรหมบริรักษ์) และนักองค์ศรีสวัสดิ์ (ต่อมาเป็นกษัตริย์ ศรีสวัสดิ์มุณีวงศ์)
ขณะที่ราชสำนักเว้ แทบไม่มีบทบาทต่อความเป็นไปของราชสำนักเขมรอีกเลย นับแต่การบรมราชาภิเษกนักองค์ด้วงเป็นต้นมา
แสดงความคิดเห็น
ในสงครามอานามสยามยุทธ ใครชนะใครแพ้กันแน่ครับ