ภิกษุ ท. ! ปธานิยังคะ ๕ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่. ห้าอย่าง อย่างไรเล่า ? ห้าอย่างคือ ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ :-
๑. เป็นผู้ มีศรัทธา ย่อมเชื่อความตรัสรู้ของตถาคต ว่า “แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนควรฝึก อย่างไม่มีใคร
ยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์” ดังนี้.
๒. เป็นผู้ มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย มีไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารที่ย่อย ได้สม่ำเสมอ ปานกลาง ไม่ร้อนเกิน ไม่เย็นเกิน พอควรแก่การบำเพ็ญเพียร.
๓. เป็นผู้ ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เป็นผู้เปิดเผยตนเองตามที่เป็นจริง ใน พระศาสดา, หรือในเพื่อนสพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย ก็ตาม.
๔. เป็นผู้ ปรารภความเพียร เพื่อการละสิ่งอันเป็นอกุศล เพื่อถึงพร้อมด้วยสิ่งอันเป็นกุศล มีกำลัง มีความบากบั่น หนักแน่น ไม่ทอดทิ้งธุระ ในสิ่งทั้งหลายอันเป็นกุศล.
๕. เป็นผู้ มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาซึ่งสามารถกำหนดความเกิดขึ้นและความดับหายไป เป็นปัญญาอันประเสริฐ เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นเครื่องให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ปธานิยังคะ ๕ อย่าง.
- ปญฺจก. อํ. ๒๒/๗๔/๕๓.
ผู้มีลักษณะควรประกอบความเพียร(พระสูตร)
๑. เป็นผู้ มีศรัทธา ย่อมเชื่อความตรัสรู้ของตถาคต ว่า “แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนควรฝึก อย่างไม่มีใคร
ยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์” ดังนี้.
๒. เป็นผู้ มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย มีไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารที่ย่อย ได้สม่ำเสมอ ปานกลาง ไม่ร้อนเกิน ไม่เย็นเกิน พอควรแก่การบำเพ็ญเพียร.
๓. เป็นผู้ ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เป็นผู้เปิดเผยตนเองตามที่เป็นจริง ใน พระศาสดา, หรือในเพื่อนสพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย ก็ตาม.
๔. เป็นผู้ ปรารภความเพียร เพื่อการละสิ่งอันเป็นอกุศล เพื่อถึงพร้อมด้วยสิ่งอันเป็นกุศล มีกำลัง มีความบากบั่น หนักแน่น ไม่ทอดทิ้งธุระ ในสิ่งทั้งหลายอันเป็นกุศล.
๕. เป็นผู้ มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาซึ่งสามารถกำหนดความเกิดขึ้นและความดับหายไป เป็นปัญญาอันประเสริฐ เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นเครื่องให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ปธานิยังคะ ๕ อย่าง.