"EEC ทางลัดประเทศ" ในการหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง


การจะออกจากกับดักรายได้ปานกลางของประเทศไทยเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เนื่องจาก จะต้องอาศัยความเปลี่ยนแปลงทั้งทางกลยุทธ์ และการส่งเสริมนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล   โดยจะต้องมีการปรับปรุง และมีนโยบายที่ชัดเจน

นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า
ประเทศไทยจะพ้นกับดักรายได้ปานกลางใน 20 ปี หากปล่อยตามธรรมชาติจะไม่มีทาง แต่อีอีซีจะช่วยทำให้ประเทศไทยสามารถขับเคลื่อนได้ โดยพิจารณาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) มีสัดส่วนเกษตร 10% อุตสาหกรรม 40% และบริการ 50% แต่หากพิจารณาแรงงานที่กระจายในแต่ละภาคดังกล่าวอยู่ที่ 40%, 20% และ 40% ตามลำดับ

ซึ่งแนวโน้มในธุรกิจอุตสาหกรรมจะมีการใช้หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติมากขึ้น และแนวโน้มของภาคบริการเติบโตขึ้นอย่างมาก ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ต้องมองว่าในอนาคตจะทำอย่างไรต่อ ในประเทศเจริญแล้ว ภาคบริการมีสัดส่วน 70-80% ของจีดีพี แต่ไทยแค่ 50% อนาคตหากจะเติบโตขึ้นต้องเน้นภาคบริการ จะเทรนคนอย่างไร เป็นสิ่งที่เรากังวล ได้คุยกับหอการค้าญี่ปุ่นแล้วมีข้อกังวลว่า แผนต่างๆ ที่รัฐบาลพูดไว้ตรงตามกำหนดการหรือไม่ และเรื่องแรงงานเป็นอย่างไร มีพร้อมหรือไม่


กับดักรายได้ปานกลาง [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ เรื่องกับดักรายได้ปานกลางนี้ มีการพูดถึงในประเทศไทยในช่วงนี้มากขึ้น แต่แท้จริงแล้ว ประเทศไทย ติดอยู่ในกับดักนี้มานานหลายปีแล้ว

เมื่อปี 2011 ธนาคารโลกประกาศว่า ประเทศไทยได้เลื่อนฐานะจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับต่ำ (lower- middle-income country) สู่ประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง (upper- middle-income country) ตอนช่วงเวลานั้นเราทุกๆ คน ต่างดีใจว่า เรากำลังจะหลุดจากกับดักรายได้ปานกลางในอีกไม่กี่ปีต่อมา

แต่ปี 2017 ประเทศไทยเราก็ยังคงอยู่ในระดับเดิมๆ จากปัญหาเดิมๆ ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านรอบๆ ต่างขยับสูงขึ้น สูงขึ้น แม้แต่ประเทศลาว หรือพม่าเอง ที่คนไทยชอบไปดูถูก ดูแคลนเค้าไว้

ซึ่งการชะลอตัวลงอย่างมากทางเศรษฐกิจ ทำให้ประเทศไทยต้องตกอยู่ในสภาพแช่แข็งนี้ต่อไปอีกหลายปี และมีผู้ให้ความเห็นว่า

"ประเทศของเรากำลังติดอยู่กับประเทศรายได้ปานกลางเช่นเดียวกับอีกหลายประเทศทั่วโลก"


แต่ในขณะที่ครั้งหนึ่งประเทศในเอเซีย อย่างเช่น เกาหลีใต้ ที่เมื่อปี 1970 ประเทศเกาหลีใต้กับประเทศไทย เคยมีรายได้ต่อหัวพอๆ กัน คือ ราวๆ 180 ดอลลาร์ แต่ในปี 2015 ประเทศเกาหลีใต้กับมีรายได้ต่อคนที่ 27,222 ดอลลาร์ ส่วนไทยอยู่ที่ 5,816 ดอลลาร์ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ที่มา : Thaipublica

การจะก้าวข้ามจากประเทศที่มีรายได้ปานกลาง เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อคนของประชากรอยู่ที่ 23,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประเทศที่พัฒนาแล้ว) ประเทศล่าสุดที่สามารถทำได้ คือ โปรตุเกส เมื่อปี 2008

หากเรา(คนไทย) ยังรอต่อไป อาจจะต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 20 ปี ในขณะที่ประเทศมาเลเซียจะกลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วอีกเพียงแค่ 5 ปี เท่านั้น แล้ว

ดังนั้น ความท้าทายของประเทศไทยในการหลุดจากกับดักรายได้ปานกลาง คือการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมระดับสูง และพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่