นักเรียน ม.ต้น ม.ปลายจากภาคอีสาน ซึ่งเคยเป็นกำลังหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย 30 ปีก่อน เค้าหายไปไหนกันหมด ?

ทำไมเถ้าแก่ต้องหันไปพึ่งพาแรงงานต่างด้าวแทน  ด้วยเหตุผลว่าแรงงานขาดแคลน

ก.เค้าเรียนสูงขึ้น ชีวิตความเป็นอยุ่ดีขึ้น ไม่ต้องมาขายแรงงานแล้ว
ข.ภาคอีสานไม่ได้แห้งแล้ง ไม่ต้องหนีแล้งย้ายถิ่น ปลูกข้าว ปลูกยาง ปลูกอ้อย ทุเรียน อยู่บ้านได้แล้ว
ค. ค่าแรงในไทยไม่จูงใจ บินไปเป็นแรงงานเมืองนอก ไต้หวัน เกาหลี เมกา ยุโรป อิสราเอล ฯลฯ
ง.  ทำงานอิสระ ขายส้มตำ ขับวิน วิ่งแกร๊บ อินฟลูฯ ได้เงินเยอะกว่าเป็นแรงงาน

คิดว่าเหตุผลอะไรทำให้แรงงานที่เคยขับเคลื่อนประเทศไทยมากว่า 30 ปี จู่ๆ หาย จนต้องไปพึ่งแรงงานพม่า เขมรแทนครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 11
ถูกทุกข้อเลยค่ะ

แต่ขอเสริมอีกนิดนะคะ ที่บางคนชอบบอกว่าคนไทยขี้เกียจ เลือกงาน รักสบาย ไม่มีความขยันอดทนเท่าต่างด้าว  นายจ้างเลยไปจ้างต่างด้าว อันนี้เราขอเถียง แต่สาเหตุหลักๆที่คนไทยไม่ทำคือ รายได้มันน้อย ไม่คุ้มกับหยาดเหงื่อที่เสียไปค่ะ แรงงานไทยในปัจจุบันจึงนิยมไปทำงานที่ต่างประเทศ เพราะทำงาน8ชั่วโมงเท่ากัน แต่ได้ค่าแรงเยอะกว่า และก็ไม่ใช่งานสบายเลย เป็นงานโรงงาน ทำเกษตร งานที่ต้องใช้แรงงานหนักเหมือนกับทำที่เมืองไทยเลย  บางงานก็ตากแดดตากฝน เหนื่อยเหมือนกัน ต้องขยัน และต้องอดทนเหมือนกัน แต่มันก็คุ้มกับค่าแรงที่ได้รับ เขาเลยนิยมไปต่างประเทศกันค่ะ ไม่ใช่เพราะขี้เกียจ หรือเลือกงานเลยค่ะ งานหนักเขาก็ทำได้หมดนั่นแหละ เพียงแต่ทำแล้วได้วันละ300เขาก็ไม่ทำ แค่นั้นเอง เขาจึงไปเอาวันละ1-2พันที่เมืองนอกค่ะ   เราเห็นคนไปเกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน ก็ไม่ได้ทำงานสบายๆเลย งานหนักเหมือนกัน แต่ทำ8ชั่วโมงได้2พันบาทมันก็หายเหนื่อยค่ะ ดังนั้น จะมาบอกว่าคนไทยขี้เกียจมันไม่จริงค่ะ  เพราะคนขี้เกียจจะไม่สามารถไปทำงานหนักที่ต่างประเทศได้ค่ะ เหมือนกับแรงงานต่างด้าวมาไทยนั่นแหละค่ะ  ถ้าทำงานที่บ้านเขาได้เดือนละ3พันกว่าบาท แต่มาไทยได้เดือนละหมื่นกว่า เทียบเท่าทำที่บ้านเขา3เดือน  เขาจึงไม่ทำงานที่ประเทศตัวเอง ไม่ขยันที่ประเทศตัวเอง ไม่อดทน เพราะอดทนไปก็ไม่รวย   เขาจึงพากันมาขยันที่เมืองไทยไงคะ  เพราะเก็บเงินบาทที่ไทย แล้วขนกลับไปแลกเป็นเงินบ้านเขา มันก็ได้เยอะมากๆ  เฉกเช่นเดียวกับแรงงานไทย ไม่ขยันที่ไทย แต่ไปขยันที่อื่น เก็บเงินที่อื่นแล้วขนเงินกลับมาไทย แลกเป็นเงินบาท มันก็ได้เยอะกว่าทำที่ไทยค่ะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่