ในสมัยโบราณนับพันนับหมื่นปีก่อนนั้น คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มองความตายเป็นสิ่งยิ่งใหญ่และสวยงาม มนุษย์เมื่อสูญสิ้นชีวิต เปรียบเสมือนได้หวนคืนกลับสู่ธรรมชาติ ได้คืนกลับสู่ผืนดิน กลับสู่ผืนน้ำ กลับสู่เปลวไฟ คืนกลับสู่สิ่งดั้งเดิมแท้จริงที่มนุษย์เราจากมาแสนนาน ในบางท้องถิ่นอาจจะถือว่าการตายไม่ใช่การตาย แต่เป็นการย้ายจิตหรือย้ายขวัญไปสู่อีกที่หนึ่ง ไปอยู่ยังต้นไม้ ไปอยู่ยังก้อนหิน หรือไปประดิษฐานในหลุมศพที่ได้จัดเตรียมไว้ วิญญาณหรือจิตยังคงอยู่คุ้มครองคนในชุมชน มิได้หนีหายไปไหน นั้นคือความเชื่อเมื่อนานมาแล้ว ก่อนภูมิภาคนี้จะรับศาสนาพราหมณ์-พุทธ
คนโบราณในภูมิภาคอุษาคเนย์นั้น เมื่อมีญาติพี่น้องหรือคนใกล้ชิดเสียชีวิต ก็จะเสียใจอยู่ประเดี๋ยวประด๋าว แต่แล้วก็จะกลับมายินดี มาร่วมเฉลิมฉลองส่งวิญญาณ มีการจัดพิธีกรรรมอันเป็นมงคล มีขบวนแห่ศพมีเครื่องประโคม เช่น ฆ้อง กลอง หรือมโหระทึก ผู้มาร่วมในพิธีก็จะแต่งกายสีสันฉูดฉาดมาร่วมแสดงความยินดี มีการกินเลี้ยง ดื่มสุรา ขับลำบอกเล่าเรื่องราวของเผ่าพันธุ์ ทั้งหมดเป็นการมาร่วมส่งวิญญาณไปสู่ดินแดนเดิม คนในภูมิภาคนี้เริ่มจะมาดัดจริตแต่งชุดดำ แสดงความเศร้าโศกเสียใจ ลักษณะของงานศพเปลี่ยนมาเป็นงานเศร้า ก็ต่อเมื่อรับวัฒนธรรมของตะวันตกเมื่อไม่นานมานี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าสิ่งไหนดี สิ่งไหนไม่ดี ของเก่าดี ของใหม่ร้าย แต่กำลังจะแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนถ่าย การแลกเปลี่ยนกันของวัฒนธรรม
ในสมัยโบราณเมื่อมีคนตายในชุมชน โดยเฉพาะถ้าเป็นคนสำคัญ เช่นผู้นำหมู่บ้าน ผู้เฒ่าผู้แก่ ศพจะถูกฝังในสถานที่เฉพาะของท้องถิ่น เช่นบริเวณหลังหมู่บ้าน
และจะถือว่าสถานที่นั้นเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นศูนย์รวมจิตใจ เป็นสถานที่แห่งจิตวิญญาณของหมู่บ้าน สถานที่ฝังศพนั้นนอกจากจะใช้เป็นที่ฝังศพแล้ว ยังใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมอื่น ๆ ของชุมชน เป็นที่รวมชุมนุม ประกาศข่าว และใช้เป็นที่จัดพิธีกรรมเฉลิมฉลองตามฤดูกาล สถานที่ฝังศพในสมัยโบราณจึงเป็นที่ "มงคล" ไมใช่ที่ "อวมงคล" ที่คนสมัยใหม่เปลี่ยนค่านิยม มารังเกียจป่าช้า ว่าเป็นสถานที่อัปมงคลไม่ควรเข้าไป ยกเว้นตอนจะเข้าไปกราบไหว้บูชาศพบรรพบุรุษเท่านั้น
เมื่อถือสถานที่ฝังศพ-ปลงศพ เป็นสถานที่สำคัญของชุมชน จึงมีการนำหินตั้งมาปักดินเพื่อบอกอาณาเขตของแดนศักดิ์สิทธิ์นั้น และต่อมาจึงมีพัฒนาการไปใน 2 รูปแบบ
1. เมื่อมีการรับศาสนาพุทธเข้ามา ขอบเขตของแดนศักดิ์สิทธิ์จึงเปลี่ยนเป็น วัด หรือสำนักสงฆ์ มีการใช้ 'เสมา' แทนหินตั้ง เป็นการบอกขอบเขตพัทธสีมาหรือเขตแดนของวัด วัดกลายเป็นศูนย์รวมจิตใจหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชุมชนแทนสถานที่ฝังศพ โดยได้ควบรวมสถานที่ฝัง-ปลงศพ เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวัดด้วย คือเชิงตะกอนหรือเมรุ
2. เมื่อมีการรับศาสนาพราหมณ์ สถานที่ฝังศพจึงพัฒนาการกลายเป็นปราสาท เพื่อบูชาเทพในศาสนาพราหมณ์ เช่นปราสาทหินพิมาย ปราสาทนครวัด
ในท้องถิ่นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อมีคนตาย จะมีวิธีจัดการกับศพดังนี้
- ปล่อยให้แร้งกาจิกกิน
- ฝังดิน
เมื่อมีการฝังดินแล้วนั้น ต่อมาจึงมีกรรมวิธีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของดินแดนแถบนี้ เรียกว่า
พิธีการฝังศพครั้งที่ 2 คือเมื่อฝังดินจนศพเน่าเปื่อยแล้ว ก็จะขุดเอาเฉพาะกระดูกนั้นขึ้นมา เอามาใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ เช่น หม้อ ไห ต่อมาเมื่อมีการรับวัฒธรรมของอินเดียเข้ามา การฝังศพจึงเปลี่ยนเป็นเผาศพ คือเปลี่ยนจากการการ "ปลงด้วยดิน" เป็น "ปลงด้วยไฟ" แต่เมื่อเผาแล้วก็ยังคงเอากระดูกเก็บใส่ภาชนะไว้ เช่นเดิม คือยังคงพิธีกรรมฝังศพครั้งที่สอง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นไว้อยู่ และสำหรับท้องถิ่นที่อยู่ใกล้น้ำ จะใช้วิธีการ "ปลงด้วยน้ำ" คือนำศพลอยไปตามน้ำ ซึ่งต่อมาวิวัฒนาการเป็นการลอยอังคาร คือการนำเถ้ากระดูกไปโปรยในแม่น้ำหรือทะเล
ภาชนะใส่กระดูกในพิธีกรรมฝังศพครั้งที่สองนั้น ต่อมาพัฒนาการเป็น
"โกศ" เป็นที่เก็บกระดูก สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่นั้นมาพิธีกรรมศพส่วนใหญ่ของสยาม จึงใช้วิธีการเผา และเก็บกระดูไว้ในโกศ
การเผาศพนั้น มีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงมาเรื่อยตามยุคสมัย แต่เริ่มเดิมทีนั้น ก็จะเป็นการทำที่ตั้งหรือที่เผาศพ โดยใช้ไม้ซ้อนตั้ง วางเรียงขวางไปขวางมาสูงประมาณ 1 เมตร แล้วยกศพวางขึ้นบนกองไม้นั้น เรียก "เชิงตะกอน" ต่อมาจึงมีพัฒนาการทำเชิงตะกอนแบบปูน เพื่อให้สะดวก และสามารถใช้ได้หลายครั้งมากขึ้น ดังนั้นแต่ละวัดก็จะมีเชิงตะกอนสำหรับไว้ใช้เผาศพ
การเผาศพแบบเชิงตะกอนนี้ทำค่อนข้างโจ่งแจ้ง ผู้มาร่วมพิธีศพก็จะได้เห็นร่างของคนตายค่อยๆ ถูกเผาไหม้ไปเรื่อย ๆ ทั้งน้ำเลือด น้ำหนอง ก็จะค่อย ๆ ไหลย้อย ผิวหนังบวมปูดรอการแตกสลาย ทุกส่วนในร่างกายถูกเผาไหม้เกรียมอยู่ในกองไฟ เมื่อเห็นชัดเจนขนาดนั้น ผู้มาร่วมงานที่เห็นศพถูกเผา ก็จะค่อย ๆ ตระหนักรู่ว่าสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นของซึ่งแท้จริงแล้วไม่สวยงาม เป็นสิ่งไม่จีรัง มีขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป ร่างกายที่เคยสดสวย ท้ายสุดก็ต้องมอดไหม้ไปในกองไฟ จึงเกิดความปลงอนิจจัง คลายความเศร้าโศกเสียใจไปได้อย่างมาก สิ่งนี้เป็นเจตนารมณ์ดั้งเดิมของของการเผาศพที่มีมาช้านานตั้งแต่ครั้งพุทธกาล แต่คนในยุคสมัยนี้ กลับมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่ามองเพราะเป็นสิ่งที่ดูแล้วอุจาดตา และหันมาใช้การเผาศพแบบสมัยใหม่ ที่มีการปกปิดกันแบบมิดชิดแทน
เมื่อมีผู้เห็นว่าการเผาศพแบบเชิงตะกอนนั้นไม่น่าดู อุจาดตา เลยคิดที่เผาศพแบบใหม่ขึ้น ซึ่งทำในที่ปกปิดมิดชิด ศพจะถูกเผาในอาคารที่เตรียมไว้สำหรับฌาปานกิจศพ จะพุ่งขึ้นมาให้เห็น ก็เพียงแต่เฉพาะกลุ่มควันที่เกิดจากการเผาศพ เรียกสถานที่เผาศพแบบใหม่นี้ว่า
'เมรุ'
เมรุเผาศพนั้นเพิ่งจะมามีเมื่อไม่กี่ร้อยปีมานี้นี่เอง เรียกเริ่มเดิมทีก็เกิดจากการทำพิธีศพของพระมหากษัตรยิ์ ซึ่งถือว่าพระองค์ทรงเป็นสมมติเทพ เมื่อเสด็จสวรรคตแล้วนั้น วิญญาณของพระองค์จะทรงเสด็จกลับไปสู่สรวงสวรรค์ และตามหลักของไตรภูมิโลกวินิจฉัย ซึ่งเป็นคัมภีร์ของพราหมณ์-พุทธนั้น เขาพระสุเมรุคือ ภูเขาที่เป็นหลักของโลก ตั้งอยู่จุดศูนย์กลางของโลกหรือจักรวาล เป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต วิญญาณในภพและภูมิต่างๆ นับแต่สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน ไปถึงมนุษย์นาค ครุฑ ยักษ์มาร คนธรรพ์ ฤๅษี และเทวดา โดยมีปลาอานนท์หนุนอยู่ รอบๆ เขาพระสุเมรุ
บนยอดเขาพระสุเมรุ คือสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีนครแห่งเทพที่ชื่อนครไตรตรึงษ์อยู่ มีพระอินทร์เทวราชเป็นผู้ปกครองทำหน้าที่เป็นเทวราชผู้อภิบาลโลก และพิทักษ์คุณธรรมให้แก่มนุษย์ ที่อยู่ของพระอินทร์เรียกว่าไพชยนต์มหาปราสาท ตรงกลางเป็นที่ประดิษฐานแท่นบัณฑุกัมพลอันเป็นทิพยอาสน์ ดังนั้นเมื่อสมเด็จพระมหากษัตริย์ทรงสวรรคต ก็เปรียบเสมือนจะทรงกลับไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ ดังนั้นจะต้องใช้ "พระสุเมรุ" หรือ "เมรุ" เป็นสถานที่ส่งศพ
ดังนั้นจึงมีการสร้าง "เมรุหลวง" สำหรับเป็นที่ใช้พระราชทานเพลิงศพ ในครั้งแรกสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยเมรุหลวงจะเป็นเมรุชั่วคราว สร้างอยู่ในลานกลางแจ้ง โดยสร้างเป็นรูปทรงเลียนแบบเขาพระสุเมรุ เป็นทรงกุฎาคารหรืออาคารเรือนยอด ตกแต่งประดับประดาสวยงาม เรียกว่า
"พระเมรุมาศ"
พิธีออกเมรุหรือพิธีพระราชทานเพลิงศพที่ยิ่งใหญ่ล่าสุดที่เราได้เห็น ก็คือพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่มีการสร้างพระเมรุสวยงามที่ท้องสนามหลวง
พระเมรุนั้นต่อมาได้พัฒนา เป็นเมรุ อยู่ตามวัดต่าง ๆ ใช้สำหรับพิธีเผาศพคนธรรมดาสามัญ
การถวายพระเพลิงสมัยก่อนนั้น มีนัยยะทางการเมืองแฝง ช่วงเปลี่ยนแผ่นดิน เป็นช่วงอ่อนแอ กษัตริย์พระองค์ใหม่จึงต้องแสดงอำนาจ แสดงความเข้มแข็งให้ประจักษ์ งานพระศพเจ้านายองค์ก่อนจึงถือเป็นเรื่องใหญ่โต ต้องส่งวัตถุดิบ ไม้ซุง ของใช้มาจากหัวเมือง ประเทศราช พระเมรุมาศสมัยก่อนใหญ่โตกว่าที่มโหฬาร ถ้าดูรูปพระศพรัชกาลที่ 5 ย้อนขึ้นไป ขนาดอาคารพระเมรุมาศก็ครึ่งสนามหลวงแล้ว ความสูงตึกเป็นสิบชั้นจนมาสมัย ร. 6 มีพระดำริว่าเป็นการสิ้นเปลือง และสมัยใหม่ก็ไม่ต้องแสดงนัยยะในทำนองนี้อีกแล้ว แต่จะจัดการพระศพ ร. 5 ผิดธรรมเนียมเดิมก็ไม่สมควร เลยทรงสั่งไว้ว่า ให้เป็นพระศพสุดท้าย ต่อๆไป เจ้านายตั้งแต่ชั้นรอง ๆ ลองมา ให้คงราชประเพณีการสร้างและถวายพระเพลิงตามเดิม แต่ลดขนาดเมรุมาศลง ให้ครบตามราชประเพณีแต่ไม่ต้องใหญ่โตมโหฬาร เลยมีขนาดเท่าที่เห็น ส่วนเจ้านายชั้นรองๆลงมา และพระสังฆราช โปรดให้สร้างเมรุหลวงเป็นการถาวรที่วัดเทพศิรินทร์ เมรุนี้ เรียกเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ ใช้เผาเฉพาะเจ้านายและสมเด็จพระสังฆราช
ดังนั้นพระราชพิธีออกพระเมรุ ของสมเด็จพระสังฆราช หรือเจ้านายชั้นสูงในยุคหลัง เราจึงเห็นกระทำกันที่วัดเทพศิรินทร์
นี้จึงเป็นเหตุผลว่า เหตุใดจึงต้องเคลื่อนพระศพสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก จากวัดบวรนิเวศวิหาร มาทำพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพที่วัดเทพศรินทราวาสราชวรวิหาร ก็ด้วยสาเหตุประการฉะนี้
ภาพประกอบ : พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
พิธีกรรมฝังศพของคนในภูมิภาคอุษาคเนย์
คนโบราณในภูมิภาคอุษาคเนย์นั้น เมื่อมีญาติพี่น้องหรือคนใกล้ชิดเสียชีวิต ก็จะเสียใจอยู่ประเดี๋ยวประด๋าว แต่แล้วก็จะกลับมายินดี มาร่วมเฉลิมฉลองส่งวิญญาณ มีการจัดพิธีกรรรมอันเป็นมงคล มีขบวนแห่ศพมีเครื่องประโคม เช่น ฆ้อง กลอง หรือมโหระทึก ผู้มาร่วมในพิธีก็จะแต่งกายสีสันฉูดฉาดมาร่วมแสดงความยินดี มีการกินเลี้ยง ดื่มสุรา ขับลำบอกเล่าเรื่องราวของเผ่าพันธุ์ ทั้งหมดเป็นการมาร่วมส่งวิญญาณไปสู่ดินแดนเดิม คนในภูมิภาคนี้เริ่มจะมาดัดจริตแต่งชุดดำ แสดงความเศร้าโศกเสียใจ ลักษณะของงานศพเปลี่ยนมาเป็นงานเศร้า ก็ต่อเมื่อรับวัฒนธรรมของตะวันตกเมื่อไม่นานมานี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าสิ่งไหนดี สิ่งไหนไม่ดี ของเก่าดี ของใหม่ร้าย แต่กำลังจะแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนถ่าย การแลกเปลี่ยนกันของวัฒนธรรม
ในสมัยโบราณเมื่อมีคนตายในชุมชน โดยเฉพาะถ้าเป็นคนสำคัญ เช่นผู้นำหมู่บ้าน ผู้เฒ่าผู้แก่ ศพจะถูกฝังในสถานที่เฉพาะของท้องถิ่น เช่นบริเวณหลังหมู่บ้าน และจะถือว่าสถานที่นั้นเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นศูนย์รวมจิตใจ เป็นสถานที่แห่งจิตวิญญาณของหมู่บ้าน สถานที่ฝังศพนั้นนอกจากจะใช้เป็นที่ฝังศพแล้ว ยังใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมอื่น ๆ ของชุมชน เป็นที่รวมชุมนุม ประกาศข่าว และใช้เป็นที่จัดพิธีกรรมเฉลิมฉลองตามฤดูกาล สถานที่ฝังศพในสมัยโบราณจึงเป็นที่ "มงคล" ไมใช่ที่ "อวมงคล" ที่คนสมัยใหม่เปลี่ยนค่านิยม มารังเกียจป่าช้า ว่าเป็นสถานที่อัปมงคลไม่ควรเข้าไป ยกเว้นตอนจะเข้าไปกราบไหว้บูชาศพบรรพบุรุษเท่านั้น
เมื่อถือสถานที่ฝังศพ-ปลงศพ เป็นสถานที่สำคัญของชุมชน จึงมีการนำหินตั้งมาปักดินเพื่อบอกอาณาเขตของแดนศักดิ์สิทธิ์นั้น และต่อมาจึงมีพัฒนาการไปใน 2 รูปแบบ
1. เมื่อมีการรับศาสนาพุทธเข้ามา ขอบเขตของแดนศักดิ์สิทธิ์จึงเปลี่ยนเป็น วัด หรือสำนักสงฆ์ มีการใช้ 'เสมา' แทนหินตั้ง เป็นการบอกขอบเขตพัทธสีมาหรือเขตแดนของวัด วัดกลายเป็นศูนย์รวมจิตใจหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชุมชนแทนสถานที่ฝังศพ โดยได้ควบรวมสถานที่ฝัง-ปลงศพ เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวัดด้วย คือเชิงตะกอนหรือเมรุ
2. เมื่อมีการรับศาสนาพราหมณ์ สถานที่ฝังศพจึงพัฒนาการกลายเป็นปราสาท เพื่อบูชาเทพในศาสนาพราหมณ์ เช่นปราสาทหินพิมาย ปราสาทนครวัด
ในท้องถิ่นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อมีคนตาย จะมีวิธีจัดการกับศพดังนี้
- ปล่อยให้แร้งกาจิกกิน
- ฝังดิน
เมื่อมีการฝังดินแล้วนั้น ต่อมาจึงมีกรรมวิธีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของดินแดนแถบนี้ เรียกว่าพิธีการฝังศพครั้งที่ 2 คือเมื่อฝังดินจนศพเน่าเปื่อยแล้ว ก็จะขุดเอาเฉพาะกระดูกนั้นขึ้นมา เอามาใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ เช่น หม้อ ไห ต่อมาเมื่อมีการรับวัฒธรรมของอินเดียเข้ามา การฝังศพจึงเปลี่ยนเป็นเผาศพ คือเปลี่ยนจากการการ "ปลงด้วยดิน" เป็น "ปลงด้วยไฟ" แต่เมื่อเผาแล้วก็ยังคงเอากระดูกเก็บใส่ภาชนะไว้ เช่นเดิม คือยังคงพิธีกรรมฝังศพครั้งที่สอง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นไว้อยู่ และสำหรับท้องถิ่นที่อยู่ใกล้น้ำ จะใช้วิธีการ "ปลงด้วยน้ำ" คือนำศพลอยไปตามน้ำ ซึ่งต่อมาวิวัฒนาการเป็นการลอยอังคาร คือการนำเถ้ากระดูกไปโปรยในแม่น้ำหรือทะเล
ภาชนะใส่กระดูกในพิธีกรรมฝังศพครั้งที่สองนั้น ต่อมาพัฒนาการเป็น "โกศ" เป็นที่เก็บกระดูก สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่นั้นมาพิธีกรรมศพส่วนใหญ่ของสยาม จึงใช้วิธีการเผา และเก็บกระดูไว้ในโกศ
การเผาศพนั้น มีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงมาเรื่อยตามยุคสมัย แต่เริ่มเดิมทีนั้น ก็จะเป็นการทำที่ตั้งหรือที่เผาศพ โดยใช้ไม้ซ้อนตั้ง วางเรียงขวางไปขวางมาสูงประมาณ 1 เมตร แล้วยกศพวางขึ้นบนกองไม้นั้น เรียก "เชิงตะกอน" ต่อมาจึงมีพัฒนาการทำเชิงตะกอนแบบปูน เพื่อให้สะดวก และสามารถใช้ได้หลายครั้งมากขึ้น ดังนั้นแต่ละวัดก็จะมีเชิงตะกอนสำหรับไว้ใช้เผาศพ
การเผาศพแบบเชิงตะกอนนี้ทำค่อนข้างโจ่งแจ้ง ผู้มาร่วมพิธีศพก็จะได้เห็นร่างของคนตายค่อยๆ ถูกเผาไหม้ไปเรื่อย ๆ ทั้งน้ำเลือด น้ำหนอง ก็จะค่อย ๆ ไหลย้อย ผิวหนังบวมปูดรอการแตกสลาย ทุกส่วนในร่างกายถูกเผาไหม้เกรียมอยู่ในกองไฟ เมื่อเห็นชัดเจนขนาดนั้น ผู้มาร่วมงานที่เห็นศพถูกเผา ก็จะค่อย ๆ ตระหนักรู่ว่าสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นของซึ่งแท้จริงแล้วไม่สวยงาม เป็นสิ่งไม่จีรัง มีขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป ร่างกายที่เคยสดสวย ท้ายสุดก็ต้องมอดไหม้ไปในกองไฟ จึงเกิดความปลงอนิจจัง คลายความเศร้าโศกเสียใจไปได้อย่างมาก สิ่งนี้เป็นเจตนารมณ์ดั้งเดิมของของการเผาศพที่มีมาช้านานตั้งแต่ครั้งพุทธกาล แต่คนในยุคสมัยนี้ กลับมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่ามองเพราะเป็นสิ่งที่ดูแล้วอุจาดตา และหันมาใช้การเผาศพแบบสมัยใหม่ ที่มีการปกปิดกันแบบมิดชิดแทน
เมื่อมีผู้เห็นว่าการเผาศพแบบเชิงตะกอนนั้นไม่น่าดู อุจาดตา เลยคิดที่เผาศพแบบใหม่ขึ้น ซึ่งทำในที่ปกปิดมิดชิด ศพจะถูกเผาในอาคารที่เตรียมไว้สำหรับฌาปานกิจศพ จะพุ่งขึ้นมาให้เห็น ก็เพียงแต่เฉพาะกลุ่มควันที่เกิดจากการเผาศพ เรียกสถานที่เผาศพแบบใหม่นี้ว่า 'เมรุ'
เมรุเผาศพนั้นเพิ่งจะมามีเมื่อไม่กี่ร้อยปีมานี้นี่เอง เรียกเริ่มเดิมทีก็เกิดจากการทำพิธีศพของพระมหากษัตรยิ์ ซึ่งถือว่าพระองค์ทรงเป็นสมมติเทพ เมื่อเสด็จสวรรคตแล้วนั้น วิญญาณของพระองค์จะทรงเสด็จกลับไปสู่สรวงสวรรค์ และตามหลักของไตรภูมิโลกวินิจฉัย ซึ่งเป็นคัมภีร์ของพราหมณ์-พุทธนั้น เขาพระสุเมรุคือ ภูเขาที่เป็นหลักของโลก ตั้งอยู่จุดศูนย์กลางของโลกหรือจักรวาล เป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต วิญญาณในภพและภูมิต่างๆ นับแต่สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน ไปถึงมนุษย์นาค ครุฑ ยักษ์มาร คนธรรพ์ ฤๅษี และเทวดา โดยมีปลาอานนท์หนุนอยู่ รอบๆ เขาพระสุเมรุ
บนยอดเขาพระสุเมรุ คือสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีนครแห่งเทพที่ชื่อนครไตรตรึงษ์อยู่ มีพระอินทร์เทวราชเป็นผู้ปกครองทำหน้าที่เป็นเทวราชผู้อภิบาลโลก และพิทักษ์คุณธรรมให้แก่มนุษย์ ที่อยู่ของพระอินทร์เรียกว่าไพชยนต์มหาปราสาท ตรงกลางเป็นที่ประดิษฐานแท่นบัณฑุกัมพลอันเป็นทิพยอาสน์ ดังนั้นเมื่อสมเด็จพระมหากษัตริย์ทรงสวรรคต ก็เปรียบเสมือนจะทรงกลับไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ ดังนั้นจะต้องใช้ "พระสุเมรุ" หรือ "เมรุ" เป็นสถานที่ส่งศพ
ดังนั้นจึงมีการสร้าง "เมรุหลวง" สำหรับเป็นที่ใช้พระราชทานเพลิงศพ ในครั้งแรกสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยเมรุหลวงจะเป็นเมรุชั่วคราว สร้างอยู่ในลานกลางแจ้ง โดยสร้างเป็นรูปทรงเลียนแบบเขาพระสุเมรุ เป็นทรงกุฎาคารหรืออาคารเรือนยอด ตกแต่งประดับประดาสวยงาม เรียกว่า "พระเมรุมาศ"
พิธีออกเมรุหรือพิธีพระราชทานเพลิงศพที่ยิ่งใหญ่ล่าสุดที่เราได้เห็น ก็คือพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่มีการสร้างพระเมรุสวยงามที่ท้องสนามหลวง
พระเมรุนั้นต่อมาได้พัฒนา เป็นเมรุ อยู่ตามวัดต่าง ๆ ใช้สำหรับพิธีเผาศพคนธรรมดาสามัญ
การถวายพระเพลิงสมัยก่อนนั้น มีนัยยะทางการเมืองแฝง ช่วงเปลี่ยนแผ่นดิน เป็นช่วงอ่อนแอ กษัตริย์พระองค์ใหม่จึงต้องแสดงอำนาจ แสดงความเข้มแข็งให้ประจักษ์ งานพระศพเจ้านายองค์ก่อนจึงถือเป็นเรื่องใหญ่โต ต้องส่งวัตถุดิบ ไม้ซุง ของใช้มาจากหัวเมือง ประเทศราช พระเมรุมาศสมัยก่อนใหญ่โตกว่าที่มโหฬาร ถ้าดูรูปพระศพรัชกาลที่ 5 ย้อนขึ้นไป ขนาดอาคารพระเมรุมาศก็ครึ่งสนามหลวงแล้ว ความสูงตึกเป็นสิบชั้นจนมาสมัย ร. 6 มีพระดำริว่าเป็นการสิ้นเปลือง และสมัยใหม่ก็ไม่ต้องแสดงนัยยะในทำนองนี้อีกแล้ว แต่จะจัดการพระศพ ร. 5 ผิดธรรมเนียมเดิมก็ไม่สมควร เลยทรงสั่งไว้ว่า ให้เป็นพระศพสุดท้าย ต่อๆไป เจ้านายตั้งแต่ชั้นรอง ๆ ลองมา ให้คงราชประเพณีการสร้างและถวายพระเพลิงตามเดิม แต่ลดขนาดเมรุมาศลง ให้ครบตามราชประเพณีแต่ไม่ต้องใหญ่โตมโหฬาร เลยมีขนาดเท่าที่เห็น ส่วนเจ้านายชั้นรองๆลงมา และพระสังฆราช โปรดให้สร้างเมรุหลวงเป็นการถาวรที่วัดเทพศิรินทร์ เมรุนี้ เรียกเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ ใช้เผาเฉพาะเจ้านายและสมเด็จพระสังฆราช
ดังนั้นพระราชพิธีออกพระเมรุ ของสมเด็จพระสังฆราช หรือเจ้านายชั้นสูงในยุคหลัง เราจึงเห็นกระทำกันที่วัดเทพศิรินทร์
นี้จึงเป็นเหตุผลว่า เหตุใดจึงต้องเคลื่อนพระศพสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก จากวัดบวรนิเวศวิหาร มาทำพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพที่วัดเทพศรินทราวาสราชวรวิหาร ก็ด้วยสาเหตุประการฉะนี้
ภาพประกอบ : พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว