สุจิตต์ วงษ์เทศ : พระเมรุเผาพระศพ มาจาก “เขาพระสุเมรุ

กระทู้ข่าว

พระเมรุ (พระ-เมน) เป็นคำย่อจากคำเต็มว่า เขาพระสุเมรุ (พระ-สุ-เมน)

เหนือจอมเขาพระสุเมรุขึ้นไปเป็นที่ตั้งสวรรค์ บนสวรรค์มีเทวดา เช่น พระอินทร์เป็นจอมจักรพรรดิราช ผู้มีบุญมากๆ เมื่อตายแล้วย่อมขึ้นไปจุติบนสวรรค์

รอบๆ เชิงเขาพระสุเมรุเป็นป่าหิมพานต์ มีสัตว์ศักดิ์สิทธิ์เกิดจากจินตนาการ เช่น ราชสีห์, คชสีห์, กินนร, กินรี ฯลฯ





เขาพระสุเมรุมีพรรณนาในวรรณคดีโบราณหลายเรื่องหลายเล่ม แต่ที่สำคัญคือ ไตรภูมิ ฯลฯ  และอื่นๆ เช่น

คงคายมนามาเป็นเกณฑ์          พระสุเมรุหลักโลกสูงระหง

ดินน้ำลมไฟอันมั่นคง              จึงดำรงได้รอดมาเป็นกาย     

กลอน 4 วรรคที่ยกมานี้ เป็นคำไหว้ครูเสภา ที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชา        นุภาพได้จากผักไห่ (อยุธยา) ตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 2460 ทุกวันนี้คนเสภายังใช้ขับไหว้ครูก่อนทำเสภา

คำไหว้ครูเสภายกย่องเขาพระสุเมรุเป็นแกนของโลก ดังกลอนว่า “พระสุเมรุหลักโลกสูงระหง”ล้อมรอบด้วยภูเขาอีก 5 ยอด คือ วินันตก, หัศกัน, การวิก, อิสินธร, ยุคนธร มีในกลอนเสภาตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง แล้วฟันม่านที่นางวันทองปักไว้เป็นรูปต่างๆ ม่านชั้นหนึ่งปักเป็นหิมพานต์เชิงเขาพระสุเมรุ ดังนี้

ปักเป็นหิมพานต์ตระหง่านงาม อร่ามรูปพระสุเมรุภูผา

วินันตกหัศกันเป็นหลั่นมา                    การวิกอิสินธรยุคุนธร

อากาศคงคาชลาสินธุ์                            มุจลินท์ห้าแถวแนวสลอน

ไกรลาสสะอาดเอี่ยมอรชร                     ฝูงกินนรคนธรรพ์วิทยา         

ลงเล่นน้ำดำดั้นอโนดาต                        ใสสะอาดเยือกเย็นเห็นขอบผา

หมู่มังกรล่อแก้วแพรวพรายตา ทัศนารำลึกถึงวันทอง

เมรุ ถ้าอยู่ท้ายคำอื่นหรืออยู่โดดๆ อ่านว่า เมน ถ้าอยู่ต้นคำเพราะมีคำอื่นต่อท้ายให้อ่าน เม-รุ มีอธิบายความหมายอยู่ในพจนานุกรม ฉบับมติชน ดังนี้

เมรุ (เมน) น. ชื่อภูเขาตัดมาจากเขาพระสุเมรุ; ที่เผาศพซึ่งทำหลังคาเป็นยอดมีรั้วล้อมรอบ, (ราชา) ใช้ว่า พระเมรุ (บ.).

เมรุมาศ (เม-รุ-มาด) น. เมรุทอง, (ราชา) ใช้ว่า พระเมรุมาศ.

เมรุราช (เม-รุ-ราด) น. เขาพระสุเมรุ. (บ.).
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่