ข้อความนี้ผมแชร์มาจากเพจ "คุณอุบลนางรำหลวงแห่งอโยธยา" ครับ
น่าสนใจดี เลยอยากเอามาให้เพื่อนทุกคนอ่านครับ
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1762113140545911&id=1321114244645805
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1762118000545425&id=1321114244645805
งานพระเมรุสมัยอยุธยา ตอนที่ 1
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรเสด็จสู่สวรรคาลัย ร่วมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่สุดมิได้
นี่ก็ใกล้เพลาที่งานพระเมรุจะมาถึงอีกแล้ว วันนี้เลยอยากจะมาเล่าเกี่ยวกับงานพระเมรุสมัยอยุธยาให้ฟังกันนะเจ้าคะ
งานพระเมรุ เป็นพระราชประเพณีโบราณที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา การสร้างพระเมรุแต่ละครั้งจัดทำขึ้นตามพระเกียรติยศของเจ้านาย หากเป็นพระเมรุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ก็จะทำอย่างยิ่งใหญ่มีความสมบูรณ์ครบถ้วน ทั้งในด้านพระราชพิธีตลอดจนศิลปะแขนงต่างๆ อันแสดงถึงวัฒนธรรมไทยที่สืบทอดกันมายาวนาน
ประเพณีงานศพไทย ซึ่งได้รับอิทธิพลความคิดจากชมพูทวีป ทั้งทางพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ ฮินดู คติทางพระพุทธศาสนาใช้หีบใส่ศพ เมื่อเผาแล้วนำอัฐิธาตุไปบรรจุในสถูปหรือเจดีย์ คติทางศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูใช้โกศใส่ศพ เมื่อเผาแล้วนำอัฐิธาตุลอยน้ำ
ประเทศไทยได้รับอิทธิพลทางศาสนาพราหมณ์ผ่านทางขอมจึงได้ใช้โกศเฉพาะพระศพพระเจ้าแผ่นดินหรือพระราชวงศ์ชั้นสูงเท่านั้น ด้วยคติพราหมณ์ถือว่าพระเจ้าแผ่นดินเป็นพระอิศวรหรือพระนารายณ์แบ่งภาคมายังโลก ส่วนศพผู้มีบรรดาศักดิ์ เช่น ศพเสนาบดีที่ได้ใส่โกศนั้นเป็นเพราะพระมหากษัตริย์พระราชทานเกียรติยศเป็นพิเศษ มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
หลักฐานเกี่ยวกับการพระบรมศพปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับต่างๆ แต่อิฉันขออ้างอิงและคัดลอกข้อความบางตอนมาจากพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาและจุลยุทธการวงศ์ ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์นะคะ
แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราช(สมเด็จเจ้าสามพระยา)
มีพระราชดำรัสให้ขุดพระศพเจ้าอ้ายพระยาเจ้ายี่พระยาไปถวายพระเพลิง ที่ถวายพระเพลิงนั้นให้สถาปนาพระมหาธาตุและวิหารเป็นพระอารามแล้ว ให้นามชื่อวัดราชบูรณะ
แผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช
ให้สถาปนาที่พระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระสุริโยทัย นั้นเป็นพระเจดีย์วิหารเสร็จแล้วให้นามวัดสบสวรรค์
แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระเอกาทศรถ
มีพระบรมราชโองการตรัสสั่งแก่ท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งปวง ให้แต่งการพระบรมศพ สมเด็จพระพุทธเจ้าเจ้าหลวง(สมเด็จพระนเรศวรมหาราช) แลแต่งพระเมรุสูงเส้นสิบเจ็ดวา (สูงประมาณตึกหกชั้นในปัจจุบัน) ประดับด้วยเมรุทิศเมรุรายราชวัติฉัตรทองฉัตรนาคฉัตรเบญจรงค์นานเสร็จ ก็อัญเชิญพระบรมศพเสด็จเหนือมหากฤษฎาธารอันประดับด้วยอภิรุมกลิ้งกลดรจนา และท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลายมาประดับแห่ห้อมล้อมมหากฤษฎาธาร ก็อัญเชิญพระศพเสด็จลีลาโดยรัถยาราชวัติไปยังพระเมรุมาศ ด้วยยศบริวารและเครื่องสักการบูชาหนักหนา พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรถอิศวรบรมนาถบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จไปถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ให้นิมนต์พระสงฆ์สบสังวาสหมื่นหนึ่ง ถวายพระราชทานเครื่องอัฐบริขารทักษิณาบูชาพระสงฆ์ทั้งปวงเป็นมโหฬาร
แผ่นดินสมเด็จพระเพทราชาธิราชเจ้า
เนื่องด้วยสมเด็จพระนารายณ์เสด็จสวรรคตที่พระราชวังลพบุรี...จึงให้เจ้าพนักงานจัดแจงการจะเชิญพระบรมศพใส่ในพระโกศเสร็จแล้ว...อัฐเชิญพระบรมโกศลงสู่เรือพระที่นั่งจักรีศรีสมรรถชัย อันอำไพด้วยเศวตมยุรฉัตร บังรวิวรรณบังแทรกไสว แห่แหนไปโดยลำดับชลมารควิถี ลงไปยังกรุงเทพพระมหานคร...ถึงประทับเรือพระที่นั่ง ณ ฉนวนประจำท่าวังหลวง...เชิญพระบรมโกศขึ้นประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งสุริยามรินทร์มหาปราสาท แล้วดำรัสให้เจ้าพนักงานกะเกณฑ์ทำพระเมรุถวายพระเพลิงสมเด็จพระนารายณ์โดยขนานใหญ่ ขื่อเจ็ดวาสองศอก สูงสองเส้นสิบเอ็ดวาศอกคืบ (สูงประมาณตึกเจ็ดชั้นในปัจจุบัน) มียอด 5 ยอด ภายในพระเมรุทอง ประกอบด้วยเครื่องสรรพโสภณพิจิตรต่างๆ และมีพระเมรุทิศ พระเมรุแทรก แลสามซ่างเสร็จ แลการพระเมรุนั้น ประมาณแปดเดือนจึ่งสำเร็จ
สมเด็จพระเพทราชธิราชเจ้า ให้อัญเชิญพระบรมโกศลงลงจากพระที่นั่งสุริยามรินทร์มหาปราสาท ประดิษฐานเหนือบุษบกพระมหาพิชัยราชรถอันอลังการด้วยสุวรรณรัตนวิจิตรต่างๆ สรรพด้วยเศวตบวรฉัตรขนัดอภิรุมชุมสายพรายพรรณ บังพระสุริยันบังแทรกสลอน พลแตรงอนแตรฝรั่ง อุโฆษสังข์ปี่สนั่นบันลือลั่นด้วยศัพท์สำเนียงเสียงดุริยางคดนตรี ปี่กลองชนะประโคมครั่นครื้นกึกก้องกาหลนฤนาท และรถสมเด็จพระสังฆราชสำแดงพระอภิธรรมกถา แลรถโปรยข้าวตอกดอกไม้ รถดยงรถท่อนจันทน์ แลรูปนานาสัตว์จตุบาททวิบาททั้งหลาย หลังมีสังเค็ดใส่จีวรเป็นคู่ แห่ดูมโหฬาราดิเรกพันลึก อธิกด้วยพลแห่แหนแน่นนัน เป็นขนัดโดยขบวนซ้ายขวาหน้าหลัง พรั่งพร้อมด้วยท้าวเสนาบดีมนตรีมุขลูกขุน ข้าทูลละอองพระบาททั้งหลายล้วนแต่งกายนุ่งผ้าท้องขาวตรวจเชิง ใส่ลำพอก เสื้อครุย แวดล้อมพระพิชัยราชรถ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพัชนีฝักมะขาม โบกสามทีให้ทิ้งทาน ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ประจำต้นกาลพฤกษ์ ถวายบังคมลงสามลาแล้วก็ทิ้งทาน ครั้งทิ้งทานแล้วก็ตีฆ้องให้สัญญา ยาตราขบวนแห่ถึงพระเมรุมาศ จึ่งเชิญพระบรมโกศเข้าประดิษฐานในพระเมรุทอง ทรงพระกรุณาให้มีการมหรสพสมโภช และดอกไม้เพลิงต่างๆ แลทรงสดับปกรณ์พระสงฆ์หมื่นหนึ่ง คำรบเจ็ดวัน แล้วถวายพระเพลิง
แผ่นดินสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ)
โปรดให้อัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระเพทราชธิราชเจ้าใส่ในพระโกศเสร็จแล้วประดิษฐานไว้ในพระที่นั่งบรรยงรัตนนาสน์ที่เสด็จสวรรคตนั้น...ทรงพระกรุณาให้ช่างพนักงานจัดการทำพระเมรุมาศขนาดใหญ่ ขื่อเจ็ดวาสองศอก กอรปด้วยเมรุทิศเมรุแทรก และสามสร้างพร้อม แลการพระเมรุมาศนั้น กำหนดสิบเอ็ดเดือนจึ่งสำเร็จ
ต่อมาจึ่งให้อัญเชิญพระบรมโกศขึ้นประดิษฐานเหนือพระมหาพิชัยราชรถแห่แหนเป็นขบวนไป เข้าพระเมรุตามอย่างแต่ก่อนและให้ทิ้งทานต้นกลัปพฤกษ์ แลมหรสพต่างๆทุกประการ ครั้งค่ำให้จุดดอกไม่เพลิงต่างๆ ระทาใหญ่สิบระทา บูชาพระบรมศพ เป็นมโหฬาราธิการยิ่งนัก และทรงสดับปรณ์พระสงฆ์หนึ่งหมื่นรูป คำรบเจ็ดวันแล้วถวายพระเพลิง
แผ่นดินสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ)
มีพระราชดำรัสสั่งให้ช่างพนักงานจัดการทำพระเมรุมาศขนาดใหญ่ ขื่อเจ็ดวาสองศอก สูงสองเส้นสิบเอ็ดว่าศอกคืบ แลการพระเมรทั้งปวงนั้นสิบเอ็ดเดือนจึ่งสำเร็จ ...สมเด็จพระบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว อัญเชิญพระบรมโกศขึ้นประดิษฐานเหนือพระมหาพิชัยราชรถ แล้วแห่เป็นขบวนไปโดยรัถยาราชวัติ เข้าพระเมรุตามอย่างแต่ก่อน และให้ทิ้งทานต้นกัลปพฤกษ์ แลมีมหรสพ แลดอกไม้เพลิงต่างๆ แลทรงสดับปกรณ์พระสงฆ์หนึ่งหมื่นรูป คำรบเจ็ดวันแล้วถวายพระเพลิง
หมายเหตุ : สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ มาจากนามพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ ซึ่งพระองค์ใช้เป็นประทับอันอยู่ข้างสระน้ำท้ายพระราชวัง
แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ
เนื่องด้วยสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าทรงพระโทมนัส แค้นพระทัยในสมเด็จพระบรมเชษฐิราช(พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) ที่ยกราชสมบัติให้เจ้าฟ้าอภัยพระราชโอรส ที่สมเด็จพระอนุชาธิราช (พระเจ้าบรมโกศ) ในขณะนั้นไม่ทรงเห็นด้วย จนเกิดศึกการชิงราชสมบัติ...เมื่อสมเด็จพระภูมินทรมหาราชาบรมโกศทรงครองราชสมบัติแล้ว ทรงพระดำรัสว่า จะไม่เผาพระบรมศพจะทิ้งน้ำเสีย พระยาราชนายกว่าที่กลาโหมกรายทูลเล้าโลมเป็นหลายครั้ง จึ่งทรงพระกรุณาดำรัสสั่งให้ตั้งพระเมรุขนาดน้อย ขื่อห้าวาสองศอก ชักพระบรมศพออกถวายพระเพลิงตามราชประเพณี
หมายเหตุ : สำหรับคำว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ” เป็นคำที่ใช้เรียกพระเจ้าแผ่นดินไทยที่สวรรคตไปแล้ว ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายไว้ว่า "พระนามที่เรียกว่า ขุนหลวงบรมโกศ นั้นเป็นพระนามที่มักเรียกพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่พึ่งสวรรคตล่วงไปแล้วทุกพระองค์และไม่เพียงแต่พระเจ้าแผ่นดิน ในสมัยโบราณก็พบว่าบุตรหลานของเจ้าขุนมูลนายที่บิดาได้รับพระราชทานโกศสวมศพ ก็เรียกท่านผู้นั้นว่า “เจ้าคุณในโกศ”
ตัวอย่างของการเรียกขานพระนามนี้แม้ว่าจะถวายพระเพลิงไปแล้วคือกรณีของ “พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ” แห่งกรุงศรีอยุธยา พระนามนี้ไม่ใช่พระนามจริง ทั้งนี้สันนิษฐานเพราะพระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาพระองค์สุดท้ายที่ได้ประดิษฐานพระบรมศพไว้ในพระบรมโกศตามราชประเพณี
เพราะพระเจ้าแผ่นดินลำดับถัดมา คือสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ซึ่งครองราชย์เพียงเวลาสั้นก็สละราชสมบัติให้สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ หลังจากนั้นไม่นานเสียกรุงศรีอยุธยาให้อังวะ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรทรงถูกกวาดต้อนไปประทับที่พม่าพร้อมกับเชลยไทย ส่วนสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ก็สวรรคตระหว่างเสียกรุงโดยไม่ได้จัดงานพระบรมศพอย่างสมพระเกียรติ ไม่ได้ประดิษฐานพระบรมศพในพระบรมโกศตามราชประเพณี
ด้วยเหตุนี้ผู้ที่อยู่ร่วมสมัยจึงเรียกพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาพระองค์นั้นว่า “พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ” สืบต่อกันมาเพราะติดปากจนมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ดังที่พบในพระราชกำหนดกฎหมายที่ตราสมัยพระบรมรูปสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เรียกขานพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้ว่า สมเด็จพระเจ้าพุทธเจ้าหลวงในพระบรมโกศ หรือเรียกเพียงสั้นๆ ว่า พระเจ้าบรมโกศ พระบรมโกศ มาจนสมัยหลัง เมื่อเวลาผ่านไปจนถึงปัจจุบัน ผู้คนสมัยหลังที่ไม่ทราบความหมายก็เข้าใจกันว่าเป็นพระนามจริงของพระองค์ไป
แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 6 (สมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร)
จึ่งเชิญพระบรมศพพระเจ้าบรมโกศเข้าพระโกศประดับไว้บนพระที่นั่งบรรยงรัตนาสน์ ...ครั้นกรมหลวงพิพิธมนตรี หรือพระพันวัสสาใหญ่ เป็นกรมพระเทพามาตย์ แล้วเสด็จสวรรคต พระเจ้าอยู่หัวให้นำพระโกศเข้ามารับพระศพ จึ่งเชิญขึ้นประทับไว้ ณ พระที่นั่งบรรยงค์รัตนาสน์เป็นสองพระโกศ
พระเจ้าอยู่หัวถวายพระเพลิงสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงและพระพันปีหลวงตามประเพณีการพระบรมศพ ทรงทำสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระปิตุราชมารุรงค์ ยิ่งอย่างกว่าแต่ก่อนเป็นอันมาก แล้วพระเจ้าอยู่หัวสั่งให้สร้างวัด เรียกว่าวัดอุทุมพรอารามวัดหนึ่ง แล้วปฏิสังขรณ์หลังคาพระมณฑปพระพุทธบาท หุ้มทองสองชั้น สิ้นทองสองร้อยสี่สิบชั่ง
งานพระเมรุสมัยในกรุงธนบุรี ไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้จัดงานพระเมรุ งานพระเมรุสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในยุคแรกบ้านเมืองยังคงอยู่ในภาวะศึกสงคราม จึงมิได้สร้างพระเมรุมาศสูงใหญ่เทียบเท่าพระเมรุมาศสมัยกรุงศรีอยุธยา พระเมรุมาศองค์แรกที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์คือ พระเมรุมาศถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิถวายพระราชบิดาหลังจากบ้านเมืองสงบศึก
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ลักษณะของพระเมรุมาศเป็นเพียงพระเมรุชั้นเดียว ได้ถอดเอาพระเมรุใหญ่ ซึ่งเป็นพระเมรุทรงปรางค์ที่คลุมอยู่ภายนอกออกไป คงไว้เพียงพระเมรุทอง ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า พระเมรุมาศ ทรงเห็นว่าการสร้างแบบเดิมเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินและเป็นที่เดือดร้อนแก่ประชาชนทั่วไป จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงให้มีขนาดเล็กลงค่ะ
ปล.ภาพประกอบที่ 2 เป็นพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระเมรุมาศแบบที่มีขนาดและรูปแบบคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา
ก่อนที่พระเมรุมาศจะถูกจำกัดรายละเอียดลงเมื่อมีการสร้างพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งไม่ได้มีการสร้างพระเมรุมาศชั้นนอกอีก และลดรายละเอียดการสร้างน้อยลง ทั้งยังเป็นพระเมรุแบบใหม่กับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ในยุคต่อมาค่ะ
งานพระเมรุสมัยอยุธยา...คัดลอกบางส่วนจากพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับสมเด็จพระพนรัตน์
น่าสนใจดี เลยอยากเอามาให้เพื่อนทุกคนอ่านครับ
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1762113140545911&id=1321114244645805
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1762118000545425&id=1321114244645805
งานพระเมรุสมัยอยุธยา ตอนที่ 1
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรเสด็จสู่สวรรคาลัย ร่วมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่สุดมิได้
นี่ก็ใกล้เพลาที่งานพระเมรุจะมาถึงอีกแล้ว วันนี้เลยอยากจะมาเล่าเกี่ยวกับงานพระเมรุสมัยอยุธยาให้ฟังกันนะเจ้าคะ
งานพระเมรุ เป็นพระราชประเพณีโบราณที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา การสร้างพระเมรุแต่ละครั้งจัดทำขึ้นตามพระเกียรติยศของเจ้านาย หากเป็นพระเมรุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ก็จะทำอย่างยิ่งใหญ่มีความสมบูรณ์ครบถ้วน ทั้งในด้านพระราชพิธีตลอดจนศิลปะแขนงต่างๆ อันแสดงถึงวัฒนธรรมไทยที่สืบทอดกันมายาวนาน
ประเพณีงานศพไทย ซึ่งได้รับอิทธิพลความคิดจากชมพูทวีป ทั้งทางพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ ฮินดู คติทางพระพุทธศาสนาใช้หีบใส่ศพ เมื่อเผาแล้วนำอัฐิธาตุไปบรรจุในสถูปหรือเจดีย์ คติทางศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูใช้โกศใส่ศพ เมื่อเผาแล้วนำอัฐิธาตุลอยน้ำ
ประเทศไทยได้รับอิทธิพลทางศาสนาพราหมณ์ผ่านทางขอมจึงได้ใช้โกศเฉพาะพระศพพระเจ้าแผ่นดินหรือพระราชวงศ์ชั้นสูงเท่านั้น ด้วยคติพราหมณ์ถือว่าพระเจ้าแผ่นดินเป็นพระอิศวรหรือพระนารายณ์แบ่งภาคมายังโลก ส่วนศพผู้มีบรรดาศักดิ์ เช่น ศพเสนาบดีที่ได้ใส่โกศนั้นเป็นเพราะพระมหากษัตริย์พระราชทานเกียรติยศเป็นพิเศษ มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
หลักฐานเกี่ยวกับการพระบรมศพปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับต่างๆ แต่อิฉันขออ้างอิงและคัดลอกข้อความบางตอนมาจากพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาและจุลยุทธการวงศ์ ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์นะคะ
แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราช(สมเด็จเจ้าสามพระยา)
มีพระราชดำรัสให้ขุดพระศพเจ้าอ้ายพระยาเจ้ายี่พระยาไปถวายพระเพลิง ที่ถวายพระเพลิงนั้นให้สถาปนาพระมหาธาตุและวิหารเป็นพระอารามแล้ว ให้นามชื่อวัดราชบูรณะ
แผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช
ให้สถาปนาที่พระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระสุริโยทัย นั้นเป็นพระเจดีย์วิหารเสร็จแล้วให้นามวัดสบสวรรค์
แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระเอกาทศรถ
มีพระบรมราชโองการตรัสสั่งแก่ท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งปวง ให้แต่งการพระบรมศพ สมเด็จพระพุทธเจ้าเจ้าหลวง(สมเด็จพระนเรศวรมหาราช) แลแต่งพระเมรุสูงเส้นสิบเจ็ดวา (สูงประมาณตึกหกชั้นในปัจจุบัน) ประดับด้วยเมรุทิศเมรุรายราชวัติฉัตรทองฉัตรนาคฉัตรเบญจรงค์นานเสร็จ ก็อัญเชิญพระบรมศพเสด็จเหนือมหากฤษฎาธารอันประดับด้วยอภิรุมกลิ้งกลดรจนา และท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลายมาประดับแห่ห้อมล้อมมหากฤษฎาธาร ก็อัญเชิญพระศพเสด็จลีลาโดยรัถยาราชวัติไปยังพระเมรุมาศ ด้วยยศบริวารและเครื่องสักการบูชาหนักหนา พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรถอิศวรบรมนาถบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จไปถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ให้นิมนต์พระสงฆ์สบสังวาสหมื่นหนึ่ง ถวายพระราชทานเครื่องอัฐบริขารทักษิณาบูชาพระสงฆ์ทั้งปวงเป็นมโหฬาร
แผ่นดินสมเด็จพระเพทราชาธิราชเจ้า
เนื่องด้วยสมเด็จพระนารายณ์เสด็จสวรรคตที่พระราชวังลพบุรี...จึงให้เจ้าพนักงานจัดแจงการจะเชิญพระบรมศพใส่ในพระโกศเสร็จแล้ว...อัฐเชิญพระบรมโกศลงสู่เรือพระที่นั่งจักรีศรีสมรรถชัย อันอำไพด้วยเศวตมยุรฉัตร บังรวิวรรณบังแทรกไสว แห่แหนไปโดยลำดับชลมารควิถี ลงไปยังกรุงเทพพระมหานคร...ถึงประทับเรือพระที่นั่ง ณ ฉนวนประจำท่าวังหลวง...เชิญพระบรมโกศขึ้นประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งสุริยามรินทร์มหาปราสาท แล้วดำรัสให้เจ้าพนักงานกะเกณฑ์ทำพระเมรุถวายพระเพลิงสมเด็จพระนารายณ์โดยขนานใหญ่ ขื่อเจ็ดวาสองศอก สูงสองเส้นสิบเอ็ดวาศอกคืบ (สูงประมาณตึกเจ็ดชั้นในปัจจุบัน) มียอด 5 ยอด ภายในพระเมรุทอง ประกอบด้วยเครื่องสรรพโสภณพิจิตรต่างๆ และมีพระเมรุทิศ พระเมรุแทรก แลสามซ่างเสร็จ แลการพระเมรุนั้น ประมาณแปดเดือนจึ่งสำเร็จ
สมเด็จพระเพทราชธิราชเจ้า ให้อัญเชิญพระบรมโกศลงลงจากพระที่นั่งสุริยามรินทร์มหาปราสาท ประดิษฐานเหนือบุษบกพระมหาพิชัยราชรถอันอลังการด้วยสุวรรณรัตนวิจิตรต่างๆ สรรพด้วยเศวตบวรฉัตรขนัดอภิรุมชุมสายพรายพรรณ บังพระสุริยันบังแทรกสลอน พลแตรงอนแตรฝรั่ง อุโฆษสังข์ปี่สนั่นบันลือลั่นด้วยศัพท์สำเนียงเสียงดุริยางคดนตรี ปี่กลองชนะประโคมครั่นครื้นกึกก้องกาหลนฤนาท และรถสมเด็จพระสังฆราชสำแดงพระอภิธรรมกถา แลรถโปรยข้าวตอกดอกไม้ รถดยงรถท่อนจันทน์ แลรูปนานาสัตว์จตุบาททวิบาททั้งหลาย หลังมีสังเค็ดใส่จีวรเป็นคู่ แห่ดูมโหฬาราดิเรกพันลึก อธิกด้วยพลแห่แหนแน่นนัน เป็นขนัดโดยขบวนซ้ายขวาหน้าหลัง พรั่งพร้อมด้วยท้าวเสนาบดีมนตรีมุขลูกขุน ข้าทูลละอองพระบาททั้งหลายล้วนแต่งกายนุ่งผ้าท้องขาวตรวจเชิง ใส่ลำพอก เสื้อครุย แวดล้อมพระพิชัยราชรถ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพัชนีฝักมะขาม โบกสามทีให้ทิ้งทาน ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ประจำต้นกาลพฤกษ์ ถวายบังคมลงสามลาแล้วก็ทิ้งทาน ครั้งทิ้งทานแล้วก็ตีฆ้องให้สัญญา ยาตราขบวนแห่ถึงพระเมรุมาศ จึ่งเชิญพระบรมโกศเข้าประดิษฐานในพระเมรุทอง ทรงพระกรุณาให้มีการมหรสพสมโภช และดอกไม้เพลิงต่างๆ แลทรงสดับปกรณ์พระสงฆ์หมื่นหนึ่ง คำรบเจ็ดวัน แล้วถวายพระเพลิง
แผ่นดินสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ)
โปรดให้อัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระเพทราชธิราชเจ้าใส่ในพระโกศเสร็จแล้วประดิษฐานไว้ในพระที่นั่งบรรยงรัตนนาสน์ที่เสด็จสวรรคตนั้น...ทรงพระกรุณาให้ช่างพนักงานจัดการทำพระเมรุมาศขนาดใหญ่ ขื่อเจ็ดวาสองศอก กอรปด้วยเมรุทิศเมรุแทรก และสามสร้างพร้อม แลการพระเมรุมาศนั้น กำหนดสิบเอ็ดเดือนจึ่งสำเร็จ
ต่อมาจึ่งให้อัญเชิญพระบรมโกศขึ้นประดิษฐานเหนือพระมหาพิชัยราชรถแห่แหนเป็นขบวนไป เข้าพระเมรุตามอย่างแต่ก่อนและให้ทิ้งทานต้นกลัปพฤกษ์ แลมหรสพต่างๆทุกประการ ครั้งค่ำให้จุดดอกไม่เพลิงต่างๆ ระทาใหญ่สิบระทา บูชาพระบรมศพ เป็นมโหฬาราธิการยิ่งนัก และทรงสดับปรณ์พระสงฆ์หนึ่งหมื่นรูป คำรบเจ็ดวันแล้วถวายพระเพลิง
แผ่นดินสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ)
มีพระราชดำรัสสั่งให้ช่างพนักงานจัดการทำพระเมรุมาศขนาดใหญ่ ขื่อเจ็ดวาสองศอก สูงสองเส้นสิบเอ็ดว่าศอกคืบ แลการพระเมรทั้งปวงนั้นสิบเอ็ดเดือนจึ่งสำเร็จ ...สมเด็จพระบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว อัญเชิญพระบรมโกศขึ้นประดิษฐานเหนือพระมหาพิชัยราชรถ แล้วแห่เป็นขบวนไปโดยรัถยาราชวัติ เข้าพระเมรุตามอย่างแต่ก่อน และให้ทิ้งทานต้นกัลปพฤกษ์ แลมีมหรสพ แลดอกไม้เพลิงต่างๆ แลทรงสดับปกรณ์พระสงฆ์หนึ่งหมื่นรูป คำรบเจ็ดวันแล้วถวายพระเพลิง
หมายเหตุ : สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ มาจากนามพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ ซึ่งพระองค์ใช้เป็นประทับอันอยู่ข้างสระน้ำท้ายพระราชวัง
แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ
เนื่องด้วยสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าทรงพระโทมนัส แค้นพระทัยในสมเด็จพระบรมเชษฐิราช(พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) ที่ยกราชสมบัติให้เจ้าฟ้าอภัยพระราชโอรส ที่สมเด็จพระอนุชาธิราช (พระเจ้าบรมโกศ) ในขณะนั้นไม่ทรงเห็นด้วย จนเกิดศึกการชิงราชสมบัติ...เมื่อสมเด็จพระภูมินทรมหาราชาบรมโกศทรงครองราชสมบัติแล้ว ทรงพระดำรัสว่า จะไม่เผาพระบรมศพจะทิ้งน้ำเสีย พระยาราชนายกว่าที่กลาโหมกรายทูลเล้าโลมเป็นหลายครั้ง จึ่งทรงพระกรุณาดำรัสสั่งให้ตั้งพระเมรุขนาดน้อย ขื่อห้าวาสองศอก ชักพระบรมศพออกถวายพระเพลิงตามราชประเพณี
หมายเหตุ : สำหรับคำว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ” เป็นคำที่ใช้เรียกพระเจ้าแผ่นดินไทยที่สวรรคตไปแล้ว ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายไว้ว่า "พระนามที่เรียกว่า ขุนหลวงบรมโกศ นั้นเป็นพระนามที่มักเรียกพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่พึ่งสวรรคตล่วงไปแล้วทุกพระองค์และไม่เพียงแต่พระเจ้าแผ่นดิน ในสมัยโบราณก็พบว่าบุตรหลานของเจ้าขุนมูลนายที่บิดาได้รับพระราชทานโกศสวมศพ ก็เรียกท่านผู้นั้นว่า “เจ้าคุณในโกศ”
ตัวอย่างของการเรียกขานพระนามนี้แม้ว่าจะถวายพระเพลิงไปแล้วคือกรณีของ “พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ” แห่งกรุงศรีอยุธยา พระนามนี้ไม่ใช่พระนามจริง ทั้งนี้สันนิษฐานเพราะพระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาพระองค์สุดท้ายที่ได้ประดิษฐานพระบรมศพไว้ในพระบรมโกศตามราชประเพณี
เพราะพระเจ้าแผ่นดินลำดับถัดมา คือสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ซึ่งครองราชย์เพียงเวลาสั้นก็สละราชสมบัติให้สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ หลังจากนั้นไม่นานเสียกรุงศรีอยุธยาให้อังวะ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรทรงถูกกวาดต้อนไปประทับที่พม่าพร้อมกับเชลยไทย ส่วนสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ก็สวรรคตระหว่างเสียกรุงโดยไม่ได้จัดงานพระบรมศพอย่างสมพระเกียรติ ไม่ได้ประดิษฐานพระบรมศพในพระบรมโกศตามราชประเพณี
ด้วยเหตุนี้ผู้ที่อยู่ร่วมสมัยจึงเรียกพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาพระองค์นั้นว่า “พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ” สืบต่อกันมาเพราะติดปากจนมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ดังที่พบในพระราชกำหนดกฎหมายที่ตราสมัยพระบรมรูปสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เรียกขานพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้ว่า สมเด็จพระเจ้าพุทธเจ้าหลวงในพระบรมโกศ หรือเรียกเพียงสั้นๆ ว่า พระเจ้าบรมโกศ พระบรมโกศ มาจนสมัยหลัง เมื่อเวลาผ่านไปจนถึงปัจจุบัน ผู้คนสมัยหลังที่ไม่ทราบความหมายก็เข้าใจกันว่าเป็นพระนามจริงของพระองค์ไป
แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 6 (สมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร)
จึ่งเชิญพระบรมศพพระเจ้าบรมโกศเข้าพระโกศประดับไว้บนพระที่นั่งบรรยงรัตนาสน์ ...ครั้นกรมหลวงพิพิธมนตรี หรือพระพันวัสสาใหญ่ เป็นกรมพระเทพามาตย์ แล้วเสด็จสวรรคต พระเจ้าอยู่หัวให้นำพระโกศเข้ามารับพระศพ จึ่งเชิญขึ้นประทับไว้ ณ พระที่นั่งบรรยงค์รัตนาสน์เป็นสองพระโกศ
พระเจ้าอยู่หัวถวายพระเพลิงสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงและพระพันปีหลวงตามประเพณีการพระบรมศพ ทรงทำสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระปิตุราชมารุรงค์ ยิ่งอย่างกว่าแต่ก่อนเป็นอันมาก แล้วพระเจ้าอยู่หัวสั่งให้สร้างวัด เรียกว่าวัดอุทุมพรอารามวัดหนึ่ง แล้วปฏิสังขรณ์หลังคาพระมณฑปพระพุทธบาท หุ้มทองสองชั้น สิ้นทองสองร้อยสี่สิบชั่ง
งานพระเมรุสมัยในกรุงธนบุรี ไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้จัดงานพระเมรุ งานพระเมรุสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในยุคแรกบ้านเมืองยังคงอยู่ในภาวะศึกสงคราม จึงมิได้สร้างพระเมรุมาศสูงใหญ่เทียบเท่าพระเมรุมาศสมัยกรุงศรีอยุธยา พระเมรุมาศองค์แรกที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์คือ พระเมรุมาศถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิถวายพระราชบิดาหลังจากบ้านเมืองสงบศึก
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ลักษณะของพระเมรุมาศเป็นเพียงพระเมรุชั้นเดียว ได้ถอดเอาพระเมรุใหญ่ ซึ่งเป็นพระเมรุทรงปรางค์ที่คลุมอยู่ภายนอกออกไป คงไว้เพียงพระเมรุทอง ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า พระเมรุมาศ ทรงเห็นว่าการสร้างแบบเดิมเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินและเป็นที่เดือดร้อนแก่ประชาชนทั่วไป จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงให้มีขนาดเล็กลงค่ะ
ปล.ภาพประกอบที่ 2 เป็นพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระเมรุมาศแบบที่มีขนาดและรูปแบบคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา
ก่อนที่พระเมรุมาศจะถูกจำกัดรายละเอียดลงเมื่อมีการสร้างพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งไม่ได้มีการสร้างพระเมรุมาศชั้นนอกอีก และลดรายละเอียดการสร้างน้อยลง ทั้งยังเป็นพระเมรุแบบใหม่กับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ในยุคต่อมาค่ะ