ด้วยมีท่าน 3232080 แสดงความคิดเห็นตั้งข้อสังเกตไว้ ในการทู้เก่า
https://ppantip.com/topic/36909313
ผมก็ไม่ได้ค้านท่าน แต่จะชี้ให้เห็นว่า รู้เฉยๆ ที่เป็นการกล่าวลอยๆ กับ สักแต่รู้ที่เป็นสติปัฏฐาน 4 นั้นต่างกัน
------------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 23
รู้เฉยๆนี้ถั้าทำได้ก็สำคัญนะครับ
ถึงบรรลุได้เลยครับ
เหมือนพระพาหิยะครับ
-----------------------------------
[[[.....พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงศึกษา
อย่างนี้ว่า เมื่อเห็น จักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็น
สักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ดูกรพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูกร
พาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อ
ทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี
ในกาลใด ท่านไม่มี ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า
ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
ลำดับนั้นแล จิตของพาหิยทารุจีริยะ กุลบุตรหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ
ทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นในขณะนั้นเอง ด้วยพระธรรมเทศนาโดยย่อนี้ของพระผู้มี-
*พระภาค ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสสอนพาหิยทารุจีริยะกุลบุตรด้วย
พระโอวาทโดยย่อนี้แล้ว เสด็จหลีกไป ฯ....]]]
ตอบกลับ
0 0
สมาชิกหมายเลข 3232080
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ผมจึงขอยกตั้งกระทู้ใหม่ ชี้แจ้งให้ละเอียด เผื่อมีท่านอื่นจะได้สนทนาต่อได้. ดังนี้
รู้เฉยๆ ถ้าเป็นการรู้ที่เป็นปัจจุบั้นนั้นในสติปัฏฐาน 4 ที่ปรากฏชัดของข้อใดขึ้นหนึ่ง ของ 4 ข้อ ในปัจจุบันนั้นๆ เป็นการรู้ที่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ
ถ้าเป็นการรู้เฉยๆ ที่ไม่เป็นปัจจุบันนั้นๆ และ/หรือ ไม่รู้เท่าทัน ในสติปัฏฐาน 4 ข้อใดข้อหนึ่งที่ปรากฏชัด ตามเหตุตามปัจจัยที่เป็นจริง ของการปรากฏขึ้นของสติปัฏฐาน 4 ที่ปรากฏอยู่ ย่อมเป็นรู้ที่ไม่เป็นวิปัสสนา และเป็นการรู้ที่ขาดปัญญา.
ข้อสังเกตุ ในคำตรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรงตรัสเพียงว่า รู้เฉย ๆ โดยไม่แยกแยะอะไร แต่พระองค์ทรงเน้น ถึงการรู้ ชัดเจนในสติปัฏฐาน 4 คือ
เมื่อเห็น เมื่อฟัง(หรือได้ยิน) เมื่อทราบ(รับรู้หรือเขัาใจ) เมื่อรู้แจ้ง(รู้แจ้งชัด)
ไม่เช่นเห็นการรู้เฉยๆ แบบไม่สนใจ จะเอาแต่จะรู้ที่ใจเท่านั้น แต่รู้ตามความเป็นจริงที่ปรากฏ ในปัจจุบันนั้นๆ จึงเป็นการน้อมไปสู่การกำหนดรู้ ที่เป็นสติปัฏฐาน 4 (กาย เวทนา จิต ธรรม) ที่ปรากฏตามความเป็นจริงในปัจจุบันนั้น ไม่ใช่เป็นการไม่รับแต่จะรู้ที่ใจ(หรือจิต)เฉยๆ
เมื่อรู้ถูกต้องแล้วในสติปัฏฐาน 4 ที่ปรากฏเป็นปัจจุบันนั้นๆ พระพุทธเจ้าจึงทรงเน้นให้เกิดปัญญาว่า ให้เพียงสักแต่รู้ กับปฏิฐาน 4 ข้อใดข้อหนึ่งปรากฏชัด ในขณะปัจจุบันนั้นๆ
แล้วพระพุทธเจ้าทรงชี้นำด้วยบารมีของพระองค์ กับบารมีที่สะสมมาของท่านพาหิยะที่เต็มแล้ว ด้วยวิปัสสนาญาณที่เจริญขึ้นในขณะนั้น ด้วยคำตรัสของพระพุทธเจ้าในเบื้องต้นนั้น รอเพียงการชี้แนะจากพระพุทธองค์ เพิ่มว่า
******************************
ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี
ในกาลใด ท่านไม่มี ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า
ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
*******************************
ท่าน พาหิยะ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะ
ทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น
ในขณะนั้นเอง ด้วยพระธรรมเทศนาโดยย่อนี้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
หมายเหตุ ที่ผมขีดเส้นใตั ในขณะนั้นเอง ก็คือ ในปัจจุบันขณะนั้น นั้นเอง ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นว่า สติปัฏฐาน 4 นั้นต้องกำหนดรู้ หรือภาวนา ตามความเป็นจริงที่ปราฏในปัจจุบันนั้นๆ อย่างเป็นปัจจุบัน ไม่ใช่ไม่สนใจสิ่งที่กระทบ หรือผัสสะ ที่เป็นปัจจุบันนั้นๆ จะไปรู้ที่ใจหรือจิตเฉย เพียงอย่างเดียวเฉย.
รู้เฉยๆ กับ สักแต่รู้ที่เป็นวิปัสสนากรรมฐาน นั้นต่างกัน
ผมก็ไม่ได้ค้านท่าน แต่จะชี้ให้เห็นว่า รู้เฉยๆ ที่เป็นการกล่าวลอยๆ กับ สักแต่รู้ที่เป็นสติปัฏฐาน 4 นั้นต่างกัน
------------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 23
รู้เฉยๆนี้ถั้าทำได้ก็สำคัญนะครับ
ถึงบรรลุได้เลยครับ
เหมือนพระพาหิยะครับ
-----------------------------------
[[[.....พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงศึกษา
อย่างนี้ว่า เมื่อเห็น จักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็น
สักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ดูกรพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูกร
พาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อ
ทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี
ในกาลใด ท่านไม่มี ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า
ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
ลำดับนั้นแล จิตของพาหิยทารุจีริยะ กุลบุตรหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ
ทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นในขณะนั้นเอง ด้วยพระธรรมเทศนาโดยย่อนี้ของพระผู้มี-
*พระภาค ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสสอนพาหิยทารุจีริยะกุลบุตรด้วย
พระโอวาทโดยย่อนี้แล้ว เสด็จหลีกไป ฯ....]]]
ตอบกลับ
0 0
สมาชิกหมายเลข 3232080
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ผมจึงขอยกตั้งกระทู้ใหม่ ชี้แจ้งให้ละเอียด เผื่อมีท่านอื่นจะได้สนทนาต่อได้. ดังนี้
รู้เฉยๆ ถ้าเป็นการรู้ที่เป็นปัจจุบั้นนั้นในสติปัฏฐาน 4 ที่ปรากฏชัดของข้อใดขึ้นหนึ่ง ของ 4 ข้อ ในปัจจุบันนั้นๆ เป็นการรู้ที่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ
ถ้าเป็นการรู้เฉยๆ ที่ไม่เป็นปัจจุบันนั้นๆ และ/หรือ ไม่รู้เท่าทัน ในสติปัฏฐาน 4 ข้อใดข้อหนึ่งที่ปรากฏชัด ตามเหตุตามปัจจัยที่เป็นจริง ของการปรากฏขึ้นของสติปัฏฐาน 4 ที่ปรากฏอยู่ ย่อมเป็นรู้ที่ไม่เป็นวิปัสสนา และเป็นการรู้ที่ขาดปัญญา.
ข้อสังเกตุ ในคำตรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรงตรัสเพียงว่า รู้เฉย ๆ โดยไม่แยกแยะอะไร แต่พระองค์ทรงเน้น ถึงการรู้ ชัดเจนในสติปัฏฐาน 4 คือ
เมื่อเห็น เมื่อฟัง(หรือได้ยิน) เมื่อทราบ(รับรู้หรือเขัาใจ) เมื่อรู้แจ้ง(รู้แจ้งชัด)
ไม่เช่นเห็นการรู้เฉยๆ แบบไม่สนใจ จะเอาแต่จะรู้ที่ใจเท่านั้น แต่รู้ตามความเป็นจริงที่ปรากฏ ในปัจจุบันนั้นๆ จึงเป็นการน้อมไปสู่การกำหนดรู้ ที่เป็นสติปัฏฐาน 4 (กาย เวทนา จิต ธรรม) ที่ปรากฏตามความเป็นจริงในปัจจุบันนั้น ไม่ใช่เป็นการไม่รับแต่จะรู้ที่ใจ(หรือจิต)เฉยๆ
เมื่อรู้ถูกต้องแล้วในสติปัฏฐาน 4 ที่ปรากฏเป็นปัจจุบันนั้นๆ พระพุทธเจ้าจึงทรงเน้นให้เกิดปัญญาว่า ให้เพียงสักแต่รู้ กับปฏิฐาน 4 ข้อใดข้อหนึ่งปรากฏชัด ในขณะปัจจุบันนั้นๆ
แล้วพระพุทธเจ้าทรงชี้นำด้วยบารมีของพระองค์ กับบารมีที่สะสมมาของท่านพาหิยะที่เต็มแล้ว ด้วยวิปัสสนาญาณที่เจริญขึ้นในขณะนั้น ด้วยคำตรัสของพระพุทธเจ้าในเบื้องต้นนั้น รอเพียงการชี้แนะจากพระพุทธองค์ เพิ่มว่า
******************************
ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี
ในกาลใด ท่านไม่มี ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า
ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
*******************************
ท่าน พาหิยะ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะ
ทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นในขณะนั้นเอง ด้วยพระธรรมเทศนาโดยย่อนี้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
หมายเหตุ ที่ผมขีดเส้นใตั ในขณะนั้นเอง ก็คือ ในปัจจุบันขณะนั้น นั้นเอง ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นว่า สติปัฏฐาน 4 นั้นต้องกำหนดรู้ หรือภาวนา ตามความเป็นจริงที่ปราฏในปัจจุบันนั้นๆ อย่างเป็นปัจจุบัน ไม่ใช่ไม่สนใจสิ่งที่กระทบ หรือผัสสะ ที่เป็นปัจจุบันนั้นๆ จะไปรู้ที่ใจหรือจิตเฉย เพียงอย่างเดียวเฉย.