ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เรื่องเคยมีมาแต่ก่อน :
เต่าตัวหนึ่งเที่ยวหากินตามริมลำธารในตอนเย็น,
สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง ก็เที่ยวหากินตามริมลำธารในตอนเย็นเช่นเดียวกัน.
เต่าตัวนี้ได้เห็นสุนัขจิ้งจอกซึ่งเที่ยวหากิน (เดินเข้ามา) แต่ไกล,
ครั้นแล้วจึงหดอวัยวะทั้งหลาย
มีศีรษะเป็นที่ห้าเข้าในกระดองของตนเสียเป็นผู้ขวนขวายน้อยนิ่งอยู่.
แม้สุนัขจิ้งจอกก็ได้เห็นเต่าตัวที่เที่ยวหากินนั้นแต่ไกลเหมือนกัน,
ครั้นแล้ว จึงเดินตรงเข้าไปที่เต่า คอยช่องอยู่ว่า
“เมื่อไรหนอเต่าจักโผล่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งออก
ในบรรดาอวัยวะทั้งหลาย มีศีรษะเป็นที่ห้าแล้ว
จักกัดอวัยวะส่วนนั้นคร่าเอาออกมากินเสีย” ดังนี้.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ตลอดเวลาที่เต่าไม่โผล่อวัยวะออกมา
สุนัขจิ้งจอกก็ไม่ได้โอกาสต้องหลีกไปเอง ;
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ฉันใดก็ฉันนั้น :
มารผู้ใจบาป ก็คอยช่องต่อพวกเธอทั้งหลาย
ติดต่อไม่ขาดระยะอยู่เหมือนกันว่า
“ถ้าอย่างไร เราคงได้ช่อง
ไม่ทางตา
ก็ทางหู
หรือทางจมูก
หรือทางลิ้น
หรือทางกาย
หรือทางใจ”, ดังนี้.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้
พวกเธอทั้งหลาย จงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่เถิด ;
ได้เห็นรูปด้วยตา, ได้ฟังเสียงด้วยหู, ได้ดมกลิ่น
ด้วยจมูก, ได้ลิ้มรสด้วยลิ้น, ได้สัมผัสโผฏฐัพพะด้วย
กาย, หรือได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
จงอย่าได้ถือเอาโดยลักษณะที่เป็นการรวบถือทั้งหมด,
อย่าได้ถือเอาโดยลักษณะที่เป็นการแยกถือเป็นส่วนๆ เลย,
สิ่งที่เป็นอกุศลลามก คือ
อภิชฌา (โลภอยากได้ของเขา) และ
โทมนัส (ความเป็นทุกข์ใจ)
จะพึงไหลไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เพราะการไม่สำรวมอินทรีย์เหล่าใดเป็นเหตุ,
พวกเธอทั้งหลายจงปฏิบัติเพื่อการปิดกั้นอินทรีย์นั้นไว้,
พวกเธอทั้งหลายจงรักษาและถึงความสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เถิด.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกาลใด
พวกเธอทั้งหลาย จักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่ ;
ในกาลนั้นมารผู้ใจบาป
จักไม่ได้ช่องแม้จากพวกเธอทั้งหลายและจักต้องหลีกไปเอง,
เหมือนสุนัขจิ้งจอกไม่ได้ช่อง จากเต่าก็หลีกไปเอง ฉะนั้น.
“เต่าหดอวัยวะไว้ในกระดอง ฉันใด,
ภิกษุ พึงตั้งมโนวิตก (ความตริตรึกทางใจ)
ไว้ในกระดอง ฉันนั้น,
เป็นผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิไม่อิงอาศัยได้,
ไม่เบียดเบียนผู้อื่น,
ไม่กล่าวร้ายต่อใครทั้งหมด,
เป็นผู้ดับสนิทแล้ว” ดังนี้แล.
พระสูตรอื่นๆ
.....สัจจะนี้ คือนิพพาน.....
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ...ดูกรภิกษุ เพราะสิ่งที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ
สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่นิพพาน นั้นจริง
ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้
ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง...
.....ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งการเจริญสติ....
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ภิกษุ ท. ! ความไม่ประมาทอันเป็นธรรมเครื่องรักษาจิตด้วยสติ อันบุคคลพึงกระทำโดยอนุรูปแก่ตน ในฐานะ ๔ อย่าง. สี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ :-
๑. ความไม่ประมาทอันเป็นธรรมเครื่องรักษาจิตด้วยสติ อันบุคคลพึง กระทำโดยอนุรูปแก่ตน ว่า “จิตของเราอย่ากำหนัดแล้ว ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดทั้งหลาย” ดังนี้.
๒. ความไม่ประมาทอันเป็นธรรมเครื่องรักษาจิตด้วยสติ อันบุคคล พึงกระทำโดยอนุรูปแก่ตน ว่า “จิตของเราอย่าขัดเคืองแล้ว ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคืองทั้งหลาย” ดังนี้.
๓. ความไม่ประมาทอันเป็นธรรมเครื่องรักษาจิตด้วยสติ อันบุคคลพึง กระทำโดยอนุรูปแก่ตน ว่า “จิตของเราอย่าหลงแล้ว ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความหลงทั้งหลาย” ดังนี้.
๔. ความไม่ประมาทอันเป็นธรรมเครื่องรักษาจิตด้วยสติ อันบุคคล พึงกระทำโดยอนุรูปแก่ตน ว่า “จิตของเราอย่ามัวเมาแล้ว ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมาทั้งหลาย” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล จิตของภิกษุไม่กำหนัดในธรรมอันเป็นที่ ตั้งแห่งความกำหนัดทั้งหลาย เพราะปราศจากราคะ, จิตไม่ขัดเคืองในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคืองทั้งหลาย เพราะปราศจากโมหะ, จิตไม่มัวเมาในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมาทั้งหลาย เพราะปราศจากโทสะ, จิตไม่หลงในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความหลงทั้งหลาย เพราะปราศจากโมหะ, จิตไม่มัวเมาในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมาทั้งหลาย เพราะปราศจากความมัวเมา, ดังนี้แล้ว; ในกาลนั้น ภิกษุนั้น ย่อมไม่หวาดเสียว ไม่หวั่นไหว ไม่หวาดหวั่น ไม่ถึงความสะดุ้ง และก็มิใช่ถึงธรรมนี้แม้เพราะเหตุแห่งคำของสมณะ (แต่เป็นเพราะการตามรักษาจิตอย่างถูกต้อง ในฐานะทั้งสี่).
....รัตนะที่หาได้ยาก....
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ รัตนะที่หาได้ยาก
เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ! ความปรากฏขึ้นแห่งรัตนะ ๕ ประการ หาได้ยากในโลก.
๕ ประการ อย่างไรเล่า ? คือ :-
(๑) ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ
(๒) บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว
(๓) บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว อันผู้อื่นแสดงแล้ว
(๔) บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว อันผู้อื่นแสดงแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
(๕) กตัญญูกตเวทีบุคคล
เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ! ความปรากฏขึ้นแห่งรัตนะ ๕ ประการนี้แล หาได้ยากในโลก.
[พระธรรม] กระดองของบรรพชิต
เต่าตัวหนึ่งเที่ยวหากินตามริมลำธารในตอนเย็น,
สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง ก็เที่ยวหากินตามริมลำธารในตอนเย็นเช่นเดียวกัน.
เต่าตัวนี้ได้เห็นสุนัขจิ้งจอกซึ่งเที่ยวหากิน (เดินเข้ามา) แต่ไกล,
ครั้นแล้วจึงหดอวัยวะทั้งหลาย
มีศีรษะเป็นที่ห้าเข้าในกระดองของตนเสียเป็นผู้ขวนขวายน้อยนิ่งอยู่.
แม้สุนัขจิ้งจอกก็ได้เห็นเต่าตัวที่เที่ยวหากินนั้นแต่ไกลเหมือนกัน,
ครั้นแล้ว จึงเดินตรงเข้าไปที่เต่า คอยช่องอยู่ว่า
“เมื่อไรหนอเต่าจักโผล่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งออก
ในบรรดาอวัยวะทั้งหลาย มีศีรษะเป็นที่ห้าแล้ว
จักกัดอวัยวะส่วนนั้นคร่าเอาออกมากินเสีย” ดังนี้.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ตลอดเวลาที่เต่าไม่โผล่อวัยวะออกมา
สุนัขจิ้งจอกก็ไม่ได้โอกาสต้องหลีกไปเอง ;
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ฉันใดก็ฉันนั้น :
มารผู้ใจบาป ก็คอยช่องต่อพวกเธอทั้งหลาย
ติดต่อไม่ขาดระยะอยู่เหมือนกันว่า
“ถ้าอย่างไร เราคงได้ช่อง
ไม่ทางตา
ก็ทางหู
หรือทางจมูก
หรือทางลิ้น
หรือทางกาย
หรือทางใจ”, ดังนี้.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้
พวกเธอทั้งหลาย จงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่เถิด ;
ได้เห็นรูปด้วยตา, ได้ฟังเสียงด้วยหู, ได้ดมกลิ่น
ด้วยจมูก, ได้ลิ้มรสด้วยลิ้น, ได้สัมผัสโผฏฐัพพะด้วย
กาย, หรือได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
จงอย่าได้ถือเอาโดยลักษณะที่เป็นการรวบถือทั้งหมด,
อย่าได้ถือเอาโดยลักษณะที่เป็นการแยกถือเป็นส่วนๆ เลย,
สิ่งที่เป็นอกุศลลามก คือ
อภิชฌา (โลภอยากได้ของเขา) และ
โทมนัส (ความเป็นทุกข์ใจ)
จะพึงไหลไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เพราะการไม่สำรวมอินทรีย์เหล่าใดเป็นเหตุ,
พวกเธอทั้งหลายจงปฏิบัติเพื่อการปิดกั้นอินทรีย์นั้นไว้,
พวกเธอทั้งหลายจงรักษาและถึงความสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เถิด.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกาลใด
พวกเธอทั้งหลาย จักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่ ;
ในกาลนั้นมารผู้ใจบาป
จักไม่ได้ช่องแม้จากพวกเธอทั้งหลายและจักต้องหลีกไปเอง,
เหมือนสุนัขจิ้งจอกไม่ได้ช่อง จากเต่าก็หลีกไปเอง ฉะนั้น.
“เต่าหดอวัยวะไว้ในกระดอง ฉันใด,
ภิกษุ พึงตั้งมโนวิตก (ความตริตรึกทางใจ)
ไว้ในกระดอง ฉันนั้น,
เป็นผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิไม่อิงอาศัยได้,
ไม่เบียดเบียนผู้อื่น,
ไม่กล่าวร้ายต่อใครทั้งหมด,
เป็นผู้ดับสนิทแล้ว” ดังนี้แล.
พระสูตรอื่นๆ
.....สัจจะนี้ คือนิพพาน.....
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
.....ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งการเจริญสติ....
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
....รัตนะที่หาได้ยาก....
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้