ครบรอบสิบเอ็ดปีหลังจากได้ตีพิมพ์ บรรยาย และตั้งชื่อกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีชนิดใหม่ในทางวิทยาศาสตร์ของโลกและของประเทศไทย ในนาม Paphiopedilum thaianum Iamwir., Orchid Rev, 114: 278. (2006)
เมื่อครั้งผมศึกษาอยู่ชั้นมัธยมตอนต้น ผมได้พบเห็นและสะสมดวงตราไปรษณียากร ชุดงานกล้วยไม้โลก ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นพิเศษ เนื่องในการจัดงานกล้วยไม้โลกในประเทศไทย ซึ่งดวงตราไปรษณียากรมีรูปรองเท้านารีหลายชนิด ภาพเหล่านี้ทำให้ผมรู้สึกหลงรักกล้วยไม้สกุลนี้มาก จนได้ไปตามหาที่ตลาดนัดสวนจัตุจักร และซื้อกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีมาเพาะเลี้ยงตามภาษาเด็ก ซึ่งไม้ก็ตายสะส่วนใหญ่ ด้วยการขาดความรู้ความเข้าใจ เมื่อขึ้นชั้นมัธยมตอนปลายจำเป็นต้องเรียนพิเศษมากขึ้น จึงได้หยุดเลี้ยงไป
หลังจากเรียนจบมหาวิทยาลัย ได้ไปพบร้านขายรองเท้านารีโดยบังเอิญทำให้รู้สึกอยากเลี้ยงขึ้นมาอีกครั้ง ในคราวนี้ได้ทำการศึกษาค้นคว้าจริงจังมากขึ้น เริ่มด้วยการเข้าเล่นในห้องเรือนกล้วยไม้ เวปไซต์พันทิป ซึ่งได้รู้จัก กับพี่อุ๊ เหลืองจันท์ วรรณา พินิจไพฑูรย์ พี่สาวสุดสวย ที่เป็นเพื่อนในโลกออนไลน์คนแรกของผมเลย และทำให้ผมได้รู้จัก พี่ๆ น้องๆ มากมายในวงการกล้วยไม้ไทย รวมทั้งค้นคว้าหาเอกสารอ้างอิงทั้งไทยและเทศ มาค้นคว้าเพื่อความเข้าในหลักอนุกรมวิธานของพืชสกุลนี้ แต่พออ่านแล้ว ผมยังไม่ได้คำตอบของคำถามทั้งหมด ยังมีอีกหลายคำถามที่ยังคั่งข้างอยู่ในใจ
จนอยู่มาวันหนึ่งผมได้มีโอกาสได้ไปเที่ยวในสวนกล้วยไม้ของพี่หมึกเมืองกาญจน์ ชาญชัย ทัศนวงศ์วรา ทำให้ผมได้พบกับรองเท้านารีขาวพังงาเป็นครั้งแรก ในเดือนเมษายน ปี ๒๕๔๘ แต่ตอนนั้น ผมยังไม่ได้ตัวอย่าง ได้เพียงถ่ายรูปไว้ หลังจากนั้นจึงพยายามสืบเสาะหาวิธีไปศึกษารองเท้านารีขาวพังงาในธรรมชาติ แต่ขั้นตอนแรก คือต้องฝึกเดินป่า และหัดถ่ายภาพเสียก่อน ผมก็ได้รับความเมตตาจากพี่เล็ก หัสชัย บุญเนือง และพี่ท็อป กอบสุข แก่นรัตนะ กรุณาช่วยสอนการเตรียมตัวเดินป่า การเดินป่า และการถ่ายภาพกล้วยไม้ในธรรมชาติ แต่ฝีมือการถ่ายภาพของผมยังไม่ได้เศษเสี้ยวของอาจารย์เล็กเลยครับ อีกทั้งพี่ท็อปที่กรุณาแบ่งที่เต็นให้ผมนอนครั้งแรกในป่าบนเขาพนมเบญจา จังหวัดกระบี่ รองเท้านารีคางกบใต้ที่ตามหา ได้เจอเพียงต้น แต่มีนักวิจัยท่านหนึ่งได้เก็บตัวอย่างดอกเดียวที่มีอยู่ในตอนนั้น เพื่อเอาไปเป็นตัวอย่าง ทำให้รู้ว่าการศึกษารองเท้านารีในธรรมชาติไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากจะอยู่ไกล ทางลำบาก พบน้อย บานน้อย ยังต้องแข่งกับ คนเก็บไม้ ทั้งเพื่อยังชีพและเพื่อวิชาการอีกด้วย
ในช่วงแรกผมติดต่อกับนักอนุกรมวิธานกล้วยไม้สมัครเล่นชาวต่างชาติท่านหนึ่ง ให้ร่วมกันเขียนบทความ แต่เนื่องด้วยรองเท้านารีขาวพังงามีลักษณะเป็นชนิดแอบซ่อน (Cryptic species) เขาจึงได้แนะนำให้ผมรู้จักศาสตราจารย์ต่างชาติท่านหนึ่ง ซึ่งในตอนแรกผมติดต่อในการตีพิมพ์รองเท้านารีอีกตัวหนึ่ง และผมได้ปรึกษาเกี่ยวกับรองเท้านารีขาวพังงา เขาบอกว่าอยากได้ตัวอย่างมากๆ แต่ผมแจ้งให้เขารอก่อน เพราะผมไม่มีตัวอย่าง และไม้ที่ถ่ายรูปมาไม่ใช่ของผม แต่เขาหาได้เข้าใจไม่ เขากลับใช้ผรุสวาจาดูถูกว่าผมเป็นนักค้ากล้วยไม้ป่า จะเอาไม้ป่ามาโก่งราคาเขา ปั่นหัวเขา และเขาก็เงียบไป
กลายเป็นแรงผลักดันให้ผมคิดว่า คนไทยเราก็น่าที่จะสามารถทำอะไรที่ชาวต่างชาติเขาทำได้เช่นกัน และผมได้รับความกรุณาจากอาจารย์ อบฉันท์ ไทยทอง และ พี่กุ้ง สุชาดา วงค์ภาคำ แห่งภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ในการแนะนำเรื่องการเก็บตัวอย่าง หนังสือที่ควรอ่าน ผมจึงได้ ตามอ่านหนังสือ ทั้งในห้องสมุดภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, และห้องสมุดหอพรรณไม้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ผมจึงต้องนั่งอ่านและทำความเข้าใจ กฎเรียกชื่อสากลทางพฤกษศาสตร์, วิวัฒนาการ, แนวคิดการจำแนกชนิด, แนวเขตลูกผสม, กลไกการแบ่งแยกชนิด และเอกสารอ้างอิงอื่นๆ เพื่อมาประมวลในการเขียนบทความภาษาอังกฤษครั้งแรกในชีวิต โดยใช้ความช่วยเหลือด้านภาษาอังกฤษจาก พี่โอ๋ สมภณ โพธิโสภณ พี่ชายนักเรียนนอก ที่เรียนอเมริกาตั้งแต่สิบขวบ ทักษะภาษาอังกฤษเทียบเท่าเจ้าของภาษา ที่ช่วยแนะนำเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษครับ
อีกทั้งผมยังต้องศึกษาภาษาละตินทางพฤกษศาสตร์ เพื่อใช้ในการตั้งชื่อ และการเขียนคำวินิจฉัยละติน เนื่องจากในปี ๒๕๔๙ ยังคงต้องมีคำวินิจฉัยละตินตามกฎเรียกชื่อสากลทางพฤกศาสตร์อยู่ครับ
ในอีกด้านหนึ่งผมต้องหัดวาดรูปประกอบทางพฤกษศาสตร์ โดยในการวาดรูปประกอบของผมในการบรรยายรองเท้านารีขาวพังงา ได้รับอิทธิผลจากงานของผลงานของอาจารย์ Leonid Averyanov ในหนังสือกล้วยไม้รองเท้านารีของเวียดนามปี๒๕๔๖ (Averyanov., L.; Cribb, P.; Loc, P. K. & Hiep, N. T. (2003) Slipper orchids of Vietnam: with an introductiona to the flora of Vietnam. Timber Press)
หลังจากนั้นผมได้รับการติดต่อจากน้องท่านหนึ่งในภาคใต้ แนะนำให้รู้จักบังหมาด สมศักดิ์ ปานบุญ และบังหมีด ดุลห้าหมีน ชำนาญสินธุ์ และพี่ๆน้องๆ ในหมู่บ้านอ่าวน้ำ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ซึ่พวกเขาได้ช่วยพาผมขึ้นไปดูถ่ายภาพรองเท้านารีขาวพังงา และอื่นๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วนอย่างปลอดภัย การไปดูขาวพังงาไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะอยู่บนหน้าผาสูงชันราวสามร้อยถึงสี่ร้อยเมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งต้องปีนผ่านหินปูนที่บานแหลมขึ้นไปสูงมากๆ ทั้งเหนื่อยกาย เหนื่อยใจ กล้องก็หนัก น้ำก็หนัก หิวก็หิว หินก็บาด ฝนก็ตก ลมก็แรง รองเท้านารีขาวพังงาก็ไม่ใช่ว่าจะพบง่ายๆ เพราะมันอยู่บนหน้าผาสูงชัน ในการที่จะเข้าไปถ่ายรูปมาได้จึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากมาก คุณภาพของรูปจึงไม่ค่อยดีนัก
ในระหว่างนั้นผมได้ยื่นเรื่องไปที่วราสารวิจารณ์กล้วยไม้ ของราชพฤกษชาติสมาคม แห่งสหราชอาณาจักร และได้รับการตอบรับจากบรรณาธิการ ซึ่งเขาแจ้งให้ทราบว่าผู้ที่จะมาเป็นผู้ตรวจทานอ่านบทความผมก่อนตีพิมพ์คือศาสตราจารย์ Phillip Cribb แห่งสวนพฤกษศาสตร์ คิว สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นผู้เขียน The Genus Paphiopedilum อันโด่งดังอีกด้วย จึงเป็นความกดดันอย่างมากที่ต้องทำงานออกมาให้ดีที่สุด
ช่วงปลายปี ๒๕๔๘ ผมได้พบน้องล้าน คมไพร นิลรัตน์ และน้องท่านอื่นอีกหลายท่าน ที่ทำงานอนุรักษ์รองเท้านารีขาวพังงา ที่จังหวัดพังงา ทำให้ผมใจชื้นขึ้นว่าจะมีคนท้องถิ่นที่จะดูแลรักษารองเท้านารีที่เรารัก
เมื่อได้ภาพและตัวอย่างแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือเอาทุกศาสตร์ และทุกข้อมูล มาประมวลตัดสินว่า ตกลงแล้วรองเท้านารีขาวพังงาเป็นรองเท้านารีชนิดใหม่ในทางวิทยาศาสตร์หรือไม่ ซึ่งเมื่อได้ศึกษาและวิเคราะห์ถี่ถ้วนแล้ว ผมได้ตั้งสมมติฐานว่า ขนาดของทางออกจากกลีบกระเป๋าบนดอกรองเท้านารีขาวพังงานั้น มีขนาดเล็กแตกต่างจากขนาดทางออกจากกลีบกระเป๋าของรองเท้านารีขาวสตูลอย่างมีนัยะสำคัญ ซึ่งน่าจะเป็นกลไลการแยกชนิด และทำให้หยุดความสามารถในการแลกเปลี่ยนพันธุกรรมระหว่างสองชนิดนี้ จึงได้เขียนบทความเป็นต้นฉบับ เป็นที่เรียบร้อย และอ่านทานตรวจสอบคำเป็นร้อยๆครั้งจนมั่นใจ วาดภาพประกอบ เขียนคำวินิจฉัยละติน เป็นเวลานานนับเดือน
ในระหว่างนั้นช่วงกลางๆปี ๒๕๔๙ ผมได้ไปงานชมรมเรือนกล้วยไม้ พันทิป ได้ไปพบ เสธวิสูตร คงอุทัยกุล และ ปู่ ไกรฤทธิ์ เวฒวรุธ อดีตนายกสมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทย และขอคำปรึกษาว่าจะตั้งชื่อรองเท้านารีชนิดใหม่ของไทยและของโลกว่า Paphiopedilum thaianum เพื่อบอกให้รู้ว่าเป็นกล้วยไม้รองเท้านารีของประเทศไทย และผู้ใหญ่ในวงการกล้วยไม้ทั้งสองท่าน ก็ได้เห็นชอบด้วยว่าเป็นชื่อที่เหมาะสมและควรคู่ที่จะเป็นรองเท้านารีประจำชาติไทย
หลังจากนั้นผมจึงได้ส่งต้นฉบับไปที่บรรณาธิการและส่งต่อให้ศาสตราจารย์ Cribb ตรวจทานต่อไป ซึ่งใช้เวลาหลายวันอยู่ ซึ่งผมก็รอลุ้นอย่างกระวนกระวาย แต่ในที่สุดจดหมายอิเลกโทรนิกก็มาถึงพร้อมข่าวดี และวราสารได้ตีพิมพ์ ดังนี้ Iamwiriyakul, P. Paphiopedilum thaianum, A new species of Paphiopedilum from Thailand. Orchid Review 114 (1271):278-281, Sep/Oct; 2006. ในเดือนกันยายน ปี พศ ๒๕๔๙ และผมได้ฝากตัวอย่าง Holotype และ Isotype ไว้ที่พิพิธภัณฑ์พืช ศาสตราจารย์ กสิน สุวตะนันท์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และหอพรรณไม้ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ แม่ริม
ในระหว่างรอการตีพิมพ์ ผมมีโอกาสได้ไป งานสัมมนาภาพวาดประกอบทางพฤกศาสตร์ที่สวนพฤกศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ แม่ริม ซึ่งทำให้ผมรู้จักกับอาจารย์ที่เป็นปูชนียบุคคลที่ผมชื่นชมทั้งทางด้านศิลปะ และทางด้านชีววิทยา หลายท่าน ตัวอย่างเช่น อาจารย์พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก, อาจารย์ศศิวิมล แสวงผล, อาจารย์พรเลิศ ละออสุวรรณ, ศาสตราจารย์ Phillip Cribb, อาจารย์ ปิยะเกษตร สุขสถาน และอาจารย์ สันติ วัฒฐานะ
และอาจารย์ท่านอื่นๆที่ไม่ได้กล่าวถึง
หลังจากที่บทความได้ตีพิมพ์ออกไป มีนักอนุกรมวิธานพืช และนักเพาะเลี้ยงกล้วยไม้หลายท่าน ให้ความเห็นว่ารองเท้านารีขาวพังงา อาจจะเป็นเพียงชื่อซ้ำ (synonym) หรือ พันธุ์ (variety)หนึ่งของรองเท้านารีขาวสตูลเท่านั้น แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะทั้งสองชนิดเป็น ชนิดซ่อนแอบกัน (Cryptic species)
ราวต้นปี ๒๕๕๐ อาจารย์ สันติ วัฒฐานะ และคณะ ได้เดินทางไปศึกษาพรรณไม้แถบจังหวัดพังงาและกระบี่ ได้โทรศัพท์มาสอบถามข้อมูลจากผม เกี่ยวกับแหล่งที่พบรองเท้านารีขาวพังงา เพื่อจะได้ศึกษาแมลงผสมเกสร ซึ่งผมยินดีมากๆ เพราะจะได้เป็นวิธีการพิสูจน์สมมติฐานของผมว่าผิดหรือถูก ผมไม่รั้งรอที่จะให้เบอร์ติดต่อน้องล้าน คมไพร นิลรัตน์ ซึ่งเป็นแกนหลักของกลุ่มอนุรักษ์รองเท้านารีขาวพังงาที่จังหวัดพังงา ให้อาจารย์ สันติ ไป และได้มาทราบภายหลังว่า ศาสตราจารย์ Hans Bänziger และคณะ ได้ทำการศึกษางานวิจัยนี้ ซึ่งอาจารย์ Bänziger เป็นนักชีววิทยาด้านแมลงผสมเกสรกล้วยไม้สกุลรองเท้านารี ที่โด่งดังที่สุดคนหนึ่งของโลก จึงเป็นที่ปราบปลื้มของผมมากๆ ที่ได้ท่านปรมาจารย์ Bänziger มาช่วยพิสูจน์สมมติฐานของผม
++๑๑ปีหลังบรรยายตั้งชื่อ รองเท้านารีขาวพังงา ชนิดใหม่ทางวิทยาศาสตร์ Paphiopedilum thaianum Iamwir.,(2006) Orchidaceae+++
ครบรอบสิบเอ็ดปีหลังจากได้ตีพิมพ์ บรรยาย และตั้งชื่อกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีชนิดใหม่ในทางวิทยาศาสตร์ของโลกและของประเทศไทย ในนาม Paphiopedilum thaianum Iamwir., Orchid Rev, 114: 278. (2006)
เมื่อครั้งผมศึกษาอยู่ชั้นมัธยมตอนต้น ผมได้พบเห็นและสะสมดวงตราไปรษณียากร ชุดงานกล้วยไม้โลก ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นพิเศษ เนื่องในการจัดงานกล้วยไม้โลกในประเทศไทย ซึ่งดวงตราไปรษณียากรมีรูปรองเท้านารีหลายชนิด ภาพเหล่านี้ทำให้ผมรู้สึกหลงรักกล้วยไม้สกุลนี้มาก จนได้ไปตามหาที่ตลาดนัดสวนจัตุจักร และซื้อกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีมาเพาะเลี้ยงตามภาษาเด็ก ซึ่งไม้ก็ตายสะส่วนใหญ่ ด้วยการขาดความรู้ความเข้าใจ เมื่อขึ้นชั้นมัธยมตอนปลายจำเป็นต้องเรียนพิเศษมากขึ้น จึงได้หยุดเลี้ยงไป
หลังจากเรียนจบมหาวิทยาลัย ได้ไปพบร้านขายรองเท้านารีโดยบังเอิญทำให้รู้สึกอยากเลี้ยงขึ้นมาอีกครั้ง ในคราวนี้ได้ทำการศึกษาค้นคว้าจริงจังมากขึ้น เริ่มด้วยการเข้าเล่นในห้องเรือนกล้วยไม้ เวปไซต์พันทิป ซึ่งได้รู้จัก กับพี่อุ๊ เหลืองจันท์ วรรณา พินิจไพฑูรย์ พี่สาวสุดสวย ที่เป็นเพื่อนในโลกออนไลน์คนแรกของผมเลย และทำให้ผมได้รู้จัก พี่ๆ น้องๆ มากมายในวงการกล้วยไม้ไทย รวมทั้งค้นคว้าหาเอกสารอ้างอิงทั้งไทยและเทศ มาค้นคว้าเพื่อความเข้าในหลักอนุกรมวิธานของพืชสกุลนี้ แต่พออ่านแล้ว ผมยังไม่ได้คำตอบของคำถามทั้งหมด ยังมีอีกหลายคำถามที่ยังคั่งข้างอยู่ในใจ
จนอยู่มาวันหนึ่งผมได้มีโอกาสได้ไปเที่ยวในสวนกล้วยไม้ของพี่หมึกเมืองกาญจน์ ชาญชัย ทัศนวงศ์วรา ทำให้ผมได้พบกับรองเท้านารีขาวพังงาเป็นครั้งแรก ในเดือนเมษายน ปี ๒๕๔๘ แต่ตอนนั้น ผมยังไม่ได้ตัวอย่าง ได้เพียงถ่ายรูปไว้ หลังจากนั้นจึงพยายามสืบเสาะหาวิธีไปศึกษารองเท้านารีขาวพังงาในธรรมชาติ แต่ขั้นตอนแรก คือต้องฝึกเดินป่า และหัดถ่ายภาพเสียก่อน ผมก็ได้รับความเมตตาจากพี่เล็ก หัสชัย บุญเนือง และพี่ท็อป กอบสุข แก่นรัตนะ กรุณาช่วยสอนการเตรียมตัวเดินป่า การเดินป่า และการถ่ายภาพกล้วยไม้ในธรรมชาติ แต่ฝีมือการถ่ายภาพของผมยังไม่ได้เศษเสี้ยวของอาจารย์เล็กเลยครับ อีกทั้งพี่ท็อปที่กรุณาแบ่งที่เต็นให้ผมนอนครั้งแรกในป่าบนเขาพนมเบญจา จังหวัดกระบี่ รองเท้านารีคางกบใต้ที่ตามหา ได้เจอเพียงต้น แต่มีนักวิจัยท่านหนึ่งได้เก็บตัวอย่างดอกเดียวที่มีอยู่ในตอนนั้น เพื่อเอาไปเป็นตัวอย่าง ทำให้รู้ว่าการศึกษารองเท้านารีในธรรมชาติไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากจะอยู่ไกล ทางลำบาก พบน้อย บานน้อย ยังต้องแข่งกับ คนเก็บไม้ ทั้งเพื่อยังชีพและเพื่อวิชาการอีกด้วย
ในช่วงแรกผมติดต่อกับนักอนุกรมวิธานกล้วยไม้สมัครเล่นชาวต่างชาติท่านหนึ่ง ให้ร่วมกันเขียนบทความ แต่เนื่องด้วยรองเท้านารีขาวพังงามีลักษณะเป็นชนิดแอบซ่อน (Cryptic species) เขาจึงได้แนะนำให้ผมรู้จักศาสตราจารย์ต่างชาติท่านหนึ่ง ซึ่งในตอนแรกผมติดต่อในการตีพิมพ์รองเท้านารีอีกตัวหนึ่ง และผมได้ปรึกษาเกี่ยวกับรองเท้านารีขาวพังงา เขาบอกว่าอยากได้ตัวอย่างมากๆ แต่ผมแจ้งให้เขารอก่อน เพราะผมไม่มีตัวอย่าง และไม้ที่ถ่ายรูปมาไม่ใช่ของผม แต่เขาหาได้เข้าใจไม่ เขากลับใช้ผรุสวาจาดูถูกว่าผมเป็นนักค้ากล้วยไม้ป่า จะเอาไม้ป่ามาโก่งราคาเขา ปั่นหัวเขา และเขาก็เงียบไป
กลายเป็นแรงผลักดันให้ผมคิดว่า คนไทยเราก็น่าที่จะสามารถทำอะไรที่ชาวต่างชาติเขาทำได้เช่นกัน และผมได้รับความกรุณาจากอาจารย์ อบฉันท์ ไทยทอง และ พี่กุ้ง สุชาดา วงค์ภาคำ แห่งภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ในการแนะนำเรื่องการเก็บตัวอย่าง หนังสือที่ควรอ่าน ผมจึงได้ ตามอ่านหนังสือ ทั้งในห้องสมุดภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, และห้องสมุดหอพรรณไม้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ผมจึงต้องนั่งอ่านและทำความเข้าใจ กฎเรียกชื่อสากลทางพฤกษศาสตร์, วิวัฒนาการ, แนวคิดการจำแนกชนิด, แนวเขตลูกผสม, กลไกการแบ่งแยกชนิด และเอกสารอ้างอิงอื่นๆ เพื่อมาประมวลในการเขียนบทความภาษาอังกฤษครั้งแรกในชีวิต โดยใช้ความช่วยเหลือด้านภาษาอังกฤษจาก พี่โอ๋ สมภณ โพธิโสภณ พี่ชายนักเรียนนอก ที่เรียนอเมริกาตั้งแต่สิบขวบ ทักษะภาษาอังกฤษเทียบเท่าเจ้าของภาษา ที่ช่วยแนะนำเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษครับ
อีกทั้งผมยังต้องศึกษาภาษาละตินทางพฤกษศาสตร์ เพื่อใช้ในการตั้งชื่อ และการเขียนคำวินิจฉัยละติน เนื่องจากในปี ๒๕๔๙ ยังคงต้องมีคำวินิจฉัยละตินตามกฎเรียกชื่อสากลทางพฤกศาสตร์อยู่ครับ
ในอีกด้านหนึ่งผมต้องหัดวาดรูปประกอบทางพฤกษศาสตร์ โดยในการวาดรูปประกอบของผมในการบรรยายรองเท้านารีขาวพังงา ได้รับอิทธิผลจากงานของผลงานของอาจารย์ Leonid Averyanov ในหนังสือกล้วยไม้รองเท้านารีของเวียดนามปี๒๕๔๖ (Averyanov., L.; Cribb, P.; Loc, P. K. & Hiep, N. T. (2003) Slipper orchids of Vietnam: with an introductiona to the flora of Vietnam. Timber Press)
หลังจากนั้นผมได้รับการติดต่อจากน้องท่านหนึ่งในภาคใต้ แนะนำให้รู้จักบังหมาด สมศักดิ์ ปานบุญ และบังหมีด ดุลห้าหมีน ชำนาญสินธุ์ และพี่ๆน้องๆ ในหมู่บ้านอ่าวน้ำ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ซึ่พวกเขาได้ช่วยพาผมขึ้นไปดูถ่ายภาพรองเท้านารีขาวพังงา และอื่นๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วนอย่างปลอดภัย การไปดูขาวพังงาไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะอยู่บนหน้าผาสูงชันราวสามร้อยถึงสี่ร้อยเมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งต้องปีนผ่านหินปูนที่บานแหลมขึ้นไปสูงมากๆ ทั้งเหนื่อยกาย เหนื่อยใจ กล้องก็หนัก น้ำก็หนัก หิวก็หิว หินก็บาด ฝนก็ตก ลมก็แรง รองเท้านารีขาวพังงาก็ไม่ใช่ว่าจะพบง่ายๆ เพราะมันอยู่บนหน้าผาสูงชัน ในการที่จะเข้าไปถ่ายรูปมาได้จึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากมาก คุณภาพของรูปจึงไม่ค่อยดีนัก
ในระหว่างนั้นผมได้ยื่นเรื่องไปที่วราสารวิจารณ์กล้วยไม้ ของราชพฤกษชาติสมาคม แห่งสหราชอาณาจักร และได้รับการตอบรับจากบรรณาธิการ ซึ่งเขาแจ้งให้ทราบว่าผู้ที่จะมาเป็นผู้ตรวจทานอ่านบทความผมก่อนตีพิมพ์คือศาสตราจารย์ Phillip Cribb แห่งสวนพฤกษศาสตร์ คิว สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นผู้เขียน The Genus Paphiopedilum อันโด่งดังอีกด้วย จึงเป็นความกดดันอย่างมากที่ต้องทำงานออกมาให้ดีที่สุด
ช่วงปลายปี ๒๕๔๘ ผมได้พบน้องล้าน คมไพร นิลรัตน์ และน้องท่านอื่นอีกหลายท่าน ที่ทำงานอนุรักษ์รองเท้านารีขาวพังงา ที่จังหวัดพังงา ทำให้ผมใจชื้นขึ้นว่าจะมีคนท้องถิ่นที่จะดูแลรักษารองเท้านารีที่เรารัก
เมื่อได้ภาพและตัวอย่างแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือเอาทุกศาสตร์ และทุกข้อมูล มาประมวลตัดสินว่า ตกลงแล้วรองเท้านารีขาวพังงาเป็นรองเท้านารีชนิดใหม่ในทางวิทยาศาสตร์หรือไม่ ซึ่งเมื่อได้ศึกษาและวิเคราะห์ถี่ถ้วนแล้ว ผมได้ตั้งสมมติฐานว่า ขนาดของทางออกจากกลีบกระเป๋าบนดอกรองเท้านารีขาวพังงานั้น มีขนาดเล็กแตกต่างจากขนาดทางออกจากกลีบกระเป๋าของรองเท้านารีขาวสตูลอย่างมีนัยะสำคัญ ซึ่งน่าจะเป็นกลไลการแยกชนิด และทำให้หยุดความสามารถในการแลกเปลี่ยนพันธุกรรมระหว่างสองชนิดนี้ จึงได้เขียนบทความเป็นต้นฉบับ เป็นที่เรียบร้อย และอ่านทานตรวจสอบคำเป็นร้อยๆครั้งจนมั่นใจ วาดภาพประกอบ เขียนคำวินิจฉัยละติน เป็นเวลานานนับเดือน
ในระหว่างนั้นช่วงกลางๆปี ๒๕๔๙ ผมได้ไปงานชมรมเรือนกล้วยไม้ พันทิป ได้ไปพบ เสธวิสูตร คงอุทัยกุล และ ปู่ ไกรฤทธิ์ เวฒวรุธ อดีตนายกสมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทย และขอคำปรึกษาว่าจะตั้งชื่อรองเท้านารีชนิดใหม่ของไทยและของโลกว่า Paphiopedilum thaianum เพื่อบอกให้รู้ว่าเป็นกล้วยไม้รองเท้านารีของประเทศไทย และผู้ใหญ่ในวงการกล้วยไม้ทั้งสองท่าน ก็ได้เห็นชอบด้วยว่าเป็นชื่อที่เหมาะสมและควรคู่ที่จะเป็นรองเท้านารีประจำชาติไทย
หลังจากนั้นผมจึงได้ส่งต้นฉบับไปที่บรรณาธิการและส่งต่อให้ศาสตราจารย์ Cribb ตรวจทานต่อไป ซึ่งใช้เวลาหลายวันอยู่ ซึ่งผมก็รอลุ้นอย่างกระวนกระวาย แต่ในที่สุดจดหมายอิเลกโทรนิกก็มาถึงพร้อมข่าวดี และวราสารได้ตีพิมพ์ ดังนี้ Iamwiriyakul, P. Paphiopedilum thaianum, A new species of Paphiopedilum from Thailand. Orchid Review 114 (1271):278-281, Sep/Oct; 2006. ในเดือนกันยายน ปี พศ ๒๕๔๙ และผมได้ฝากตัวอย่าง Holotype และ Isotype ไว้ที่พิพิธภัณฑ์พืช ศาสตราจารย์ กสิน สุวตะนันท์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และหอพรรณไม้ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ แม่ริม
ในระหว่างรอการตีพิมพ์ ผมมีโอกาสได้ไป งานสัมมนาภาพวาดประกอบทางพฤกศาสตร์ที่สวนพฤกศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ แม่ริม ซึ่งทำให้ผมรู้จักกับอาจารย์ที่เป็นปูชนียบุคคลที่ผมชื่นชมทั้งทางด้านศิลปะ และทางด้านชีววิทยา หลายท่าน ตัวอย่างเช่น อาจารย์พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก, อาจารย์ศศิวิมล แสวงผล, อาจารย์พรเลิศ ละออสุวรรณ, ศาสตราจารย์ Phillip Cribb, อาจารย์ ปิยะเกษตร สุขสถาน และอาจารย์ สันติ วัฒฐานะ
และอาจารย์ท่านอื่นๆที่ไม่ได้กล่าวถึง
หลังจากที่บทความได้ตีพิมพ์ออกไป มีนักอนุกรมวิธานพืช และนักเพาะเลี้ยงกล้วยไม้หลายท่าน ให้ความเห็นว่ารองเท้านารีขาวพังงา อาจจะเป็นเพียงชื่อซ้ำ (synonym) หรือ พันธุ์ (variety)หนึ่งของรองเท้านารีขาวสตูลเท่านั้น แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะทั้งสองชนิดเป็น ชนิดซ่อนแอบกัน (Cryptic species)
ราวต้นปี ๒๕๕๐ อาจารย์ สันติ วัฒฐานะ และคณะ ได้เดินทางไปศึกษาพรรณไม้แถบจังหวัดพังงาและกระบี่ ได้โทรศัพท์มาสอบถามข้อมูลจากผม เกี่ยวกับแหล่งที่พบรองเท้านารีขาวพังงา เพื่อจะได้ศึกษาแมลงผสมเกสร ซึ่งผมยินดีมากๆ เพราะจะได้เป็นวิธีการพิสูจน์สมมติฐานของผมว่าผิดหรือถูก ผมไม่รั้งรอที่จะให้เบอร์ติดต่อน้องล้าน คมไพร นิลรัตน์ ซึ่งเป็นแกนหลักของกลุ่มอนุรักษ์รองเท้านารีขาวพังงาที่จังหวัดพังงา ให้อาจารย์ สันติ ไป และได้มาทราบภายหลังว่า ศาสตราจารย์ Hans Bänziger และคณะ ได้ทำการศึกษางานวิจัยนี้ ซึ่งอาจารย์ Bänziger เป็นนักชีววิทยาด้านแมลงผสมเกสรกล้วยไม้สกุลรองเท้านารี ที่โด่งดังที่สุดคนหนึ่งของโลก จึงเป็นที่ปราบปลื้มของผมมากๆ ที่ได้ท่านปรมาจารย์ Bänziger มาช่วยพิสูจน์สมมติฐานของผม