การออกเสียงชื่อวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นภาษาละติน คงทำให้ใครหลายๆคนสงสัยและลังเลว่าจะออกเสียงอย่างไร ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่มีประสบการณ์นั้นเช่นกัน จึงค้นคว้ารวบรวมการออกเสียงภาษาละตินมาไว้ณที่นี้ครับ
การออกเสียงภาษาละตินในปัจจุบัน พอจะแบ่งออกได้เป็น ๓ แบบคือ
๑ การออกเสียงแบบละตินยุครุ่งเรือง (Classical Latin)
๒ การออกเสียงแบบประเพณีละตินแบบอังกฤษ (Anglo-Latin)
๓ การออกเสียงแบบประเพณีโบสถ์แคทอลิก หรือแบบภาคพื้นทวีปยุโรป (Ecclesiastical Latin)
thaianum > thaiānum
1.Classical Latin [ tʰae ˈaː . nʊm ] ไทอานุม
2.Anglo-Latin [ θeɪ ˈeɪ . nəm ] เธเอนัม or ?[ tʰaɪ ˈeɪ . nəm ] ไทเอนัม
ขออนุญาตแก้ไข
เดิม 3. (Ecclesiastical Latin) [ θeː ˈaː . nʊm ] เธอานุม or ? [ tʰaɪ ˈaː . nʊm ] ไทอานุม
โดยยึดตามสำเนียง Italian รวมทั้ง แก้ไขในส่วนของตัวเลือกด้วยนะครับ แต่ไม่สามารถทำได้นะครับ
แก้ไขแล้ว 3. ( Italian Ecclesiastical Latin) [ tɛ ˈa . num ] แตะอะนุม or ? [ taɪ ˈa . num ] ไตอะนุม
? หมายถึงผู้อ่านรู้ว่า คำว่า thai หมายถึง ประเทศไทย และรู้ว่าออกเสียง ว่า ไท
ชื่อชนิดละติน thaianum ใช้เป็นชื่อชนิดของ พรรณไม้ไทย เฉพาะถิ่นอย่างน้อยสองชนิดคือ
๑ พลับพลึงธาร Crinum thaianum Schulze (1971)
๒ รองเท้านารีขาวพังงา หรือ รองเท้านารีไทย Paphiopedilum thaianum Iamwir. (2006)
ซึ่งรองเทานารีขาวพังงา ยังอาจจะเรียกได้ ว่า รองเท้านารีขาวสตูลแคระ หรือ รองเท้านารีเหลืองตรังแคระ เพราะสมัยก่อนการบรรยายถูกเข้าใจว่า เป็นชนิดย่อย หรือ สายพันธุ์แคระ ของ รองเท้านารีเหลืองตรัง Paphiopedilum leucochilum หรือ รองเท้านารีขาวสตูล Paphiopedilum niveum
ในวงการนักอนุกรมวิธาน นักเดินป่า นักอนุรักษ์ และ นักเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ ของไทย จึงมีโอกาสที่จะต้องเรียกชื่อ รองเท้านารี ตามด้วยชื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อไม่ให้เกิดความกำกวม ในการสื่อสาร
อย่างเช่น
“คุณคิดว่า รองเท้านารีไทยานัม เป็นชนิดแยกต่างหาก หรือเป็นชนิดย่อย ของรองเท้านารีนิเวียมหรือครับ”
แต่เนื่องจาก การออกเสียงชื่อวิทยาศาสตร์มีความหลากหลายทั้งในระบบของทางตะวันตก และการออกเสียงในการใช้ขอคนไทยเอง
ผมจึงได้จัดทำการสำรวจทางภาษาศาสตร์ดังนี้
จากการส่งคำถามผู้ที่อยู่ในวงการสัตว์ป่าและพรรณไม้ของไทย จำนวน ๗๐ คนซึ่งมีโอกาสได้ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นภาษาละติน มาไม่มากก็น้อย ทั้งหมด เป็นคนไทย ที่พูดภาษาไทยเป็นภาษาแม่ จบการศึกษาในหลายระดับ ส่วนใหญ่จบปริญญาตรี จนถึงปริญญาเอก ส่วนใหญ่มีถิ่นพักอาศัยถาวรในประเทศไทย บางคนเคยไปศึกษา ในต่างประเทศ ทั้ง ยุโรป และ อเมริกา
มีผู้ตอบคำถามก่อนการสรุปผลทั้งหมด ๕๐ คน
ไม่ตอบคำถาม ไม่อ่านคำถาม หรือตอบคำถามช้าหลังจากสรุปข้อมูล เป็นจำนวน ๒๐ คน
ผลมีดังนี้
การจัดกลุ่มการออกเสียง
ผู้ตอบคำถามตอบเป็นตัวอักษรไทย
ข้อกำหนด
๑ ให้ถือว่า ไท และ ไทย ออกเสียงเหมือนกัน และเขียนเหมือนกันว่า ไท
๒ สระสั้นยาวมีความแตกต่างในหน่วยเสียงของภาษาไทย
๓ วรรณยุกต์จากคำยืมจากภาษาที่ไม่มีวรรณยุกต์ ให้ตัดออก และถือว่าออกเสียงได้ ตามถนัดปากคนไทย
๔ ผู้ที่ออกเสียง สองแบบขึ้นไป ให้หารเฉลี่ยความถี่เท่าๆกัน
เราจึงสามารถจำแนกการออกเสียงของผลการสำรวจได้เป็น ๑๓ แบบ และมีความถี่ดังนี้ครับ
1 ไทอานุม = 4.5
2 ไทอะนุม = 5
3 ไทยานุม = 2
4 ไทเอนุม = 1
5 ไทแอนนุม = 2
6 ไทอานัม = 11.5
7 ไทอะนัม = 12
8 ไทยานัม = 4
9 ไทเอนัม = 4.5
10 ไทแอนนัม = 0.5
11 ไทอันนัม = 2
12 ไทอานาม = 0.5
13 ไทเอียนัม = 0.5
จึงอยากเรียนถามคนไทยว่า หากจะต้องกำหนดการสะกด และการออกเสียงในภาษาไทยให้เป็นมาตรฐานสักหนึ่งแบบ ควรออกเสียง ในแนวใด และอย่างไรครับ
ขออนุญาตตั้งโหวต ว่าควรจะเขียนและอ่านแบบไหน เนื่องด้วยเหตุใดครับ
๑ อ่านแบบละตินยุครุ่งเรือง[ tʰae ˈaː . nʊm ] ไทอานุม
๒ อ่านแบบอังกฤษ[ θeɪ ˈeɪ . nəm ] เธเอนัม
๓ อ่านแบบอังกฤษรู้คำว่าไทย [ tʰaɪ ˈeɪ . nəm ] ไทเอนัม
๔อ่านแบบอิตาเลียน [ tɛ ˈa . num ] แตะอะนุม
๕ อ่านแบบอิตาเลียนรู้คำว่าไทย [ taɪ ˈa . num ] ไตอะนุม
๖ อ่านแบบนิยมไทยอันดับหนึ่ง > ไทอะนัม = 12
๗ อ่านแบบนิยมไทยอันดับสอง > ไทอานัม = 11.5
๘อ่านแบบนิยมไทยอันดับสาม > ไทอะนุม = 5
๙อ่านแบบนิยมไทยอันดับสี่ > ไทอานุม = 4.5
๑๐อ่านแบบนิยมไทยอันดับห้า > ไทเอนัม = 4.5
๑๑อ่านแบบนิยมไทยอันดับหก > ไทยานัม = 4
๑๒ อ่านแบบอื่น โปรดระบุ
*** ปิดโหวต วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2559 เวลา 02:00:50 น.
1. จึงอยากเรียนถามคนไทยว่า หากจะต้องกำหนดการสะกด และการออกเสียงในภาษาไทยให้เป็นมาตรฐานสักหนึ่งแบบ ควรออกเสียง ในแนวใด และอย่างไรครับ ขออนุญาตตั้งโหวต ว่าควรจะเขียนและอ่านแบบไหน เนื่องด้วยเหตุใดครับ
คุณลืมตอบคำถามที่ * จำเป็นต้องตอบ
+++++การออกเสียงและการเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ละติน ของพรรณไม้ และกล้วยไม้ ในภาษาไทย+++++
การออกเสียงภาษาละตินในปัจจุบัน พอจะแบ่งออกได้เป็น ๓ แบบคือ
๑ การออกเสียงแบบละตินยุครุ่งเรือง (Classical Latin)
๒ การออกเสียงแบบประเพณีละตินแบบอังกฤษ (Anglo-Latin)
๓ การออกเสียงแบบประเพณีโบสถ์แคทอลิก หรือแบบภาคพื้นทวีปยุโรป (Ecclesiastical Latin)
thaianum > thaiānum
1.Classical Latin [ tʰae ˈaː . nʊm ] ไทอานุม
2.Anglo-Latin [ θeɪ ˈeɪ . nəm ] เธเอนัม or ?[ tʰaɪ ˈeɪ . nəm ] ไทเอนัม
ขออนุญาตแก้ไข
เดิม 3. (Ecclesiastical Latin) [ θeː ˈaː . nʊm ] เธอานุม or ? [ tʰaɪ ˈaː . nʊm ] ไทอานุม
โดยยึดตามสำเนียง Italian รวมทั้ง แก้ไขในส่วนของตัวเลือกด้วยนะครับ แต่ไม่สามารถทำได้นะครับ
แก้ไขแล้ว 3. ( Italian Ecclesiastical Latin) [ tɛ ˈa . num ] แตะอะนุม or ? [ taɪ ˈa . num ] ไตอะนุม
? หมายถึงผู้อ่านรู้ว่า คำว่า thai หมายถึง ประเทศไทย และรู้ว่าออกเสียง ว่า ไท
ชื่อชนิดละติน thaianum ใช้เป็นชื่อชนิดของ พรรณไม้ไทย เฉพาะถิ่นอย่างน้อยสองชนิดคือ
๑ พลับพลึงธาร Crinum thaianum Schulze (1971)
๒ รองเท้านารีขาวพังงา หรือ รองเท้านารีไทย Paphiopedilum thaianum Iamwir. (2006)
ซึ่งรองเทานารีขาวพังงา ยังอาจจะเรียกได้ ว่า รองเท้านารีขาวสตูลแคระ หรือ รองเท้านารีเหลืองตรังแคระ เพราะสมัยก่อนการบรรยายถูกเข้าใจว่า เป็นชนิดย่อย หรือ สายพันธุ์แคระ ของ รองเท้านารีเหลืองตรัง Paphiopedilum leucochilum หรือ รองเท้านารีขาวสตูล Paphiopedilum niveum
ในวงการนักอนุกรมวิธาน นักเดินป่า นักอนุรักษ์ และ นักเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ ของไทย จึงมีโอกาสที่จะต้องเรียกชื่อ รองเท้านารี ตามด้วยชื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อไม่ให้เกิดความกำกวม ในการสื่อสาร
อย่างเช่น
“คุณคิดว่า รองเท้านารีไทยานัม เป็นชนิดแยกต่างหาก หรือเป็นชนิดย่อย ของรองเท้านารีนิเวียมหรือครับ”
แต่เนื่องจาก การออกเสียงชื่อวิทยาศาสตร์มีความหลากหลายทั้งในระบบของทางตะวันตก และการออกเสียงในการใช้ขอคนไทยเอง
ผมจึงได้จัดทำการสำรวจทางภาษาศาสตร์ดังนี้
จากการส่งคำถามผู้ที่อยู่ในวงการสัตว์ป่าและพรรณไม้ของไทย จำนวน ๗๐ คนซึ่งมีโอกาสได้ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นภาษาละติน มาไม่มากก็น้อย ทั้งหมด เป็นคนไทย ที่พูดภาษาไทยเป็นภาษาแม่ จบการศึกษาในหลายระดับ ส่วนใหญ่จบปริญญาตรี จนถึงปริญญาเอก ส่วนใหญ่มีถิ่นพักอาศัยถาวรในประเทศไทย บางคนเคยไปศึกษา ในต่างประเทศ ทั้ง ยุโรป และ อเมริกา
มีผู้ตอบคำถามก่อนการสรุปผลทั้งหมด ๕๐ คน
ไม่ตอบคำถาม ไม่อ่านคำถาม หรือตอบคำถามช้าหลังจากสรุปข้อมูล เป็นจำนวน ๒๐ คน
ผลมีดังนี้
การจัดกลุ่มการออกเสียง
ผู้ตอบคำถามตอบเป็นตัวอักษรไทย
ข้อกำหนด
๑ ให้ถือว่า ไท และ ไทย ออกเสียงเหมือนกัน และเขียนเหมือนกันว่า ไท
๒ สระสั้นยาวมีความแตกต่างในหน่วยเสียงของภาษาไทย
๓ วรรณยุกต์จากคำยืมจากภาษาที่ไม่มีวรรณยุกต์ ให้ตัดออก และถือว่าออกเสียงได้ ตามถนัดปากคนไทย
๔ ผู้ที่ออกเสียง สองแบบขึ้นไป ให้หารเฉลี่ยความถี่เท่าๆกัน
เราจึงสามารถจำแนกการออกเสียงของผลการสำรวจได้เป็น ๑๓ แบบ และมีความถี่ดังนี้ครับ
1 ไทอานุม = 4.5
2 ไทอะนุม = 5
3 ไทยานุม = 2
4 ไทเอนุม = 1
5 ไทแอนนุม = 2
6 ไทอานัม = 11.5
7 ไทอะนัม = 12
8 ไทยานัม = 4
9 ไทเอนัม = 4.5
10 ไทแอนนัม = 0.5
11 ไทอันนัม = 2
12 ไทอานาม = 0.5
13 ไทเอียนัม = 0.5
จึงอยากเรียนถามคนไทยว่า หากจะต้องกำหนดการสะกด และการออกเสียงในภาษาไทยให้เป็นมาตรฐานสักหนึ่งแบบ ควรออกเสียง ในแนวใด และอย่างไรครับ
ขออนุญาตตั้งโหวต ว่าควรจะเขียนและอ่านแบบไหน เนื่องด้วยเหตุใดครับ
๑ อ่านแบบละตินยุครุ่งเรือง[ tʰae ˈaː . nʊm ] ไทอานุม
๒ อ่านแบบอังกฤษ[ θeɪ ˈeɪ . nəm ] เธเอนัม
๓ อ่านแบบอังกฤษรู้คำว่าไทย [ tʰaɪ ˈeɪ . nəm ] ไทเอนัม
๔อ่านแบบอิตาเลียน [ tɛ ˈa . num ] แตะอะนุม
๕ อ่านแบบอิตาเลียนรู้คำว่าไทย [ taɪ ˈa . num ] ไตอะนุม
๖ อ่านแบบนิยมไทยอันดับหนึ่ง > ไทอะนัม = 12
๗ อ่านแบบนิยมไทยอันดับสอง > ไทอานัม = 11.5
๘อ่านแบบนิยมไทยอันดับสาม > ไทอะนุม = 5
๙อ่านแบบนิยมไทยอันดับสี่ > ไทอานุม = 4.5
๑๐อ่านแบบนิยมไทยอันดับห้า > ไทเอนัม = 4.5
๑๑อ่านแบบนิยมไทยอันดับหก > ไทยานัม = 4
๑๒ อ่านแบบอื่น โปรดระบุ