JJNY : ทนายความอิสระชี้ DSI – ปปง. เลือกเอาผิดผู้ที่มีส่วนได้เสียกับการปล่อยกู้ธนาคารกรุงไทยบางราย อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายฯ

กระทู้คำถาม
ทนายความอิสระชี้ DSI – ปปง. เลือกเอาผิดผู้ที่มีส่วนได้เสียกับการปล่อยกู้ธนาคารกรุงไทยบางราย อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายอาญามาตรา 157

นายวันชัย บุนนาค ทนายความอิสระ ยื่นหนังสือต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI เรียกร้องให้ทำการสอบสวนรวบรวมว่าธนาคารกรุงเทพฯ คดีฟอกเงินกรุงไทย ว่ามีใครบ้างที่รับเงินหรือรับเช็ค ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือรับเงินจากบัญชีของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่ทำการกระจายเงินในวันที่ 18 ธ.ค.2546 ซึ่งเป็นเงินที่มาจากเงินกู้ผิดกฎหมายจากกรุงไทยฯ ทั้ง 9,900 ล้านบาท เพราะการที่ ปปง.ร้องทุกข์กล่าวโทษเพียงบางคน ส่อว่าเป็นการเลือกปฏิบัติกับกลุ่มคนไม่กี่คนที่เงินไม่มากนัก แต่อีกหลายคนกลับไม่ตั้งเป็นคดีพิเศษ คดีฟอกเงินธนาคารกรุงไทย จึงส่อว่า ปปง. และ DSI ทำผิด ม.157 เสียเอง

คดีนี้มีรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 48/2546(527) ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2546 ณ สำนักงานใหญ่ อนุมัติปล่อยกู้บริษัท โกลเด้น เทคโนยี อินดัสเทรียล พาร์ค จำกัด 9,900 ล้านบาทที่ลงนามอนุมัติ โดย ร้อยโทสุชาย เชาว์วิศิษฐ์ , นายวิโรจน์ นวลแข , นายชัยณรงค์ อินทรมีทรัพย์ ,นายอุตตม สาวนายน นายมัชฌิมา กุญชร ณ อยุธยา และศาลฎีกาพิพากษาแล้วว่าปล่อยกู้ที่ผิดกฎหมายทั้งหมด คตส.ส่งเรื่องร้องทุกข์กล่าวโทษกรรมการบริหารธนาคารกรุงไทยที่ปล่อยกู้ผิดกฎหมายเป็นความผิดฐานฟอกเงินให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ รับเป็นคดีพิเศษตั้งแต่ ปี 2550 กรมสอบสวนคดีพิเศษรับเป็นคดีพิเศษที่ 36/2550 กรรมการอนุมัติสินเชื่อทั้ง 5 คน ต้องเป็นผู้ต้องหาในคดีแล้ว

แต่เมื่อวันที่ 26 ส.ค.2558 ศาลฎีกาตัดสินว่ากรรมการบริหารที่ลงนามอนุมัติสินเชื่อผิดและถูกจำคุกไป 3 คน อีก 2 คนไม่ถูกฟ้อง ทั้งนายชัยณรงค์ อินทรมีทรัพย์ และนาย อุตตม สาวนายน ที่ปัจจุบันเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

การที่ DSI ไม่ทำตามขั้นตอน ส่อว่าช่วยเหลือนายชัยณรงค์ อินทรมีทรัพย์ และนายอุตตม สาวนายน ให้ไม่ถูกดำเนินคดีฟอกเงิน ทั้งที่ DSI มีหน้าที่ต้องทำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่จะต้องเรียกตัวผู้อนุมัติสินเชื่อทั้งหมดที่ทำให้เงินปล่อยกู้ที่ผิดกฎหมายนำไปสู่การฟอกเงินมาสอบสวนดำเนินคดีทั้งหมด และ DSI ต้องทำความเห็นทางคดีว่าเห็นควรสั่งฟ้องหรือไม่สั่งฟ้อง ส่งให้อัยการพิจารณาคดีตามกฎหมาย ซึ่งหากสรุปตามคำพิพากษาศาลฎีกาเงินที่ระบุว่า ธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้ 9,900 ล้านบาท แก่กลุ่มกฤษนครนั้นผิดกฎหมายทั้งหมดด DSI มีหน้าที่ต้องทำการสอบสวนรวบรวมว่าธนาคารกรุงเทพฯรับเงินไปเท่าไร และใครบ้างที่รับเงินจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่และสาขาศรีย่าน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่