ดีเดย์ ใช้ใบสั่งแบบใหม่ 1ธ.ค.60 ใครเบี้ยว'ค่าปรับ' โดนแน่!
ใช้ใบสั่งแบบใหม่ 1 ธ.ค. ระบบคอมพิวเตอร์พร้อมใช้เชื่อมข้อมูลขนส่งฯ ใครเบี้ยวค่าปรับ ผิดกฎจร. วันต่อทะเบียนรถโดนแน่ ฝ่าไฟแดง-ขับเร็ว-จอดมั่ว จ่ายค่าปรับที่ธนาคารได้ หากยึดใบขับขี่จ่ายโรงพักเหมือนเดิม
เมื่อวันที่ 18 ก.ย.60 ที่กองบังคับการตำรวจจราจร(บก.จร.)พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล(ผบช.น.) เป็นประธานในการเปิดอบรมโครงการฝึกอบรมเสริมสร้างทักษะผู้ใช้งานระบบบริหารจัดการใบสั่งจราจร(Police Ticket Management : PTM) โดยมีพล.ต.ต.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล(รองผบช.น.) ดูแลงานจราจร พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก ผู้บังคับการตำรวจจราจร(ผบก.จร.)
พล.ต.ท.ศานิตย์ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวจะเป็นการอบรมเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ดูเรื่องระบบใบสั่งของแต่ละสน.ให้มีความรู้ในการบันทึกข้อมูลใบสั่งจราจรลงระบบPTMซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.)ที่จะต้องดำเนินการใช้พร้อมกันทั่วประเทศ ดังนั้นแต่ละพื้นที่จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความเชี่ยวชาญและแม่นยำในการปฏิบัติงาน สามารถดำเนินการได้อย่างทุกต้องและแม่นยำซึ่งระบบPTM คือระบบจัดการใบสั่งจราจรสำหรับใช้ในการประมวลผลการควบคุมและจัดการใบสั่ง การบันทึกข้อมูลใบสั่ง และการเรียกดูรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระค่าปรับ ซึ่งระบบดังกล่าวจะเชื่อมต่อกับระบบของธนาคารกรุงไทยหากประชาชนถูกจับและโดนใบสั่งจะสามารถชำระค่าปรับได้อย่างสะดวกที่ธนาคาร นอกจากนี้จะสามารถแก้ปัญหาใบสั่งค้างจ่าย และแก้ปัญหากรณีการเรียกรับเงินจากประชาชนแทนการจ่ายค่าปรับแบบเต็มจำนวนตามที่กฎหมายกำหนดในแต่ละข้อหา ด้านเจ้าหน้าที่เองก็จะสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ง่ายมากขึ้นเพราะทุกอย่างอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์
ด้านพ.ต.อ.เอกราช ลิ้มสังกาศ รองผู้บังคับการตำรวจทางหลวง(รองผบก.ทล.) ในฐานะเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบและวิทยากรในการฝึกอบรม กล่าวว่า ปัจจุบันทางสตช.เพิ่มจะเริ่มใช้ระบบPTMเข้ามาบริหารจัดการใบสั่งเพื่อให้สอดรับกับการจ่ายค่าปรับผ่านทางธนาคาร และสอดรับกับรูปใบสั่งรูปแบบใหม่ซึ่งจะมีบาร์โค้ดสำหรับการตรวจสอบและจ่ายเงินผ่านทางธนาคาร โดยขณะนี้ใบสั่งรูปแบบเก่าที่ใช้งานอยู่ยังไม่สามารถจะบันทึกข้อมูลลงระบบได้ ดังนั้นเพื่อเตรียมความพร้อมในการใช้งานใบสั่งรูปแบบใหม่จึงจำเป็นที่จะต้องจัดอบรมเจ้าหน้าที่ก่อนที่จะเริ่มใช้งานระบบPTMพร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 1 ธ.ค. 60 ซึ่งขณะนี้ทางสตช.อยู่ระหว่างการจัดพิมพ์ใบสั่งรูปแบบใหม่หากดำเนินการเสร็จแล้วตำรวจราจรทั่วประเทศจะต้องใช้ใบสั่งรูปแบบใหม่พร้อมกัน โดยปัจจุบันใบสั่งรูปแบบเก่าจะสามารถใช้งานได้อีกประมาณ 120 วันเท่านั้น นอกจากนี้ประชาชนสามารถจ่ายค่าปรับทางผ่านธนาคารได้ แต่การจ่ายค่าปรับผ่านธนาคารจะใช้ได้เฉพาะใบสั่งที่ออกโดยเครื่องตรวจจับอิเล็กทรอนิคส์เช่น เครื่องตรวจจับความเร็ว กล้องตรวจจับฝ่าสัญญาณไฟจราจร และใบสั่งแปะหรือใบสั่งที่ไม่พบตัวผู้กระทำความผิดเท่านั้น หากเป็นใบสั่งที่ถูกยึดใบขับขี่ผู้กระความผิดจะต้องไปชำระค่าปรับที่โรงพักเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวแจ้งว่า ระบบPTMดังกล่าวนอกจากสามารถตรวจสอบข้อมูลการค้างชำระค่าปรับ และรองรับมาตรการบันทึกคะแนนผู้กระทำความผิดซึ่งกฎหมายตามพ.ร.บ.จราจรทางบก 2522 ซึ่งกำหนดว่าหากกระทำผิดตามฐานความผิดต่างๆ ใน 25 ข้อหาที่ถูกบันทึกคะแนน10, 20, 30 และ40 คะแนนตามความรุนแรงข้อหาต่างๆ โดยใน1 ปีหากรวมกันเกิน 60 คะแนนภายในหนึ่งปี จะต้องถูกยึดใบอนุญาตขับขี่และสั่งพักใช้ครั้งละไม่เกิน 90 วัน แต่หากมีการทำผิดซ้ำในข้อหาเดิมภายในหนึ่งปี จะต้องถูกยึดใบอนุญาตขับขี่ และเข้าอบรม ทดสอบเป็นเวลา 3 ชั่วโมง ซึ่งที่ผ่านมากฎหมายนี้ไม่สามารถบังคับใช้ได้เนื่องจากไม่มีฐานข้อมูลที่ตรวจสอบการทำผิด ก็จะมีการนำกลับมาใช้ในอนาคต
ทั้งนี้ระบบ PTMดังกล่าวจะเป็นการบันทึกข้อมูลของเจ้าของใบขับขี่ไว้รวมกันทั้งหมดแม้ว่าจะทำผิดต่างพื้นที่ ต่างโรงพัก ตำรวจสามารถตรวจสอบข้อมูลของผู้ขับขี่ได้ทั้งหมด นอกจากนี้ฐานข้อมูลดังกล่าวจะรองรับการเชื่อมข้อมูลกับกรมการขนส่งทางบก(ขบ.)หากไม่มาชำระค่าปรับภายในเวลาที่กำหนดเมื่อต่อภาษีจะได้รับเพียงใบชั่วคราว จนกว่าจะชำระค่าปรับทั้งหมดรวมทั้งค่าปรับล่าช้าหากค้างจ่ายเกินกำหนด จากนั้นจึงจะได้ใบต่อภาษีตัวจริง
รายงานข่าวแจ้งว่า เนื่องจากที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ระบบดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์ จึงทำให้ผู้กระทำผิดกฎจราจรที่ได้รับใบสั่งขณะนี้ยังไม่มีผลการบันทึกลงระบบ ส่งผลให้ไม่สามารถตรวจสอบการกระทำผิดของผู้ที่ได้รับใบสั่งในระบบได้ ดังนั้นเท่ากับว่าการผู้ที่ทำผิดและได้ใบสั่งขณะนี้ไปจนถึงก่อนวันที่ 1 ธ.ค. จะไม่มีฐานข้อมูลในระบบที่จะตรวจสอบข้อมูลค้างใบสั่ง เพื่อที่จะบังคับตามมาตรการบันทึกคะแนนและงดการต่อทะเบียนภาษีตัวจริง เท่ากับว่ามาตรการดังกล่าวจะมีผลบังคับเต็มรูปแบบตั้งแต่ 1 ธ.ค.60นี้เป็นต้นไปเท่านั้น.
เดลินิวส์
https://www.dailynews.co.th/bangkok/599124
ดีเดย์ ใช้ใบสั่งแบบใหม่ 1 ธ.ค. 60 ใครเบี้ยว'ค่าปรับ' โดนแน่!
ใช้ใบสั่งแบบใหม่ 1 ธ.ค. ระบบคอมพิวเตอร์พร้อมใช้เชื่อมข้อมูลขนส่งฯ ใครเบี้ยวค่าปรับ ผิดกฎจร. วันต่อทะเบียนรถโดนแน่ ฝ่าไฟแดง-ขับเร็ว-จอดมั่ว จ่ายค่าปรับที่ธนาคารได้ หากยึดใบขับขี่จ่ายโรงพักเหมือนเดิม
เมื่อวันที่ 18 ก.ย.60 ที่กองบังคับการตำรวจจราจร(บก.จร.)พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล(ผบช.น.) เป็นประธานในการเปิดอบรมโครงการฝึกอบรมเสริมสร้างทักษะผู้ใช้งานระบบบริหารจัดการใบสั่งจราจร(Police Ticket Management : PTM) โดยมีพล.ต.ต.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล(รองผบช.น.) ดูแลงานจราจร พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก ผู้บังคับการตำรวจจราจร(ผบก.จร.)
พล.ต.ท.ศานิตย์ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวจะเป็นการอบรมเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ดูเรื่องระบบใบสั่งของแต่ละสน.ให้มีความรู้ในการบันทึกข้อมูลใบสั่งจราจรลงระบบPTMซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.)ที่จะต้องดำเนินการใช้พร้อมกันทั่วประเทศ ดังนั้นแต่ละพื้นที่จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความเชี่ยวชาญและแม่นยำในการปฏิบัติงาน สามารถดำเนินการได้อย่างทุกต้องและแม่นยำซึ่งระบบPTM คือระบบจัดการใบสั่งจราจรสำหรับใช้ในการประมวลผลการควบคุมและจัดการใบสั่ง การบันทึกข้อมูลใบสั่ง และการเรียกดูรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระค่าปรับ ซึ่งระบบดังกล่าวจะเชื่อมต่อกับระบบของธนาคารกรุงไทยหากประชาชนถูกจับและโดนใบสั่งจะสามารถชำระค่าปรับได้อย่างสะดวกที่ธนาคาร นอกจากนี้จะสามารถแก้ปัญหาใบสั่งค้างจ่าย และแก้ปัญหากรณีการเรียกรับเงินจากประชาชนแทนการจ่ายค่าปรับแบบเต็มจำนวนตามที่กฎหมายกำหนดในแต่ละข้อหา ด้านเจ้าหน้าที่เองก็จะสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ง่ายมากขึ้นเพราะทุกอย่างอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์
ด้านพ.ต.อ.เอกราช ลิ้มสังกาศ รองผู้บังคับการตำรวจทางหลวง(รองผบก.ทล.) ในฐานะเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบและวิทยากรในการฝึกอบรม กล่าวว่า ปัจจุบันทางสตช.เพิ่มจะเริ่มใช้ระบบPTMเข้ามาบริหารจัดการใบสั่งเพื่อให้สอดรับกับการจ่ายค่าปรับผ่านทางธนาคาร และสอดรับกับรูปใบสั่งรูปแบบใหม่ซึ่งจะมีบาร์โค้ดสำหรับการตรวจสอบและจ่ายเงินผ่านทางธนาคาร โดยขณะนี้ใบสั่งรูปแบบเก่าที่ใช้งานอยู่ยังไม่สามารถจะบันทึกข้อมูลลงระบบได้ ดังนั้นเพื่อเตรียมความพร้อมในการใช้งานใบสั่งรูปแบบใหม่จึงจำเป็นที่จะต้องจัดอบรมเจ้าหน้าที่ก่อนที่จะเริ่มใช้งานระบบPTMพร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 1 ธ.ค. 60 ซึ่งขณะนี้ทางสตช.อยู่ระหว่างการจัดพิมพ์ใบสั่งรูปแบบใหม่หากดำเนินการเสร็จแล้วตำรวจราจรทั่วประเทศจะต้องใช้ใบสั่งรูปแบบใหม่พร้อมกัน โดยปัจจุบันใบสั่งรูปแบบเก่าจะสามารถใช้งานได้อีกประมาณ 120 วันเท่านั้น นอกจากนี้ประชาชนสามารถจ่ายค่าปรับทางผ่านธนาคารได้ แต่การจ่ายค่าปรับผ่านธนาคารจะใช้ได้เฉพาะใบสั่งที่ออกโดยเครื่องตรวจจับอิเล็กทรอนิคส์เช่น เครื่องตรวจจับความเร็ว กล้องตรวจจับฝ่าสัญญาณไฟจราจร และใบสั่งแปะหรือใบสั่งที่ไม่พบตัวผู้กระทำความผิดเท่านั้น หากเป็นใบสั่งที่ถูกยึดใบขับขี่ผู้กระความผิดจะต้องไปชำระค่าปรับที่โรงพักเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวแจ้งว่า ระบบPTMดังกล่าวนอกจากสามารถตรวจสอบข้อมูลการค้างชำระค่าปรับ และรองรับมาตรการบันทึกคะแนนผู้กระทำความผิดซึ่งกฎหมายตามพ.ร.บ.จราจรทางบก 2522 ซึ่งกำหนดว่าหากกระทำผิดตามฐานความผิดต่างๆ ใน 25 ข้อหาที่ถูกบันทึกคะแนน10, 20, 30 และ40 คะแนนตามความรุนแรงข้อหาต่างๆ โดยใน1 ปีหากรวมกันเกิน 60 คะแนนภายในหนึ่งปี จะต้องถูกยึดใบอนุญาตขับขี่และสั่งพักใช้ครั้งละไม่เกิน 90 วัน แต่หากมีการทำผิดซ้ำในข้อหาเดิมภายในหนึ่งปี จะต้องถูกยึดใบอนุญาตขับขี่ และเข้าอบรม ทดสอบเป็นเวลา 3 ชั่วโมง ซึ่งที่ผ่านมากฎหมายนี้ไม่สามารถบังคับใช้ได้เนื่องจากไม่มีฐานข้อมูลที่ตรวจสอบการทำผิด ก็จะมีการนำกลับมาใช้ในอนาคต
ทั้งนี้ระบบ PTMดังกล่าวจะเป็นการบันทึกข้อมูลของเจ้าของใบขับขี่ไว้รวมกันทั้งหมดแม้ว่าจะทำผิดต่างพื้นที่ ต่างโรงพัก ตำรวจสามารถตรวจสอบข้อมูลของผู้ขับขี่ได้ทั้งหมด นอกจากนี้ฐานข้อมูลดังกล่าวจะรองรับการเชื่อมข้อมูลกับกรมการขนส่งทางบก(ขบ.)หากไม่มาชำระค่าปรับภายในเวลาที่กำหนดเมื่อต่อภาษีจะได้รับเพียงใบชั่วคราว จนกว่าจะชำระค่าปรับทั้งหมดรวมทั้งค่าปรับล่าช้าหากค้างจ่ายเกินกำหนด จากนั้นจึงจะได้ใบต่อภาษีตัวจริง
รายงานข่าวแจ้งว่า เนื่องจากที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ระบบดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์ จึงทำให้ผู้กระทำผิดกฎจราจรที่ได้รับใบสั่งขณะนี้ยังไม่มีผลการบันทึกลงระบบ ส่งผลให้ไม่สามารถตรวจสอบการกระทำผิดของผู้ที่ได้รับใบสั่งในระบบได้ ดังนั้นเท่ากับว่าการผู้ที่ทำผิดและได้ใบสั่งขณะนี้ไปจนถึงก่อนวันที่ 1 ธ.ค. จะไม่มีฐานข้อมูลในระบบที่จะตรวจสอบข้อมูลค้างใบสั่ง เพื่อที่จะบังคับตามมาตรการบันทึกคะแนนและงดการต่อทะเบียนภาษีตัวจริง เท่ากับว่ามาตรการดังกล่าวจะมีผลบังคับเต็มรูปแบบตั้งแต่ 1 ธ.ค.60นี้เป็นต้นไปเท่านั้น.
เดลินิวส์ https://www.dailynews.co.th/bangkok/599124