เมษานี้มีหนาว!!!ตำรวจจับมือขนส่ง ชะลอออกป้ายภาษีรถยนต์ค้างจ่ายค่าปรับ ‘ใบสั่ง’ เริ่มบังคับใช้จริงจังเมษายนนี้ ปล่อยผีใบสั่งค้างเก่าออกก่อน 1 เมษายน 2566
8 กุมภาพันธ์ 2566 พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. , นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ร่วมกันลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) การเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบังคับใช้กฎหมายจราจรทางบก เพื่อลดการกระทำผิดกฎหมาย ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน
ผบ.ตร. กล่าวว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมการขนส่งทางบก จะร่วมกันดำเนินการกวดขันวินัยการขับขี่ โดยบังคับใช้มาตรการตามที่กำหนดในกฎหมายให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังนี้
มาตรการที่ 2 มาตรการชะลอการออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี สำหรับรถที่มีใบสั่งค้างชำระ ตาม 141/1 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานจะต้องมีการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ข้อมูลใบอนุญาตขับขี่ ข้อมูลยานพาหนะ และข้อมูลใบสั่งค้างชำระ เพื่อให้เกิดการบูรณาการข้อมูลได้แบบ Real Time
สำหรับ มาตรการชะลอเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี จะใช้กับรถยนต์ที่ที่มีใบสั่งจราจรที่ค้างชำระ ซึ่งเจ้าของรถเพิกเฉยไม่ชำระค่าปรับตามที่กำหนด โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะส่งข้อมูลโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปยังนายทะเบียนกรมการขนส่งทางบก เมื่อประชาชนไปต่อภาษีรถยนต์ประจำปี นายทะเบียนจะรับต่อภาษีประจำปี แต่ยังไม่ได้รับเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี (ป้ายภาษี) โดยจะได้หลักฐานชั่วคราวแทนป้ายภาษี ซึ่งมีอายุ 30 วัน เพื่อให้ผู้นั้นไปชำระค่าปรับที่ค้างชำระให้ครบถ้วนภายใน 30 วัน แล้วจึงสามารถมารับป้ายภาษีได้ แต่หากประชาชนต้องการจะชำระค่าปรับในขณะต่อภาษี กฎหมายกำหนดให้อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ให้นายทะเบียนสามารถรับชำระค่าปรับตามใบสั่งพร้อมกับชำระภาษี และรับเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีได้ทันที
ผบ.ตร. กล่าวเพิ่มเติมว่า การขับรถโดยไม่มีป้ายภาษี จะมีโทษตาม พ.ร.บ.รถยนต์ฯ มาตรา 11 ซึ่งกำหนดว่า รถยนต์คันที่ต่อภาษีแล้วจะต้องแสดงเครื่องหมายตามที่กรมการขนส่งกำหนดให้ครบถ้วน มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ทั้งนี้ ประชาชนสามารถตรวจสอบข้อมูลใบสั่งค้างชำระ และคะแนนความประพฤติได้จากเว็บไซต์ E-ticket PTM และ แอปพลิเคชั่น ขับดี
งหน่วยงาน จะเริ่มใช้กับใบสั่งจราจรตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 เป็นต้นไป โดยไม่มีผลย้อนหลัง สำนักงานตำรวจแห่งชาติและกรมการขนส่งทางบก เชื่อมั่นว่ามาตรการดังกล่าว จะสามารถนำไปสู่การเสริมสร้างวินัยจราจร จิตสำนึกด้านความปลอดภัยซึ่งจะสามารถช่วยลดอุบัติเหตุทางถนนอย่างยั่งยืนต่อไป...
Cr.
https://www.naewna.com/local/709671
อ่านโดยพลัน!งัดยาแรงชะลอออกป้ายภาษีรถค้างค่า‘ใบสั่ง’ ปล่อยผีพวกออกก่อน 1 เม.ย.66
8 กุมภาพันธ์ 2566 พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. , นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ร่วมกันลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) การเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบังคับใช้กฎหมายจราจรทางบก เพื่อลดการกระทำผิดกฎหมาย ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน
ผบ.ตร. กล่าวว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมการขนส่งทางบก จะร่วมกันดำเนินการกวดขันวินัยการขับขี่ โดยบังคับใช้มาตรการตามที่กำหนดในกฎหมายให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังนี้
มาตรการที่ 2 มาตรการชะลอการออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี สำหรับรถที่มีใบสั่งค้างชำระ ตาม 141/1 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานจะต้องมีการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ข้อมูลใบอนุญาตขับขี่ ข้อมูลยานพาหนะ และข้อมูลใบสั่งค้างชำระ เพื่อให้เกิดการบูรณาการข้อมูลได้แบบ Real Time
สำหรับ มาตรการชะลอเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี จะใช้กับรถยนต์ที่ที่มีใบสั่งจราจรที่ค้างชำระ ซึ่งเจ้าของรถเพิกเฉยไม่ชำระค่าปรับตามที่กำหนด โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะส่งข้อมูลโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปยังนายทะเบียนกรมการขนส่งทางบก เมื่อประชาชนไปต่อภาษีรถยนต์ประจำปี นายทะเบียนจะรับต่อภาษีประจำปี แต่ยังไม่ได้รับเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี (ป้ายภาษี) โดยจะได้หลักฐานชั่วคราวแทนป้ายภาษี ซึ่งมีอายุ 30 วัน เพื่อให้ผู้นั้นไปชำระค่าปรับที่ค้างชำระให้ครบถ้วนภายใน 30 วัน แล้วจึงสามารถมารับป้ายภาษีได้ แต่หากประชาชนต้องการจะชำระค่าปรับในขณะต่อภาษี กฎหมายกำหนดให้อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ให้นายทะเบียนสามารถรับชำระค่าปรับตามใบสั่งพร้อมกับชำระภาษี และรับเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีได้ทันที
ผบ.ตร. กล่าวเพิ่มเติมว่า การขับรถโดยไม่มีป้ายภาษี จะมีโทษตาม พ.ร.บ.รถยนต์ฯ มาตรา 11 ซึ่งกำหนดว่า รถยนต์คันที่ต่อภาษีแล้วจะต้องแสดงเครื่องหมายตามที่กรมการขนส่งกำหนดให้ครบถ้วน มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ทั้งนี้ ประชาชนสามารถตรวจสอบข้อมูลใบสั่งค้างชำระ และคะแนนความประพฤติได้จากเว็บไซต์ E-ticket PTM และ แอปพลิเคชั่น ขับดี
งหน่วยงาน จะเริ่มใช้กับใบสั่งจราจรตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 เป็นต้นไป โดยไม่มีผลย้อนหลัง สำนักงานตำรวจแห่งชาติและกรมการขนส่งทางบก เชื่อมั่นว่ามาตรการดังกล่าว จะสามารถนำไปสู่การเสริมสร้างวินัยจราจร จิตสำนึกด้านความปลอดภัยซึ่งจะสามารถช่วยลดอุบัติเหตุทางถนนอย่างยั่งยืนต่อไป...
Cr. https://www.naewna.com/local/709671