จากการที่แชร์กันใน Internet Facebook อ้างว่า
มีการสัมภาษณ์ คุณจาตุรงค์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนครี
เรื่องมาตรการความปลอดภัยในช่วงเทศกาล
มีตอนหนึ่งที่ท่านพูดว่า ใบขับขี่เป็นทรัพย์สิน ตำรวจไม่สามารถยึดได้
ตำรวจออกใบสั่ง ให้ไปเสียค่าปรับ
ถ้าหากยึดใบขับขี่ ถือเป็นการลักทรัพย์
แต่ความเป็นจริงทั้งในอดีตและในปัจจุบันนี้
เวลาตำรวจทางหลวงหรือตำรวจจราจร
และแม้แต่ตำรวจสายตรวจ หรือตามด่านต่างๆ
เวลาเรียกรถเพื่อตรวจ มักจะขอดูใบขับขี่ และยึดเอาไป
แล้วหาข้อหาให้ บางทีก็ยึดแล้วเดินเข้าป้อม เพื่อให้คนขับรถเข้าไปเจรจา
บางทีก็ยึดโดยไม่ให้ใบสั่ง แต่บอกให้ไปเอาที่สถานี
บางทีก็ยึดไปพร้อมออกใบสั่ง เพื่อให้ไปเสียค่าปรับ
ประชาชนส่วนใหญ่งง วิธีการปฏิบัติของตำรวจ
ต่อไปถ้าตำรวจจะยึดใบขับขี่ต้องไม่ยอมให้ ไป
ถ้าตำรวจเอาไปจริงๆ ต้องแจ้งความข้อหาลักทรัพย์
เวลาทำผิดกฏจราจร ตำรวจก็ให้ใบสั่งได้อยู่แล้ว
และใบสั่งมีความสำคัญมาก ผู้รับต้องไปเสียค่าปรับ
ถ้าไม่ ไป ทางราชการก็มีมาตรการที่จัดการอยู่แล้ว
เช่น ไม่ต่อทะเบียนตัดคะแนน เมื่อได้อ่าน และรู้เช่นนั้นแล้ว
กรุณาส่งต่อ เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลาเสียอารมณ์
ในเวลาขับรถเพื่อความปลอดภัย
แต่ข้อมูลจากการสอบถามสารวัตรจราจรนายหนึ่งได้ชี้แจงมาว่า
เรื่องนี้ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันมาก
เป็นความผิดพลาดของสื่อ ท่านจาตุรงค์ ก็ยืนยันว่าไม่ได้พูดเช่นนั้น
และอันที่จริงการยึดใบขับขี่ของตำรวจ นั้นเป็นการยึดหรือภาษากฎหมายเรียกว่า
"เรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่"
ซึ่งเมื่อยึดใบขับขี่มาแล้วตำรวจจะยึดมาเฉยๆ ไม่ได้ ต้องออกใบสั่ง
เพื่อให้ผู้ขับขี่ที่กระทำความผิดไปชำระค่าปรับ
แล้วจึงรับใบอนุญาตขับขี่กลับคือมา
อันเป็นอำนาจของตำรวจจราจร ที่กฎหมายบัญญัติไว้ตาม
มาตรา ๑๔๐ แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ
ดังนั้นเมื่อท่านขับรถฝ่าฝืนกฎจราจร ตำรวจจราจรจึงสามารถยึดใบขับขี่ท่านได้
แต่ตำรวจจราจรต้องออกใบสั่งให้ท่านเพื่อไปรายงานตัวชำระค่าปรับ
และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือใบสั่งใช้แทนใบขับขี่ได้เพียง ๗ วัน
เพราะฉะนั้นเมื่อได้รับใบสั่งแล้วท่านต้องรีบไปรายงานตัวชำระค่าปรับภายใน ๗ วัน
หากปล่อยไว้เนินนานเกิน ๗ วัน ท่านจะมีความผิดเพิ่ม
ฐานไม่มารายงานตัวชำระค่าปรับตามกำหนด
(ส่วนการแจ้งความใบขับขี่หาย แล้วไปทำบัตรใหม่
ถ้ามีการตรวจพบจากตำรวจจะมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ)
ตำรวจมีสิทธิ์ยึดใบขับขี่
มีการสัมภาษณ์ คุณจาตุรงค์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนครี
เรื่องมาตรการความปลอดภัยในช่วงเทศกาล
มีตอนหนึ่งที่ท่านพูดว่า ใบขับขี่เป็นทรัพย์สิน ตำรวจไม่สามารถยึดได้
ตำรวจออกใบสั่ง ให้ไปเสียค่าปรับ
ถ้าหากยึดใบขับขี่ ถือเป็นการลักทรัพย์
แต่ความเป็นจริงทั้งในอดีตและในปัจจุบันนี้
เวลาตำรวจทางหลวงหรือตำรวจจราจร
และแม้แต่ตำรวจสายตรวจ หรือตามด่านต่างๆ
เวลาเรียกรถเพื่อตรวจ มักจะขอดูใบขับขี่ และยึดเอาไป
แล้วหาข้อหาให้ บางทีก็ยึดแล้วเดินเข้าป้อม เพื่อให้คนขับรถเข้าไปเจรจา
บางทีก็ยึดโดยไม่ให้ใบสั่ง แต่บอกให้ไปเอาที่สถานี
บางทีก็ยึดไปพร้อมออกใบสั่ง เพื่อให้ไปเสียค่าปรับ
ประชาชนส่วนใหญ่งง วิธีการปฏิบัติของตำรวจ
ต่อไปถ้าตำรวจจะยึดใบขับขี่ต้องไม่ยอมให้ ไป
ถ้าตำรวจเอาไปจริงๆ ต้องแจ้งความข้อหาลักทรัพย์
เวลาทำผิดกฏจราจร ตำรวจก็ให้ใบสั่งได้อยู่แล้ว
และใบสั่งมีความสำคัญมาก ผู้รับต้องไปเสียค่าปรับ
ถ้าไม่ ไป ทางราชการก็มีมาตรการที่จัดการอยู่แล้ว
เช่น ไม่ต่อทะเบียนตัดคะแนน เมื่อได้อ่าน และรู้เช่นนั้นแล้ว
กรุณาส่งต่อ เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลาเสียอารมณ์
ในเวลาขับรถเพื่อความปลอดภัย
แต่ข้อมูลจากการสอบถามสารวัตรจราจรนายหนึ่งได้ชี้แจงมาว่า
เรื่องนี้ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันมาก
เป็นความผิดพลาดของสื่อ ท่านจาตุรงค์ ก็ยืนยันว่าไม่ได้พูดเช่นนั้น
และอันที่จริงการยึดใบขับขี่ของตำรวจ นั้นเป็นการยึดหรือภาษากฎหมายเรียกว่า
"เรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่"
ซึ่งเมื่อยึดใบขับขี่มาแล้วตำรวจจะยึดมาเฉยๆ ไม่ได้ ต้องออกใบสั่ง
เพื่อให้ผู้ขับขี่ที่กระทำความผิดไปชำระค่าปรับ
แล้วจึงรับใบอนุญาตขับขี่กลับคือมา
อันเป็นอำนาจของตำรวจจราจร ที่กฎหมายบัญญัติไว้ตาม
มาตรา ๑๔๐ แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ
ดังนั้นเมื่อท่านขับรถฝ่าฝืนกฎจราจร ตำรวจจราจรจึงสามารถยึดใบขับขี่ท่านได้
แต่ตำรวจจราจรต้องออกใบสั่งให้ท่านเพื่อไปรายงานตัวชำระค่าปรับ
และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือใบสั่งใช้แทนใบขับขี่ได้เพียง ๗ วัน
เพราะฉะนั้นเมื่อได้รับใบสั่งแล้วท่านต้องรีบไปรายงานตัวชำระค่าปรับภายใน ๗ วัน
หากปล่อยไว้เนินนานเกิน ๗ วัน ท่านจะมีความผิดเพิ่ม
ฐานไม่มารายงานตัวชำระค่าปรับตามกำหนด
(ส่วนการแจ้งความใบขับขี่หาย แล้วไปทำบัตรใหม่
ถ้ามีการตรวจพบจากตำรวจจะมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ)