บทสรุปทางกฎหมาย ตำรวจยึดใบขับขี่ได้หรือไม่


มีข้อถกเถียงและหลายคนในที่นี่คงเคยประสบกับปัญหาการนี่เองกับตัว หรือได้ยินได้ฟังมาจาการบอกเล่าของเพื่อน พี่น้อง กันบ้างแล้ว ที่นี่เรามาดูกันว่าตำรวจสามารถยึดใบขับขี่ได้หรือไม่
ผมเขียนไว้ใน
http://ตั๋วทนาย.com/ตำรวจยึดใบขับขี่/
1) อำนาจจราจร — การขับรถตามท้องถนน แล้วเจอด่านตำรวจ หรือ มีตำรวจเรียกให้หยุด ก็เป็นหน้าที่ของเราผู้ขับต้องหยุดรถ และ อำนวจความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบ
หากมีคำสั่งให้หยุดรถแล้วไม่ปฎิบัติตาม โดยไม่มีเหตุผล หรือ ข้อแก้ตัวที่เหมาะสม ก็อาจโดนโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากถึงขั้นพุ่งชนสิ่งกีดขวางแล้วหลบหนี ก็มักผิดกว่ากฎหมายจราจรธรรมดา เพราะถือเป็นการต่อสู้กับเจ้าพนักงาน อาจโดนโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ตำรวจไม่มีอำนาจยึดกุญแจหรือบัตรอื่นๆได้
2) การยึดบัตรต่างๆของเจ้าหน้าที่ตำรวจ -มีข้อถกเถียงกันมานาน แล้วว่าเมื่อตำรวจจับกุมผู้กระทำความผิด เช่นขับขี่จักรยานยนต์โดยไม่สวมหมวกกันน็อคหรือขับโดยไม่พกใบอนุญาตขับขี่ ตำรวจมีอำนาจยึดบัตรประชาชน บัตรเครดิต หรือ บัตรอื่นๆ (ไม่รวมถึงใบอนุญาตขับขี่) หรือการยึดกุญแจรถคันนั้นได้หรือไม่ เมื่อสำรวจกฎหมายที่เกี่ยวข้องเช่น กฎหมายจราจรทางบก กฎหมายรถยนต์ กฎหมายบัตรประจำตัวประชาชน ไม่ปรากฎว่ามีมาตราใด ให้อำนาจตำรวจจราจรยึดบัตรประชาชน หรือ บัตรอื่นๆได้ และยิ่งเป็นการยึดกุญแจ (ตำรวจยิ่งไม่มีอำนาจกระทำได้)
ระวังอย่าให้เงินตำรวจนะครับ อาจมีความผิดฐานติด สินบนเจ้าพนักงานได้
— การยึดบัตรอื่นๆหรือกุญแจรถ โดยตำรวจอ้างว่าให้ไปชำระค่าปรับก่อนแล้วจะคืนรถให้ กรณีที่ได้รับใบสั่ง แล้วเอาใบเสร็จมาแสดง ก็จะคืนกุญแจและบัตรให้
สำหรับคนมีเงิน ก็คงจะไปรีบจ่ายแต่ถ้าไม่มีเงิน ก็คงต้องรอจนกว่าจะมี จากนั้นค่อยไปจ่ายและนำกุญแจรถ หรือ บัตรอื่นๆคืนภายหลัง (เรื่องนี้ขอย้ำเลยว่า กฎหมายจราจรทางบก และ กฎหมายรถยนต์ ไม่ได้ให้อำนาจจราจรทำเช่นนั้น)

ที่นี่มาดูเรื่องใบขับขี่กัน

ใบขับขี่เป็นทรัพย์สิน ปกติคนอื่นเอาทรัพย์สินเราไปโดยไม่มีสิทธิ ย่อมเป็นความผิดในฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๓๔ ได้ ซึ่งวางหลักว่า “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นไป ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์” โดยการเอาไปในที่นี้ต้องเป็นการเอาไปโดยไม่มีสิทธิหรือไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ดังนั้น หากผู้เอาไปซึ่งทรัพย์สินมีสิทธิหรืออำนาจตามกฎหมาย ผู้เอาไปย่อมไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ เช่น ลูกหนี้ที่แพ้คดีแพ่งในศาล และไม่ยอมชำระเงินตามคำพิพากษา ต่อมาศาลออกคำสั่งยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาด แม้ลูกหนี้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีก็มีอำนาจตามกฎหมายที่จะยึดทรัพย์ได้ เป็นต้น ซึ่งกรณีนี้ก็จะไปแจ้งความว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีลักทรัพย์ก็ไม่ได้
แต่น่าคิดที่ว่า ตำรวจจราจรมีอำนาจในการยึดใบขับขี่หรือไม่ ซึ่งพิจารณาเป็นลำดับได้ดังนี้

1.ในระบบกฎหมายไทย เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ย่อมเป็นผู้ที่มีอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ในการจำหน่าย จ่าย โอน ทร้พย์สิน รวมถึงทำลายทรัพย์สินนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๓๖ บัญญัติไว้ว่า
“มาตรา ๑๓๓๖ ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”

2.อำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ที่ว่านี้ หากมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น ๆ เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๓๓๖ นั้น ขึ้นต้นด้วยถ้อยคำว่า “ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอย จำหน่ายทรัพย์สิน ….” ซึ่งหมายความว่า หากมีกฎหมายอื่นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น กฎหมายนั้น ๆ ย่อมริดรอนสิทธิหรืออำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ของเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้
ตัวอย่างเช่น หากเราเป็นเจ้าของที่มีกรรมสิทธิ์ในดินสอหนึ่งแท่ง วันหนึ่งเราอาจหักดินสอ เช่นนี้ เราก็สามารถทำได้ เพราะเราเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ อีกทั้งไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

3.ตำรวจจราจรจะมีอำนาจยึดใบขับขี่หรือไม่ จากที่กล่าวมาทั้ง ๒ ประการข้างต้น จะเห็นว่า ใบขับขี่เป็นกรรมสิทธิ์ของเรา คนอื่นจะมายึดมายุ่งโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมายไม่ได้

+++++++
เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่จะเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้เป็นการชั่วคราวก็ได้
ดังนั้น หากตำรวจจะยึดใบขับขี่ในกรณีที่เราทำผิดกฎจราจรได้ ก็ต้องค้นหาว่าตำรวจอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติใดแห่งกฎหมายที่จะยึดใบขับขี่ ทั้งนี้เพราะหลักกฎหมายทั่วไปมีว่า “เจ้าหน้าที่ของรัฐจะใช้อำนาจกระทบสิทธิและเสรีภาพของบุคคลไม่ได้ เว้นแต่จะอาศัยอำนาจที่กฎหมายบัญญัติไว้” ซึ่งหากไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ ตำรวจก็จะยึดใบขับขี่ไม่ได้ หากยึดไปโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจก็อาจจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ได้

++++++

เมื่อค้นคว้าตัวบทกฎหมายก็พบว่า พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ บัญญัติไว้ว่า “มาตรา ๑๔๐ เมื่อเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่พบว่าผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอันเกี่ยวกับรถนั้นๆ จะว่ากล่าว ตักเตือนผู้ขับขี่ หรือออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบก็ได้ ในกรณีที่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ก็ให้ติดหรือผูกใบสั่งไว้ที่รถที่ผู้ขับขี่เห็นได้ง่าย

สำหรับความผิดที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๕๗/๑ มาตรา ๑๕๙ มาตรา ๑๖๐ มาตรา ๑๖๐ ทวิ และมาตรา ๑๖๐ ตรี ห้ามมิให้ว่ากล่าวตักเตือนหรือทำการเปรียบเทียบ

ในการออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบตามวรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่จะเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้เป็นการชั่วคราวก็ได้ แต่ต้องออกใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ให้แก่ผู้ขับขี่ไว้ และเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องรีบนำใบอนุญาตขับขี่ที่เรียกเก็บไว้ไปส่งมอบพนักงานสอบสวนภายในแปดชั่วโมง นับแต่เวลาที่ออกใบสั่ง

ใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ที่ออกให้ตามวรรคสามให้ใช้แทนใบอนุญาตขับขี่ได้เป็นการชั่วคราวไม่เกินเจ็ดวัน เมื่อเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานสอบสวนได้ว่ากล่าวตักเตือนหรือทำการเปรียบเทียบปรับและผู้ขับขี่ได้ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบแล้ว ให้คืนใบอนุญาตขับขี่ทันที

ในกรณีเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบสั่งแต่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถเป็นผู้กระทำผิดดังกล่าว เว้นแต่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้อื่นเป็นผู้ขับขี่

การกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด

ใบสั่งและใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ ให้ทำตามแบบที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด”
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า จากบทบัญญัติของมาตรา ๑๔๐ นี้ ได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานซึ่งหมายถึง ตำรวจจราจรที่จะยึดใบอนุญาตขับขี่ได้เมื่อมีการฝ่าฝืนกฎจราจร จึงทำให้แม้ผู้เป็นเจ้าของใบขับขี่มีอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๓๓๖ แต่ตำรวจจราจรก็มีอำนาจตามกฎหมายเฉพาะที่จะยึดใบขับขี่ได้ เช่นนี้แล้วเมื่อตำรวจจราจรมีอำนาจตามกฎหมายในการยึดใบขี่ การที่ตำรวจจราจรเอาใบขับขี่ของเราไป เราก็จะไปแจ้งความว่าตำรวจมีความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ได้ เพราะการเอาไปของตำรวจเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์สินโดยมีอำนาจตามกฎหมาย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่