ใครเกิดทัน ..... เสด็จพระราชทานเพลิงศพ วีรชน 14 ตุลา


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ วีรชนในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พุทธศักราช 2516

วันที่ 14 ตุลาคม พุทธศักราช 2516 เป็นวันเริ่มต้นแห่งประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการเมืองการปกครองไทย เมื่อประชาชนลุกฮือขึ้นต่อต้านการปกครองของรัฐบาลเผด็จการในขณะนั้น ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 77 คนและบาดเจ็บมากกว่า 800 คน อีกทั้งมีผู้สูญหายอีกจำนวนหนึ่ง เหตุการณ์อันสำคัญของชาตินี้เป็นที่ทราบกันดี มีบันทึกเผยแพร่เรื่องราวนับตั้งแต่สาเหตุที่เริ่มจนถึงวาระสุดท้าย ซึ่งมีมุมมองจากหลายฝ่ายที่ยังขัดแย้งกัน และจวบจนวันนี้ยังมีผู้อ้างเหตุการณ์ในคราวนั้นเพื่อประโยชน์ต่างๆอีกมากมาย

หลังจากเหตุการณ์นั้นจบลง มีการเรียกร้องจากกลุ่มต่างๆนำโดยองค์กรของนิสิตนักศึกษาซึ่งถือเป็นผู้นำในเหตุการณ์คราวนั้น ให้มีงานศพของวีรชนผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ ณ.ท้องสนามหลวงหรือทุ่งพระเมรุ ซึ่งตามความเชื่อของโบราณนับตั้งแต่สมัยอยุธยา มีข้อห้ามมิให้ทำศพภายในขตกำแพงเมือง จึงปรากฏว่าวัดในเขตกำแพงเมืองทั้งในกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ จะไม่มีเมรุเผาศพหรือที่ฝังศพเลย แม้กระทั่งจนถึงวันนี้ก็ยังเป็นธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมาอย่างเคร่งครัด จะมียกเว้นก็เพียงการถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์ชั้นสูง ซึ่งโบราณถือเป็นสมมุติเทพ และเป็นธรรมเนียมที่จะมีพิธีถวายพระเพลิงที่ในเมือง

ภายหลังเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองสยามในปีพุทธศักราช 2475 ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างทหารสองกลุ่ม และเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในปีพุทธศักราช 2476 หรือที่เรียกกันว่ากบฏบวรเดช หลังเหตุการณ์จบลงมีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่ง รัฐบาลของคณะราษฏร์ซึ่งเป็นผู้ชนะในการรบคราวนั้น ได้จัดงานรัฐพิธีฌาปนกิจศพผู้เสียชีวิตฝ่ายคณะราษฏร์ขึ้นที่ท้องสนามหลวง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยจากหลายฝ่าย เนื่องจากขัดกับธรรมเนียมของบ้านเมือง และตามความเชื่อโบราณว่าการทำเช่นนี้เป็นกาลีต่อบ้านต่อเมือง แต่คณะราษฏร์ผู้มีอำนาจในขณะนั้น จงใจที่จะใช้ท้องสนามหลวงจัดงาน ก็เพื่อเป็นการหยามเกียรติต่อฝ่ายผู้มีอำนาจดั้งเดิม

เช่นเดียวกับภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พุทธศักราช 2516 เสียงเรียกร้องให้งานฌาปณกิจศพผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นั้นที่ท้องสนามหลวง มีนัยยะเช่นเดียวกับที่คณะราษฏร์เคยทำมาก่อน แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ จึงได้มีการจัดงานนี้เป็นพระราชพิธี พระราชทานให้ตามความประสงค์

แต่เหตุที่โบราณได้ห้ามไว้นั้น มิใช่เพื่อแบ่งแยกชนชั้นหรือเป็นเรื่องกีดกันวรรณะ เหตุจริงๆเป็นเพราะเรื่องมงคลและอัปมงคลอันเกิดขึ้นในการทำพิธีต่างๆ ซึ่งได้สังเกตจดบันทึกกันเป็นตำรามามากมาย ไม่ว่าจะเป็นคัมภีร์อภิไทโพธิบาทว์ เรื่องอาเพศ ต่างๆ ซึ่งอาจจะดูเป็นเรื่องล้าสมัย งมงาย ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตาม หลังมีการจัดงานฌาปนกิจศพคนธรรมดาที่ท้องสนามหลวงสองครั้ง ก็มีเหตุอันไม่น่าเชื่อทั้งสองครั้งเช่นกัน เพราะเกิดสงครามใหญ่ขึ้นในประเทศทั้งสองครั้ง โดยครั้งแรกคือสงครามโลกครั้งที่สอง และครั้งที่สองคือสงครามปราบปรามคอมมิวนิสต์ อีกทั้งกลุ่มผู้ริเริ่มเรียกร้องให้จัดงานนั้นต่างก็เสื่อมอำนาจและมีเหตุร้ายเกิดขึ้นกับตนจนหมดอำนาจไปในที่สุด



ฯพณฯนายสัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรี เตรียมรับเสด็จ


ขณะเสด็จพระราชดำเนินถึงที่ประทับ


ฯพณฯนายสัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรี รับเสด็จ


สื่อมวลชนด้านข้างพลับพลาที่ประทับ


ฯพณฯนายสัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรี ถวายรายงาน


ทรงจุดฝักแคพระราชทานเพลิง


กระทู้เรื่องเก่าของ อิสิ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่