จุดประสงค์ไม่ได้ตั้งใจจะต่อต้านหรือโต้เถียงคนที่ไม่เห็นด้วยกับ WAT นะคะ เพียงแต่อ่านกระทู้ WAT เยอะเข้าจึงเกิดข้อสงสัยค่ะ
ช่วงนี้เป็นฤดูแห่งการสมัคร WAT ก็จะเห็นกระทู้คำถามหรือกระทู้รีวิวบ่อยครั้ง มีทั้งจากปีนี้หรือกระทู้เก่าๆ พออ่านความคิดเห็นเยอะเข้าก็จะมีความคิดเห็นอยู่สองฝ่าย คือ ฝ่ายเด็ก ๆ ทั้งที่เคยไปมาหรือคิดจะไป กับฝ่ายผู้ใหญ่ ที่ไม่เห็นด้วย
ทีนี้พออ่านเหตุผลของฝั่งที่ไม่เห็นด้วยก็จะเจอคำตอบในทำนองเดียวกันว่าให้เก็บเงินไปเรียนต่อหรือไว้ไปเที่ยว ไปทำงานตอนเรียนจบดีกว่า อย่าจ่ายเงินเป็นแสนเพื่อไปเป็นแรงงานต่างด้าวในอเมริกาเลย (บางคนใช้คำว่าพม่าด้วยซ้ำ เห็นแล้วรู้สึกไม่ดีเลยค่ะ เหมือนเรายังติดกับการดูถูกกลายๆ ถึงจะไม่ได้เจตนาก็เถอะ) บางคนก็บอกว่างานพวกนี้เป็นงานกรรมกร งานใช้แรงงาน
พออ่านแล้วก็เลยเกิดคำถามค่ะ ว่าการไปทำงานจำพวกฟาสต์ฟู๊ด ร้านอาหาร สวนสนุก งาน WAT เนี่ย มันต่างจากทำงานพาร์ทไทม์พวกสเวนเซ่น MK KFC Mc ช่วงปิดเทอมในเมืองไทยยังไงเหรอคะ ทำไมเวลาทำงานพวกนี้ในไทยแล้วจะค่อนข้างถูกมองไปในแง่ดีว่าใช้เวลาว่างเป็นประโยชน์ ช่วยแบ่งเบาภาระครอบครัว ในขณะที่งานแบบเดียวกันเมื่อไปทำที่อเมริกากลับถูกมองว่าต่ำต้อย ทั้งที่งานประเภทเดียวกันเพียงแต่คนละสถานที่ (นอกเหนือไปจากความต่างในเรื่องของค่าใช้จ่าย ทำงานในไทยไม่ต้องเสียเงิน แต่ไป WAT ต้องเสียเงินเป็นแสนเพื่อจ้างให้เขาจ้างเราทำงาน แต่ต้องไม่ลืมว่าโดยปกติคนที่ไป WAT มักมีความพร้อมเรื่องสถานะทางการเงินในระดับหนึ่ง หากพูดถึงเงิน 1 แสนแล้วมันไม่ได้เป็นจำนวนที่เยอะมากเมื่อเทียบกับยุคสมัยและสถานะการเงินของเด็กที่อยู่ในกรุงเทพหรือตามจังหวัดใหญ่ๆ ที่ค่าเทอมและเงินเดือนโดยปกติก็หลักหมื่นถึงหลายหมื่น นั่นแปลว่าครอบครัวมีฐานะปานกลางถึงสูง เราจะไม่พูดถึงเด็กที่มาจากครอบครัวฐานะไม่ดี เพราะเด็กเหล่านี้คงไม่คิดที่จะไป WAT และทำงานพาร์ทไทม์ในไทยแทน)
เมื่อตัดเรื่องค่าใช้จ่ายออกไป สิ่งที่สงสัยจึงเป็นเรื่องของคุณค่าในตัวงาน ฐานะดี - ไป WAT = แรงงานต่างด้าว ในขณะที่ ฐานะไม่ดี,ว่าง - ทำพาร์ทไม์ = ขยัน ช่วยเหลือครอบครัว ทั้ง ๆ ที่ทั้งสองกรณีเป็นงานประเภทเดียวกัน
กระทู้นี้ตั้งมาเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนกันนอกเหนือไปจากกระทู้คำถามเรื่องเลือกรัฐ หาเพื่อนไป WAT เพื่อที่จะได้แลกเปลี่ยนทัศนคติบางอย่าง ซึ่งอาจทำให้เห็นมุมมองบางอย่างกว้างขึ้น
สงสัยว่าทำไมบางคนถึงบอกว่า Work and Travel คือการไปเป็นแรงงานต่างด้าวใน US
ช่วงนี้เป็นฤดูแห่งการสมัคร WAT ก็จะเห็นกระทู้คำถามหรือกระทู้รีวิวบ่อยครั้ง มีทั้งจากปีนี้หรือกระทู้เก่าๆ พออ่านความคิดเห็นเยอะเข้าก็จะมีความคิดเห็นอยู่สองฝ่าย คือ ฝ่ายเด็ก ๆ ทั้งที่เคยไปมาหรือคิดจะไป กับฝ่ายผู้ใหญ่ ที่ไม่เห็นด้วย
ทีนี้พออ่านเหตุผลของฝั่งที่ไม่เห็นด้วยก็จะเจอคำตอบในทำนองเดียวกันว่าให้เก็บเงินไปเรียนต่อหรือไว้ไปเที่ยว ไปทำงานตอนเรียนจบดีกว่า อย่าจ่ายเงินเป็นแสนเพื่อไปเป็นแรงงานต่างด้าวในอเมริกาเลย (บางคนใช้คำว่าพม่าด้วยซ้ำ เห็นแล้วรู้สึกไม่ดีเลยค่ะ เหมือนเรายังติดกับการดูถูกกลายๆ ถึงจะไม่ได้เจตนาก็เถอะ) บางคนก็บอกว่างานพวกนี้เป็นงานกรรมกร งานใช้แรงงาน
พออ่านแล้วก็เลยเกิดคำถามค่ะ ว่าการไปทำงานจำพวกฟาสต์ฟู๊ด ร้านอาหาร สวนสนุก งาน WAT เนี่ย มันต่างจากทำงานพาร์ทไทม์พวกสเวนเซ่น MK KFC Mc ช่วงปิดเทอมในเมืองไทยยังไงเหรอคะ ทำไมเวลาทำงานพวกนี้ในไทยแล้วจะค่อนข้างถูกมองไปในแง่ดีว่าใช้เวลาว่างเป็นประโยชน์ ช่วยแบ่งเบาภาระครอบครัว ในขณะที่งานแบบเดียวกันเมื่อไปทำที่อเมริกากลับถูกมองว่าต่ำต้อย ทั้งที่งานประเภทเดียวกันเพียงแต่คนละสถานที่ (นอกเหนือไปจากความต่างในเรื่องของค่าใช้จ่าย ทำงานในไทยไม่ต้องเสียเงิน แต่ไป WAT ต้องเสียเงินเป็นแสนเพื่อจ้างให้เขาจ้างเราทำงาน แต่ต้องไม่ลืมว่าโดยปกติคนที่ไป WAT มักมีความพร้อมเรื่องสถานะทางการเงินในระดับหนึ่ง หากพูดถึงเงิน 1 แสนแล้วมันไม่ได้เป็นจำนวนที่เยอะมากเมื่อเทียบกับยุคสมัยและสถานะการเงินของเด็กที่อยู่ในกรุงเทพหรือตามจังหวัดใหญ่ๆ ที่ค่าเทอมและเงินเดือนโดยปกติก็หลักหมื่นถึงหลายหมื่น นั่นแปลว่าครอบครัวมีฐานะปานกลางถึงสูง เราจะไม่พูดถึงเด็กที่มาจากครอบครัวฐานะไม่ดี เพราะเด็กเหล่านี้คงไม่คิดที่จะไป WAT และทำงานพาร์ทไทม์ในไทยแทน)
เมื่อตัดเรื่องค่าใช้จ่ายออกไป สิ่งที่สงสัยจึงเป็นเรื่องของคุณค่าในตัวงาน ฐานะดี - ไป WAT = แรงงานต่างด้าว ในขณะที่ ฐานะไม่ดี,ว่าง - ทำพาร์ทไม์ = ขยัน ช่วยเหลือครอบครัว ทั้ง ๆ ที่ทั้งสองกรณีเป็นงานประเภทเดียวกัน
กระทู้นี้ตั้งมาเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนกันนอกเหนือไปจากกระทู้คำถามเรื่องเลือกรัฐ หาเพื่อนไป WAT เพื่อที่จะได้แลกเปลี่ยนทัศนคติบางอย่าง ซึ่งอาจทำให้เห็นมุมมองบางอย่างกว้างขึ้น