สอนการคิดวิเคราะห์ Teaching critical thinking 13/9/2560 สรายุทธ กันหลง

สอนการคิดวิเคราะห์ Teaching critical thinking  13/9/2560
https://ppantip.com/topic/36868645


ได้อ่านข้อเขียนข้างล่างจาก FB ที่แนะนำโดยอาจารย์หมอ Suthee Rattanamongkolgul ที่แชร์มาจาก สุทัศน์ เอกา ทำให้ผมคิดถึงสมัยตอนเรียน

ตอนเรียนเกรด 10 ที่สหรัฐฯ ผมเรียนวิชาประวัติศาสตร์สหรัฐ (US History) ที่เป็นวิชาบังคับต้องเรียนและผ่านถึงจะจบมัธยมได้ มีตอนหนี่งกล่าวถึงสงคราม ปี 1812 (The War of 1812) ที่สหรัฐฯที่เป็นประเทศใหม่ทำสงครามกับอังกฤษ และอังกฤษส่งเรือยกพลมาเผากรุงวอชิงตันและทำเนียบขาวที่เป็นเมืองหลวงสหรัฐฯ  ตำราบอกว่าอังกฤษเป็นผู้รุกราน

ผมอ่านแล้วก็งง เพราะคิดตามหลักเหตุผลแล้วเป็นไปได้ยากที่อังกฤษที่ติดสงครามนโปเลียนในทวีปยุโรปและที่อื่นๆ จะมีเวลามาทำสงครามกับประเทศอื่นที่อยู่ห่างไกล  ผมก็บอกอาจารย์ที่สอนว่าไม่เชื่อ ซึ่งถ้าเป็นการเรียนแบบไทยก็คงจะโดนอาจารย์ด่าว่าไม่เชื่อตำราที่สอนได้อย่างไรเพราะใช้ตำรานี้มาหลายปีและใช้กันทั่วประเทศ  แต่อาจารย์ท่านกลับย้อนถามว่า มีเหตุผลอะไรหรือ (Do you have any reason?) ผมก็ตอบไป ท่านก็ว่างั้นให้ไปศึกษาและเขียนรายงานมาส่ง ถือว่าเป็น Inquiry Learning ผสมกับ Active Learning ผสมกับ Critical Thinking

ผมก็รับคำท้า  ไปห้องสมุดรัฐสภาสหรัฐฯ (US Library of Congress) ในกรุงวอชิงตันดีซี  จนท.เขาดีมากแทนที่จะหยิ่งดูแคลนเด็กมัธยมอย่างผม กลับแนะนำเอกสารที่ดีมากที่ผมใช้เป็นหลักฐานในการเขียนเรียงความ (essay) ยืนยันข้อสังเกตุของผมว่า คนสหรัฐฯบางกลุ่มต้องการผลประโยชน์จากคานาดาที่เป็นของอังกฤษสมัยนั้นและเป็นผู้รับผิดชอบก่อสงคราม

บทเรียนที่ได้รับตรงเกี่บวกับ Critical Thinking คือ
หนึ่ง ครูผู้สอนต้องกล้ารับฟังความคิดเห็นแตกต่างจากผู้เรียน อย่าเพิ่งไปด่วนสรุปว่าเขาผิด ถามหาเหตุผลก่อน
สอง  ครูผู้สอนต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงออกอย่างอิสระอย่างมีความรับผิดชอบ
สาม  ครูผู้สอนต้องสอดแทรกความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญานในกระบวนการเรียนตลอดจนเป็นวัฒนธรรม

.. สรายุทธ  พุธ 13/9/2560  12.49 น. กรุงเทพ

Cr:
Suthee Rattanamongkolgul และ
สุทัศน์ เอกา

ความคิดวิเคราะห์ ใช้ในการประเมิน “ข้อมูล”เพื่อแก้ปัญหา และการตัดสินใจ และนอกจากนั้น ยังใช้ในการสังเกตการณ์ และวาดข้อสรุปสร้างข้อมูล, สร้างแนวคิดในการประเมินข้อมูล,และปรับปรุงฐานความรู้, ซึ่งถือว่า “เป็นการเรียนรู้ที่สำคัญมาก”

นี่คือ 7 ลักษณะสำคัญในการคิด เพื่อให้เรา “เริ่มต้นเรียนรู้วิธีคิด Start learning how to think.”

1.การคิดวิเคราะห์ เป็นเรื่องของ “เหตุ ที่นำไปสู่ผล และเป็นเหตุเป็นผลแก่กัน” Critical thinking is reasonable and rational. ดังนั้น “ผู้เรียน”ต้องได้รับการฝึกฝนเพื่อรวบรวมขอมูล และประเมินคุณภาพของข้อมูล

2. ความคิดวิเคราะห์ “เป็นตัวสะท้อน Critical thinking is reflective.”
ประวัติความเป็นมา, ภูมิหลังในอดีตจนถึงปัจจุบันว่า “เป็นมาอย่างไร” เพื่อการพินิจพิจารณา.

3. การคิดวิเคราะห์ “เป็นแรงบันดาลใจในทัศนคติของการสืบสาวราวเรื่อง Critical thinking inspires an attitude of inquiry” ว่า “เพราะเหตุใด”จึงต้องตอบสนองต่อ “สิ่งเร้า หรือ เหตุ Stimulus or cause” ด้วยวิธีการเช่นนี้

4. การคิดวิเคราะห์ “คือการติดอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งเป็นความคิดอิสระ Critical thinking is autonomous thinking.” กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
คือ การคิดอย่างเป็นกระบวนการที่ประกอบด้วยการรับรู้, การละลึกถึงความรู้ที่สั่งสมไว้ในตัว,การผสมผสานความรู้และสร้างข้อมูลขึ้นมาใหม่, เพื่อหาคำตอบว่าความหมายของสิ่งที่คิดคืออะไร ซึ่งกระบวนการคิดผสมผสานความรู้จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผ่านมาและทักษะเฉพาะหลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกัน

5. การคิดวิเคราะห์ หรือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณนี้ เป็นความคิดสร้างสรรค์ Critical thinking includes creative thinking. สิ่งประดิษฐ์ทางโลกอื่น ๆ เกิดขึ้นได้ทุกวัน ก็เนื่องมาจาก ความคนมีความคิดเช่นนี้เอง

6. การคิดวิเคราะห์ คือ “ความคิดที่เป็นธรรม Critical thinking is fair thinking.” ไม่ลำเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง “ด้วยทิฐิมานะ อคติ ความเชื่อ และความลำเอียงใดๆ”

7. การคิดวิเคราะห์มุ่งเน้นไปที่การตัดสินใจว่า “จะเชื่อหรือทำอย่างไร Critical thinking focuses on deciding what to believe or do.” การคิดวิเคราะห์ถูกนำมาใช้เพื่อตัดสินใจในการดำเนินการ สังเกตการณ์ที่เชื่อถือได้ วาดข้อสรุปเสียงแก้ปัญหา และประเมินนโยบายการเรียกร้องและการดำเนินการ การตัดสินใจ

สุทัศน์ เอกา.....................บอกความ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่