ประธานแรงงานสมานฉันท์ เรียกร้องค่าแรงขั้นต่ำ วันล่ะ 700 บ. รัฐวิสาหกิจ ตีความคนใช้แรงงานขั้นต่ำถูกต้องไหม?

ค่าแรงขั้นต่ำ ปี 2554 560/วัน เอาตัวเลขมาจากไหน และอัตราเงินเฟ้อปี 2554-2555 3 % จริง แต่ปี 2556-2560 เฉลี่ยแค่ 1 % จะเรียกค่าแรงขั้นต่ำ 700/วัน ค่าแรงขั้นต่ำ คือแรงงานแบกหาม จะเอา 700/วัน งั้นเงินเดือนขั้นต่ำ ต้องได้เดือนล่ะ 30,000 บ/เดือน หรือเปล่า ถ้าจ้างคนงาน 4 คน  700x 26 วัน เดือนล่ะ 18,200 บ.  รวม 72,800 บ./เดือน ไม่รวม ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ อื่นๆ แค่จ้าง 4 คนเกือบแสน เตรียมตกงาน เกินครึ่งได้เลย และนายจ้างจะย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้าน ส่วน กิจการเล็ก เตรียมปิดกิจการได้เลย คนตกงานเพียบ และค่าข้าวเตรียมจานล่ะ 60 บ. และเมื่อมีนายจ้าง จ้างวันล่ะ 700 บ. เหลือ น้อยลงไม่มีงาน ก็เตรียมตัวไม่มีจะกินได้เลย เพราะที่เปิด EEC ญีปุ่น คงไม่โง่มาลงทุนแล้วและคงจะย้ายไปเพื่อนบ้าน ค่าแรงวันล่ะ 250/วัน ไม่ดีกว่ารึ จะมาจ่ายคนไทยทำไม 700/วัน เรียกร้องแต่ผลประโยชน์ตัวเองไม่ได้เข้าใจอะไรเลย สิ่งที่ควรทำ คือ จะต้องทำยังไง ให้ค่าครองชีพถูกลง ค่าแรงเพิ่มเท่ากับค่าครองชีพ พุ่งตามแน่นอน คิดว่าตอนนี้นายจ้างคนไทย ขายของกำไร 40-50 % หรือไง เรียกร้อง 700/วัน ลองไปเปิดกิจการดู ให้รัฐลองลงทุนให้ก็ได้ 6 เดือน รู้เรื่อง   เคยมีคนแก้ด้วยการขึ้นค่าแรงจาก 200 เป็น 300 บ. แล้วมันช่วยความเป็นอยู่ให้คนจนดีขึ้นได้จริง ตอนนี้คนไทยไม่เป็นหนี้ขนาดนี้ ก็ยังจะคิดว่าการขึ้นค่าแรงจะเป็นการแก้ปัญหาได้จริงอยู่รึนี่ (แก้ปัญหาโดยวิธีแบบเดิมผลลัพธ์ก็จะเหมือนเดิมและคนไทยจะเป็นหนี้เพิ่มขึ้น)ขอยกตัวอย่าง แรงงานลาว ได้ค่าแรงวันล่ะ ประมาณ 200 กว่าบาท ในขณะที่ ค่าข้าวเขา มื้อล่ะ 60 บ.  คนงานเขาใช้วิธีการหุงข้าวมาจากบ้านมากินเองกัน  อันนี้พูดถึงคนงานลาวที่ทำงานที่ประเทศลาว ตัวเลขประมาณนี้ไม่แม่นเท่าที่จำได้
ตอนที่ ค่าแรง 200 กว่าบาท จำได้ว่า มาม่า  5 บ.   แล้วค่าแรงเปลี่ยนเป็น 300  บ. มาม่าตอนนี้ 7 บ.  ถ้าค่าแรง  700 บ. ก็เตรียมตัวซื้อ มาม่า 14 บ. ได้เลย เพราะค่าครองชีพมันจะวิ่งมาให้คนทั้งประเทศเดือดร้อนกันทั่วหน้า และเมื่อ คุณตกงาน กับค่าครองชีพที่สูงขึ้นก็เตรียมเป็น หนี้อีก ท่วมตัวได้เลย  ขอเสนอวิธีแก้ที่ยังไม่ใช่ขึ้นค่าแรง เพราะปัญหาจะทวีความรุนแรง ทางแก้คือต้องลดค่าครองชีพลง
1. ค่าครองชีพ ขั้นพื้นฐานของคนคืออะไร   1. ค่ากิน  2. ค่าอยู่  3. ค่าเดินทาง
    1.1  ค่าข้าว มื้อ ล่ะ 30   3  มื้อ = 90 บ.x 30 วัน = 2,700 บ.  
    1.2  ค่าอยู่ เช่าบ้าน,ค่าน้ำ-ค่าไฟ 2,000-3,500 บ.    
    1.3 ค่าเดินทาง ประมาณเฉลี่ย วันล่ะ 30 บ. = 900 บ.  
    1.4  ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ค่าโทรศัพท์  อื่นๆ
   แนวทางสิ่งที่สามารถลดค่าครองชีพได้ เช่น
   1. ค่าเช่าบ้าน เสนอให้นายจ้างหาที่พักให้คนงานเป็นสวัสดิการหรือปลูกที่พักคนงานใกล้กับโรงงาน
   เพื่อประหยัดค่าเดินทางด้วย โดยนายจ้างสามารถนำค่าใช้จ่ายที่พักหรือสิ่งปลูกสร้างที่พักแรงงาน มาหักลดหย่อนภาษีได้
   ก็จะเป็นการลดค่าใช้จ่ายแรงงานแบกหาม และค่าใช้จ่ายนายจ้างได้
   2.ในบริเวณ ที่พัก คนงานแบกหาม,สามารถลดหย่อน  สามารถ ลดค่าน้ำค่าไฟ ในอัตรา ต่อคน ต่อจำนวนที่ใช้ไฟและน้ำ ได้หรือไม่
   3 แรงงานขั้นต่ำฝึก ฝีมือแรงงาน หรือช่าง  เพื่อได้ค่าแรงที่มากขึ้นเพื่อพ้นจากแรงงานขั้นต่ำ
   4.ให้ร้านธงฟ้า ไปเปิดในพื้นที่แรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น เพื่อให้แรงงานขั้นต่ำ สามารถเข้าซื้อสินค้าราคาถูก ที่รัฐสนับสนุนได้ง่าย
      โดยไม่ต้องเสียค่าเดินทางและเวลาในการมาซื้อสินค้า  
  ถ้าแรงงานขั้นต่ำ 700 บ./วัน  แล้วร้านข้าวแกงที่ต้องจ้างลูกจ้าง 1-2 คน  ไม่ต้องเพิ่มค่าข้าวแกงจาก 30 บ. เป็นจานล่ะ 50-60 บ.  จะเป็น
  ไปได้ไหม ก็ลองคิดดูแล้วกัน
https://www.matichon.co.th/news/656971
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
ค่าแรงขั้นต่ำจะขึ้นเหรอไม่ รัฐบาลไม่สามารถกำหนดได้หรอก แต่ต้องเป็น ข้อตกลงร่วมกันระหว่าง ผุ้ประกอบการทั้งหลาย กับ ประธานกลุ่มแรงงาน  เพราะ รัฐเป็นแค่ผุ้ไกลเกลี่ยระหว่าง ผุ้ประกอบการ กับ ประธานกลุ่มแรงงานทั้งหลายเท่านั้น ก็เหมือน  การขึ้นค่าแรงจาก 300 เป็น 310-360 ซึ่งก็ไม่ขึ้นทุกจังหวัด (เชื่อว่า คงเป็นเพราะ ผุ้ประกอบการในจังหวัดนั้นคงไม่พร้อมที่จะเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ) เท่านั้น  ก็ล้วนแต่เป็นเสียงจากประกอบการ ที่ยอมตกลง ไม่ใช่ รัฐบาล ฉนั้น แรงงาน ขั้นต่ำ 700 ต่อวัน ก็รอให้ประเทศไทย เป็นประเทศพัฒนาก่อนเหอะ  เพราะตอนนี้ เราก็มีค่าแรงแพงที่สุด เป็นอันดับ 4ใน AEC  จะให้ขึ้นเท่ากับ อันดับ 1 อย่าง สิงคโปร์ บรูไน ก็คงได้แค่ฝันเท่านั้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่