ขณะที่เราโกรธใครนั้น เราทำร้ายตนเองเพราะความโกรธของเรา พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโทษของความโกรธ (โทสะ) ในอังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต โกธนาสูตร ว่า คนที่เป็นข้าศึกกันย่อมปรารถนาคนผู้เป็นข้าศึกกันให้ได้รับความทุกข์ ความจริงแล้วความทุกข์กำลังคุกคามย่ำยีหญิงหรือชายผู้มีความโกรธอยู่ ข้อความในโกธนาสูตรมีว่า
".... ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้เป็นข้าศึกกันในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อคนผู้เป็นข้าศึกกันอย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลผู้นี้มีผิวพรรณทรามเถิดหนา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคนผู้เป็นข้าศึกกันย่อมไม่ยินดีให้คนที่เป็นข้าศึกกันมีผิวพรรมงาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้โกรธถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะอาบน้ำ ไล้ทา ตัดผม โกนหนวด นุ่งผ้าขาวสะอาดแล้วก็ตาม แต่ถูกความโกรธครอบงำแล้ว ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณทราม ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ 1 เป็นความมุ่งหมายของคนผู้เป็นข้าศึกกัน เป็นความต้องการของผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมมาถึงหญิงหรือชายผู้มีความโกรธฯ
อีกประการหนึ่ง คนผู้เป็นข้าศึกกันย่อมปรารถนาต่อคนผู้เป็นข้าศึกกันอย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลผู้นี้พึงนอนเป็นทุกข์เถิดหนอ ข้อนี้เพราะเหตุไร เพราะคนผู้เป็นข้าศึกกันย่อมไม่ยินดีให้คนที่เป็นข้าศึกกันอยู่สบาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะนอนบนบัลลังก์อันลาดด้วยผ้าขนสัตว์ ลาดด้วยผ้าขาวเนื้ออ่อน ลาดด้วยเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด มีผ้าดาดเพดาน มีหมอนหนุนศีรษะและหนุนเท้าแถวทั้งสองข้างก็ตาม แต่ถูกความโกรธครอบงำแล้ว ย่อมนอนเป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ 2 ...."
ข้อความต่อไปกล่าวถึงความทุกข์อื่นๆ ที่คนผู้เป็นข้าศึกกันปรารถนาให้คนผู้เป็นข้าศึกกันได้รับ แต่ความทุกข์นั้นๆ ย่อมเกิดแก่หญิงหรือชายผู้มีความโกรธ คนผู้เป็นข้าศึกกันย่อมหวังให้คนที่เป็นข้าศึกกันไม่มีความเจริญ โภคะ ยศ และมิตร แต่สิ่งเหล่านี้ย่อมเกิดแก่หญิงหรือชายผู้มีความโกรธนั้นเอง ข้อความต่อไปมีว่า
เราปรารถนาที่จะอยู่ในโลกที่สมัครสมานกลมเกลียวกันระหว่างชาติต่างๆ และเป็นทุกข์เดือดร้อนเมื่อมีการประทุษร้ายเบียดเบียนกัน เราควรพิจารณาว่าอะไรเป็นสาเหตุที่แท้จริงของสงครามและความขัดแย้ง สาเหตุก็คือกิเลสที่สะสมอยู่ในจิตของแต่ละคน เวลาโกรธ เราคิดว่าคนอื่นและสิ่งที่ไม่น่ายินดีพอใจนั้นทำให้เราโกรธ แต่โทสะที่ได้สะสมไว้เป็นเหตุที่แท้จริงทำให้ความโกรธเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า ถ้าต้องการให้โทสะลดน้อยลง ก็ควรรู้ลักษณะของโทสะและระลึกรู้สภาพของโทสะเมื่อโทสะเกิด
โทสะมีหลายขั้น อาจเป็นความขุ่นใจเล็กน้อยหรือรุนแรงขึ้นจนถึงกับโกรธเคือง เรารู้จักโทสะขั้นหยาบ แต่เรารู้จักโทสะอย่างบางเบาบ้างไหม การศึกษาพระอภิธรรมทำให้รู้ลักษณะของโทสะมากขึ้น โทสะ เป็น อกุศลเจตสิก เกิดร่วมกับอกุศลจิต จิตที่มีโทสะเป็นมูล ภาษาบาลีเรียกว่า โทสมูลจิต
มีอกุศลเจตสิกอื่นๆอีกซึ่งเกิดร่วมกับโทสมูลจิต
ความเสียดาย หรือ ความกังวล ซึ่งภาษาบาลีเรียกว่า กุกกุจจะ ก็เป็นอกุศลเจตสิกซึ่งเกิดร่วมกับโทสมูลจิตขณะที่ได้กระทำสิ่งที่ไม่ดีหรือไม่ได้ทำสิ่งที่ดี ขณะที่เสียใจนั้นเป็นขณะที่คิดถึงอดีตแทนที่จะระลึกถึงขณะปัจจุบัน เมื่อได้กระทำผิดพลาดไปแล้ว ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะกังวลใจ
ความริษยา (อิสสา) เป็นเจตสิกอีกดวงหนึ่งที่เกิดกับโทสมูลจิต เวลาไม่อยากให้ใครได้รับสิ่งที่น่ายินดีพอใจนั้นเป็นความริษยา ขณะนั้นจิตไม่พอใจอารมณ์นั้น ควรจะสังเกตว่าความริษยาเกิดบ่อยเพียงใด แม้ว่าเป็นความริษยาเพียงเล็กน้อยก็ตาม นี่เป็นวิธีที่จะรู้ว่าเราใส่ใจคนอื่นหรือไม่ หรือว่าเราคิดถึงแต่ตัวเองเมื่อคบหาสมาคมกับคนอื่น
ความตระหนี่ (มัจฉริยะ) เป็นอกุศลเจตสิกอีกดวงหนึ่งซึ่งเกิดกับโทสมูลจิต ขณะที่ตระหนี่นั้นมีโทสะด้วย ขณะนั้นไม่อยากให้คนอื่นมีส่วนในสมบัติที่เรามี
โทสะเกิดร่วมกับ ค
วามรู้สึกไม่สบายใจ (โทมนัสเวทนา) เสมอ คนส่วนมากไม่อยากมีโทสะเพราะไม่ชอบความรู้สึกที่ไม่สบายใจ ขณะที่อบรมเจริญปัญญารู้สภาพธรรมมากขึ้นนั้น ก็ใคร่จะละโทสะ ทั้งนี้โดยไม่ใช่เพราะไม่ชอบโทมนัสเวทนา แต่เพราะเห็นโทษภัยของอกุศล
โทสะเกิดขึ้นได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ โทสะเกิดได้เมื่อเห็นสิ่งที่ไม่น่ายินดีพอใจ ได้ยินเสียงหยาบกระด้าง ได้กลิ่นที่ไม่ดี ลิ้มรสที่ไม่ถูกปาก กระทบสัมผัสสิ่งที่ทำให้กายเจ็บปวด และคิดนึกเรื่องที่ไม่พอใจ เมื่อใดที่รู้สึกไม่สบายใจไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใดก็ตาม ก็แสดงว่าขณะนั้นเป็นโทสะ โทสะอาจจะเกิดบ่อยเมื่อกระทบอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ เช่น อากาศร้อนหรือเย็นเกินไป เมื่อมีความรู้สึกที่ไม่สบายกายเพียงนิดเดียว โทสะก็เกิดได้แม้ว่าจะเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง
เมื่อมีความรู้ความเข้าใจในสภาพธรรมต่างๆ ชัดแจ้งขึ้น ก็จะครุ่นคิดถึงอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจน้อยลง เพราะเป็นเพียงนามธรรมชนิดหนึ่งซึ่งเกิดแล้วก็ดับไป และจะใส่ใจในขณะปัจจุบันมากขึ้น แทนที่จะคิดถึงอดีตหรืออนาคต เราจะเล่าเรื่องร้ายๆที่เกิดขึ้นกับตัวเราให้คนอื่นฟังน้อยลง เพราะรู้ว่าจะเป็นปัจจัยให้ทั้งตนเองและคนอื่นสะสมโทสะมากขึ้น เมื่อคนอื่นโกรธเรา เราก็จะเข้าใจสภาพของเขาดีขึ้น เขาอาจจะเหนื่อยหรือไม่สบายก็ได้ คนที่ไม่ดีต่อเรานั้นสมควรได้รับความเมตตา เพราะเขาทำตนเองให้เป็นทุกข์
ความเข้าใจในสภาพธรรมต่างๆ จะทำให้เรา
มีเมตตากรุณาต่อคนอื่นมากกว่าอื่นใดแทนที่จะเกิดโทสะ
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/nina/abhidham-07.htm
โทษของโทสะ
".... ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้เป็นข้าศึกกันในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อคนผู้เป็นข้าศึกกันอย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลผู้นี้มีผิวพรรณทรามเถิดหนา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคนผู้เป็นข้าศึกกันย่อมไม่ยินดีให้คนที่เป็นข้าศึกกันมีผิวพรรมงาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้โกรธถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะอาบน้ำ ไล้ทา ตัดผม โกนหนวด นุ่งผ้าขาวสะอาดแล้วก็ตาม แต่ถูกความโกรธครอบงำแล้ว ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณทราม ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ 1 เป็นความมุ่งหมายของคนผู้เป็นข้าศึกกัน เป็นความต้องการของผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมมาถึงหญิงหรือชายผู้มีความโกรธฯ
อีกประการหนึ่ง คนผู้เป็นข้าศึกกันย่อมปรารถนาต่อคนผู้เป็นข้าศึกกันอย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลผู้นี้พึงนอนเป็นทุกข์เถิดหนอ ข้อนี้เพราะเหตุไร เพราะคนผู้เป็นข้าศึกกันย่อมไม่ยินดีให้คนที่เป็นข้าศึกกันอยู่สบาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะนอนบนบัลลังก์อันลาดด้วยผ้าขนสัตว์ ลาดด้วยผ้าขาวเนื้ออ่อน ลาดด้วยเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด มีผ้าดาดเพดาน มีหมอนหนุนศีรษะและหนุนเท้าแถวทั้งสองข้างก็ตาม แต่ถูกความโกรธครอบงำแล้ว ย่อมนอนเป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ 2 ...."
ข้อความต่อไปกล่าวถึงความทุกข์อื่นๆ ที่คนผู้เป็นข้าศึกกันปรารถนาให้คนผู้เป็นข้าศึกกันได้รับ แต่ความทุกข์นั้นๆ ย่อมเกิดแก่หญิงหรือชายผู้มีความโกรธ คนผู้เป็นข้าศึกกันย่อมหวังให้คนที่เป็นข้าศึกกันไม่มีความเจริญ โภคะ ยศ และมิตร แต่สิ่งเหล่านี้ย่อมเกิดแก่หญิงหรือชายผู้มีความโกรธนั้นเอง ข้อความต่อไปมีว่า
เราปรารถนาที่จะอยู่ในโลกที่สมัครสมานกลมเกลียวกันระหว่างชาติต่างๆ และเป็นทุกข์เดือดร้อนเมื่อมีการประทุษร้ายเบียดเบียนกัน เราควรพิจารณาว่าอะไรเป็นสาเหตุที่แท้จริงของสงครามและความขัดแย้ง สาเหตุก็คือกิเลสที่สะสมอยู่ในจิตของแต่ละคน เวลาโกรธ เราคิดว่าคนอื่นและสิ่งที่ไม่น่ายินดีพอใจนั้นทำให้เราโกรธ แต่โทสะที่ได้สะสมไว้เป็นเหตุที่แท้จริงทำให้ความโกรธเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า ถ้าต้องการให้โทสะลดน้อยลง ก็ควรรู้ลักษณะของโทสะและระลึกรู้สภาพของโทสะเมื่อโทสะเกิด
โทสะมีหลายขั้น อาจเป็นความขุ่นใจเล็กน้อยหรือรุนแรงขึ้นจนถึงกับโกรธเคือง เรารู้จักโทสะขั้นหยาบ แต่เรารู้จักโทสะอย่างบางเบาบ้างไหม การศึกษาพระอภิธรรมทำให้รู้ลักษณะของโทสะมากขึ้น โทสะ เป็น อกุศลเจตสิก เกิดร่วมกับอกุศลจิต จิตที่มีโทสะเป็นมูล ภาษาบาลีเรียกว่า โทสมูลจิต
มีอกุศลเจตสิกอื่นๆอีกซึ่งเกิดร่วมกับโทสมูลจิต ความเสียดาย หรือ ความกังวล ซึ่งภาษาบาลีเรียกว่า กุกกุจจะ ก็เป็นอกุศลเจตสิกซึ่งเกิดร่วมกับโทสมูลจิตขณะที่ได้กระทำสิ่งที่ไม่ดีหรือไม่ได้ทำสิ่งที่ดี ขณะที่เสียใจนั้นเป็นขณะที่คิดถึงอดีตแทนที่จะระลึกถึงขณะปัจจุบัน เมื่อได้กระทำผิดพลาดไปแล้ว ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะกังวลใจ
ความริษยา (อิสสา) เป็นเจตสิกอีกดวงหนึ่งที่เกิดกับโทสมูลจิต เวลาไม่อยากให้ใครได้รับสิ่งที่น่ายินดีพอใจนั้นเป็นความริษยา ขณะนั้นจิตไม่พอใจอารมณ์นั้น ควรจะสังเกตว่าความริษยาเกิดบ่อยเพียงใด แม้ว่าเป็นความริษยาเพียงเล็กน้อยก็ตาม นี่เป็นวิธีที่จะรู้ว่าเราใส่ใจคนอื่นหรือไม่ หรือว่าเราคิดถึงแต่ตัวเองเมื่อคบหาสมาคมกับคนอื่น
ความตระหนี่ (มัจฉริยะ) เป็นอกุศลเจตสิกอีกดวงหนึ่งซึ่งเกิดกับโทสมูลจิต ขณะที่ตระหนี่นั้นมีโทสะด้วย ขณะนั้นไม่อยากให้คนอื่นมีส่วนในสมบัติที่เรามี
โทสะเกิดร่วมกับ ความรู้สึกไม่สบายใจ (โทมนัสเวทนา) เสมอ คนส่วนมากไม่อยากมีโทสะเพราะไม่ชอบความรู้สึกที่ไม่สบายใจ ขณะที่อบรมเจริญปัญญารู้สภาพธรรมมากขึ้นนั้น ก็ใคร่จะละโทสะ ทั้งนี้โดยไม่ใช่เพราะไม่ชอบโทมนัสเวทนา แต่เพราะเห็นโทษภัยของอกุศล
โทสะเกิดขึ้นได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ โทสะเกิดได้เมื่อเห็นสิ่งที่ไม่น่ายินดีพอใจ ได้ยินเสียงหยาบกระด้าง ได้กลิ่นที่ไม่ดี ลิ้มรสที่ไม่ถูกปาก กระทบสัมผัสสิ่งที่ทำให้กายเจ็บปวด และคิดนึกเรื่องที่ไม่พอใจ เมื่อใดที่รู้สึกไม่สบายใจไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใดก็ตาม ก็แสดงว่าขณะนั้นเป็นโทสะ โทสะอาจจะเกิดบ่อยเมื่อกระทบอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ เช่น อากาศร้อนหรือเย็นเกินไป เมื่อมีความรู้สึกที่ไม่สบายกายเพียงนิดเดียว โทสะก็เกิดได้แม้ว่าจะเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง
เมื่อมีความรู้ความเข้าใจในสภาพธรรมต่างๆ ชัดแจ้งขึ้น ก็จะครุ่นคิดถึงอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจน้อยลง เพราะเป็นเพียงนามธรรมชนิดหนึ่งซึ่งเกิดแล้วก็ดับไป และจะใส่ใจในขณะปัจจุบันมากขึ้น แทนที่จะคิดถึงอดีตหรืออนาคต เราจะเล่าเรื่องร้ายๆที่เกิดขึ้นกับตัวเราให้คนอื่นฟังน้อยลง เพราะรู้ว่าจะเป็นปัจจัยให้ทั้งตนเองและคนอื่นสะสมโทสะมากขึ้น เมื่อคนอื่นโกรธเรา เราก็จะเข้าใจสภาพของเขาดีขึ้น เขาอาจจะเหนื่อยหรือไม่สบายก็ได้ คนที่ไม่ดีต่อเรานั้นสมควรได้รับความเมตตา เพราะเขาทำตนเองให้เป็นทุกข์
ความเข้าใจในสภาพธรรมต่างๆ จะทำให้เรามีเมตตากรุณาต่อคนอื่นมากกว่าอื่นใดแทนที่จะเกิดโทสะ
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ http://www.dharma-gateway.com/ubasika/nina/abhidham-07.htm