ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว
อีกประการหนึ่ง คนเป็นข้าศึกกัน ย่อมปรารถนาต่อคนผู้เป็นข้าศึกกัน อย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลผู้นี้อย่ามีความเจริญเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะคนผู้เป็นข้าศึกกันย่อมไม่ยินดีให้คนที่เป็นข้าศึกกันมีความเจริญ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะถือเอาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ก็สำคัญว่าเราถือเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์
แม้ถือเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์ ก็สำคัญว่าเราถือเอาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
ธรรมเหล่านี้อันคนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำถือเอาแล้ว เป็นข้าศึกแก่กันและกัน
ย่อมเป็นไปเพื่อความ
มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ เป็นความมุ่งหมายของคนผู้เป็นข้าศึกกัน เป็นความต้องการของคนผู้เป็นข้าศึกกัน
ย่อมมาถึงหญิงหรือชายผู้มีความโกรธ ฯ
--------------------------
เนื้อหาบางส่วนจาก -
โกธนาสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๒๐๓๖ - ๒๑๓๘. หน้าที่ ๘๘ - ๙๓.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=2036&Z=2138&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=61
คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะถือเอาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ก็สำคัญว่าเราถือเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์
คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว
อีกประการหนึ่ง คนเป็นข้าศึกกัน ย่อมปรารถนาต่อคนผู้เป็นข้าศึกกัน อย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลผู้นี้อย่ามีความเจริญเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะคนผู้เป็นข้าศึกกันย่อมไม่ยินดีให้คนที่เป็นข้าศึกกันมีความเจริญ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะถือเอาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ก็สำคัญว่าเราถือเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์
แม้ถือเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์ ก็สำคัญว่าเราถือเอาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
ธรรมเหล่านี้อันคนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำถือเอาแล้ว เป็นข้าศึกแก่กันและกัน
ย่อมเป็นไปเพื่อความมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ เป็นความมุ่งหมายของคนผู้เป็นข้าศึกกัน เป็นความต้องการของคนผู้เป็นข้าศึกกัน
ย่อมมาถึงหญิงหรือชายผู้มีความโกรธ ฯ
--------------------------
เนื้อหาบางส่วนจาก - โกธนาสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๒๐๓๖ - ๒๑๓๘. หน้าที่ ๘๘ - ๙๓.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=2036&Z=2138&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=61