เอาล่ะท่านผู้ชม ... ก็ยังขยี้กันไม่หยุดในตัวอย่างตอนที่ 5
คือทุกอย่างมันมาถึงทางแยกแล้ว จากกระจกที่มีรอยลิเล็ก ๆ บัดนี้แตกกระจายเป็นเสี่ยง ๆ กันเลยทีเดียว
ไม่แน่ใจว่าสรุปเร็วไปรึเปล่าว่าสามีของแม่ตั้มเป็นพ่อของทั้งโด่งและยิม พูดง่าย ๆ ว่าคุณฝาละมีเป็นพระยาเทครัว รวบหัวรวบหางทั้งพี่ทั้งน้อง แต่มันก็อนุมานได้ว่าเป็นอย่างนั้นน่ะนะ
ข้อนี้เราเข้าใจการกระทำของแม่แตงที่สนใจยิมมากกว่าลูกตัวเอง การกระทำไม่ว่าจะมาจากการเต็มใจหรือผิดพลาดก็เถอะ สิ่งที่เกิดไปแล้วก็คือถอยหลังกลับไม่ได้ จะเสกให้มันหายไปก็ไม่ได้อีกเช่นกัน ถ้าจิตใจยังคงเป็นมนุษย์มนากับเขา ความรู้สึกผิดย่อมกัดกินใจ แถมเมื่อชะตาชีวิตของพี่สาวถูกโชคชะตาเล่นงานให้ลูกไม่ปกติไปอีก ความรู้สึกผิดก็คงทวีคูณขึ้นมา เหมือนเราทำชีวิตพี่พัง ดังนั้นแม่แตงจึงอุทิศตัวดูแลยิมและพลอยเอาผลผลิตระหว่างสามีพี่กับตัวเองก็คือโด่งไปลงวังวนนี้ด้วย โดยรู้สึกว่ามันควรจะต้องเป็นแบบนั้นอยู่แล้ว ความใส่ใจทั้งหมดจึงถูกดึงไปสู่ยิมที่ต้องการการใส่ใจเป็นพิเศษ ไอ้เรื่องของความใส่ใจนี้ก็เหมือนกัน เข้าใจว่าจะให้บาลานซ์คงยาก การใส่ใจดูแลต้องการทั้งการกระทำเวลาและความคิดซึ่ง .... จะให้ใส่ใจพร้อม ๆ กันถึง 2 คน คงเป็นไปได้ยากเหมือนกัน คือพอมีคำว่า "พิเศษ" เกิดขึ้น แปลว่ามันต้องมีมากกว่าน้อยกว่า จนสุดท้ายเมื่ออีกฝ่ายที่ต้องการการใส่ใจเหมือนกันรู้สึกถูกละเลย
ทุกอย่างสะสมเหมือนภูเขาไฟรอวันระเบิด และ มันก็ระเบิดขึ้นมาจริง ๆ เพราะคนล้วนย่อมเติบโต และ คนล้วนย่อมเปลี่ยนแปลง พี่น้องที่โตไม่ทันกัน ห่างกันด้วยความคิดความเข้าใจและสติปัญญา นอกจากจะแย่งความสนใจจากแม่ไปแล้ว ก็ยังต้องมาดึงเราเข้าไปยุ่งวุนวายด้วยอีก ไอ้เข้าใจมันก็เข้าใจ แต่ทำไมชีวิตต้องมีแต่พี่ เหมือนเป็นอะไหล่ เป็นหุ่นยนต์ที่ต้องคอยดูและรับใช้ อะไรเทือกนั้น เมื่อประกอบกับเรื่องที่เพิ่งรับรู้ สติเด็กวัยรุ่นก็แตกโป๊ะไปโดยปริยาย โด่งทำอะไรลงไปแล้วก็รู้อยู่แก่ใจ แล้ว ... อะไร ๆ มันก็คงไม่ดีขึ้นมาง่าย ๆ
บัดนี้โด่งจากที่น้อยใจแม่ ความนับถือก็อาจจะหายไปด้วย เด็กวัยนี้เริ่มมีโลกส่วนตัว สร้างอัตลักษณ์ของตัวเอง มากกว่าจะฟังคำสั่งของใคร เมื่อพี่ชายที่คิดว่าเป็นภาระถูกปลดลงจากบ่า โดนใบดำก็แบนไปเป็นปี อิสระเสรีก็อยู่ในอุ้งมือ โด่งตัดสินใจไปซ้อมที่สโมสร และดูมีความสุขมากกว่าที่เคย ชีวิตที่ตอนนี้จะทำอะไรได้ดังใจปรารถนา เวลานั้นมาถึงแล้ว ไม่มีอะไร หรือ ใครจะฉุดรั้งโด่งได้อีกต่อไป
ส่วนยิม ... จากปัญหาในวันนั้น แม่ตั้มก็ตัดสินใจส่งยิมไปสถานบำบัด ข้อนี้เข้าใจได้ ... คิดว่าหลังจากเหตุการณ์ที่สนามแข่งเกิดขึ้น คงเกิดรอยร้าวระหว่างยิมกับโด่ง และ คราวนี้โด่งก็คงไม่ให้ความร่วมมือเหมือนเคยแล้ว นอกจากนั้นแม่ตั้มก็คงคิดว่าถึงเวลาเสียทีที่ลูกจะต้องอยู่ให้เป็น รวมทั้งเป็นการลดอารมณ์ระอุภายในบ้านด้วย มันก็น่าสะเทือนใจอยู่ที่ความสุขน้อยนิดของยิมจะถูกพรากเอาไปแบบไม่ทันตั้งตัว กีฬาที่ทำได้ดี บัดนี้ไปซ้อมก็ไม่ได้ แข่งก็ไม่ได้ บ้านที่เป็นสถานที่พักพิงอันอบอุ่นปลอดภัย โลกใบเล็ก ๆ กับคนที่ยิมรักก็อยู่ด้วยไม่ได้เสียแล้ว
ความเปลี่ยนแปลงกำลังมาเยือน
ก็น่าคิดว่าเส้นทางชีวิตของแต่ละคนจะเป็นอย่างไรต่อไป
หรือถึงเวลาที่จะต้องแยกกันไปคนละทางจริง ๆ
ป.ล. ในแง่มุมของออทิสติกนี้ เราอดนึกถึง Walk my way ซีรีส์ญี่ปุ่นไม่ได้ แต่เรื่องนั้นตัวเอกที่เป็นออฯ ทำงานหาเลี้ยงตัวเอง และ สุดท้ายคือพยายามจะเติบโตแล้วเป็นอิสระจากครอบครัว เรื่องนี้ก็น่าสนใจมากค่ะซีรีส์เก่าแต่ถือว่าระดับขึ้นหิ้ง โทนเรื่องจะต่างกันหน่อย Side by Side เป็นประเด็นในครอบครัว แต่ Walk my way คือ ความพยายามในการดำเนินชีวิตของผู้มีอาการออทิสติกในชีวิตประจำวัน (ถ้าแม่ตั้มได้ดูเรื่องนี้แม่ตั้มคงอยากให้พี่ยิมเดินทางเดียวกันกับเทรุอากิคุง)
Side by Side (ว่าด้วยตัวอย่างตอนที่ 5) : Shatter into pieces
คือทุกอย่างมันมาถึงทางแยกแล้ว จากกระจกที่มีรอยลิเล็ก ๆ บัดนี้แตกกระจายเป็นเสี่ยง ๆ กันเลยทีเดียว
ไม่แน่ใจว่าสรุปเร็วไปรึเปล่าว่าสามีของแม่ตั้มเป็นพ่อของทั้งโด่งและยิม พูดง่าย ๆ ว่าคุณฝาละมีเป็นพระยาเทครัว รวบหัวรวบหางทั้งพี่ทั้งน้อง แต่มันก็อนุมานได้ว่าเป็นอย่างนั้นน่ะนะ
ข้อนี้เราเข้าใจการกระทำของแม่แตงที่สนใจยิมมากกว่าลูกตัวเอง การกระทำไม่ว่าจะมาจากการเต็มใจหรือผิดพลาดก็เถอะ สิ่งที่เกิดไปแล้วก็คือถอยหลังกลับไม่ได้ จะเสกให้มันหายไปก็ไม่ได้อีกเช่นกัน ถ้าจิตใจยังคงเป็นมนุษย์มนากับเขา ความรู้สึกผิดย่อมกัดกินใจ แถมเมื่อชะตาชีวิตของพี่สาวถูกโชคชะตาเล่นงานให้ลูกไม่ปกติไปอีก ความรู้สึกผิดก็คงทวีคูณขึ้นมา เหมือนเราทำชีวิตพี่พัง ดังนั้นแม่แตงจึงอุทิศตัวดูแลยิมและพลอยเอาผลผลิตระหว่างสามีพี่กับตัวเองก็คือโด่งไปลงวังวนนี้ด้วย โดยรู้สึกว่ามันควรจะต้องเป็นแบบนั้นอยู่แล้ว ความใส่ใจทั้งหมดจึงถูกดึงไปสู่ยิมที่ต้องการการใส่ใจเป็นพิเศษ ไอ้เรื่องของความใส่ใจนี้ก็เหมือนกัน เข้าใจว่าจะให้บาลานซ์คงยาก การใส่ใจดูแลต้องการทั้งการกระทำเวลาและความคิดซึ่ง .... จะให้ใส่ใจพร้อม ๆ กันถึง 2 คน คงเป็นไปได้ยากเหมือนกัน คือพอมีคำว่า "พิเศษ" เกิดขึ้น แปลว่ามันต้องมีมากกว่าน้อยกว่า จนสุดท้ายเมื่ออีกฝ่ายที่ต้องการการใส่ใจเหมือนกันรู้สึกถูกละเลย
ทุกอย่างสะสมเหมือนภูเขาไฟรอวันระเบิด และ มันก็ระเบิดขึ้นมาจริง ๆ เพราะคนล้วนย่อมเติบโต และ คนล้วนย่อมเปลี่ยนแปลง พี่น้องที่โตไม่ทันกัน ห่างกันด้วยความคิดความเข้าใจและสติปัญญา นอกจากจะแย่งความสนใจจากแม่ไปแล้ว ก็ยังต้องมาดึงเราเข้าไปยุ่งวุนวายด้วยอีก ไอ้เข้าใจมันก็เข้าใจ แต่ทำไมชีวิตต้องมีแต่พี่ เหมือนเป็นอะไหล่ เป็นหุ่นยนต์ที่ต้องคอยดูและรับใช้ อะไรเทือกนั้น เมื่อประกอบกับเรื่องที่เพิ่งรับรู้ สติเด็กวัยรุ่นก็แตกโป๊ะไปโดยปริยาย โด่งทำอะไรลงไปแล้วก็รู้อยู่แก่ใจ แล้ว ... อะไร ๆ มันก็คงไม่ดีขึ้นมาง่าย ๆ
บัดนี้โด่งจากที่น้อยใจแม่ ความนับถือก็อาจจะหายไปด้วย เด็กวัยนี้เริ่มมีโลกส่วนตัว สร้างอัตลักษณ์ของตัวเอง มากกว่าจะฟังคำสั่งของใคร เมื่อพี่ชายที่คิดว่าเป็นภาระถูกปลดลงจากบ่า โดนใบดำก็แบนไปเป็นปี อิสระเสรีก็อยู่ในอุ้งมือ โด่งตัดสินใจไปซ้อมที่สโมสร และดูมีความสุขมากกว่าที่เคย ชีวิตที่ตอนนี้จะทำอะไรได้ดังใจปรารถนา เวลานั้นมาถึงแล้ว ไม่มีอะไร หรือ ใครจะฉุดรั้งโด่งได้อีกต่อไป
ส่วนยิม ... จากปัญหาในวันนั้น แม่ตั้มก็ตัดสินใจส่งยิมไปสถานบำบัด ข้อนี้เข้าใจได้ ... คิดว่าหลังจากเหตุการณ์ที่สนามแข่งเกิดขึ้น คงเกิดรอยร้าวระหว่างยิมกับโด่ง และ คราวนี้โด่งก็คงไม่ให้ความร่วมมือเหมือนเคยแล้ว นอกจากนั้นแม่ตั้มก็คงคิดว่าถึงเวลาเสียทีที่ลูกจะต้องอยู่ให้เป็น รวมทั้งเป็นการลดอารมณ์ระอุภายในบ้านด้วย มันก็น่าสะเทือนใจอยู่ที่ความสุขน้อยนิดของยิมจะถูกพรากเอาไปแบบไม่ทันตั้งตัว กีฬาที่ทำได้ดี บัดนี้ไปซ้อมก็ไม่ได้ แข่งก็ไม่ได้ บ้านที่เป็นสถานที่พักพิงอันอบอุ่นปลอดภัย โลกใบเล็ก ๆ กับคนที่ยิมรักก็อยู่ด้วยไม่ได้เสียแล้ว
ก็น่าคิดว่าเส้นทางชีวิตของแต่ละคนจะเป็นอย่างไรต่อไป
หรือถึงเวลาที่จะต้องแยกกันไปคนละทางจริง ๆ
ป.ล. ในแง่มุมของออทิสติกนี้ เราอดนึกถึง Walk my way ซีรีส์ญี่ปุ่นไม่ได้ แต่เรื่องนั้นตัวเอกที่เป็นออฯ ทำงานหาเลี้ยงตัวเอง และ สุดท้ายคือพยายามจะเติบโตแล้วเป็นอิสระจากครอบครัว เรื่องนี้ก็น่าสนใจมากค่ะซีรีส์เก่าแต่ถือว่าระดับขึ้นหิ้ง โทนเรื่องจะต่างกันหน่อย Side by Side เป็นประเด็นในครอบครัว แต่ Walk my way คือ ความพยายามในการดำเนินชีวิตของผู้มีอาการออทิสติกในชีวิตประจำวัน (ถ้าแม่ตั้มได้ดูเรื่องนี้แม่ตั้มคงอยากให้พี่ยิมเดินทางเดียวกันกับเทรุอากิคุง)