Side by Side
พี่น้องลูกขนไก่
ถ้า GDH เป็นวง Orchestra
เพลง SidebySide ที่บรรเลงมาตลอด 8 สัปดาห์ก็ไพเราะลึกซึ้งกินใจ
คนแต่งเพลงก็บรรจงเขียนเนื้อเพลงที่"จับใจ"ไปทุกโน้ต คนเรียบเรียงเสียงประสานก็วางจังหวะหนักเบา
คนคัดเลือกนักดนตรีก็"ตาถึง" ที่สุด นักดนตรีชุดนี้ เลอค่ามากๆ นักดนตรีทั้งวงก็ล้วนแต่มืออาชีพ ปล่อยของกันเต็มที่
วาทยากรก็ตีความหมายของบทเพลงและดึงความสัมพันธ์ตลอดจนศักยภาพของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นสอดผสานให้รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน
ส่วนที่ดีที่สุดของเรื่องนี้ ไม่ใช่ส่วนใดส่วนหนึ่ง แต่คือ ทุกส่วน บทละครที่เข้าใจ"ความพิเศษ" ของภาวะออทิสซึม และ แปลออกมาได้อย่างแยบยล อย่างสร้างสรรที่สุดเท่าที่เคยดูมา ไม่แพ้ภาพยนตร์ต่างประเทศเลย
ไม่ใช่เฉพาะความเข้าใจในภาวะออทิสติกเท่านั้น ยังรวมไปถึง ความเข้าใจในความเป็นจริงที่ออทิสติกมีผลกระทบต่อพ่อแม่ พี่น้อง เพื่อนและคนในสังคมด้วย
บทละครถูกทำให้เป็นจริง ผ่านนักแสดงที่ทำการบ้านมาอย่างดี แสดงเหมือนไม่ได้แสดง อารมณ์ที่รับส่งกัน สีหน้า ท่าทาง และ แววตา บอกให้รู้ว่า "มันใช่ มัน so real"
แม่ตั้ม - เกิดเป็นแม่ตั้มนี่ต้อง "Strong" แค่ไหน ลูกมีภาวะออทิสซึม สามีนอกใจไปมีลูกกับน้องสาว สามีเสียชีวิต ยังสามารถให้อภัย รับน้องสาวกับลูกกลับมาอยู่ด้วยกัน ต้องทำงาน การเลี้ยงลูกที่ต้องแก้ปัญหาตลอดเวลา แบกรับความเครียดในชีวิตอย่างที่สุด ยิ่งไปกว่านั้น การเลี้ยงลูกบนความเครียดและความคาดหวังที่ไม่เคยสมหวัง ความรักที่ได้รับความเกลียดชังเป็นการตอบแทน มันต้อง เข้มแข็ง และ อดทนถึงขั้นสุดจริงๆ
คุณเปิ้ล หัทยา เป็นแม่ตั้มที่สมบูรณ์แบบมาก ภายนอกดูเข้มแข็ง แบกรับทุกอย่าง ในความเป็นแม่ ความลำบากทุกอย่างทนได้ ยกเว้น "การที่ลูกไม่รัก" หัวใจแม่เจ็บช้ำที่สุดแล้ว
แม่แตง - ความรู้สึกผิดกับพี่สาว ทำให้แม่แตงทุ่มเทความรัก ความเอาใจใส่ทั้งหมดไปให้พี่ยิม เด็กแบบพี่ยิมต้องการความรัก เอาใจใส่ไม่ใช่ความสงสาร และ การมองหาศักยภาพ เพื่อส่งเสริมต่อยอดและใช้เพื่อสร้างความ"ผูกพัน" ระหว่างกันและกัน แต่ในขณะเดียวกัน แม่แตงลืมดูแลความรู้สึกของลูกตัวเอง ที่แม้จะดูสมบูรณ์แบบ ทุกคนก็ต้องการความรักและเอาใจใส่ ไม่ใช่แค่คำพูดว่ารัก แต่ต้องแสดงให้เห็นด้วยว่ารัก
คุณสู่ขวัญ เป็นแม่แตงได้ลงตัว ความห่วงใย ความละมุนละไม อดทน บรรจง "ปั้น" พี่ยิม ไม่มีที่ติเลย
น้องโด่ง - คนสำคัญที่ทำให้พี่ยิมก้าวข้ามข้อจำกัดของตัวเอง ก็คือ น้องโด่งนี่แหละ เด็กแบบพี่ยิมต้องการ Buddy คอยทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ช่วยเหลือใหกำลังใจ แต่หัวใจทุกคนมีช่องว่างที่ต้องการความรักมาเติมเต็ม ต้องการเป็น"คนสำคัญ" ของพ่อแม่
น้องสกาย เป็นน้องโด่งแบบนั้น นาทีของความขัดแย้งในหัวใจ ที่ต้องเลือกระหว่างทำตามความต้องการของตัวเอง หรือ ทำเพื่อพี่ยิม หรือ นาทีที่ต้องการแม่ แต่แสดงออกไม่ได้ น้องสกายเอาใจป้าไป
พี่ยิม - ไม่รู้ว่าจะบรรยายแบบไหนให้ตรงกับใจ พี่ยิมเป็นตัวแทนของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีภาวะออทิสติก ใครว่าเค้าไร้หัวใจ ไม่มีสังคม จริงๆแล้วไม่ใช่เลย หัวใจเค้าสะอาดบริสุทธิ์ใสซื่อ กลมไม่มีเหลี่ยมคม รักคือรัก ไม่มีเงื่อนไข ไม่มีข้อแม้ เค้าก็เหมือนกับทุกคน ต้องการความรัก และมากไปกว่านั้นคือ ต้องการโอกาสและเวทีที่จะแสดงความสามารถ ไม่ใช่ไม่อยากเป็น"คนปกติ" แต่มันทำยาก มันต้องใช้เวลาและความพยายามมากมายเท่าทวีคูณ
น้องต่อ (ของป้า) อยากจะมีใจซักร้อยดวง จะเทให้น้องต่อทั้งหมด การแสดงเป็นคนที่ไม่เหมือนคนอื่น และต้องทำให้เหมือน มันยากขั้นสุด สำหรับแม่ที่มีลูกเป็นเหมือนพี่ยิม ป้าขอส่งกอดและหัวใจทั้งหมดสำหรับความพยายามที่จะเป็นพี่ยิมในแบบฉบับของตัวเอง มันใช่ และ มัน จริง
น้องหน่อย - สาวน้อยผู้กุมหัวใจของพี่ยิมและน้องโด่งไว้ได้ เธอมีความรัก puppy love ให้กับน้องโด่ง มีความเข้าใจ ความจริงใจให้กับพี่ยิม เธอเป็นกำลังใจให้น้องโด่ง ขณะเดียวกัน ก็ใช้ความเข้าใจเปลี่ยนความรักที่พี่ยิมมีให้เป็นความรักแบบพี่น้อง และ ช่วยพี่ยิมสร้างสมาธิผ่านการขึ้นเอ็นไม้แบตด้วยวิธีของเธอ ถ้าน้องโด่งเป็น Buddy มือหนึ่ง น้องหน่อยก็เป็น Buddy มือรองได้ไม่แพ้กัน
น้องเบลล์ เป็นน้องหน่อยได้น่ารัก มีความเอียงอายแบบสาวน้อยแรกรักกับน้องโด่ง มีความปรารถนาดีกับพี่ยิมในวันที่พี่ยิมเสียใจที่ถูกลงโทษห้ามแข่ง ให้กำลังใจพี่ยิม น้องเบลล์ทำได้กีจริงๆ
ไม่พูดถึง พี่ยิม ตอนเด็กไม่ได้ น้องเขาแสดงได้ดีและ "ใช่" มาก ท่าทาง อาการต่างๆ เก็บรายละเอียดทุกเม็ดจริงๆ
ฉากประทับใจ (Spoil มาก)
ตอนที่ประทับใจที่สุดไม่ใช่ตอนที่ 8 ที่เป็นตอนจบ แต่เป็นตอนที่ 7 ที่เรื่องราวต่างๆกำลังใกล้ถึงจุดสูงสุดของเรื่อง
ความดีใจของแม่ตั้มที่พี่ยิมชนะการแข่งขันเล็กๆที่จัดภายในกันเอง และพี่ยิมให้บุหรี่แม่ตั้มแทนรางวัล
เพราะคิดว่า แม่ตั้มชอบสูบบุหรี่ คงจะดีใจมาด แม่ตั้มร้องไห้ แล้วพี่ยิมกอดหอมปลอบใจ สบตาพร้อมบอกว่า ไม่ร้องไห้นะ
มันคือรางวัลที่ย่ิงใหญ่ที่สุดของการเป็นแม่ของลูกที่มีภาวะออทิสติก การเห็นใจ เข้าใจที่เป็นอัตโนมัติโดยไม่ได้ถูกสั่ง มันเป็นความปิติที่เห็นลูกก้าวผ่านไปอีกขั้นหนึ่งของชีวิต มันทำให้ลบความเหนื่อยล้า ลืมความทุกข์ที่ผ่านมาไปจนหมด ขณะเดียวกันก็ทำให้เห็นว่าลูกคิด และรู้สึกยังไงกับแม่ตั้ม แม่ตั้มก็ถึงเวลาเปลี่ยนแปลงความคิดตัวเองเช่นกัน
จริงๆชอบหลายฉาก ไม่อยาก spoil มากไปกว่านี้
ถ้าจะมีส่วนไหนที่คิดว่า ไม่ค่อยชอบ ตอนแรกๆก็คิดว่า น้องต่อ design อาการออทิสติกของพี่ยิม เกินจริงไปนิด แต่พอผ่านไปก็คิดว่า มันไม่ใช่เรื่องสำคัญ. เพราะทุกคนก็มีความเป็นตัวตนที่ต่างกันออกไป และการแสดงของน้องต่อก็ที่สุดจริงๆ
Highly recommended สำหรับทุกครอบครัว
เข้าไปดูย้อนหลังได้ที่ Line TV ยอด view ตอนแรกประมาณ 3,000,000 กว่าแล้ว นั่นแปลว่า มีคน 3,000,000 คน รู้จัก"ออทิสติก" มากขึ้น
ขอบคุณ GDH และ ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับ Side by Side ที่สร้างละครที่ให้มุมมองเชิงบวก ก้าวข้าม ความไม่เหมือน ความต่าง ข้อด้อย ความสงสาร ของภาวะออทิสติกไปได้อย่างสวยงาม
ขอส่งคำขอบคุณ ให้ทุกๆฝ่ายใน Series เรื่องนี้ในฐานะของแม่ ที่ใช้ชีวิตกับบุคคลแบบ "พี่ยิม"
และขอเป็นกำลังใจให้กับ"พี่ยิม" "น้องโด่ง" "แม่แตง" "แม่ตั้ม" ทุกคน
บนโลกใบนี้ ขอให้มีความเข้มแข็ง อดทน และพยายามอยู่เสมอ
ขอเพียงมีความรักที่มากพอ
ความรักจะนำทางเราไป ในเส้นทางพิเศษเสมอ
แม้เส้นทางอาจจะยาวไกล ไม่เห็นจุดหมาย
แต่เราจะใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ระหว่างการเดินทางเหล่านั้น
แม่ก้อย
กันยายน 2560
Side by Side ในมุมมองของแม่ "พี่ยิม" ในชีวิตจริง
พี่น้องลูกขนไก่
ถ้า GDH เป็นวง Orchestra
เพลง SidebySide ที่บรรเลงมาตลอด 8 สัปดาห์ก็ไพเราะลึกซึ้งกินใจ
คนแต่งเพลงก็บรรจงเขียนเนื้อเพลงที่"จับใจ"ไปทุกโน้ต คนเรียบเรียงเสียงประสานก็วางจังหวะหนักเบา
คนคัดเลือกนักดนตรีก็"ตาถึง" ที่สุด นักดนตรีชุดนี้ เลอค่ามากๆ นักดนตรีทั้งวงก็ล้วนแต่มืออาชีพ ปล่อยของกันเต็มที่
วาทยากรก็ตีความหมายของบทเพลงและดึงความสัมพันธ์ตลอดจนศักยภาพของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นสอดผสานให้รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน
ส่วนที่ดีที่สุดของเรื่องนี้ ไม่ใช่ส่วนใดส่วนหนึ่ง แต่คือ ทุกส่วน บทละครที่เข้าใจ"ความพิเศษ" ของภาวะออทิสซึม และ แปลออกมาได้อย่างแยบยล อย่างสร้างสรรที่สุดเท่าที่เคยดูมา ไม่แพ้ภาพยนตร์ต่างประเทศเลย
ไม่ใช่เฉพาะความเข้าใจในภาวะออทิสติกเท่านั้น ยังรวมไปถึง ความเข้าใจในความเป็นจริงที่ออทิสติกมีผลกระทบต่อพ่อแม่ พี่น้อง เพื่อนและคนในสังคมด้วย
บทละครถูกทำให้เป็นจริง ผ่านนักแสดงที่ทำการบ้านมาอย่างดี แสดงเหมือนไม่ได้แสดง อารมณ์ที่รับส่งกัน สีหน้า ท่าทาง และ แววตา บอกให้รู้ว่า "มันใช่ มัน so real"
แม่ตั้ม - เกิดเป็นแม่ตั้มนี่ต้อง "Strong" แค่ไหน ลูกมีภาวะออทิสซึม สามีนอกใจไปมีลูกกับน้องสาว สามีเสียชีวิต ยังสามารถให้อภัย รับน้องสาวกับลูกกลับมาอยู่ด้วยกัน ต้องทำงาน การเลี้ยงลูกที่ต้องแก้ปัญหาตลอดเวลา แบกรับความเครียดในชีวิตอย่างที่สุด ยิ่งไปกว่านั้น การเลี้ยงลูกบนความเครียดและความคาดหวังที่ไม่เคยสมหวัง ความรักที่ได้รับความเกลียดชังเป็นการตอบแทน มันต้อง เข้มแข็ง และ อดทนถึงขั้นสุดจริงๆ
คุณเปิ้ล หัทยา เป็นแม่ตั้มที่สมบูรณ์แบบมาก ภายนอกดูเข้มแข็ง แบกรับทุกอย่าง ในความเป็นแม่ ความลำบากทุกอย่างทนได้ ยกเว้น "การที่ลูกไม่รัก" หัวใจแม่เจ็บช้ำที่สุดแล้ว
แม่แตง - ความรู้สึกผิดกับพี่สาว ทำให้แม่แตงทุ่มเทความรัก ความเอาใจใส่ทั้งหมดไปให้พี่ยิม เด็กแบบพี่ยิมต้องการความรัก เอาใจใส่ไม่ใช่ความสงสาร และ การมองหาศักยภาพ เพื่อส่งเสริมต่อยอดและใช้เพื่อสร้างความ"ผูกพัน" ระหว่างกันและกัน แต่ในขณะเดียวกัน แม่แตงลืมดูแลความรู้สึกของลูกตัวเอง ที่แม้จะดูสมบูรณ์แบบ ทุกคนก็ต้องการความรักและเอาใจใส่ ไม่ใช่แค่คำพูดว่ารัก แต่ต้องแสดงให้เห็นด้วยว่ารัก
คุณสู่ขวัญ เป็นแม่แตงได้ลงตัว ความห่วงใย ความละมุนละไม อดทน บรรจง "ปั้น" พี่ยิม ไม่มีที่ติเลย
น้องโด่ง - คนสำคัญที่ทำให้พี่ยิมก้าวข้ามข้อจำกัดของตัวเอง ก็คือ น้องโด่งนี่แหละ เด็กแบบพี่ยิมต้องการ Buddy คอยทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ช่วยเหลือใหกำลังใจ แต่หัวใจทุกคนมีช่องว่างที่ต้องการความรักมาเติมเต็ม ต้องการเป็น"คนสำคัญ" ของพ่อแม่
น้องสกาย เป็นน้องโด่งแบบนั้น นาทีของความขัดแย้งในหัวใจ ที่ต้องเลือกระหว่างทำตามความต้องการของตัวเอง หรือ ทำเพื่อพี่ยิม หรือ นาทีที่ต้องการแม่ แต่แสดงออกไม่ได้ น้องสกายเอาใจป้าไป
พี่ยิม - ไม่รู้ว่าจะบรรยายแบบไหนให้ตรงกับใจ พี่ยิมเป็นตัวแทนของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีภาวะออทิสติก ใครว่าเค้าไร้หัวใจ ไม่มีสังคม จริงๆแล้วไม่ใช่เลย หัวใจเค้าสะอาดบริสุทธิ์ใสซื่อ กลมไม่มีเหลี่ยมคม รักคือรัก ไม่มีเงื่อนไข ไม่มีข้อแม้ เค้าก็เหมือนกับทุกคน ต้องการความรัก และมากไปกว่านั้นคือ ต้องการโอกาสและเวทีที่จะแสดงความสามารถ ไม่ใช่ไม่อยากเป็น"คนปกติ" แต่มันทำยาก มันต้องใช้เวลาและความพยายามมากมายเท่าทวีคูณ
น้องต่อ (ของป้า) อยากจะมีใจซักร้อยดวง จะเทให้น้องต่อทั้งหมด การแสดงเป็นคนที่ไม่เหมือนคนอื่น และต้องทำให้เหมือน มันยากขั้นสุด สำหรับแม่ที่มีลูกเป็นเหมือนพี่ยิม ป้าขอส่งกอดและหัวใจทั้งหมดสำหรับความพยายามที่จะเป็นพี่ยิมในแบบฉบับของตัวเอง มันใช่ และ มัน จริง
น้องหน่อย - สาวน้อยผู้กุมหัวใจของพี่ยิมและน้องโด่งไว้ได้ เธอมีความรัก puppy love ให้กับน้องโด่ง มีความเข้าใจ ความจริงใจให้กับพี่ยิม เธอเป็นกำลังใจให้น้องโด่ง ขณะเดียวกัน ก็ใช้ความเข้าใจเปลี่ยนความรักที่พี่ยิมมีให้เป็นความรักแบบพี่น้อง และ ช่วยพี่ยิมสร้างสมาธิผ่านการขึ้นเอ็นไม้แบตด้วยวิธีของเธอ ถ้าน้องโด่งเป็น Buddy มือหนึ่ง น้องหน่อยก็เป็น Buddy มือรองได้ไม่แพ้กัน
น้องเบลล์ เป็นน้องหน่อยได้น่ารัก มีความเอียงอายแบบสาวน้อยแรกรักกับน้องโด่ง มีความปรารถนาดีกับพี่ยิมในวันที่พี่ยิมเสียใจที่ถูกลงโทษห้ามแข่ง ให้กำลังใจพี่ยิม น้องเบลล์ทำได้กีจริงๆ
ไม่พูดถึง พี่ยิม ตอนเด็กไม่ได้ น้องเขาแสดงได้ดีและ "ใช่" มาก ท่าทาง อาการต่างๆ เก็บรายละเอียดทุกเม็ดจริงๆ
ฉากประทับใจ (Spoil มาก)
ตอนที่ประทับใจที่สุดไม่ใช่ตอนที่ 8 ที่เป็นตอนจบ แต่เป็นตอนที่ 7 ที่เรื่องราวต่างๆกำลังใกล้ถึงจุดสูงสุดของเรื่อง
ความดีใจของแม่ตั้มที่พี่ยิมชนะการแข่งขันเล็กๆที่จัดภายในกันเอง และพี่ยิมให้บุหรี่แม่ตั้มแทนรางวัล
เพราะคิดว่า แม่ตั้มชอบสูบบุหรี่ คงจะดีใจมาด แม่ตั้มร้องไห้ แล้วพี่ยิมกอดหอมปลอบใจ สบตาพร้อมบอกว่า ไม่ร้องไห้นะ
มันคือรางวัลที่ย่ิงใหญ่ที่สุดของการเป็นแม่ของลูกที่มีภาวะออทิสติก การเห็นใจ เข้าใจที่เป็นอัตโนมัติโดยไม่ได้ถูกสั่ง มันเป็นความปิติที่เห็นลูกก้าวผ่านไปอีกขั้นหนึ่งของชีวิต มันทำให้ลบความเหนื่อยล้า ลืมความทุกข์ที่ผ่านมาไปจนหมด ขณะเดียวกันก็ทำให้เห็นว่าลูกคิด และรู้สึกยังไงกับแม่ตั้ม แม่ตั้มก็ถึงเวลาเปลี่ยนแปลงความคิดตัวเองเช่นกัน
จริงๆชอบหลายฉาก ไม่อยาก spoil มากไปกว่านี้
ถ้าจะมีส่วนไหนที่คิดว่า ไม่ค่อยชอบ ตอนแรกๆก็คิดว่า น้องต่อ design อาการออทิสติกของพี่ยิม เกินจริงไปนิด แต่พอผ่านไปก็คิดว่า มันไม่ใช่เรื่องสำคัญ. เพราะทุกคนก็มีความเป็นตัวตนที่ต่างกันออกไป และการแสดงของน้องต่อก็ที่สุดจริงๆ
Highly recommended สำหรับทุกครอบครัว
เข้าไปดูย้อนหลังได้ที่ Line TV ยอด view ตอนแรกประมาณ 3,000,000 กว่าแล้ว นั่นแปลว่า มีคน 3,000,000 คน รู้จัก"ออทิสติก" มากขึ้น
ขอบคุณ GDH และ ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับ Side by Side ที่สร้างละครที่ให้มุมมองเชิงบวก ก้าวข้าม ความไม่เหมือน ความต่าง ข้อด้อย ความสงสาร ของภาวะออทิสติกไปได้อย่างสวยงาม
ขอส่งคำขอบคุณ ให้ทุกๆฝ่ายใน Series เรื่องนี้ในฐานะของแม่ ที่ใช้ชีวิตกับบุคคลแบบ "พี่ยิม"
และขอเป็นกำลังใจให้กับ"พี่ยิม" "น้องโด่ง" "แม่แตง" "แม่ตั้ม" ทุกคน
บนโลกใบนี้ ขอให้มีความเข้มแข็ง อดทน และพยายามอยู่เสมอ
ขอเพียงมีความรักที่มากพอ
ความรักจะนำทางเราไป ในเส้นทางพิเศษเสมอ
แม้เส้นทางอาจจะยาวไกล ไม่เห็นจุดหมาย
แต่เราจะใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ระหว่างการเดินทางเหล่านั้น
แม่ก้อย
กันยายน 2560