อย่าเพิ่งมโนต่อเองนะคะ ว่าหลังประโยคหัวข้อเรื่องจะเป็น 'ที่ทำให้รวย' ไม่ใช่อย่างน้านนน ผู้เขียนมีประสบการณ์ในบริษัทธุรกิจเครื่องสำอางแห่งหนึ่งมากว่า 7 ปีแล้ว และเคยได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องนี้ที่กรมอุตสาหกรรมเมื่อประมาณ 3 เดือนที่แล้ว เพิ่งมานึกได้ว่าน่าจะทำอะไรที่บันทึกไว้เป็นประสบการณ์ของเรา และนำมาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์นี้เล่าสู่กันฟังดีกว่าว่าช่องทางการจัดจำหน่ายเครื่องสำอางนี้มีอะไรบ้าง เหมาะกับที่คุณกำลังทำอยู่มั้ย หวังว่าคงมีประโยชน์กับผู้สนใจไม่มากก็น้อยนะคะ
จากประสบการณ์ที่ทำมา ช่องทางการจัดจำหน่ายเครื่องสำอางแบ่งได้เป็นประเภทต่าง ๆ ซึ่งจะหนีไม่พ้นประเภทต่าง ๆ เหล่านี้ค่ะ
1. Standalone Store
2. Traditional Trade
3. Modern Trade
4. Online Channels / E Commerce
5. Export
6. Dropship
เรามาคุยเกี่ยวกับแบบแรกกันก่อนค่ะ
Stand Alone Store
ร้านค้าจำหน่ายเครื่องสำอางของแบรนด์โดยเฉพาะ เป็นร้านที่มีเอกลักษณ์เป็นของแบรนด์เอง สร้าง Image ให้แบรนด์ได้เป็นอย่างดี สร้างความรู้จักให้กับกลุ่มเป้าหมายได้ดี
ร้านแบบนี้จะเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายที่ดึงดูดลูกค้าได้มาก ๆ จะต้องตั้งอยู่บน Location ที่เด่น ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด เคยเห็นร้าน Innisfree ที่อยู่สยามแสควร์มั้ยคะ ร้านนั้นเป็น Anchor Store เชียวล่ะ เป็นร้านแห่งแรกของ Innisfree (ที่ต้องพูดถึง Innisfree เพราะร้านเขาเด่นมาก ช่วงที่ Innisfree เพิ่งเปิด ผู้เขียนก็ไม่ได้ไปสยามแสควร์นาน พอผ่านไปเจอ Innisfree โอ้โฮ โดดเด่นมาก เพราะเมื่อก่อนไม่เคยเห็นมี) พอมีร้านแรกที่เป็นธงของแบรนด์ ก็ค่อย ๆ ขยายสาขาออกไปตามห้างต่าง ๆ (ก็ต้องเลือกสาขาเหมือนกันนะ เพราะ Location ก็หมายถึงจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการนั่นเอง) ค่าเช่าที่ของแต่ละ Location ก็ไม่น้อย เรียกได้ว่าสูงมาก คิดกันต่อตร.ม. มีทั้งล่วงหน้า มีทั้งส่วนกลาง ก้อนแรกที่จ่ายอาจต้องจ่าย 6 เดือนล่วงหน้ากันเลย ระยะเวลาเช่าส่วนใหญ่ก็ประมาณ 3 ปี ค่าเช่าต่อเดือนก็เป็นหลักแสนหลักล้านแล้ว (คิดกันดูสิคะ ว่าต้องทำยอดขายขนาดไหนถึงจะมีเงินจ่ายค่าเช่ากันเนี่ย)
แต่เชื่อมั้ยคะ เมื่อเข้าไปสอบถามแต่ละห้างนั้น ถึงคุณเตรียม Budget สำหรับที่จะเข้าไปจำหน่ายแบรนด์คุณแล้ว ใช่ว่าจะมีพื้นที่บน Location ที่คุณอยากได้ให้คุณนะคะ มันหายากจริง ๆ คุณอาจจะอยู่ใน waiting list อีกยาวเลยก็เป็นได้ นอกจากว่าคุณจะเจ๋งจริง แบรนด์ดังจริง มี lay out ร้านค้าสวยงามโชว์ให้ห้างดู คุณอาจจะสามารถแทรก waiting list ได้พื้นที่ทันที
นอกจากค่าเช่าที่สูง ยังต้องคำนึงค่าใช้จ่ายด้านอื่น ๆ ด้วยนะคะ ค่าพนักงาน ค่าอุปกรณ์สำนักงาน ค่าน้ำค่าไฟ ค่าโปรแกรมการขายหน้าร้าน วิธีการจัดการให้มีพนักงานพร้อมตลอดเวลาไม่มีวันหยุด การดูแลควบคุมสต๊อกสินค้าให้ตรง รูปแบบนี้เหมาะกับบริษัทใหญ่ที่มีเงินลงทุน หรือเป็นบริษัทที่นำเข้าแบรนด์ต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายค่ะ
บริษัทของผู้เขียนนำเข้าเครื่องสำอางจากเกาหลีค่ะ ถ้าถามเกาหลีถึงช่องทางการจัดจำหน่ายที่นิยมแล้วล่ะก็ ประเภท Stand Alone นี่ล่ะค่ะที่เป็นที่นิยม หลายคนคงเคยไปเที่ยวเกาหลีมาแล้ว และได้เดินที่เมียงดงกันมาแล้ว คุณจะเห็นร้านค้าเครื่องสำอางของแบรนด์ดังต่าง ๆ ที่เป็นที่รู้จักเต็มไปหมด ที่บ้านเราประเทศไทยก็จะเห็นช่องทางการจัดจำหน่ายประเภทนี้ เช่น Innisfree, Skinfood, Etude, The Face Shop เป็นต้น สำหรับแบรนด์ของไทย เช่น Beauty Buffet, Oriental Princess, Karmart เป็นต้น
สรุป
ข้อดี
บริหารจัดการ ราคา โปรโมชั่น การตลาด เพื่อให้ได้ผลกำไรที่ชัดเจนของแบรนด์ได้เอง ในรูปแบบสากล
สร้าง Brand Awareness และ Brand Image ได้ดี
ข้อเสีย
ลงทุนสูง ค่าใช้จ่ายสูง
Prime Location หายากมากขึ้น
ต้องรับมือกับการจัดการเกี่ยวกับบุคลากรในร้านให้พร้อม เนื่องจากร้านไม่มีวันหยุด
นี่ยังมีอีกหลายประเภทที่จะมาเล่าให้ฟัง นอกจากประเภทของช่องทางการจัดจำหน่ายแล้วก็มีในเรื่องรูปแบบการขาย | GP | ค่าใช้จ่ายในการเข้าจำหน่ายช่องทางบางประเภท | และราคาทุนสินค้าที่คิดกัน สนใจติดตามกันนะคะ ขอบคุณมากๆ ค่ะ ถ้ามีคนอ่าน เราก็มีความสุขนะ ว่าบทความนี้มีประโยชน์ต่อคนอื่น
ZimZam
ช่องทางการจัดจำหน่ายเครื่องสำอาง ตอนที่ 1
จากประสบการณ์ที่ทำมา ช่องทางการจัดจำหน่ายเครื่องสำอางแบ่งได้เป็นประเภทต่าง ๆ ซึ่งจะหนีไม่พ้นประเภทต่าง ๆ เหล่านี้ค่ะ
1. Standalone Store
2. Traditional Trade
3. Modern Trade
4. Online Channels / E Commerce
5. Export
6. Dropship
เรามาคุยเกี่ยวกับแบบแรกกันก่อนค่ะ
Stand Alone Store
ร้านค้าจำหน่ายเครื่องสำอางของแบรนด์โดยเฉพาะ เป็นร้านที่มีเอกลักษณ์เป็นของแบรนด์เอง สร้าง Image ให้แบรนด์ได้เป็นอย่างดี สร้างความรู้จักให้กับกลุ่มเป้าหมายได้ดี
ร้านแบบนี้จะเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายที่ดึงดูดลูกค้าได้มาก ๆ จะต้องตั้งอยู่บน Location ที่เด่น ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด เคยเห็นร้าน Innisfree ที่อยู่สยามแสควร์มั้ยคะ ร้านนั้นเป็น Anchor Store เชียวล่ะ เป็นร้านแห่งแรกของ Innisfree (ที่ต้องพูดถึง Innisfree เพราะร้านเขาเด่นมาก ช่วงที่ Innisfree เพิ่งเปิด ผู้เขียนก็ไม่ได้ไปสยามแสควร์นาน พอผ่านไปเจอ Innisfree โอ้โฮ โดดเด่นมาก เพราะเมื่อก่อนไม่เคยเห็นมี) พอมีร้านแรกที่เป็นธงของแบรนด์ ก็ค่อย ๆ ขยายสาขาออกไปตามห้างต่าง ๆ (ก็ต้องเลือกสาขาเหมือนกันนะ เพราะ Location ก็หมายถึงจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการนั่นเอง) ค่าเช่าที่ของแต่ละ Location ก็ไม่น้อย เรียกได้ว่าสูงมาก คิดกันต่อตร.ม. มีทั้งล่วงหน้า มีทั้งส่วนกลาง ก้อนแรกที่จ่ายอาจต้องจ่าย 6 เดือนล่วงหน้ากันเลย ระยะเวลาเช่าส่วนใหญ่ก็ประมาณ 3 ปี ค่าเช่าต่อเดือนก็เป็นหลักแสนหลักล้านแล้ว (คิดกันดูสิคะ ว่าต้องทำยอดขายขนาดไหนถึงจะมีเงินจ่ายค่าเช่ากันเนี่ย)
แต่เชื่อมั้ยคะ เมื่อเข้าไปสอบถามแต่ละห้างนั้น ถึงคุณเตรียม Budget สำหรับที่จะเข้าไปจำหน่ายแบรนด์คุณแล้ว ใช่ว่าจะมีพื้นที่บน Location ที่คุณอยากได้ให้คุณนะคะ มันหายากจริง ๆ คุณอาจจะอยู่ใน waiting list อีกยาวเลยก็เป็นได้ นอกจากว่าคุณจะเจ๋งจริง แบรนด์ดังจริง มี lay out ร้านค้าสวยงามโชว์ให้ห้างดู คุณอาจจะสามารถแทรก waiting list ได้พื้นที่ทันที
นอกจากค่าเช่าที่สูง ยังต้องคำนึงค่าใช้จ่ายด้านอื่น ๆ ด้วยนะคะ ค่าพนักงาน ค่าอุปกรณ์สำนักงาน ค่าน้ำค่าไฟ ค่าโปรแกรมการขายหน้าร้าน วิธีการจัดการให้มีพนักงานพร้อมตลอดเวลาไม่มีวันหยุด การดูแลควบคุมสต๊อกสินค้าให้ตรง รูปแบบนี้เหมาะกับบริษัทใหญ่ที่มีเงินลงทุน หรือเป็นบริษัทที่นำเข้าแบรนด์ต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายค่ะ
บริษัทของผู้เขียนนำเข้าเครื่องสำอางจากเกาหลีค่ะ ถ้าถามเกาหลีถึงช่องทางการจัดจำหน่ายที่นิยมแล้วล่ะก็ ประเภท Stand Alone นี่ล่ะค่ะที่เป็นที่นิยม หลายคนคงเคยไปเที่ยวเกาหลีมาแล้ว และได้เดินที่เมียงดงกันมาแล้ว คุณจะเห็นร้านค้าเครื่องสำอางของแบรนด์ดังต่าง ๆ ที่เป็นที่รู้จักเต็มไปหมด ที่บ้านเราประเทศไทยก็จะเห็นช่องทางการจัดจำหน่ายประเภทนี้ เช่น Innisfree, Skinfood, Etude, The Face Shop เป็นต้น สำหรับแบรนด์ของไทย เช่น Beauty Buffet, Oriental Princess, Karmart เป็นต้น
สรุป
ข้อดี
บริหารจัดการ ราคา โปรโมชั่น การตลาด เพื่อให้ได้ผลกำไรที่ชัดเจนของแบรนด์ได้เอง ในรูปแบบสากล
สร้าง Brand Awareness และ Brand Image ได้ดี
ข้อเสีย
ลงทุนสูง ค่าใช้จ่ายสูง
Prime Location หายากมากขึ้น
ต้องรับมือกับการจัดการเกี่ยวกับบุคลากรในร้านให้พร้อม เนื่องจากร้านไม่มีวันหยุด
นี่ยังมีอีกหลายประเภทที่จะมาเล่าให้ฟัง นอกจากประเภทของช่องทางการจัดจำหน่ายแล้วก็มีในเรื่องรูปแบบการขาย | GP | ค่าใช้จ่ายในการเข้าจำหน่ายช่องทางบางประเภท | และราคาทุนสินค้าที่คิดกัน สนใจติดตามกันนะคะ ขอบคุณมากๆ ค่ะ ถ้ามีคนอ่าน เราก็มีความสุขนะ ว่าบทความนี้มีประโยชน์ต่อคนอื่น
ZimZam