บอร์ดนกแอร์ พลิกแผนเพิ่มทุนรอบใหม่ เล็งขายหุ้นเพิ่มทุนแก่ผู้ถือหุ้นเดิมอีกครั้ง “กลุ่มจุฬางกูร” พร้อมควักเงิน กดดันบินไทยตัดสินใจอนาคตนกแอร์ ก่อนเพิ่มทุนแบบพีพีบอร์ดชี้ชะตา 10 ส.ค.นี้
ความพยายามในการทำแผนพลิกฟื้นธุรกิจให้กลับมามีกำไรและหาพันธมิตรธุรกิจ เพื่อขายหุ้นเพิ่มทุนของสายการบินนกแอร์ได้ดำเนินการมาร่วม 2 เดือนเศษ ล่าสุดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมบอร์ดวาระพิเศษอีกครั้งเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ซึ่งการหารือเบื้องต้น ที่ประชุมมองว่าการเพิ่มทุนรอบนี้จะยังไม่ใช่การเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง หรือ (พีพี) แต่เป็นการมองถึงการขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม (Right Offering) ของ บมจ. นกแอร์อีกครั้ง หลังจากที่เคยดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 16-22 พฤษภาคม 2560 ซึ่งขายได้ 510.9 ล้านหุ้นได้รับเงินจากการขาย 1,224.6 ล้านบาท
แหล่งข่าวระดับสูงจาก บมจ.นกแอร์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้การเพิ่มทุนรอบใหม่ของนกแอร์คาดว่าจะเป็นการเพิ่มทุนแบบพีพี แต่ด้วยความไม่ชัดเจนของการบินไทยถึงจุดยืนที่ถือหุ้นนกแอร์อยู่ 21.5% และด้วยความที่เป็นรัฐวิสาหกิจ ขณะที่นกแอร์ต้องการเดินหน้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากการบินไทย ยังไม่มีท่าทีที่ชัดเจนว่าจะเพิ่มทุนหรือไม่ กลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Partner) ที่มีความสนใจไม่ว่าจะเป็นสายการบินสกู๊ต สายการบินต้นทุนตํ่าของสิงคโปร์ แอร์ไลน์ส และบริษัท Henan Civil Aviation Development & Investment Co., Ltd. (HNCA) ยักษ์ใหญ่ด้านธุรกิจการบิน จากมณฑลเหอหนาน จีน ก็ยังไม่กล้าเข้ามา แหล่งข่าวกล่าว
อีกทั้งหากการเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง ถ้าได้ราคาไม่ดีหรือไม่ได้ราคาที่เหมาะสม นกแอร์ก็ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการ แต่ด้วย การที่นกแอร์ ยังมีความต้องการใช้เงิน และอยู่ระหว่างทำแผนพลิกฟื้นธุรกิจ ดังนั้นการให้สิทธิการเพิ่มทุนแก่ผู้ถือหุ้นเดิมอีกครั้ง ซึ่งเป็นไปตามสัดส่วนการถือหุ้น ก็จะทำให้การบินไทย ต้องไปพิจารณาว่าการเพิ่มทุนในรอบใหม่นี้จะเพิ่มทุนหรือไม่ โดยทางกลุ่มจุฬางกูร ที่ปัจจุบันเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ (28.93%) นกแอร์ พร้อมที่จะสนับสนุนการเพิ่มทุนรอบใหม่ ซึ่งหากการบินไทยยังคงยืนยันไม่เพิ่มทุนในรอบนี้อีก สัดส่วนการถือหุ้นของการบินไทยในนกแอร์ก็จะลดลงไปอีก
++บอร์ดเคาะ 10 ส.ค.
อย่างไรก็ตามแนวทางการเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมเป็นเพียงการหารือกันเบื้องต้นเท่านั้น ต้องนำเรื่องนี้มาหารือกันในรายละเอียดอีกครั้งเพื่อพิจารณาให้เป็นมติบอร์ด ในการประชุมวาระปกติ วันที่ 10 สิงหาคมนี้ ซึ่งหากบอร์ดเห็นชอบ กระบวนการเพิ่มทุนจะเกิดขึ้นในช่วง 45-70 วันหลังจากบอร์ดมีมติ ส่วนการบินไทยจะเพิ่มทุนหรือไม่คงเป็นเรื่องที่บอร์ดการบินไทย ว่ายังต้องการให้นกแอร์ เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ไทยกรุ๊ปหรือไม่ เพราะขณะนี้การทำแผนพลิกฟื้นธุรกิจของนกแอร์ ถือว่ามีความชัดเจนและรอบด้านมากกว่าเดิม หลังจากก่อนหน้านี้ที่การบินไทย ไม่ยอมเพิ่มทุนในนกแอร์โดยอ้างว่าแผนไม่ชัดเจน
ต่อเรื่องนี้นายสมใจนึก เองตระกูล ประธานคณะกรรมการบริหารบริษัทสายการบินนกแอร์ จำกัด(มหาชน) กล่าวยืนยันว่า แนวทางพิจารณาการเพิ่มทุนรอบใหม่ของนกแอร์ จะมีการประชุมกันในเรื่องนี้ภายในสัปดาห์หน้า
นอกจากนี้ “ฐานเศรษฐกิจ” ยังได้มีโอกาสถามถึงการซื้อหุ้นเพิ่มทุนแบบพีพีในสายการบินนกแอร์ไปยังนายลี ลิก ซิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินสกู๊ต (สิงคโปร์) หรือไม่ ซึ่งได้รับคำตอบจากซีอีโอสกู๊ต ว่า “เราเพิ่งเสร็จสิ้นกระบวนการควบรวมระหว่างสกู๊ตและไทเกอร์แอร์ ในเวลานี้จะโฟกัสที่การเติบโตของสกู๊ต เราจะประกาศเมื่อเวลาที่เหมาะสมถ้ามีความคืบหน้าใหม่ๆ เกี่ยวกับการเป็นหุ้นส่วนกับสายการบินอื่น”
++เพิ่มรายได้จากขยายรูตบิน
ด้านนายปิ่นยศ พิบูลสงคราม ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการตลาดและการขาย สายการบิน นกแอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง แผนพลิกฟื้นธุรกิจให้กลับมามีกำไรว่า เป้าหมายใน 3-5 ปี จะเน้น เพิ่มรายได้จากขยายเส้นทางบิน ผ่านฮับบินที่สนามบินดอนเมือง, เชียงใหม่, ภูเก็ต ซึ่งนกแอร์ต้อง การขยายเส้นทางบินคล้ายกับเข็มนาฬิกา คือ ด้านซ้ายไปเมียนมา เวียดนาม ด้านบนมุ่งสู่จีน ด้านขวา จะไปทางมาเลเซีย อินโดนีเซีย และจะบินเข้าญี่ปุ่น ในเมืองโอกินาวา เพิ่มการใช้งานเครื่องบินจาก 8-9 เที่ยวต่อวันเป็น 11 เที่ยวบินต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นกว่า 20% และมองการขยายฮับการบินใหม่อย่างสุราษฎร์ธานีด้วย ซึ่งการขยายเส้นทางบินเป็นไปตามศักยภาพการลงทุนที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว
ขณะเดียวกันนกแอร์ ยังอยู่ระหว่างเดินตามแผนพลิกฟื้นธุรกิจในระยะสั้น ที่กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ คือ การวางเป้าหมายการเพิ่มรายได้ให้มากกว่าปีที่ผ่านมาที่นกแอร์มีรายได้รวมอยู่ที่ 1.2 หมื่นล้านบาท โดยเน้นกระตุ้นให้เกิดการซื้อตั๋ว โดยนกแอร์จะมีส่วนลดโรงแรมต่างๆ 25% การให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อดึงดูดให้ลูกค้ารู้สึกถึงความคุ้มค่าและการเพิ่มรายได้เสริม โดยเรายกเลิกการแจกขนมฟรี จะแจก แต่นํ้าดื่ม และจะมีการขายอาหารร้อนบนเครื่องบิน การปรับเพิ่มราคา ขายที่นั่งแบบพรีเมียม และการเพิ่มรายการสินค้าที่ระลึกที่ขายบนเครื่อง โดยตั้งเป้าเพิ่มรายได้จากบริการเสริมเหล่านี้เป็น 15% เดิมที่อยู่เพียง 7-9%เท่านั้น
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,284 วันที่ 3 -5 สิงหาคม พ.ศ. 2560
‘จุฬางกูร’ตีปีกฮุบหุ้นนกแอร์
บอร์ดนกแอร์ พลิกแผนเพิ่มทุนรอบใหม่ เล็งขายหุ้นเพิ่มทุนแก่ผู้ถือหุ้นเดิมอีกครั้ง “กลุ่มจุฬางกูร” พร้อมควักเงิน กดดันบินไทยตัดสินใจอนาคตนกแอร์ ก่อนเพิ่มทุนแบบพีพีบอร์ดชี้ชะตา 10 ส.ค.นี้
ความพยายามในการทำแผนพลิกฟื้นธุรกิจให้กลับมามีกำไรและหาพันธมิตรธุรกิจ เพื่อขายหุ้นเพิ่มทุนของสายการบินนกแอร์ได้ดำเนินการมาร่วม 2 เดือนเศษ ล่าสุดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมบอร์ดวาระพิเศษอีกครั้งเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ซึ่งการหารือเบื้องต้น ที่ประชุมมองว่าการเพิ่มทุนรอบนี้จะยังไม่ใช่การเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง หรือ (พีพี) แต่เป็นการมองถึงการขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม (Right Offering) ของ บมจ. นกแอร์อีกครั้ง หลังจากที่เคยดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 16-22 พฤษภาคม 2560 ซึ่งขายได้ 510.9 ล้านหุ้นได้รับเงินจากการขาย 1,224.6 ล้านบาท
แหล่งข่าวระดับสูงจาก บมจ.นกแอร์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้การเพิ่มทุนรอบใหม่ของนกแอร์คาดว่าจะเป็นการเพิ่มทุนแบบพีพี แต่ด้วยความไม่ชัดเจนของการบินไทยถึงจุดยืนที่ถือหุ้นนกแอร์อยู่ 21.5% และด้วยความที่เป็นรัฐวิสาหกิจ ขณะที่นกแอร์ต้องการเดินหน้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากการบินไทย ยังไม่มีท่าทีที่ชัดเจนว่าจะเพิ่มทุนหรือไม่ กลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Partner) ที่มีความสนใจไม่ว่าจะเป็นสายการบินสกู๊ต สายการบินต้นทุนตํ่าของสิงคโปร์ แอร์ไลน์ส และบริษัท Henan Civil Aviation Development & Investment Co., Ltd. (HNCA) ยักษ์ใหญ่ด้านธุรกิจการบิน จากมณฑลเหอหนาน จีน ก็ยังไม่กล้าเข้ามา แหล่งข่าวกล่าว
อีกทั้งหากการเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง ถ้าได้ราคาไม่ดีหรือไม่ได้ราคาที่เหมาะสม นกแอร์ก็ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการ แต่ด้วย การที่นกแอร์ ยังมีความต้องการใช้เงิน และอยู่ระหว่างทำแผนพลิกฟื้นธุรกิจ ดังนั้นการให้สิทธิการเพิ่มทุนแก่ผู้ถือหุ้นเดิมอีกครั้ง ซึ่งเป็นไปตามสัดส่วนการถือหุ้น ก็จะทำให้การบินไทย ต้องไปพิจารณาว่าการเพิ่มทุนในรอบใหม่นี้จะเพิ่มทุนหรือไม่ โดยทางกลุ่มจุฬางกูร ที่ปัจจุบันเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ (28.93%) นกแอร์ พร้อมที่จะสนับสนุนการเพิ่มทุนรอบใหม่ ซึ่งหากการบินไทยยังคงยืนยันไม่เพิ่มทุนในรอบนี้อีก สัดส่วนการถือหุ้นของการบินไทยในนกแอร์ก็จะลดลงไปอีก
++บอร์ดเคาะ 10 ส.ค.
อย่างไรก็ตามแนวทางการเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมเป็นเพียงการหารือกันเบื้องต้นเท่านั้น ต้องนำเรื่องนี้มาหารือกันในรายละเอียดอีกครั้งเพื่อพิจารณาให้เป็นมติบอร์ด ในการประชุมวาระปกติ วันที่ 10 สิงหาคมนี้ ซึ่งหากบอร์ดเห็นชอบ กระบวนการเพิ่มทุนจะเกิดขึ้นในช่วง 45-70 วันหลังจากบอร์ดมีมติ ส่วนการบินไทยจะเพิ่มทุนหรือไม่คงเป็นเรื่องที่บอร์ดการบินไทย ว่ายังต้องการให้นกแอร์ เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ไทยกรุ๊ปหรือไม่ เพราะขณะนี้การทำแผนพลิกฟื้นธุรกิจของนกแอร์ ถือว่ามีความชัดเจนและรอบด้านมากกว่าเดิม หลังจากก่อนหน้านี้ที่การบินไทย ไม่ยอมเพิ่มทุนในนกแอร์โดยอ้างว่าแผนไม่ชัดเจน
ต่อเรื่องนี้นายสมใจนึก เองตระกูล ประธานคณะกรรมการบริหารบริษัทสายการบินนกแอร์ จำกัด(มหาชน) กล่าวยืนยันว่า แนวทางพิจารณาการเพิ่มทุนรอบใหม่ของนกแอร์ จะมีการประชุมกันในเรื่องนี้ภายในสัปดาห์หน้า
นอกจากนี้ “ฐานเศรษฐกิจ” ยังได้มีโอกาสถามถึงการซื้อหุ้นเพิ่มทุนแบบพีพีในสายการบินนกแอร์ไปยังนายลี ลิก ซิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินสกู๊ต (สิงคโปร์) หรือไม่ ซึ่งได้รับคำตอบจากซีอีโอสกู๊ต ว่า “เราเพิ่งเสร็จสิ้นกระบวนการควบรวมระหว่างสกู๊ตและไทเกอร์แอร์ ในเวลานี้จะโฟกัสที่การเติบโตของสกู๊ต เราจะประกาศเมื่อเวลาที่เหมาะสมถ้ามีความคืบหน้าใหม่ๆ เกี่ยวกับการเป็นหุ้นส่วนกับสายการบินอื่น”
++เพิ่มรายได้จากขยายรูตบิน
ด้านนายปิ่นยศ พิบูลสงคราม ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการตลาดและการขาย สายการบิน นกแอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง แผนพลิกฟื้นธุรกิจให้กลับมามีกำไรว่า เป้าหมายใน 3-5 ปี จะเน้น เพิ่มรายได้จากขยายเส้นทางบิน ผ่านฮับบินที่สนามบินดอนเมือง, เชียงใหม่, ภูเก็ต ซึ่งนกแอร์ต้อง การขยายเส้นทางบินคล้ายกับเข็มนาฬิกา คือ ด้านซ้ายไปเมียนมา เวียดนาม ด้านบนมุ่งสู่จีน ด้านขวา จะไปทางมาเลเซีย อินโดนีเซีย และจะบินเข้าญี่ปุ่น ในเมืองโอกินาวา เพิ่มการใช้งานเครื่องบินจาก 8-9 เที่ยวต่อวันเป็น 11 เที่ยวบินต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นกว่า 20% และมองการขยายฮับการบินใหม่อย่างสุราษฎร์ธานีด้วย ซึ่งการขยายเส้นทางบินเป็นไปตามศักยภาพการลงทุนที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว
ขณะเดียวกันนกแอร์ ยังอยู่ระหว่างเดินตามแผนพลิกฟื้นธุรกิจในระยะสั้น ที่กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ คือ การวางเป้าหมายการเพิ่มรายได้ให้มากกว่าปีที่ผ่านมาที่นกแอร์มีรายได้รวมอยู่ที่ 1.2 หมื่นล้านบาท โดยเน้นกระตุ้นให้เกิดการซื้อตั๋ว โดยนกแอร์จะมีส่วนลดโรงแรมต่างๆ 25% การให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อดึงดูดให้ลูกค้ารู้สึกถึงความคุ้มค่าและการเพิ่มรายได้เสริม โดยเรายกเลิกการแจกขนมฟรี จะแจก แต่นํ้าดื่ม และจะมีการขายอาหารร้อนบนเครื่องบิน การปรับเพิ่มราคา ขายที่นั่งแบบพรีเมียม และการเพิ่มรายการสินค้าที่ระลึกที่ขายบนเครื่อง โดยตั้งเป้าเพิ่มรายได้จากบริการเสริมเหล่านี้เป็น 15% เดิมที่อยู่เพียง 7-9%เท่านั้น
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,284 วันที่ 3 -5 สิงหาคม พ.ศ. 2560