ยึดอำนาจบริหารนกแอร์ เรียบร้อยโรงเรียน“จุฬางกูร” ใช้สิทธิผู้ถือหุ้นใหญ่เขย่าบอร์ดก่อนเพิ่มทุนใหม่ ตั้ง“นลินี”รักษาการประธานแทน“สมใจนึก”ลดโควตาเก้าอี้กรรมการ “การบินไทย” สอดคล้องแนวโน้มสัดส่วนหุ้นเหลือ 11% “พาที” เผยหากจำปีไม่สน ผู้ถือหุ้นใหญ่รายอื่นพร้อม
นายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทสายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า นกแอร์ อยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนคณะกรรมการบริหารของบริษัทเพื่อให้สอดรับกับโครงสร้างการถือหุ้นที่ปรับเปลี่ยนไปจากเดิม เนื่องจากปัจจุบันกลุ่มจุฬางกูร เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่กว่า 41% ไปแล้วการบินไทยลดเหลือ 21% ดังนั้นต้องปรับเปลี่ยนบอร์ดให้เหมาะสมกับสัดส่วนการถือหุ้นที่เกิดขึ้น
ปัจจุบันมีนางนลินี งามเศรษฐมาศ นั่งอยู่ในโควตาบอร์ดนกแอร์ 1 คน ขณะที่การบินไทยมีตัวแทน 5 คน การลาออกของบอร์ด 2 คนไม่ใช่เป็นเรื่องที่มีการทะเลาะหรือขัดแย้งกันแต่อย่างใด ซึ่งการลาออกของนายสมใจนึก เองตระกูล เป็นการให้เกียรติกับทางจุฬางกูร เป็นคนเลือกคนที่เหมาะสม และขณะนี้นางนลินี ก็นั่งดูแลรักษาการอยู่
ขณะที่การลาออกของนายณรงค์ชัย ว่องธนะวิโมกษ์ ก็เป็นไปตามความเหมาะสม ทำให้ตัวแทนของการบินไทยในบอร์ดนกแอร์เหลืออยู่ที่ 4 คน ผู้ถือหุ้นก็กำลังจัดในเรื่องนี้อยู่ หากเรียบร้อยก็ประชุมผู้ถือหุ้นแต่งตั้งบอร์ดใหม่
ส่วนการเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม(Right Offering)ของบริษัทรอบใหม่ ในสัดส่วน 1 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ในราคา 1.50 บาทต่อหุ้นที่จะดำเนินการในอีก 45 วันหลังจากนี้การบินไทยหรือผู้ถือหุ้นรายอื่นจะซื้อหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้หรือไม่ ก็ต้องเป็นไปตามการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น ซึ่งหากรอบนี้การบินไทยไม่ซื้อหุ้นเพิ่มทุน สัดส่วนการถือหุ้นของการบินไทยในนกแอร์ ก็คงจะลดลงเหลือราว 10-11% แต่ที่แน่ๆทางกลุ่มจุฬางกูร ยืนยันว่าพร้อมจะเอาหมดอยู่แล้ว ส่วนตนไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญอะไร คราวที่แล้วที่ซื้อหุ้นเพิ่มทุนไม่มาก ก็เพราะมีเงินแค่นั้น
“เราเห็นความตั้งใจของกลุ่มจุฬางกูร ที่ต้องการสนับสนุนให้นกแอร์ไปได้ซึ่งตามแผนพลิกฟื้นธุรกิจเราแจ้งผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าว่าต้องการระดมทุนราว กว่า 3 พันล้านบาท ซึ่งการเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมในครั้งแรก ได้เงินมา 1,200 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเดิมเรามองจะเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจงPP แต่ตอนนี้ยังไม่จำเป็น เพราะผู้ถือหุ้นใหญ่อยากให้ธุรกิจนิ่งก่อน”
อนาคตนกแอร์มีเวลาที่เราจะเลือกได้โดยไม่ต้องรู้สึกกดดันจึงทำให้เกิดการเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นเดิมรอบใหม่ เพื่อระดมทุน 1,700 ล้านบาทมาใช้ในการดำเนินธุรกิจตามแผนซึ่งทางจุฬางกูรก็พร้อมสนับสนุนในเรื่องนี้
ทั้งยังช่วยให้เราเคลียร์เรื่องการบริหารจัดการ ที่ทำให้นกแอร์ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ทำได้เร็วขึ้น ซึ่งมันควรจะเป็นเช่นนั้น เพราะการบริหารนกแอร์อยู่ในรูปเอกชน ทำให้มีความคล่องตัวมากขึ้น ส่วนบทบาทของผมในนกแอร์ ทางกลุ่มจุฬางกูร ก็ให้ผมบริหารจัดการนกแอร์ ตามTurnaround Plan หรือแผนพลิกฟื้นธุรกิจของนกแอร์ให้กลับมามีแวลูสำหรับในอนาคต หากมีคนสนใจในตำแหน่งซีอีโอ หากเราเห็นว่าเป็นคนที่รักนกแอร์จริง มีความรู้ด้านการปฏิบัติงานในธุรกิจการบิน ที่จะเอานกแอร์อยู่ หากเปลี่ยนแปลงไปในทางนี้ ผมก็ไม่ได้เป็นคนยึดติดกับตำแหน่ง เพราะก็ทำมากว่า 13 ปีแล้ว ผมจะอยู่ตรงไหนของนกแอร์ก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มาจากการเมือง ที่ผ่านมาเราเสียเวลากับการเมืองเยอะเกินไป แต่ตอนนี้เราโฟกัสกับการแก้ปัญหาได้เต็มที่
สถานะของนกแอร์ขณะนี้ เราไม่ได้กู้เงินจากธนาคารใดเลย มีเพียงการเจรจาต่อรองกับทางธนาคาร อย่างกสิกรไทย ในเรื่องของการทำ Standby L/C (เลตเตอร์ออฟเครดิต เพื่อการคํ้าประกัน)ในเรื่องของค่าเครื่องบิน ที่เป็น L/C เดิมที่เราจะขอลดลงมา เพราะเราเอาเครื่องบินเก่าออกไปจากฝูงบินราว 5 ลำ และเรายังชะลอการรับมอบเครื่องบินใหม่ และการขายหุ้นเพิ่มทุนรอบนี้ ก็จะทำให้นกแอร์มีสภาพคล่อง ระหว่างรอการเติบโตของรายได้ในช่วงไฮซีซันนี้
++ให้คนไทยเป็นเจ้าของ
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ประธานการบินไทย เผยว่าการบินไทยได้ติดตามการปรับปรุงแผนฟื้นฟูธุรกิจของนกแอร์มาระยะหนึ่ง เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ในสัปดาห์หน้าการบินไทยจะมีหารือเรื่องการเพิ่มทุนนกแอร์รอบใหม่ หลังจากมีการหารือกับทุนใหม่ คือกลุ่มจุฬางกูรมาบ้าง
“ผมต้องการให้นกแอร์ยังเป็นของคนไทยและทำอย่างไรให้รอด วันนี้นกแอร์เปลี่ยนไปแยะ หลังจากที่ผ่านมาพบว่ามีจุดอ่อน ทั้งเรื่องซ่อมบำรุง ค่าใช้จ่าย การขาดนักบิน ซึ่งเป็นที่จัดการได้และเบาตัวขึ้นแยะ และคาดว่าภายในเดือนสองเดือนยังมีเวลา”
‘จุฬางกูร’ ยึด! นกแอร์
ยึดอำนาจบริหารนกแอร์ เรียบร้อยโรงเรียน“จุฬางกูร” ใช้สิทธิผู้ถือหุ้นใหญ่เขย่าบอร์ดก่อนเพิ่มทุนใหม่ ตั้ง“นลินี”รักษาการประธานแทน“สมใจนึก”ลดโควตาเก้าอี้กรรมการ “การบินไทย” สอดคล้องแนวโน้มสัดส่วนหุ้นเหลือ 11% “พาที” เผยหากจำปีไม่สน ผู้ถือหุ้นใหญ่รายอื่นพร้อม
นายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทสายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า นกแอร์ อยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนคณะกรรมการบริหารของบริษัทเพื่อให้สอดรับกับโครงสร้างการถือหุ้นที่ปรับเปลี่ยนไปจากเดิม เนื่องจากปัจจุบันกลุ่มจุฬางกูร เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่กว่า 41% ไปแล้วการบินไทยลดเหลือ 21% ดังนั้นต้องปรับเปลี่ยนบอร์ดให้เหมาะสมกับสัดส่วนการถือหุ้นที่เกิดขึ้น
ปัจจุบันมีนางนลินี งามเศรษฐมาศ นั่งอยู่ในโควตาบอร์ดนกแอร์ 1 คน ขณะที่การบินไทยมีตัวแทน 5 คน การลาออกของบอร์ด 2 คนไม่ใช่เป็นเรื่องที่มีการทะเลาะหรือขัดแย้งกันแต่อย่างใด ซึ่งการลาออกของนายสมใจนึก เองตระกูล เป็นการให้เกียรติกับทางจุฬางกูร เป็นคนเลือกคนที่เหมาะสม และขณะนี้นางนลินี ก็นั่งดูแลรักษาการอยู่
ขณะที่การลาออกของนายณรงค์ชัย ว่องธนะวิโมกษ์ ก็เป็นไปตามความเหมาะสม ทำให้ตัวแทนของการบินไทยในบอร์ดนกแอร์เหลืออยู่ที่ 4 คน ผู้ถือหุ้นก็กำลังจัดในเรื่องนี้อยู่ หากเรียบร้อยก็ประชุมผู้ถือหุ้นแต่งตั้งบอร์ดใหม่
ส่วนการเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม(Right Offering)ของบริษัทรอบใหม่ ในสัดส่วน 1 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ในราคา 1.50 บาทต่อหุ้นที่จะดำเนินการในอีก 45 วันหลังจากนี้การบินไทยหรือผู้ถือหุ้นรายอื่นจะซื้อหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้หรือไม่ ก็ต้องเป็นไปตามการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น ซึ่งหากรอบนี้การบินไทยไม่ซื้อหุ้นเพิ่มทุน สัดส่วนการถือหุ้นของการบินไทยในนกแอร์ ก็คงจะลดลงเหลือราว 10-11% แต่ที่แน่ๆทางกลุ่มจุฬางกูร ยืนยันว่าพร้อมจะเอาหมดอยู่แล้ว ส่วนตนไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญอะไร คราวที่แล้วที่ซื้อหุ้นเพิ่มทุนไม่มาก ก็เพราะมีเงินแค่นั้น
“เราเห็นความตั้งใจของกลุ่มจุฬางกูร ที่ต้องการสนับสนุนให้นกแอร์ไปได้ซึ่งตามแผนพลิกฟื้นธุรกิจเราแจ้งผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าว่าต้องการระดมทุนราว กว่า 3 พันล้านบาท ซึ่งการเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมในครั้งแรก ได้เงินมา 1,200 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเดิมเรามองจะเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจงPP แต่ตอนนี้ยังไม่จำเป็น เพราะผู้ถือหุ้นใหญ่อยากให้ธุรกิจนิ่งก่อน”
อนาคตนกแอร์มีเวลาที่เราจะเลือกได้โดยไม่ต้องรู้สึกกดดันจึงทำให้เกิดการเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นเดิมรอบใหม่ เพื่อระดมทุน 1,700 ล้านบาทมาใช้ในการดำเนินธุรกิจตามแผนซึ่งทางจุฬางกูรก็พร้อมสนับสนุนในเรื่องนี้
ทั้งยังช่วยให้เราเคลียร์เรื่องการบริหารจัดการ ที่ทำให้นกแอร์ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ทำได้เร็วขึ้น ซึ่งมันควรจะเป็นเช่นนั้น เพราะการบริหารนกแอร์อยู่ในรูปเอกชน ทำให้มีความคล่องตัวมากขึ้น ส่วนบทบาทของผมในนกแอร์ ทางกลุ่มจุฬางกูร ก็ให้ผมบริหารจัดการนกแอร์ ตามTurnaround Plan หรือแผนพลิกฟื้นธุรกิจของนกแอร์ให้กลับมามีแวลูสำหรับในอนาคต หากมีคนสนใจในตำแหน่งซีอีโอ หากเราเห็นว่าเป็นคนที่รักนกแอร์จริง มีความรู้ด้านการปฏิบัติงานในธุรกิจการบิน ที่จะเอานกแอร์อยู่ หากเปลี่ยนแปลงไปในทางนี้ ผมก็ไม่ได้เป็นคนยึดติดกับตำแหน่ง เพราะก็ทำมากว่า 13 ปีแล้ว ผมจะอยู่ตรงไหนของนกแอร์ก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มาจากการเมือง ที่ผ่านมาเราเสียเวลากับการเมืองเยอะเกินไป แต่ตอนนี้เราโฟกัสกับการแก้ปัญหาได้เต็มที่
สถานะของนกแอร์ขณะนี้ เราไม่ได้กู้เงินจากธนาคารใดเลย มีเพียงการเจรจาต่อรองกับทางธนาคาร อย่างกสิกรไทย ในเรื่องของการทำ Standby L/C (เลตเตอร์ออฟเครดิต เพื่อการคํ้าประกัน)ในเรื่องของค่าเครื่องบิน ที่เป็น L/C เดิมที่เราจะขอลดลงมา เพราะเราเอาเครื่องบินเก่าออกไปจากฝูงบินราว 5 ลำ และเรายังชะลอการรับมอบเครื่องบินใหม่ และการขายหุ้นเพิ่มทุนรอบนี้ ก็จะทำให้นกแอร์มีสภาพคล่อง ระหว่างรอการเติบโตของรายได้ในช่วงไฮซีซันนี้
++ให้คนไทยเป็นเจ้าของ
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ประธานการบินไทย เผยว่าการบินไทยได้ติดตามการปรับปรุงแผนฟื้นฟูธุรกิจของนกแอร์มาระยะหนึ่ง เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ในสัปดาห์หน้าการบินไทยจะมีหารือเรื่องการเพิ่มทุนนกแอร์รอบใหม่ หลังจากมีการหารือกับทุนใหม่ คือกลุ่มจุฬางกูรมาบ้าง
“ผมต้องการให้นกแอร์ยังเป็นของคนไทยและทำอย่างไรให้รอด วันนี้นกแอร์เปลี่ยนไปแยะ หลังจากที่ผ่านมาพบว่ามีจุดอ่อน ทั้งเรื่องซ่อมบำรุง ค่าใช้จ่าย การขาดนักบิน ซึ่งเป็นที่จัดการได้และเบาตัวขึ้นแยะ และคาดว่าภายในเดือนสองเดือนยังมีเวลา”