การที่ บมจ.เอเชีย เอวิเอชั่น หรือ AAV ล้มแผนการเข้าซื้อหุ้น บมจ.สายการบินนกแอร์ หรือ NOK เสมือนเป็นการตบหน้าฉาดใหญ่แล้วปลุกให้นักลงทุนดำๆ ต้องเผชิญห่าพายุตามยถากรรม
ช่วงเวลาแห่งสุขช่างแสนสั้น เพียงสัปดาห์กว่า เรื่องของแผนการเปลี่ยนโครงสร้างซึ่ง AAV จะเข้าซื้อหุ้น NOK จากกลุ่มจุฬางกูรทั้งหมด คิดเป็นสัดส่วนถือหุ้น 55.13% เพื่อขึ้นแท่นผู้ถือหุ้นใหญ่ ก็กลายเป็นนิทานหลอกเด็ก รวมถึงวาดฝันหวานล่อนักลงทุนเข้ามาเริงร่ากับราคาหุ้นที่ติดปีกพุ่งสูงขึ้นสวรรคชั้นฟ้า
ดังนกเจ็บที่โผบินสูงไม่ได้นาน สุดท้ายราคาหุ้น NOK จึงดิ่งหนักลงไปกว่า 30% ภายใน 6 วันทำการเท่านั้น!!!!
จริงๆ แล้ว ก่อนหน้านี้สถานการณ์ธุรกิจของนกโลว์คอสต์ตัวนี้ง่อนแง่นมานานทั้งในยุคที่มีซีอีโอคนดังชื่อ "พาที สารสิน" และในยุคต่อๆ มา โดยผลประกอบการเกือบจะเรียกได้ว่าขาดทุนเพิ่มขึ้นทุกปีมาตั้งแต่ปี 56 จากติดลบหลักร้อยล้านต่อปีเพิ่มมาเป็นหลักหลายพันล้านจนกระทั่งปัจจุบันทบกันมาเป็นผลขาดทุนสะสมถึง 8,059.50 ล้านบาทเข้าไปแล้ว
การบริหารงานที่ไม่ดีพอจะสู้กับการแข่งขันดุดันและความผันผวนของต้นทุนราคาน้ำมันอากาศยานได้ ทำให้ผู้ถือหุ้นกลุ่มหลักๆ ได้แก่ "ตระกูลจุฬางกูร" และ "บมจ.การบินไทย" ต่างถูกสะกิดให้ต้องใส่เงินเพิ่มทุนก้อนโตอยู่หลายครั้งเพื่อประคองความอยู่รอด
แม้ NOK จะเคยประกาศว่าปี 62 นี้มีเป้าหมายจะหยุดการขาดทุนให้ได้ด้วยแผนการเพิ่มรายได้ในส่วนสายการบินจะที่ไปต่างประเทศให้มากขึ้น แต่เมื่อย้อนกลับมามองปัจจุบันขณะสามารถกล่าวได้เต็มปากว่าความหวังริบหรี่ หากได้ไม่กลุ่มทุนใหม่หรือโนฮาวดีๆ เข้ามาการขาดทุนสะสมก็จะมากขึ้นจนบีบให้ผู้ถือหุ้นทุกคนทั้งรายใหญ่รายย่อยต้องใส่เงินเพิ่มทุนก้อนโตเป็นครั้งที่ 4 เร็ววกว่าเดิมแน่นอน ซึ่งตอนนี้ส่วนทุนของกิจการก็ติดลบอยู่แล้วถึง 1,467.55 ล้านบาท (เฉพาะส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่)
ชัดเจนแล้วว่า วินาทีนี้ไม่มีใครแยเเสอยากโอบอุ้มอินทรีน้อยขี้โรค ทางออกของ กลุ่ม "จุฬางกูร" จึงเท่ากับถูกบีบให้ต้องเร่ขายส่วนของหุ้นที่ถือไว้ในราคาระดับโลว์คอสต์ให้ได้เร็วที่สุด ก่อนจะนกตัวนี้จะกลายเป็นศพไปเสียก่อน
ส่วนสายการบินแห่งชาติเราเองลำพังตัวเองก็เอาตัวจะไม่รอดอยู่แล้ว จึงไม่น่าจะยินดีเพิ่มทุนจำนวนมากแบบไม่รู้จบเช่นกัน ดังนั้นแล้วไม่ช้าก็เร็ว กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้งหลายจะต้องเร่งหาดีลพันธมิตรใหม่เข้ามารับไม้ต่อแน่นอน แม้ว่าจะต้องเสียเปรียบแค่ไหนก็ตาม
/////////////////////////////
ขอบคุณบทความจาก...
https://www.facebook.com/Share2Trade/
www.Share2Trade.com
NOK ปีกหักไม่มีใครเอา
ช่วงเวลาแห่งสุขช่างแสนสั้น เพียงสัปดาห์กว่า เรื่องของแผนการเปลี่ยนโครงสร้างซึ่ง AAV จะเข้าซื้อหุ้น NOK จากกลุ่มจุฬางกูรทั้งหมด คิดเป็นสัดส่วนถือหุ้น 55.13% เพื่อขึ้นแท่นผู้ถือหุ้นใหญ่ ก็กลายเป็นนิทานหลอกเด็ก รวมถึงวาดฝันหวานล่อนักลงทุนเข้ามาเริงร่ากับราคาหุ้นที่ติดปีกพุ่งสูงขึ้นสวรรคชั้นฟ้า
ดังนกเจ็บที่โผบินสูงไม่ได้นาน สุดท้ายราคาหุ้น NOK จึงดิ่งหนักลงไปกว่า 30% ภายใน 6 วันทำการเท่านั้น!!!!
จริงๆ แล้ว ก่อนหน้านี้สถานการณ์ธุรกิจของนกโลว์คอสต์ตัวนี้ง่อนแง่นมานานทั้งในยุคที่มีซีอีโอคนดังชื่อ "พาที สารสิน" และในยุคต่อๆ มา โดยผลประกอบการเกือบจะเรียกได้ว่าขาดทุนเพิ่มขึ้นทุกปีมาตั้งแต่ปี 56 จากติดลบหลักร้อยล้านต่อปีเพิ่มมาเป็นหลักหลายพันล้านจนกระทั่งปัจจุบันทบกันมาเป็นผลขาดทุนสะสมถึง 8,059.50 ล้านบาทเข้าไปแล้ว
การบริหารงานที่ไม่ดีพอจะสู้กับการแข่งขันดุดันและความผันผวนของต้นทุนราคาน้ำมันอากาศยานได้ ทำให้ผู้ถือหุ้นกลุ่มหลักๆ ได้แก่ "ตระกูลจุฬางกูร" และ "บมจ.การบินไทย" ต่างถูกสะกิดให้ต้องใส่เงินเพิ่มทุนก้อนโตอยู่หลายครั้งเพื่อประคองความอยู่รอด
แม้ NOK จะเคยประกาศว่าปี 62 นี้มีเป้าหมายจะหยุดการขาดทุนให้ได้ด้วยแผนการเพิ่มรายได้ในส่วนสายการบินจะที่ไปต่างประเทศให้มากขึ้น แต่เมื่อย้อนกลับมามองปัจจุบันขณะสามารถกล่าวได้เต็มปากว่าความหวังริบหรี่ หากได้ไม่กลุ่มทุนใหม่หรือโนฮาวดีๆ เข้ามาการขาดทุนสะสมก็จะมากขึ้นจนบีบให้ผู้ถือหุ้นทุกคนทั้งรายใหญ่รายย่อยต้องใส่เงินเพิ่มทุนก้อนโตเป็นครั้งที่ 4 เร็ววกว่าเดิมแน่นอน ซึ่งตอนนี้ส่วนทุนของกิจการก็ติดลบอยู่แล้วถึง 1,467.55 ล้านบาท (เฉพาะส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่)
ชัดเจนแล้วว่า วินาทีนี้ไม่มีใครแยเเสอยากโอบอุ้มอินทรีน้อยขี้โรค ทางออกของ กลุ่ม "จุฬางกูร" จึงเท่ากับถูกบีบให้ต้องเร่ขายส่วนของหุ้นที่ถือไว้ในราคาระดับโลว์คอสต์ให้ได้เร็วที่สุด ก่อนจะนกตัวนี้จะกลายเป็นศพไปเสียก่อน
ส่วนสายการบินแห่งชาติเราเองลำพังตัวเองก็เอาตัวจะไม่รอดอยู่แล้ว จึงไม่น่าจะยินดีเพิ่มทุนจำนวนมากแบบไม่รู้จบเช่นกัน ดังนั้นแล้วไม่ช้าก็เร็ว กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้งหลายจะต้องเร่งหาดีลพันธมิตรใหม่เข้ามารับไม้ต่อแน่นอน แม้ว่าจะต้องเสียเปรียบแค่ไหนก็ตาม
/////////////////////////////
ขอบคุณบทความจาก...
https://www.facebook.com/Share2Trade/
www.Share2Trade.com