ข้อเท็จจริงจากการที่หุ้น บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด(มหาชน) หรือ NOK โดนแขวนป้าย C ต้องซื้อด้วยบัญชี Cash Balance ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2561 เป็นต้นมา บอกเรื่องราวได้สารพัด แต่ที่ชัดเจนสุดคือ บริษัทนี้ อาจจะต้องเพิ่มทุนระลอกใหม่ เพราะขาดสภาพคล่องรุนแรง
หลังจากงบการเงินครึ่งแรกของปีระบุว่า ขาดทุนสุทธิไปเกือบ 1.5 พันล้านบาท
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ขึ้นเครื่องหมาย C สำหรับหุ้นบมจ. (NOK) ตั้งแต่วันที่ 14 ส.ค. หลังมีส่วนของผู้ถือหุ้นแค่ 458.40 ล้านบาท น้อยกว่า 50% ของทุนชำระ ,27200 ล้านบาทแล้ว หลังส่งงบการเงินไตรมาสสอง ขาดทุนตามปกติ
หลักทรัพย์ที่ถูกขึ้นเครื่องหมาย C จะต้องซื้อด้วยบัญชี Cash Balance (คือ สมาชิกต้องดำเนินการให้ลูกค้าวางเงินสดไว้ล่วงหน้ากับสมาชิกเต็มจำนวนก่อนซื้อหลักทรัพย์นั้น) ตั้งแต่วันที่ขึ้นเครื่องหมายเป็นต้นไป จนกว่าจะแก้เหตุดังกล่าวได้
NOK และบริษัทย่อย ประกาศผลดำเนินงานงวดไตรมาส 2/61 ขาดทุนสุทธิ 829.74 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 0.365 บาท ขาดทุนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 649.7 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 0.785 บาทนักวิเคราะห์ระบุว่าการขาดทุน เนื่องจาก 3 เหตุหลักคือ การท่องเที่ยวแผ่วลงตามฤดูกาลอันเป็นโลว์ซีซั่น ต้นทุนน้ำมันเครื่องบินแพงขึ้น และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูงขึ้น โดยส่วนใหญ่มีมุมมองที่เป็นลบต่อแนวโน้มผลประกอบการไตรมาสสาม ซึ่งเท่ากับเปิดช่องที่สุ่มเสี่ยงต่อการขาดสภาพคล่องรุนแรง
ความรุนแรงของปัญหาการเงินของNOK เห็นได้จากค่าดี/อีที่มากกว่า 12 เท่า และอัตราส่วนสภาพคล่องที่ 0.61 เท่า อยู่ในสภาพ "ชักหน้าไม่ถึงหลัง" ทีเดียว
ข้อเท็จจริงของการขาดสภาพคล่องจะปรากฏในกรณีพิเศษ จากการที่ NOK ต้องไปกู้เงินระยะสั้น 500 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยปีละ 6% จากผู้ถือหุ้นและญาติของผู้ถือหุ้นใหญ่สุด อย่างนางสาวหทัยรัตน์ จุฬางกูร ในรูปของตั๋วสัญญาใช้เงิน โดยบริษัทไม่ได้วางหลักประกันให้กับผู้ให้กู้
เงินกู้ดังกล่าว จะถูกส่งมอบต่อให้ บริษัท นกมั่งคั่ง จำกัด เพื่อนำเงินเข้าลงทุนเพิ่มเติมด้วยการซื้อหุ้นเพิ่มทุนในบริษัท สายการบินนกสกู๊ต จำกัด มูลค่าลงทุน 490 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาร่วมทุนระหว่างบริษัทฯ Scoot Pte. Ltd. บริษัท นกมั่งคั่ง จำกัด และบริษัท เพื่อนน้ำมิตร จำกัด และบริษัท สายการบินนกสกู๊ต จำกัด ที่ได้ลงนามไว้
การเลือกกู้เงินที่ทำให้กลุ่มจุฬางกูร กลายสภาพเป็นผู้ถือหุ้น-เจ้าหนี้ของ NOK มีความหมายที่สามารถตีความเชิงลบได้มากมาย สะท้อนความฝืดเคืองและจนตรอกเฉพาะหน้าของ NOK ได้ชัดแจ๋ว
สำหรับผู้บริหาร ประเด็นฐานะทางการเงินที่หมิ่นเหม่ มีความสำคัญน้อยมาก เพราะยังคงเน้นการสื่อสารแบบ "โลกสวย" ต่อไปอย่างผิดเงื่อนเวลา
หลังงบการเงินของ NOK ในไตรมาสสองผ่านไป คำชี้แจงวันที่ 15 สิงหาคมของนายปิยะ ยอดมณี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร NOK ยังคงเน้นว่าการขาดทุนหลักของบริษัทเดี่ยว (ทั้งที่โดยแท้จริงต้องพูดถึงงบรวม) มาจากปัจจัยภายนอกเช่น ราคาน้ำมันอากาศยานที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในครึ่งปีแรกถึง 31.10% ขณะที่ค่าใช้จ่ายของบริษัทเพิ่มขึ้น 7.27% ส่งผลให้ในช่วง 6 เดือนแรกมีผลขาดทุนสุทธิ 774.68 ล้านบาท ลดลง 14.78% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 60 ที่มีผลขาดทุนสุทธิ 909 ล้านบาท และบริษัทก็มีรายได้อยู่ที่ 7,671.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
เกมตัวเลข "โลกสวย" ของนายปิยะ นำมาสู่คำกล่าวอ้างของเขาเอง ที่ว่า NOK กำลังแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง ทำให้นกแอร์เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในธุรกิจได้มากขึ้น เนื่องจากเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้หลากหลายกลุ่ม และสามารถควบคุมต้นทุนได้เป็นอย่างดี
ข้อมูลและคำกล่าวอ้างของผู้บริหารที่ย้อนแย้งกับตัวเลขแท้จริง ทั้งในงบการเงินและในข้อมูลนักวิเคราะห์ เปรียบได้กับการ "พลัดหลงโดยเจตนา" ของผู้บริหาร นอกจากที่ทำให้เกิดคำถามว่า แล้วในอนาคตจะทำอย่างไรกันถ้าหาก NOK กลายเป็น
"นกปีกหัก" ขึ้นมาแล้ว ยังทำให้ย้อนไปถึงข้อเรียกร้องและข้อสรุปเก่าเมื่อกลางปีก่อนที่ว่า "พอไม่มีพาที (สารสิน) อะไรก็ดูดีไปหมด" ซึ่งข้อเท็จจริงล่าสุดย้ำว่าไม่ถูกต้องเลย เพราะดูเหมือนซีอีโอคนไหน ก็ไม่ได้ทำให้ NOK ดูดีขึ้น
แม้การลงทุนใหม่เพิ่มเติมของNOK จะไม่ใช่เรื่องที่สรุปว่าผิดพลาด เพราะว่าในไตรมาสที่สอง สายการบิน NokScoot สามารถทำรายได้ 1.46 พันล้านบาทเพิ่มขึ้น 12.9% จาก 1.30 พันล้านบาท เนื่องจากจำนวนเที่ยวบินเพิ่มขึ้นถึง 35.1% เทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น 20.3% ถือว่ายังเติบโตได้อีก
ประเด็นที่ท้าทายอยู่ที่ว่า ถ้าในไตรมาสสาม NOK ยังมีตัวเลขขาดทุนเกิน 458 ล้านบาท จะทำให้ส่วนผู้ถือหุ้นติดลบทันที หรือแม้จะขาดทุนไม่มากจนส่วนผู้ถือหุ้นไม่ติดลบ ก็อาจจะตกอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่บีบคั้นต้องเพิ่มทุนครั้งใหม่ทันที
โดยข้อเท็จจริง ในปี 2560 NOK ได้ทำการเพิ่มทุนไปแล้วถึง 2 รอบที่ทำให้มีทุนจดทะเบียนเพิ่มอีก 250% หรือ 2.5 เท่าเพื่อแก้ไขสภาพฝืดเคืองทางการเงิน โดย เมื่อเดือนมีนาคม NOK เพิ่มทุน 781 ล้านหุ้น แบ่งเป็นขาย RO สัดส่วน 1 ต่อ 1 ราคา 2.40 บาท พ่วงการแจก NOK-W1 สัดส่วน 4 ต่อ 1 โดยครั้งนั้นการบินไทยไม่ใช้สิทธิ ซึ่งยังผลให้การบินไทยมีสัดส่วนถือครองหุ้นลดลงจาก 39% เหลือแค่ 21% แล้วกลุ่มจุฬางกูร กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่แทน
การเพิ่มทุนครั้งแรกขายหุ้นไม่หมด และไม่เพียงพอที่จะหักกลบการลดลงของส่วนผู้ถือหุ้น ทำให้ต้องเพิ่มทุนอีกครั้งในราคาต่ำลงในเดือนสิงหาคม โดยเพิ่มทุน 1,207 ล้านหุ้น จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นเดิม (RO) ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ราคาหุ้นละ 1.50 บาท ครั้งนี้การบินไทยยอมใช้สิทธิ์เพิ่มทุนตามสัดส่วนใหม่ ทำให้ขายหมด
เงินเพิ่มทุนที่ได้มากว่า 3 พันล้านบาท แม้จะเพียงพอในระยะแรก แต่เมื่อมีการขาดทุนรายไตรมาสต่อเนื่องจนล่าสุดต่ำกว่า 500 ล้านบาท ก็กลายเป็นแรงกดดันว่าจะต้องเพิ่มทุนอีกเท่าใด ราคาเท่าใด และเพิ่มแบบขายผู้ถือหุ้นเดิม หรือแบบเฉพาะเจาะจง เพราะยังมีวอแรนต์ NOK-W1 ที่เหลือยังไม่ได้ใช้สิทธิ์อีกส่วนหนึ่งคาราคาซังอยู่
ที่สำคัญตัวแปรสำคัญคือ การบินไทย จะยินดีเพิ่มทุนเติมเงินให้อีกหรือไม่ เป็นประเด็นที่ยังตอบยาก
ระหว่างที่ยังไม่มีคำตอบนี้ NOK ก็คงจะเป็น "วิหคหลงรัง" ไปไหนไม่ถูกท่ามกลางกระแสเงินที่ร่อยหรอลง และมุมมองที่เหนือจริงของผู้บริหาร จนกาตัวเลขงบการเงินจะออกมาในท้ายไตรมาสต่อไป ด้วยความระทึกของผู้ถือหุ้นและนักลงทุน
http://www.share2trade.com/index.php?route=content/content&path=9&content_id=3392
NOK วิหคหลงรัง
หลังจากงบการเงินครึ่งแรกของปีระบุว่า ขาดทุนสุทธิไปเกือบ 1.5 พันล้านบาท
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ขึ้นเครื่องหมาย C สำหรับหุ้นบมจ. (NOK) ตั้งแต่วันที่ 14 ส.ค. หลังมีส่วนของผู้ถือหุ้นแค่ 458.40 ล้านบาท น้อยกว่า 50% ของทุนชำระ ,27200 ล้านบาทแล้ว หลังส่งงบการเงินไตรมาสสอง ขาดทุนตามปกติ
หลักทรัพย์ที่ถูกขึ้นเครื่องหมาย C จะต้องซื้อด้วยบัญชี Cash Balance (คือ สมาชิกต้องดำเนินการให้ลูกค้าวางเงินสดไว้ล่วงหน้ากับสมาชิกเต็มจำนวนก่อนซื้อหลักทรัพย์นั้น) ตั้งแต่วันที่ขึ้นเครื่องหมายเป็นต้นไป จนกว่าจะแก้เหตุดังกล่าวได้
NOK และบริษัทย่อย ประกาศผลดำเนินงานงวดไตรมาส 2/61 ขาดทุนสุทธิ 829.74 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 0.365 บาท ขาดทุนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 649.7 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 0.785 บาทนักวิเคราะห์ระบุว่าการขาดทุน เนื่องจาก 3 เหตุหลักคือ การท่องเที่ยวแผ่วลงตามฤดูกาลอันเป็นโลว์ซีซั่น ต้นทุนน้ำมันเครื่องบินแพงขึ้น และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูงขึ้น โดยส่วนใหญ่มีมุมมองที่เป็นลบต่อแนวโน้มผลประกอบการไตรมาสสาม ซึ่งเท่ากับเปิดช่องที่สุ่มเสี่ยงต่อการขาดสภาพคล่องรุนแรง
ความรุนแรงของปัญหาการเงินของNOK เห็นได้จากค่าดี/อีที่มากกว่า 12 เท่า และอัตราส่วนสภาพคล่องที่ 0.61 เท่า อยู่ในสภาพ "ชักหน้าไม่ถึงหลัง" ทีเดียว
ข้อเท็จจริงของการขาดสภาพคล่องจะปรากฏในกรณีพิเศษ จากการที่ NOK ต้องไปกู้เงินระยะสั้น 500 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยปีละ 6% จากผู้ถือหุ้นและญาติของผู้ถือหุ้นใหญ่สุด อย่างนางสาวหทัยรัตน์ จุฬางกูร ในรูปของตั๋วสัญญาใช้เงิน โดยบริษัทไม่ได้วางหลักประกันให้กับผู้ให้กู้
เงินกู้ดังกล่าว จะถูกส่งมอบต่อให้ บริษัท นกมั่งคั่ง จำกัด เพื่อนำเงินเข้าลงทุนเพิ่มเติมด้วยการซื้อหุ้นเพิ่มทุนในบริษัท สายการบินนกสกู๊ต จำกัด มูลค่าลงทุน 490 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาร่วมทุนระหว่างบริษัทฯ Scoot Pte. Ltd. บริษัท นกมั่งคั่ง จำกัด และบริษัท เพื่อนน้ำมิตร จำกัด และบริษัท สายการบินนกสกู๊ต จำกัด ที่ได้ลงนามไว้
การเลือกกู้เงินที่ทำให้กลุ่มจุฬางกูร กลายสภาพเป็นผู้ถือหุ้น-เจ้าหนี้ของ NOK มีความหมายที่สามารถตีความเชิงลบได้มากมาย สะท้อนความฝืดเคืองและจนตรอกเฉพาะหน้าของ NOK ได้ชัดแจ๋ว
สำหรับผู้บริหาร ประเด็นฐานะทางการเงินที่หมิ่นเหม่ มีความสำคัญน้อยมาก เพราะยังคงเน้นการสื่อสารแบบ "โลกสวย" ต่อไปอย่างผิดเงื่อนเวลา
หลังงบการเงินของ NOK ในไตรมาสสองผ่านไป คำชี้แจงวันที่ 15 สิงหาคมของนายปิยะ ยอดมณี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร NOK ยังคงเน้นว่าการขาดทุนหลักของบริษัทเดี่ยว (ทั้งที่โดยแท้จริงต้องพูดถึงงบรวม) มาจากปัจจัยภายนอกเช่น ราคาน้ำมันอากาศยานที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในครึ่งปีแรกถึง 31.10% ขณะที่ค่าใช้จ่ายของบริษัทเพิ่มขึ้น 7.27% ส่งผลให้ในช่วง 6 เดือนแรกมีผลขาดทุนสุทธิ 774.68 ล้านบาท ลดลง 14.78% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 60 ที่มีผลขาดทุนสุทธิ 909 ล้านบาท และบริษัทก็มีรายได้อยู่ที่ 7,671.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
เกมตัวเลข "โลกสวย" ของนายปิยะ นำมาสู่คำกล่าวอ้างของเขาเอง ที่ว่า NOK กำลังแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง ทำให้นกแอร์เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในธุรกิจได้มากขึ้น เนื่องจากเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้หลากหลายกลุ่ม และสามารถควบคุมต้นทุนได้เป็นอย่างดี
ข้อมูลและคำกล่าวอ้างของผู้บริหารที่ย้อนแย้งกับตัวเลขแท้จริง ทั้งในงบการเงินและในข้อมูลนักวิเคราะห์ เปรียบได้กับการ "พลัดหลงโดยเจตนา" ของผู้บริหาร นอกจากที่ทำให้เกิดคำถามว่า แล้วในอนาคตจะทำอย่างไรกันถ้าหาก NOK กลายเป็น
"นกปีกหัก" ขึ้นมาแล้ว ยังทำให้ย้อนไปถึงข้อเรียกร้องและข้อสรุปเก่าเมื่อกลางปีก่อนที่ว่า "พอไม่มีพาที (สารสิน) อะไรก็ดูดีไปหมด" ซึ่งข้อเท็จจริงล่าสุดย้ำว่าไม่ถูกต้องเลย เพราะดูเหมือนซีอีโอคนไหน ก็ไม่ได้ทำให้ NOK ดูดีขึ้น
แม้การลงทุนใหม่เพิ่มเติมของNOK จะไม่ใช่เรื่องที่สรุปว่าผิดพลาด เพราะว่าในไตรมาสที่สอง สายการบิน NokScoot สามารถทำรายได้ 1.46 พันล้านบาทเพิ่มขึ้น 12.9% จาก 1.30 พันล้านบาท เนื่องจากจำนวนเที่ยวบินเพิ่มขึ้นถึง 35.1% เทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น 20.3% ถือว่ายังเติบโตได้อีก
ประเด็นที่ท้าทายอยู่ที่ว่า ถ้าในไตรมาสสาม NOK ยังมีตัวเลขขาดทุนเกิน 458 ล้านบาท จะทำให้ส่วนผู้ถือหุ้นติดลบทันที หรือแม้จะขาดทุนไม่มากจนส่วนผู้ถือหุ้นไม่ติดลบ ก็อาจจะตกอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่บีบคั้นต้องเพิ่มทุนครั้งใหม่ทันที
โดยข้อเท็จจริง ในปี 2560 NOK ได้ทำการเพิ่มทุนไปแล้วถึง 2 รอบที่ทำให้มีทุนจดทะเบียนเพิ่มอีก 250% หรือ 2.5 เท่าเพื่อแก้ไขสภาพฝืดเคืองทางการเงิน โดย เมื่อเดือนมีนาคม NOK เพิ่มทุน 781 ล้านหุ้น แบ่งเป็นขาย RO สัดส่วน 1 ต่อ 1 ราคา 2.40 บาท พ่วงการแจก NOK-W1 สัดส่วน 4 ต่อ 1 โดยครั้งนั้นการบินไทยไม่ใช้สิทธิ ซึ่งยังผลให้การบินไทยมีสัดส่วนถือครองหุ้นลดลงจาก 39% เหลือแค่ 21% แล้วกลุ่มจุฬางกูร กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่แทน
การเพิ่มทุนครั้งแรกขายหุ้นไม่หมด และไม่เพียงพอที่จะหักกลบการลดลงของส่วนผู้ถือหุ้น ทำให้ต้องเพิ่มทุนอีกครั้งในราคาต่ำลงในเดือนสิงหาคม โดยเพิ่มทุน 1,207 ล้านหุ้น จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นเดิม (RO) ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ราคาหุ้นละ 1.50 บาท ครั้งนี้การบินไทยยอมใช้สิทธิ์เพิ่มทุนตามสัดส่วนใหม่ ทำให้ขายหมด
เงินเพิ่มทุนที่ได้มากว่า 3 พันล้านบาท แม้จะเพียงพอในระยะแรก แต่เมื่อมีการขาดทุนรายไตรมาสต่อเนื่องจนล่าสุดต่ำกว่า 500 ล้านบาท ก็กลายเป็นแรงกดดันว่าจะต้องเพิ่มทุนอีกเท่าใด ราคาเท่าใด และเพิ่มแบบขายผู้ถือหุ้นเดิม หรือแบบเฉพาะเจาะจง เพราะยังมีวอแรนต์ NOK-W1 ที่เหลือยังไม่ได้ใช้สิทธิ์อีกส่วนหนึ่งคาราคาซังอยู่
ที่สำคัญตัวแปรสำคัญคือ การบินไทย จะยินดีเพิ่มทุนเติมเงินให้อีกหรือไม่ เป็นประเด็นที่ยังตอบยาก
ระหว่างที่ยังไม่มีคำตอบนี้ NOK ก็คงจะเป็น "วิหคหลงรัง" ไปไหนไม่ถูกท่ามกลางกระแสเงินที่ร่อยหรอลง และมุมมองที่เหนือจริงของผู้บริหาร จนกาตัวเลขงบการเงินจะออกมาในท้ายไตรมาสต่อไป ด้วยความระทึกของผู้ถือหุ้นและนักลงทุน
http://www.share2trade.com/index.php?route=content/content&path=9&content_id=3392