การบินไทยอ่วม 9เดือนขาดทุน1.1หมื่นล้าน
บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) แจ้งผลประกอบการ ไตรมาส 3 พบว่าบริษัทและบริษัทฯย่อยมีผลขาดทุนสุทธิ 4,680 ล้านบาท ขาดทุนสูงกว่าปีก่อน 994 ล้านบาท(27.0%) โดยเป็นขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 4,682ล้านบาท คิดเป็นขาดทุนต่อหุ้น 2.14 บาท ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 0.44 บาทต่อหุ้น (25.9%)
ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อยในไตรมาส3 ของปี 2562 มีรายได้รวมทั้งสิ้น 45,016 ล้านบาท ต่ำกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 2,937ล้านบาท หรือ 6.1%
อย่างไรก็ดีหากรวมผลประกอบการในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้พบว่า การบินไทยขาดทุนรวม 11,119 ล้านบาท หลังจากไตรมาส1 กำไร 445.4 ล้านบาท ไตรมาส2 ขาดทุน 6,883 ล้านบาท ไตรมาส3 ขาดทุน 4,680 ล้านบาท ถือว่าขาดทุนเพิ่มขึ้น หากเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา ซึ่งขาดทุนอยู่ 4,082 ล้านบาท
ทั้งนี้สาเหตุสำคัญของการขาดทุนในช่วงไตรมาส3 ปีนี้ ที่ขาดทุนอยู่ 4,680 ล้านบาท เนื่องจากปัจจัยลบที่ส่งผลต่อการเดินทางของผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าและการแข่งขันที่รุนแรงทำให้รายได้จากการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าลดลงรวม 4,605 ล้านบาท(10.4%) แต่มีการปรับปรุงบัญชีหนี้สินค่าธรรมเนียมสนามบิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของราคาบัตรโดยสารที่เรียกเก็บจากผู้โดยสารก่อนปี 2559 โดยนำมารับรู้เป็นรายได้อื่นๆ จำนวน 1,976 ล้านบาท
สำหรับค่าใช้จ่ายรวม 47,858 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน 4,029 ล้านบาท (7.8%) สาเหตุหลักเกิดจากค่าน้ำมันที่ลดลง 2,107ล้านบาท (13.7%) เนื่องจากราคาน้ำมันลดลง 12.2 %
ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานไม่รวมน้ำมันลดลงจากปีก่อน 1,914ล้านบาท(5.4%)สาหตุหลักเกิดจากการปรับปรุงรายการค่าใช้จ่ายเงินทดแทนวันหยุดประจำปี วันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ใช้ไม่หมดภายใน3ปืตามที่ระเบียบบริษัทกำหนด) ที่รับรู้รายการเป็นค่าใช้จ่ายในงบการเงินสำหรับปี 2558-2561 รวมประมาณ 1,261 ล้านบาท ประกอบกับค่าใช้จ่ายดำเนินงานอื่นๆ ลดลง
นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียวจากการประมาณการเงินตอบแทนความชอบในการทำงานจำนวน 2,689 ล้านบาท โดยบริษัทฯรับรู้ค่าชดเชยเพิ่มเติมตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ(ฉบับที่4)ที่กำหนดอัตราค่าชดเชยเพิ่มเติม
กรณีนายจ้างเลิกจ้างสำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไปให้มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดจำนวน 400 วันและมีผลขาดทุนจากการค้อยค่าของสินทรัพย์และเครื่องบินจำนวน 181 ล้านบาท
ขณะที่มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 919 ล้านบาทซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการตีมูลค่าทางบัญชี
ณ วันที่ 30 กันยายน 2562 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 258,194 ล้านบาท ลดลงจากวันที่ 31 ธันวาคม 2561 จำนวน 10,527 ล้านบาท(3.9% )มีหนี้สินรวมเท่ากับ 245,719 ล้านบาท ลดลงจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 จำนวน 2,546 ล้านบาท (1.0%) และส่วนของผู้ถือหุ้นมีจำนวน 12,475 ล้านบาท ลดลงจากวันที่ 31 ธันวาคม 2561 จำนวน7,981 ล้านบาท (39.0%)
https://www.thansettakij.com/content/business/414624?utm_source=homepage_hilight&utm_medium=internal_referral
การบินไทยอ่วม 9เดือนขาดทุน1.1หมื่นล้าน
บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) แจ้งผลประกอบการ ไตรมาส 3 พบว่าบริษัทและบริษัทฯย่อยมีผลขาดทุนสุทธิ 4,680 ล้านบาท ขาดทุนสูงกว่าปีก่อน 994 ล้านบาท(27.0%) โดยเป็นขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 4,682ล้านบาท คิดเป็นขาดทุนต่อหุ้น 2.14 บาท ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 0.44 บาทต่อหุ้น (25.9%)
ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อยในไตรมาส3 ของปี 2562 มีรายได้รวมทั้งสิ้น 45,016 ล้านบาท ต่ำกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 2,937ล้านบาท หรือ 6.1%
อย่างไรก็ดีหากรวมผลประกอบการในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้พบว่า การบินไทยขาดทุนรวม 11,119 ล้านบาท หลังจากไตรมาส1 กำไร 445.4 ล้านบาท ไตรมาส2 ขาดทุน 6,883 ล้านบาท ไตรมาส3 ขาดทุน 4,680 ล้านบาท ถือว่าขาดทุนเพิ่มขึ้น หากเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา ซึ่งขาดทุนอยู่ 4,082 ล้านบาท
ทั้งนี้สาเหตุสำคัญของการขาดทุนในช่วงไตรมาส3 ปีนี้ ที่ขาดทุนอยู่ 4,680 ล้านบาท เนื่องจากปัจจัยลบที่ส่งผลต่อการเดินทางของผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าและการแข่งขันที่รุนแรงทำให้รายได้จากการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าลดลงรวม 4,605 ล้านบาท(10.4%) แต่มีการปรับปรุงบัญชีหนี้สินค่าธรรมเนียมสนามบิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของราคาบัตรโดยสารที่เรียกเก็บจากผู้โดยสารก่อนปี 2559 โดยนำมารับรู้เป็นรายได้อื่นๆ จำนวน 1,976 ล้านบาท
สำหรับค่าใช้จ่ายรวม 47,858 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน 4,029 ล้านบาท (7.8%) สาเหตุหลักเกิดจากค่าน้ำมันที่ลดลง 2,107ล้านบาท (13.7%) เนื่องจากราคาน้ำมันลดลง 12.2 %
ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานไม่รวมน้ำมันลดลงจากปีก่อน 1,914ล้านบาท(5.4%)สาหตุหลักเกิดจากการปรับปรุงรายการค่าใช้จ่ายเงินทดแทนวันหยุดประจำปี วันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ใช้ไม่หมดภายใน3ปืตามที่ระเบียบบริษัทกำหนด) ที่รับรู้รายการเป็นค่าใช้จ่ายในงบการเงินสำหรับปี 2558-2561 รวมประมาณ 1,261 ล้านบาท ประกอบกับค่าใช้จ่ายดำเนินงานอื่นๆ ลดลง
นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียวจากการประมาณการเงินตอบแทนความชอบในการทำงานจำนวน 2,689 ล้านบาท โดยบริษัทฯรับรู้ค่าชดเชยเพิ่มเติมตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ(ฉบับที่4)ที่กำหนดอัตราค่าชดเชยเพิ่มเติม
กรณีนายจ้างเลิกจ้างสำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไปให้มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดจำนวน 400 วันและมีผลขาดทุนจากการค้อยค่าของสินทรัพย์และเครื่องบินจำนวน 181 ล้านบาท
ขณะที่มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 919 ล้านบาทซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการตีมูลค่าทางบัญชี
ณ วันที่ 30 กันยายน 2562 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 258,194 ล้านบาท ลดลงจากวันที่ 31 ธันวาคม 2561 จำนวน 10,527 ล้านบาท(3.9% )มีหนี้สินรวมเท่ากับ 245,719 ล้านบาท ลดลงจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 จำนวน 2,546 ล้านบาท (1.0%) และส่วนของผู้ถือหุ้นมีจำนวน 12,475 ล้านบาท ลดลงจากวันที่ 31 ธันวาคม 2561 จำนวน7,981 ล้านบาท (39.0%)
https://www.thansettakij.com/content/business/414624?utm_source=homepage_hilight&utm_medium=internal_referral