การเงิน - การลงทุน : ถนนนักลงทุน
วันที่ 24 มิถุนายน 2556 01:00
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เกิด!!“หุ้นสายการบินต้นทุนต่ำ” มาด้วยรึเปล่า หากรักจริง อยากครอบครอง “ไทยแอร์เอเชีย VS นกแอร์” เลือกช้อนตัวไหน
AEC เปิดได้เวลาเกิด “หุ้นสายการบินราคาประหยัด” จริงหรือ!!
สัญญาณนี้!! ถูกตอกย้ำให้หวนคิดอีกครั้ง หลัง “ดุ๋ง” พาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.สายการบินนกแอร์ (NOK) สายการบิน “โลว์คอสต์ แอร์ไลน์” สัญชาติไทยแลนด์ เจ้าของสโลแกน “ทุกเที่ยวบินมีรอยยิ้ม” (We Fly Smiles) ผู้มี “การบินไทย” (THAI) เป็น “แบ็คอัพ” (การบินไทยถือหุ้น NOK หลังขายหุ้นไอพีโอ 39.2%)
ตัดสินใจนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 20 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยเปิดตลาดวันแรกในราคา 26.75 บาทหลังเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก 187.5 ล้านหุ้น ราคา 26 บาท แบ่งเป็นหุ้นเพิ่มทุน 125 ล้านหุ้น และหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิมที่เสนอขายโดย “เอวิเอชั่น อินเวสต์เม้นท์ อินเตอร์เนชั่นแนล” 62.5 ล้านหุ้น มูลค่าระดมทุน 3,250 ล้านบาท
“แต่งตัวเข้าตลาดหุ้น ต้อนรับ AEC” “ดุ๋ง” ย้ำเป้าหมาย ผมซื้อหุ้น IPO ตั้ง 70,000 หุ้นนะ ปกติเป็นคนไม่ชอบเล่นหุ้นทั้งตัวมีหุ้น KTB แค่ 1,000 หุ้น ภรรยามีหุ้น MINT 2,000 หุ้น
“นกแอร์” ถือเป็นบริษัทสายการบินราคาประหยัดแห่งที่ 2 ที่เข้าตลาดหุ้นต่อจาก “เอเชีย เอวิเอชั่น” (AAV) เจ้าของ “ไทยแอร์เอเชีย” สายการบินต้นทุนต่ำ สัญชาติมาเลเซีย ผู้มากับสโลแกน “ใคร ใคร ก็บินได้” ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดย "โจ” ทัศพล แบเลเว็ลด์
“เจ็บหนัก-ติดยอดดอย” กลิ่นความเจ็บปวด เมื่อครั้นหุ้น AAV ซื้อขายวันแรก(31 พ.ค.55) ยังคุกรุ่น “แรงสุด” หุ้น AAV มาไกลแค่ 4 บาท “ต่ำสุด” ลึกถึง 3.04 บาท จากราคาไอพีโอ 3.70 บาท แถมเจอแรงขายของ “โจ-ทัศพล” และแกงค์ทีมบริหารที่ปฎิบัติการณ์ปล่อยของออกวันแรก ตามที่แจ้งไว้ในหนังสือชี้ชวน รวมมูลค่า 2,691.75 ล้านบาท หุ้น AAV เคยขึ้นมายืน “จุดสูงสุด” 7.90 บาท (ตัวเลข ณ วันที่ 19 มี.ค56)
“แข่งขันสูง ค่าใช้จ่ายพรึ่บ ธุรกิจอ่อนไหวต่อเศรษฐกิจ-ราคาน้ำมัน-อัตราแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศ”
“สารพัดจุดบอด” เหล่านี้ เป็นเหตุให้ “หุ้นสายการบิน” แทบไม่เคยถูกวางบทบาทให้เป็น “หุ้นปันผล” (Dividend Stock) หรือ “หุ้นเติบโต” (Growth Stock) ของนักลงทุนรายใหญ่
“ต่อให้เปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปลายปี 2558 ก็ไม่ได้หมายความว่าปัจจัยลบเหล่านี้จะหมดไป แถมธุรกิจนี้ยังมีผลกระทบรอบด้านคอยกดดันธุรกิจ” “นิ้วโป้ง” อธิป กีรติพิชญ์ นักลงทุนแนว Fundamental VI ประจำ Stock2Morrow บุรุษผู้หลงไหล “ความมหัศจรรย์” ของ “กำไรทบต้น” วิพากษ์ให้ฟังสั้นๆ
“ไทยแอร์เอเชีย-นกแอร์” อยากได้จริงๆจิ้มตัวไหนดี คำถามเหล่านี้ “เม่าน้อย” พากันตั้งกระทู้ในห้องสินธร เว็บไซด์พันทิป รอ “กูรูใจบุญ” มาตอบ “สายการบินนกแอร์” เป็นคำตอบสุดท้ายของ “พีรเจต สุวรรณนภาศรี” ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ยูเนี่ยน อินทราโก้ (UIC) ในฐานะนักลงทุน “วีไอ” รายใหญ่
ส่วนตัว “ชื่นชอบ” หุ้น NOK มากกว่าหุ้น AAV เพราะ “นกแอร์” มีผลประกอบการเติบโตต่อเนื่อง ท่ามกลางความเสี่ยงมากมายของธุรกิจสายการบิน เขามีการจัดการที่ดีกว่าคู่แข่ง เรื่องนี้ต้องยอมรับ นกแอร์ มีฐานที่เล็กกว่า ฉะนั้นยังขยายตัวได้อีกมาก
“ค่อยๆโต ไม่หวือหวา” สตอรี่ใหม่ๆจะคอยผลักดันราคาหุ้น NOK ต่อเนื่อง ส่วนหุ้น AAV เขาต้องขยายธุรกิจออกไปต่างประเทศมากขึ้น เท่ากับว่าไซด์ธุรกิจต้องใหญ่ขึ้น ขณะที่คู่แข่งก็มากตามไปด้วย ฉะนั้นหากเขาเลือกเส้นทางบินผิดอาจส่งกระทบต่อผลประกอบการได้ง่าย ไม่เหมือน “นกแอร์” ที่มีฝูงบินก็เล็กกว่า ทำให้การดำเนินธุรกิจง่ายกว่า
ถ้าดูอัตราส่วนกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ธุรกิจที่มีขนาดเล็กกว่ามักมีการเติบโตที่ดีกว่า ขณะที่พวกฐานใหญ่จะโตช้ากว่า “พีรเจต” วิเคราะห์
ประโยควิจารณ์ของ “เซียนหุ้นรายใหญ่” สอดคล้องกับแรง “เชียร์ซื้อ” ที่มีต่อหุ้น สายการบินนกแอร์ ของเหล่านักวิเคราะห์ที่บอกว่า “แม้สัดส่วนตลาดสายการบินราคาประหยัดในเส้นทางการบินภายในประเทศประจำปี 2555 ของ “นกแอร์” จะอยู่ระดับ 43.4% น้อยกว่า “ไทยแอร์เอเชีย” ที่อยู่ 49.5% แต่หลังเข้าตลาดหุ้น “นกแอร์” จะมีขีดความสามารถที่ดีกว่า
ขณะที่ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) แนะเก็บหุ้น สายการบินนกแอร์ เข้าพอร์ตเช่นกัน “เขามีเส้นทางการบินที่แตกต่างจากสายการบินอื่นๆ ทำให้สามารถกำหนดราคาตั๋วเครื่องบินในราคาที่ดีกว่า ส่งผลให้อัตรากำไรสวยกว่าคู่แข่ง” หนึ่งจุดเด่นสำคัญที่นักวิเคราะห์การันตี
สอดคล้องกับคำพูดของ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ที่ว่า นกแอร์เป็นผู้นำธุรกิจ Low-Cost Airline ในประเทศที่มีอัตราเติบโตสูงสุด ด้วยจำนวนผู้โดยสารที่โตเฉลี่ยปีละ 36.5% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะขยายตัวสูงต่อไปอย่างน้อย 3-5 ปีข้างหน้า เพราะให้บริการครอบคลุมเส้นทางการบินมากที่สุดในประเทศ
“นกแอร์” มีแผนขยายเส้นทางบินต่างประเทศภายในปี 2556 แถมจะเพิ่มฝูงบินจากสิ้นปี 2555 ที่ 14 ลำ เป็น 16 ลำภายในสิ้นปี 2556 และ 23 ลำ ภายในสิ้นปี 2557 และจะเปลี่ยนฝูงบินประเภทไอพ่น ทั้งหมดเป็น “โบอิ้ง 737-800” จาก “โบอิ้ง 737-400” ส่งผลให้ประสิทธิภาพการใช้น้ำมันดีกว่า จำนวนที่นั่งมากกว่า ความสามารถในการทำ กำไรดีกว่า ดีกว่า “คู่แข่ง” เห็นๆ
จากการตรวจสอบข้อมูลการเงิน พบว่า ในช่วงไตรมาส 1/56 “ไทยแอร์เอเชีย” มีรายได้ 6,124 ล้านบาท กำไรสุทธิ 397 ล้านบาท อัตรากำไรสุทธิ 6.49% บริษัทได้ล้างขาดทุนสะสม 900 กว่าล้านบาท “หมดเกลี้ยง” ภายในไตรมาสแรกที่ผ่านมา ส่วนผลประกอบการทั้งปี 2556 “โจ-ทัศพล” ทำนายว่า รายได้อาจเติบโตเฉลี่ย 20-25% เทียบกับก่อนที่มีรายได้ 31,246 ล้านบาท ขณะที่อัตรากำไรสุทธิอาจยืนระดับ 10-15% เทียบกับปี 2555 ที่มีอัตรากำไรสุทธิระดับ 10% (อัตรากำไรสุทธิแต่ละปีขึ้นอยู่กับราคาน้ำมัน)
ส่วน “สายการบินนกแอร์” ในช่วง 3 เดือนของปี 2556 มีรายได้ระดับ 2,811 ล้านบาท กำไรสุทธิ 415 ล้านบาท อัตรากำไรสุทธิ 14.8% และมีกำไรสะสม 500 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2555 มีรายได้ 8,217 ล้านบาท กำไรสุทธิ 504 ล้านบาท และมีกำไรสะสม 338 ล้านบาท
“หุ้นปันผล” เราอยากให้นักลงทุนมองหุ้น สายการบินนกแอร์ แบบนั้น หุ้น NOK เป็นของคนไทยทุกคน ซื้อแล้วอย่ารีบขาย อนาคตราคาไปอีกไกล” ประโยคเด็ดของ “พาที สารสิน” บุตรชายคนเดียวของ “อาสา-ท่านผู้หญิงสุจิตคุณ สารสิน”
3 ปี (2556-2558) รายได้ขยายตัวเฉลี่ยปีละ 20% “ดุ๋ง” ตอกย้ำ “จุดเด่น”
ก่อนอธิบายเพิ่มเติมว่า ธุรกิจการบินโซนเอเชียจะเติบโตยิ่งกว่าแถบยุโรปและอเมริกาที่ปัจจุบันกำลังเผชิญปัญหาเศรษฐกิจหนักขึ้นเรื่อยๆ ภายในปี 2556 อัตราผู้โดยสารและรายได้จะเติบโตประมาณ 40% เมื่อเทียบกับปีก่อน ปัจจุบันเรามีผู้โดยสาร 4 ล้านคนต่อปี ถามว่าแล้วอีก 3 ปีข้างหน้าละ เขาตอบว่าจำนวนผู้โดยสารและรายได้คงขยายตัว 20% ต่อปี วันนี้เรายังเป็นรองสายการบินไทยแอร์เอเซีย ในแง่ของจำนวนผู้โดยสาร
“สายการบินภายในประเทศอันดับ 1 เป้าหมายใหญ่ของเรา”
ส่วนเรื่องเส้นทางต่างประเทศ เราจะเปิดแห่งแรกใน “แม่สอด-เมาะลำไย” ประเทศพม่า ประมาณเดือนก.ย.นี้ วันละ 1 เที่ยวบิน ในช่วง 2-3 ปีก่อน มีชาวต่างชาติเดินทางไปที่นี่เยอะ เราเชื่อว่าภายใน 3-10 ปีข้างหน้าอุตสาหกรรมการบินตลาดในเอเชียจะมีการเติบโตมากที่สุด หลังภาวะเศรษฐกิจดีกว่าทางยุโรปและอเมริกา
AEC เปิด!! “บางกอกแอร์เวย์ส” ของ “หมอปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ” เจ้าของกลุ่ม “กรุงเทพดุสิตเวชการ” (BGH) กดบัตรคิวเข้าตลาดหุ้นเป็นตัวต่อไป
“กัปตันเต๋” พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ ลูกชายสุดเลิฟของ “หมอปราเสริฐ” เคย ประกาศความพร้อมเมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมาว่า “ปลายเดือนมิ.ย.นี้ เจอกัน!! เรามีแผนจะขายหุ้นไอพีโอ 730 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 1 บาท แต่ล่วงเลยมาป่านนี้ “กัปตันเต๋” ยังไม่มีความคืบหน้า
เงินที่ได้จากการระดมทุนเราจะนำไปซื้อเครื่องบิน,ปรับปรุงซ่อมแซมโรงซ่อมเครื่องบิน,ก่อสร้างโรงครัวใหม่ที่สนามบิน สุวรรณภูมิ และสนามบินสมุย รวมถึงลงทุนเปิดเส้นทางใหม่, ชำระ คืนหนี้เงินกู้ยืม ที่เหลือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
หากไม่มีอะไรผิดพลาดปลายปี 2556 เราจะซื้อเครื่องบินแอร์บัส รุ่นเอ-320 จำนวน 2 ลำ เมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา เราเพิ่งซื้อเครื่องบินแอร์บัส รุ่นเอ-319 จำนวน 2 ลำ ฉะนั้นสิ้นปีนี้เราจะมีเครื่องบินทั้งหมด 25 ลำ
“ภายใน 4-5 ปีข้างหน้า เราจะมีเครื่องบิน 33 ลำ” “กัปตันเต๋” ปักธง
อัดโปรโมชั่นลูกค้าสุดฤทธิ์
“สายการบินไทยแอร์เอเชีย” กระตุ้นยอดขาย ด้วยการมอบราคาตั๋วโดยสารแบบประหยัดและถูกที่สุด ทั้งการเดินทางในและต่างประเทศ โดยไม่ต้องรอให้ถึงช่วงเทศกาล โปรโมชั่นแต่ละครั้งจะมีความแตกต่าง อาทิ ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 9 บาท หรือ 99 บาทขึ้นไป เป็นต้น ความถี่ในการออกโปรโมชั่นมากถึงปีละ 30-40 ครั้ง
“สายการบินนกแอร์” เลือกใช้โปรโมชั่น “พรีเมียม โลว์คอสต์” “บินสบายๆ ไม่มีบวกเพิ่ม พร้อมน้ำหนักกระเป๋าฟรี 15 กิโลกรัม อาหารว่าง และเลือกที่นั่งก็ฟรี ในราคาพิเศษ 999 บาท/เที่ยว/ท่าน (รวมทุกอย่างแล้ว) สำหรับเส้นทาง พิษณุโลก อุบลราชธานี อุดรธานี นครพนม เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่-แม่สอด
ส่วนราคา 1,099 บาท/เที่ยว/ท่าน (รวมทุกอย่างแล้ว) สำหรับเส้นทาง เชียงใหม่ เชียงราย หาดใหญ่ ภูเก็ต นครศรีธรรมราช ตรัง สุราษฎร์ธานี สกลนคร บุรีรัมย์ ชุมพร เลย แม่สอด น่าน แพร่ ร้อยเอ็ด ระนอง เชียงใหม่-หาดใหญ่ เชียงใหม่-อุดรธานี
“สายการบินบางกอกแอร์เวย์” เน้นโปรโมชั่นเกี่ยวกับราคาตั๋ว อาทิเช่น “เพียง 4 ชั่วโมง ตรงสู่ มัลดิฟส์” ราคาเริ่มต้น 13,900 บาท และบินตรงจาก “กรุงเทพฯ สู่ มัณฑะเลย์ประเทศพม่า” ราคาไปกลับเริ่มต้น 2,590 บาท และฉลองครบรอบ 45 ปี บินกับ “บางกอกแอร์เวย์” ลุ้นรับรถยนต์ LEXUS เป็นต้น
อยากจิ้ม “หุ้นสายการบิน”“นกแอร์” อนาคต “ไม่ขี้เหร่”
วันที่ 24 มิถุนายน 2556 01:00
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เกิด!!“หุ้นสายการบินต้นทุนต่ำ” มาด้วยรึเปล่า หากรักจริง อยากครอบครอง “ไทยแอร์เอเชีย VS นกแอร์” เลือกช้อนตัวไหน
AEC เปิดได้เวลาเกิด “หุ้นสายการบินราคาประหยัด” จริงหรือ!!
สัญญาณนี้!! ถูกตอกย้ำให้หวนคิดอีกครั้ง หลัง “ดุ๋ง” พาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.สายการบินนกแอร์ (NOK) สายการบิน “โลว์คอสต์ แอร์ไลน์” สัญชาติไทยแลนด์ เจ้าของสโลแกน “ทุกเที่ยวบินมีรอยยิ้ม” (We Fly Smiles) ผู้มี “การบินไทย” (THAI) เป็น “แบ็คอัพ” (การบินไทยถือหุ้น NOK หลังขายหุ้นไอพีโอ 39.2%)
ตัดสินใจนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 20 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยเปิดตลาดวันแรกในราคา 26.75 บาทหลังเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก 187.5 ล้านหุ้น ราคา 26 บาท แบ่งเป็นหุ้นเพิ่มทุน 125 ล้านหุ้น และหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิมที่เสนอขายโดย “เอวิเอชั่น อินเวสต์เม้นท์ อินเตอร์เนชั่นแนล” 62.5 ล้านหุ้น มูลค่าระดมทุน 3,250 ล้านบาท
“แต่งตัวเข้าตลาดหุ้น ต้อนรับ AEC” “ดุ๋ง” ย้ำเป้าหมาย ผมซื้อหุ้น IPO ตั้ง 70,000 หุ้นนะ ปกติเป็นคนไม่ชอบเล่นหุ้นทั้งตัวมีหุ้น KTB แค่ 1,000 หุ้น ภรรยามีหุ้น MINT 2,000 หุ้น
“นกแอร์” ถือเป็นบริษัทสายการบินราคาประหยัดแห่งที่ 2 ที่เข้าตลาดหุ้นต่อจาก “เอเชีย เอวิเอชั่น” (AAV) เจ้าของ “ไทยแอร์เอเชีย” สายการบินต้นทุนต่ำ สัญชาติมาเลเซีย ผู้มากับสโลแกน “ใคร ใคร ก็บินได้” ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดย "โจ” ทัศพล แบเลเว็ลด์
“เจ็บหนัก-ติดยอดดอย” กลิ่นความเจ็บปวด เมื่อครั้นหุ้น AAV ซื้อขายวันแรก(31 พ.ค.55) ยังคุกรุ่น “แรงสุด” หุ้น AAV มาไกลแค่ 4 บาท “ต่ำสุด” ลึกถึง 3.04 บาท จากราคาไอพีโอ 3.70 บาท แถมเจอแรงขายของ “โจ-ทัศพล” และแกงค์ทีมบริหารที่ปฎิบัติการณ์ปล่อยของออกวันแรก ตามที่แจ้งไว้ในหนังสือชี้ชวน รวมมูลค่า 2,691.75 ล้านบาท หุ้น AAV เคยขึ้นมายืน “จุดสูงสุด” 7.90 บาท (ตัวเลข ณ วันที่ 19 มี.ค56)
“แข่งขันสูง ค่าใช้จ่ายพรึ่บ ธุรกิจอ่อนไหวต่อเศรษฐกิจ-ราคาน้ำมัน-อัตราแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศ”
“สารพัดจุดบอด” เหล่านี้ เป็นเหตุให้ “หุ้นสายการบิน” แทบไม่เคยถูกวางบทบาทให้เป็น “หุ้นปันผล” (Dividend Stock) หรือ “หุ้นเติบโต” (Growth Stock) ของนักลงทุนรายใหญ่
“ต่อให้เปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปลายปี 2558 ก็ไม่ได้หมายความว่าปัจจัยลบเหล่านี้จะหมดไป แถมธุรกิจนี้ยังมีผลกระทบรอบด้านคอยกดดันธุรกิจ” “นิ้วโป้ง” อธิป กีรติพิชญ์ นักลงทุนแนว Fundamental VI ประจำ Stock2Morrow บุรุษผู้หลงไหล “ความมหัศจรรย์” ของ “กำไรทบต้น” วิพากษ์ให้ฟังสั้นๆ
“ไทยแอร์เอเชีย-นกแอร์” อยากได้จริงๆจิ้มตัวไหนดี คำถามเหล่านี้ “เม่าน้อย” พากันตั้งกระทู้ในห้องสินธร เว็บไซด์พันทิป รอ “กูรูใจบุญ” มาตอบ “สายการบินนกแอร์” เป็นคำตอบสุดท้ายของ “พีรเจต สุวรรณนภาศรี” ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ยูเนี่ยน อินทราโก้ (UIC) ในฐานะนักลงทุน “วีไอ” รายใหญ่
ส่วนตัว “ชื่นชอบ” หุ้น NOK มากกว่าหุ้น AAV เพราะ “นกแอร์” มีผลประกอบการเติบโตต่อเนื่อง ท่ามกลางความเสี่ยงมากมายของธุรกิจสายการบิน เขามีการจัดการที่ดีกว่าคู่แข่ง เรื่องนี้ต้องยอมรับ นกแอร์ มีฐานที่เล็กกว่า ฉะนั้นยังขยายตัวได้อีกมาก
“ค่อยๆโต ไม่หวือหวา” สตอรี่ใหม่ๆจะคอยผลักดันราคาหุ้น NOK ต่อเนื่อง ส่วนหุ้น AAV เขาต้องขยายธุรกิจออกไปต่างประเทศมากขึ้น เท่ากับว่าไซด์ธุรกิจต้องใหญ่ขึ้น ขณะที่คู่แข่งก็มากตามไปด้วย ฉะนั้นหากเขาเลือกเส้นทางบินผิดอาจส่งกระทบต่อผลประกอบการได้ง่าย ไม่เหมือน “นกแอร์” ที่มีฝูงบินก็เล็กกว่า ทำให้การดำเนินธุรกิจง่ายกว่า
ถ้าดูอัตราส่วนกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ธุรกิจที่มีขนาดเล็กกว่ามักมีการเติบโตที่ดีกว่า ขณะที่พวกฐานใหญ่จะโตช้ากว่า “พีรเจต” วิเคราะห์
ประโยควิจารณ์ของ “เซียนหุ้นรายใหญ่” สอดคล้องกับแรง “เชียร์ซื้อ” ที่มีต่อหุ้น สายการบินนกแอร์ ของเหล่านักวิเคราะห์ที่บอกว่า “แม้สัดส่วนตลาดสายการบินราคาประหยัดในเส้นทางการบินภายในประเทศประจำปี 2555 ของ “นกแอร์” จะอยู่ระดับ 43.4% น้อยกว่า “ไทยแอร์เอเชีย” ที่อยู่ 49.5% แต่หลังเข้าตลาดหุ้น “นกแอร์” จะมีขีดความสามารถที่ดีกว่า
ขณะที่ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) แนะเก็บหุ้น สายการบินนกแอร์ เข้าพอร์ตเช่นกัน “เขามีเส้นทางการบินที่แตกต่างจากสายการบินอื่นๆ ทำให้สามารถกำหนดราคาตั๋วเครื่องบินในราคาที่ดีกว่า ส่งผลให้อัตรากำไรสวยกว่าคู่แข่ง” หนึ่งจุดเด่นสำคัญที่นักวิเคราะห์การันตี
สอดคล้องกับคำพูดของ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ที่ว่า นกแอร์เป็นผู้นำธุรกิจ Low-Cost Airline ในประเทศที่มีอัตราเติบโตสูงสุด ด้วยจำนวนผู้โดยสารที่โตเฉลี่ยปีละ 36.5% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะขยายตัวสูงต่อไปอย่างน้อย 3-5 ปีข้างหน้า เพราะให้บริการครอบคลุมเส้นทางการบินมากที่สุดในประเทศ
“นกแอร์” มีแผนขยายเส้นทางบินต่างประเทศภายในปี 2556 แถมจะเพิ่มฝูงบินจากสิ้นปี 2555 ที่ 14 ลำ เป็น 16 ลำภายในสิ้นปี 2556 และ 23 ลำ ภายในสิ้นปี 2557 และจะเปลี่ยนฝูงบินประเภทไอพ่น ทั้งหมดเป็น “โบอิ้ง 737-800” จาก “โบอิ้ง 737-400” ส่งผลให้ประสิทธิภาพการใช้น้ำมันดีกว่า จำนวนที่นั่งมากกว่า ความสามารถในการทำ กำไรดีกว่า ดีกว่า “คู่แข่ง” เห็นๆ
จากการตรวจสอบข้อมูลการเงิน พบว่า ในช่วงไตรมาส 1/56 “ไทยแอร์เอเชีย” มีรายได้ 6,124 ล้านบาท กำไรสุทธิ 397 ล้านบาท อัตรากำไรสุทธิ 6.49% บริษัทได้ล้างขาดทุนสะสม 900 กว่าล้านบาท “หมดเกลี้ยง” ภายในไตรมาสแรกที่ผ่านมา ส่วนผลประกอบการทั้งปี 2556 “โจ-ทัศพล” ทำนายว่า รายได้อาจเติบโตเฉลี่ย 20-25% เทียบกับก่อนที่มีรายได้ 31,246 ล้านบาท ขณะที่อัตรากำไรสุทธิอาจยืนระดับ 10-15% เทียบกับปี 2555 ที่มีอัตรากำไรสุทธิระดับ 10% (อัตรากำไรสุทธิแต่ละปีขึ้นอยู่กับราคาน้ำมัน)
ส่วน “สายการบินนกแอร์” ในช่วง 3 เดือนของปี 2556 มีรายได้ระดับ 2,811 ล้านบาท กำไรสุทธิ 415 ล้านบาท อัตรากำไรสุทธิ 14.8% และมีกำไรสะสม 500 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2555 มีรายได้ 8,217 ล้านบาท กำไรสุทธิ 504 ล้านบาท และมีกำไรสะสม 338 ล้านบาท
“หุ้นปันผล” เราอยากให้นักลงทุนมองหุ้น สายการบินนกแอร์ แบบนั้น หุ้น NOK เป็นของคนไทยทุกคน ซื้อแล้วอย่ารีบขาย อนาคตราคาไปอีกไกล” ประโยคเด็ดของ “พาที สารสิน” บุตรชายคนเดียวของ “อาสา-ท่านผู้หญิงสุจิตคุณ สารสิน”
3 ปี (2556-2558) รายได้ขยายตัวเฉลี่ยปีละ 20% “ดุ๋ง” ตอกย้ำ “จุดเด่น”
ก่อนอธิบายเพิ่มเติมว่า ธุรกิจการบินโซนเอเชียจะเติบโตยิ่งกว่าแถบยุโรปและอเมริกาที่ปัจจุบันกำลังเผชิญปัญหาเศรษฐกิจหนักขึ้นเรื่อยๆ ภายในปี 2556 อัตราผู้โดยสารและรายได้จะเติบโตประมาณ 40% เมื่อเทียบกับปีก่อน ปัจจุบันเรามีผู้โดยสาร 4 ล้านคนต่อปี ถามว่าแล้วอีก 3 ปีข้างหน้าละ เขาตอบว่าจำนวนผู้โดยสารและรายได้คงขยายตัว 20% ต่อปี วันนี้เรายังเป็นรองสายการบินไทยแอร์เอเซีย ในแง่ของจำนวนผู้โดยสาร
“สายการบินภายในประเทศอันดับ 1 เป้าหมายใหญ่ของเรา”
ส่วนเรื่องเส้นทางต่างประเทศ เราจะเปิดแห่งแรกใน “แม่สอด-เมาะลำไย” ประเทศพม่า ประมาณเดือนก.ย.นี้ วันละ 1 เที่ยวบิน ในช่วง 2-3 ปีก่อน มีชาวต่างชาติเดินทางไปที่นี่เยอะ เราเชื่อว่าภายใน 3-10 ปีข้างหน้าอุตสาหกรรมการบินตลาดในเอเชียจะมีการเติบโตมากที่สุด หลังภาวะเศรษฐกิจดีกว่าทางยุโรปและอเมริกา
AEC เปิด!! “บางกอกแอร์เวย์ส” ของ “หมอปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ” เจ้าของกลุ่ม “กรุงเทพดุสิตเวชการ” (BGH) กดบัตรคิวเข้าตลาดหุ้นเป็นตัวต่อไป
“กัปตันเต๋” พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ ลูกชายสุดเลิฟของ “หมอปราเสริฐ” เคย ประกาศความพร้อมเมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมาว่า “ปลายเดือนมิ.ย.นี้ เจอกัน!! เรามีแผนจะขายหุ้นไอพีโอ 730 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 1 บาท แต่ล่วงเลยมาป่านนี้ “กัปตันเต๋” ยังไม่มีความคืบหน้า
เงินที่ได้จากการระดมทุนเราจะนำไปซื้อเครื่องบิน,ปรับปรุงซ่อมแซมโรงซ่อมเครื่องบิน,ก่อสร้างโรงครัวใหม่ที่สนามบิน สุวรรณภูมิ และสนามบินสมุย รวมถึงลงทุนเปิดเส้นทางใหม่, ชำระ คืนหนี้เงินกู้ยืม ที่เหลือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
หากไม่มีอะไรผิดพลาดปลายปี 2556 เราจะซื้อเครื่องบินแอร์บัส รุ่นเอ-320 จำนวน 2 ลำ เมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา เราเพิ่งซื้อเครื่องบินแอร์บัส รุ่นเอ-319 จำนวน 2 ลำ ฉะนั้นสิ้นปีนี้เราจะมีเครื่องบินทั้งหมด 25 ลำ
“ภายใน 4-5 ปีข้างหน้า เราจะมีเครื่องบิน 33 ลำ” “กัปตันเต๋” ปักธง
อัดโปรโมชั่นลูกค้าสุดฤทธิ์
“สายการบินไทยแอร์เอเชีย” กระตุ้นยอดขาย ด้วยการมอบราคาตั๋วโดยสารแบบประหยัดและถูกที่สุด ทั้งการเดินทางในและต่างประเทศ โดยไม่ต้องรอให้ถึงช่วงเทศกาล โปรโมชั่นแต่ละครั้งจะมีความแตกต่าง อาทิ ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 9 บาท หรือ 99 บาทขึ้นไป เป็นต้น ความถี่ในการออกโปรโมชั่นมากถึงปีละ 30-40 ครั้ง
“สายการบินนกแอร์” เลือกใช้โปรโมชั่น “พรีเมียม โลว์คอสต์” “บินสบายๆ ไม่มีบวกเพิ่ม พร้อมน้ำหนักกระเป๋าฟรี 15 กิโลกรัม อาหารว่าง และเลือกที่นั่งก็ฟรี ในราคาพิเศษ 999 บาท/เที่ยว/ท่าน (รวมทุกอย่างแล้ว) สำหรับเส้นทาง พิษณุโลก อุบลราชธานี อุดรธานี นครพนม เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่-แม่สอด
ส่วนราคา 1,099 บาท/เที่ยว/ท่าน (รวมทุกอย่างแล้ว) สำหรับเส้นทาง เชียงใหม่ เชียงราย หาดใหญ่ ภูเก็ต นครศรีธรรมราช ตรัง สุราษฎร์ธานี สกลนคร บุรีรัมย์ ชุมพร เลย แม่สอด น่าน แพร่ ร้อยเอ็ด ระนอง เชียงใหม่-หาดใหญ่ เชียงใหม่-อุดรธานี
“สายการบินบางกอกแอร์เวย์” เน้นโปรโมชั่นเกี่ยวกับราคาตั๋ว อาทิเช่น “เพียง 4 ชั่วโมง ตรงสู่ มัลดิฟส์” ราคาเริ่มต้น 13,900 บาท และบินตรงจาก “กรุงเทพฯ สู่ มัณฑะเลย์ประเทศพม่า” ราคาไปกลับเริ่มต้น 2,590 บาท และฉลองครบรอบ 45 ปี บินกับ “บางกอกแอร์เวย์” ลุ้นรับรถยนต์ LEXUS เป็นต้น