นายปิยะ ยอดมณี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินนกสกู๊ต (โลว์คอสต์ลองฮอลล์) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าขณะนี้นกสกู๊ตอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อม เพื่อเปิดดำเนินธุรกิจในต้นเดือนมกราคม ปี 2558 ซึ่งล่าช้ากว่าแผนเดิมที่จะเปิดให้บริการในเดือนตุลาคมนี้ เนื่องจากติดปัญหาจากกระบวนการยื่นขอจัดตั้งสายการบินตามข้อกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าให้บริษัทลูกของบริษัทรัฐวิสาหกิจ สามารถยื่นขอจัดตั้งสายการบินได้ เพราะมีเพียงรัฐวิสาหกิจ,บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชน ที่มีบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่า 51%หรือบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย
ขณะที่บริษัทสายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทลูกรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นใหญ่ 39 % จึงต้องปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ ให้เป็นบริษัทจำกัด เพื่อให้เข้าข่ายมีสิทธิ์ยื่นขอจัดตั้งสายการบินได้ ซึ่งโครงสร้างดังกล่าว มี Scoot Pte Ltd. ของสิงคโปร์แอร์ไลน์ส ถือหุ้นอยู่ 49% บริษัท นกมั่งคั่ง จำกัด ถือหุ้น 49% และบริษัท เพื่อนน้ำมิตร จำกัด ซึ่งเป็นผู้บริหารของสายการบินนกแอร์ ถือหุ้น 2% (ดูตารางประกอบ)
อีกทั้งเพื่อความรวดเร็วในการเปิดให้บริการ นกสกู๊ตจึงเข้าซื้อหุ้นของบริษัทที่ดำเนินกิจการอยู่แล้ว คือ บริษัท พีทแอร์ จำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจเช่าเหมาลำ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2557 และบริษัท พีทแอร์ จำกัด ได้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อและจดทะเบียนในนาม บริษัทสายการบิน นกสกู๊ต จำกัด เป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา
"การเข้าไปซื้อหุ้นของพีทแอร์ซึ่งมีใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ(AOC)อยู่แล้ว ทำให้นกสกู๊ตสามารถนำมาต่อยอดเพื่อดำเนินธุรกิจได้โดยจะใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ เพื่อยื่นเปลี่ยนชื่อไปยังกรมการบินพลเรือนหรือบพ. และจะใช้เวลาอีกราว 3 เดือนในการออกใบรับรองดังกล่าวที่จะเร็วกว่านกสกู๊ตไปยื่นขอใบเองซึ่งต้องใช้เวลาร่วม 8 เดือน และภายในเดือนพฤศจิกายนนี้จะมีการเพิ่มทุนอีก 1.8 พันล้านบาท ซึ่ง Scoot Pte Ltd. ลงทุนอยู่ที่ 980 ล้านบาท บมจ.สายการบินนกแอร์ 980 ล้านบาท และบริษัทเพื่อนน้ำมิตร จำกัด 40 ล้านบาท เพื่อให้บริษัทมีทุนจดทะเบียนเป็น 2 พันล้านบาท จากที่ลงทุนร่วมกันไปแล้ว 200 ล้านบาทเป็นทุนจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทสายการบินนกสกู๊ตฯ " นายปิยะกล่าว
ด้านแผนธุรกิจของนกสกู๊ต ในระยะแรกจะทำการบินด้วยเครื่องบินโบอิ้งรุ่น 777-200 จำนวน 2 ลำ อายุเฉลี่ย 12 ปี ซึ่งเช่ามาจากสิงคโปร์ แอร์ไลน์ส เนื่องจากได้ราคาเช่าที่ถูกกว่าราคาตลาด โดยขณะนี้ได้นำเครื่องบินไปปรับเปลี่ยนเก้าอี้ใหม่ที่ประเทศสิงคโปร์เพิ่มจาก 323 ที่นั่ง เป็น 415 ที่นั่ง เป็นเก้าอี้แบบซูเปอร์สลิม มี 2 ชั้นโดยสาร คือ สกู๊ตบิซ (พรีเมียม อีโคโนมี)และชั้นประหยัด และเพนต์เครื่องบินให้เป็นโลโกของนกสกู๊ตคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายนนี้
ส่วนโครงสร้างของฝ่ายบริหารนั้น คณะกรรมการบริหาร (บอร์ด)บริษัทสายการบินนกสกู๊ต จำกัด จะมีทั้งผู้บริหารของการบินไทย,สกู๊ต และนกแอร์ ร่วมเป็นกรรมการ มีนายโชคชัย ปัญญายงค์ ที่ปรึกษาอาวุโสรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.การบินไทยเป็นประธานบอร์ด และมีการตั้งกรรมการบริหาร(บอร์ดบริหารหรือเอ็กซ์-คอมมิทรี)โดยมีนายพาที สารสิน เป็นประธานกรรมการบริหาร
ขณะที่ตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดนั้นในส่วนหัวหน้างานที่เกี่ยวกับลูกเรือ จะเป็นผู้บริหารคนไทยที่มาจากนกแอร์ ด้านการตลาดและหัวหน้าของฝ่ายช่างจะเป็นทีมจากสิงคโปร์ เนื่องจากจะเน้นการขายจากต่างประเทศเข้าสู่เมืองไทยเป็นหลัก โดยจะทำตลาดกับเอเยนต์ก่อน เพื่อสร้างแบรนด์ในกลุ่มลูกค้าแบบB2B(ธุรกิจต่อธุรกิจ)ก่อน เพราะใช้เงินไม่มาก ต่อมาจึงขยายตลาดสู่B2C (ธุรกิจสู่ผู้บริโภค)โดยการขายตั๋วผ่าน www.nokscoot.com ทั้งจะพัฒนาเชื่อมเข้าสู่ลิงก์ของนกแอร์ รวมถึงการจองผ่านคอลล์เซ็นเตอร์ที่จะใช้ระบบของทรูเพื่อสร้างระบบการขายให้เกิดการสร้างรายได้ที่เป็นประโยชน์ให้กับประเทศไทย
สำหรับการตั้งสำนักงานใหญ่ของสายการบินอยู่ที่สนามบินดอนเมือง ซึ่งเป็นสำนักงานของพีทแอร์เดิม ที่อยู่บริเวณชั้น 2 ในส่วนของพนักงานในช่วงแรกจะมีจำนวนราว 300 คน เป็นลูกเรือ 200 คน นักบินกว่า 40 คน พนักงานประจำสำนักงานไม่เกิน 40 คน ซึ่งมีการเปิดรับสมัครนักบินเข้ามาแล้ว 14 คน สำหรับเครื่องบิน 2 ลำ และกำลังเตรียมรับเพิ่มอีก 14 คน รวมถึงการทยอยเปิดรับสมัครลูกเรือเข้ามาบ้างแล้วบางส่วน
ในด้านของเส้นทางที่จะทำการบิน จะมุ่งเส้นทางบินระยะกลางและระยะไกล ใช้ดอนเมืองเป็นฐานปฏิบัติการบินหลัก เบื้องต้นจะบิน 4 เส้นทาง ได้แก่ในเดือนมกราคม 2558 จะเริ่มบินพร้อมกันใน 3 เมืองท่องเที่ยว อาจจะเป็นฮอกไกโด โตเกียวหรือโอซากา และอีก 1 เส้นทางสู่เกาหลีใต้ ขณะที่ในเดือนมีนาคมจะบินไปจีน 1 เส้นทาง กำลังพิจารณาว่าจะเป็นปักกิ่งหรือเซี่ยงไฮ้
อย่างไรก็ตามการก่อตั้ง นกสกู๊ต จะนำไปสู่การผนึกกำลังด้านเครือข่ายเส้นทางการบินของทั้งนกแอร์,สกู๊ต (โลว์คอสต์บินระยะไกลของสิงคโปร์ แอร์ไลน์ส) และนกสกู๊ต เป็นการสร้างความแข็งแกร่งของเส้นทางบินเพิ่มและเป็นตัวเลือกที่หลากหลายให้ผู้โดยสารที่มีรัศมีการบินไม่เกิน 3 ชั่วโมงทั้งเส้นทางบินในประเทศและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเดินทางจากสิงคโปร์มาไทยหรือไทยไปสิงคโปร์และยังสามารถใช้บริการจุดบินต่าง ๆ ที่นกสกู๊ตทำการบินในรัศมี 5 ชั่วโมงได้ด้วย
"การเปิดตัวนกสกู๊ตเรามองว่าไม่ได้ต้องการไปแย่งตลาดกับใคร แต่เห็นโอกาสจากธุรกิจที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากทั้ง ญี่ปุ่น เกาหลี จีน เป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี ประชากรมาก และสามารถกระตุ้นให้เกิดการเดินทางมาเที่ยวไทยได้ เช่นเดียวกับการเชื่อมโยงการเดินทางท่องเที่ยวจากไทยไปยังประเทศในเออีซี ผ่านทางนกแอร์ ที่ปัจจุบันนอกจากบินเข้าย่างกุ้งแล้ว ปีหน้ามีแผนจะเปิดบินโฮจิมินห์และฮานอย ของเวียดนาม รวมถึงจุดบินใหม่ ๆในเมียนมาร์"นายปิยะกล่าวทิ้งท้าย
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,978 วันที่ 28 - 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557
เก็บเงินได้เลย แดง เหลือง ฟัดกันอีกแระ แต่งานนี้ผู้บริโภคได้ประโยชน์
nok scoot มาแล้วเตรียมเปิด โตเกียว โอซาก้า ฮอกไกโด เกาหลี ที่ช้าไม่ได้หลบแต่ติดระเบียบราชการ
นายปิยะ ยอดมณี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินนกสกู๊ต (โลว์คอสต์ลองฮอลล์) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าขณะนี้นกสกู๊ตอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อม เพื่อเปิดดำเนินธุรกิจในต้นเดือนมกราคม ปี 2558 ซึ่งล่าช้ากว่าแผนเดิมที่จะเปิดให้บริการในเดือนตุลาคมนี้ เนื่องจากติดปัญหาจากกระบวนการยื่นขอจัดตั้งสายการบินตามข้อกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าให้บริษัทลูกของบริษัทรัฐวิสาหกิจ สามารถยื่นขอจัดตั้งสายการบินได้ เพราะมีเพียงรัฐวิสาหกิจ,บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชน ที่มีบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่า 51%หรือบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย
ขณะที่บริษัทสายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทลูกรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นใหญ่ 39 % จึงต้องปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ ให้เป็นบริษัทจำกัด เพื่อให้เข้าข่ายมีสิทธิ์ยื่นขอจัดตั้งสายการบินได้ ซึ่งโครงสร้างดังกล่าว มี Scoot Pte Ltd. ของสิงคโปร์แอร์ไลน์ส ถือหุ้นอยู่ 49% บริษัท นกมั่งคั่ง จำกัด ถือหุ้น 49% และบริษัท เพื่อนน้ำมิตร จำกัด ซึ่งเป็นผู้บริหารของสายการบินนกแอร์ ถือหุ้น 2% (ดูตารางประกอบ)
อีกทั้งเพื่อความรวดเร็วในการเปิดให้บริการ นกสกู๊ตจึงเข้าซื้อหุ้นของบริษัทที่ดำเนินกิจการอยู่แล้ว คือ บริษัท พีทแอร์ จำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจเช่าเหมาลำ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2557 และบริษัท พีทแอร์ จำกัด ได้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อและจดทะเบียนในนาม บริษัทสายการบิน นกสกู๊ต จำกัด เป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา
"การเข้าไปซื้อหุ้นของพีทแอร์ซึ่งมีใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ(AOC)อยู่แล้ว ทำให้นกสกู๊ตสามารถนำมาต่อยอดเพื่อดำเนินธุรกิจได้โดยจะใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ เพื่อยื่นเปลี่ยนชื่อไปยังกรมการบินพลเรือนหรือบพ. และจะใช้เวลาอีกราว 3 เดือนในการออกใบรับรองดังกล่าวที่จะเร็วกว่านกสกู๊ตไปยื่นขอใบเองซึ่งต้องใช้เวลาร่วม 8 เดือน และภายในเดือนพฤศจิกายนนี้จะมีการเพิ่มทุนอีก 1.8 พันล้านบาท ซึ่ง Scoot Pte Ltd. ลงทุนอยู่ที่ 980 ล้านบาท บมจ.สายการบินนกแอร์ 980 ล้านบาท และบริษัทเพื่อนน้ำมิตร จำกัด 40 ล้านบาท เพื่อให้บริษัทมีทุนจดทะเบียนเป็น 2 พันล้านบาท จากที่ลงทุนร่วมกันไปแล้ว 200 ล้านบาทเป็นทุนจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทสายการบินนกสกู๊ตฯ " นายปิยะกล่าว
ด้านแผนธุรกิจของนกสกู๊ต ในระยะแรกจะทำการบินด้วยเครื่องบินโบอิ้งรุ่น 777-200 จำนวน 2 ลำ อายุเฉลี่ย 12 ปี ซึ่งเช่ามาจากสิงคโปร์ แอร์ไลน์ส เนื่องจากได้ราคาเช่าที่ถูกกว่าราคาตลาด โดยขณะนี้ได้นำเครื่องบินไปปรับเปลี่ยนเก้าอี้ใหม่ที่ประเทศสิงคโปร์เพิ่มจาก 323 ที่นั่ง เป็น 415 ที่นั่ง เป็นเก้าอี้แบบซูเปอร์สลิม มี 2 ชั้นโดยสาร คือ สกู๊ตบิซ (พรีเมียม อีโคโนมี)และชั้นประหยัด และเพนต์เครื่องบินให้เป็นโลโกของนกสกู๊ตคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายนนี้
ส่วนโครงสร้างของฝ่ายบริหารนั้น คณะกรรมการบริหาร (บอร์ด)บริษัทสายการบินนกสกู๊ต จำกัด จะมีทั้งผู้บริหารของการบินไทย,สกู๊ต และนกแอร์ ร่วมเป็นกรรมการ มีนายโชคชัย ปัญญายงค์ ที่ปรึกษาอาวุโสรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.การบินไทยเป็นประธานบอร์ด และมีการตั้งกรรมการบริหาร(บอร์ดบริหารหรือเอ็กซ์-คอมมิทรี)โดยมีนายพาที สารสิน เป็นประธานกรรมการบริหาร
ขณะที่ตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดนั้นในส่วนหัวหน้างานที่เกี่ยวกับลูกเรือ จะเป็นผู้บริหารคนไทยที่มาจากนกแอร์ ด้านการตลาดและหัวหน้าของฝ่ายช่างจะเป็นทีมจากสิงคโปร์ เนื่องจากจะเน้นการขายจากต่างประเทศเข้าสู่เมืองไทยเป็นหลัก โดยจะทำตลาดกับเอเยนต์ก่อน เพื่อสร้างแบรนด์ในกลุ่มลูกค้าแบบB2B(ธุรกิจต่อธุรกิจ)ก่อน เพราะใช้เงินไม่มาก ต่อมาจึงขยายตลาดสู่B2C (ธุรกิจสู่ผู้บริโภค)โดยการขายตั๋วผ่าน www.nokscoot.com ทั้งจะพัฒนาเชื่อมเข้าสู่ลิงก์ของนกแอร์ รวมถึงการจองผ่านคอลล์เซ็นเตอร์ที่จะใช้ระบบของทรูเพื่อสร้างระบบการขายให้เกิดการสร้างรายได้ที่เป็นประโยชน์ให้กับประเทศไทย
สำหรับการตั้งสำนักงานใหญ่ของสายการบินอยู่ที่สนามบินดอนเมือง ซึ่งเป็นสำนักงานของพีทแอร์เดิม ที่อยู่บริเวณชั้น 2 ในส่วนของพนักงานในช่วงแรกจะมีจำนวนราว 300 คน เป็นลูกเรือ 200 คน นักบินกว่า 40 คน พนักงานประจำสำนักงานไม่เกิน 40 คน ซึ่งมีการเปิดรับสมัครนักบินเข้ามาแล้ว 14 คน สำหรับเครื่องบิน 2 ลำ และกำลังเตรียมรับเพิ่มอีก 14 คน รวมถึงการทยอยเปิดรับสมัครลูกเรือเข้ามาบ้างแล้วบางส่วน
ในด้านของเส้นทางที่จะทำการบิน จะมุ่งเส้นทางบินระยะกลางและระยะไกล ใช้ดอนเมืองเป็นฐานปฏิบัติการบินหลัก เบื้องต้นจะบิน 4 เส้นทาง ได้แก่ในเดือนมกราคม 2558 จะเริ่มบินพร้อมกันใน 3 เมืองท่องเที่ยว อาจจะเป็นฮอกไกโด โตเกียวหรือโอซากา และอีก 1 เส้นทางสู่เกาหลีใต้ ขณะที่ในเดือนมีนาคมจะบินไปจีน 1 เส้นทาง กำลังพิจารณาว่าจะเป็นปักกิ่งหรือเซี่ยงไฮ้
อย่างไรก็ตามการก่อตั้ง นกสกู๊ต จะนำไปสู่การผนึกกำลังด้านเครือข่ายเส้นทางการบินของทั้งนกแอร์,สกู๊ต (โลว์คอสต์บินระยะไกลของสิงคโปร์ แอร์ไลน์ส) และนกสกู๊ต เป็นการสร้างความแข็งแกร่งของเส้นทางบินเพิ่มและเป็นตัวเลือกที่หลากหลายให้ผู้โดยสารที่มีรัศมีการบินไม่เกิน 3 ชั่วโมงทั้งเส้นทางบินในประเทศและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเดินทางจากสิงคโปร์มาไทยหรือไทยไปสิงคโปร์และยังสามารถใช้บริการจุดบินต่าง ๆ ที่นกสกู๊ตทำการบินในรัศมี 5 ชั่วโมงได้ด้วย
"การเปิดตัวนกสกู๊ตเรามองว่าไม่ได้ต้องการไปแย่งตลาดกับใคร แต่เห็นโอกาสจากธุรกิจที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากทั้ง ญี่ปุ่น เกาหลี จีน เป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี ประชากรมาก และสามารถกระตุ้นให้เกิดการเดินทางมาเที่ยวไทยได้ เช่นเดียวกับการเชื่อมโยงการเดินทางท่องเที่ยวจากไทยไปยังประเทศในเออีซี ผ่านทางนกแอร์ ที่ปัจจุบันนอกจากบินเข้าย่างกุ้งแล้ว ปีหน้ามีแผนจะเปิดบินโฮจิมินห์และฮานอย ของเวียดนาม รวมถึงจุดบินใหม่ ๆในเมียนมาร์"นายปิยะกล่าวทิ้งท้าย
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,978 วันที่ 28 - 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557
เก็บเงินได้เลย แดง เหลือง ฟัดกันอีกแระ แต่งานนี้ผู้บริโภคได้ประโยชน์