**
โพธิปักขิยธรรม **
ได้แสดงสติปัฏฐานทั้ง ๔ มาถึงหมวดหลังนี้ ซึ่งในมหาสติปัฏฐานยังมีอีก ๒ หมวด คือหมวดโพชฌงค์
และหมวดมรรคมีองค์ ๘ แต่ว่า ๒ หมวดนี้ได้รวมอยู่ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนี้แล้ว เป็นหมวดสุดท้าย
และรองสุดท้าย
เพราะว่าในโพธิปักขิยธรรมทั้ง ๓๗ ประการนี้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสรวมเอาหมวดธรรมต่างๆ ที่ได้ตรัสแสดงไว้มา
รวมเข้าเป็นหมวดใหญ่ ตรัสว่าเป็นโพธิปักขิยธรรม ธรรมะที่เป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ ก็คือ
สติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕
พละ ๕
โพชฌงค์ ๗
มรรคมีองค์ ๘
เป็น ๗ หมวด โพชฌงค์ไปเป็นหมวดที่ ๖ มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นหมวดที่ ๗ อันเป็นหมวดสุดท้าย เพราะฉะนั้น
เมื่อได้อธิบายสติปัฏฐาน ๔ ตามหลักมหาสติปัฏฐาน มาถึงหมวดอายตนะแล้ว จึงเว้นโพชฌงค์และมรรคไว้
ต่อเป็นหมวดที่ ๖ ที่ ๗ ของโพธิปักขิยธรรม จึงแสดงหมวดที่ ๒ ของโพธิปักขิยธรรมคือสัมมัปปธานทั้ง ๔
สัมมัปปธาน ความเพียรที่พึงกระทำก่อน
สัมมัปปธาน แปลกันเพื่อเข้าใจง่ายว่าความเพียรชอบ ซึ่งมีอยู่ ๔ ประการ คือ
๑
สังวรปธาน เพียรระวังบาปอกุศลมิให้เกิดขึ้น
๒
ปหานปธาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
๓
ภาวนาปธาน เพียรทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔
อนุรักขณาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อมแต่ให้เจริญบริบูรณ์
อันคำว่า
ปธานะ แปลกันง่ายๆ เข้าใจง่ายๆ ว่าเพียร
สัมมัป คือสัมมา ก็แปลว่าชอบ
คำว่าปธานะนี้
ก็แปลตามศัพท์ว่า ทรงไว้ข้างหน้า คือตั้งไว้ข้างหน้า อันหมายความว่าเป็นความเพียรที่พึงกระทำก่อน ไม่ใช่กระทำในภายหลัง
และคำว่าปธานะนี้ ก็มาใช้หมายถึงสิ่งที่เป็นประธาน เช่นพระพุทธรูปซึ่งตั้งอยู่เป็นหลักสำคัญในอุโบสถ หรือในโบสถ์
ก็เรียกว่าพระประธาน พระพุทธเจ้าเมื่อประทับอยู่ในหมู่สงฆ์ ก็เรียกว่าประทับอยู่เป็นประธานแห่งสงฆ์ บุคคลที่นั่งอยู่ข้างหน้า
เป็นประธานของการประชุมก็เรียกว่าประธานที่ประชุม ก็ตรงตามศัพท์ว่าดำรงอยู่ข้างหน้า หรือตั้งไว้ข้างหน้า
และ
ความเพียรที่มาเรียกว่าปธานนี้ จึงมีความหมายว่า เป็นความเพียรที่พึงตั้งขึ้นไว้เบื้องหน้า พึงกระทำก่อน
เพราะว่าทุกคนนั้นย่อมมีสิ่งที่พึงทำหลายอย่าง ผู้ที่มีธุระมาก ก็ต้องมีความเพียรที่จะต้องกระทำมาก แต่ในบรรดาธุระที่กระทำนั้น
จะทำเรื่องใดเป็นที่ ๑ เรื่องใดเป็นที่ ๒ เรื่องใด เป็นที่ ๓ หรือว่าในเวลาใดในเวลาหนึ่ง จะพึงทำเรื่องใดในเวลานั้น
และเมื่อได้กำหนดไว้ดั่งนี้ ถ้ากำหนดไว้ว่าเป็นเรื่องที่พึงทำที่ ๑ ที่ ๒ เรื่องที่พึงทำเป็นที่ ๑ ก็เรียกว่าเป็นเรื่องที่เป็นประธาน
ความเพียรที่พึงกระทำในเรื่องนั้น ก็เรียกว่า ปธาน หรือว่าถ้ากำหนดเวลา ว่าในเวลาใดจะทำเรื่องใด ถึงเวลานั้นก็ทำเรื่องนั้น
เรื่องนั้นก็เป็นประธานของเรื่องทั้งหลายในเวลานั้น คือจะต้องทำในเวลานั้น และความเพียรที่กระทำก็เรียกว่า ปธาน
ดั่งเช่นในเวลานี้เป็นเวลาที่ท่านผู้มุ่งปฏิบัติธรรม กำหนดไว้ว่าจะมาฟังธรรมมาปฏิบัติธรรม ในเวลานี้เรื่องการปฏิบัติธรรม
เรื่องการฟังธรรมปฏิบัติธรรมจึงเป็นประธาน เรื่องอื่นก็งดไว้ก่อน และความเพียรที่พึงทำก็เรียกว่าเป็นประธาน
สัมมัปปธาน ๔ (๑)
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร
คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์
อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ
https://sites.google.com/site/smartdhamma/sammappthan-4-1
" สัมมัปปธาน" -------> ความเพียรที่พึงกระทำก่อน
** โพธิปักขิยธรรม **
ได้แสดงสติปัฏฐานทั้ง ๔ มาถึงหมวดหลังนี้ ซึ่งในมหาสติปัฏฐานยังมีอีก ๒ หมวด คือหมวดโพชฌงค์
และหมวดมรรคมีองค์ ๘ แต่ว่า ๒ หมวดนี้ได้รวมอยู่ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนี้แล้ว เป็นหมวดสุดท้าย
และรองสุดท้าย
เพราะว่าในโพธิปักขิยธรรมทั้ง ๓๗ ประการนี้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสรวมเอาหมวดธรรมต่างๆ ที่ได้ตรัสแสดงไว้มา
รวมเข้าเป็นหมวดใหญ่ ตรัสว่าเป็นโพธิปักขิยธรรม ธรรมะที่เป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ ก็คือ
สติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕
พละ ๕
โพชฌงค์ ๗
มรรคมีองค์ ๘
เป็น ๗ หมวด โพชฌงค์ไปเป็นหมวดที่ ๖ มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นหมวดที่ ๗ อันเป็นหมวดสุดท้าย เพราะฉะนั้น
เมื่อได้อธิบายสติปัฏฐาน ๔ ตามหลักมหาสติปัฏฐาน มาถึงหมวดอายตนะแล้ว จึงเว้นโพชฌงค์และมรรคไว้
ต่อเป็นหมวดที่ ๖ ที่ ๗ ของโพธิปักขิยธรรม จึงแสดงหมวดที่ ๒ ของโพธิปักขิยธรรมคือสัมมัปปธานทั้ง ๔
สัมมัปปธาน ความเพียรที่พึงกระทำก่อน
สัมมัปปธาน แปลกันเพื่อเข้าใจง่ายว่าความเพียรชอบ ซึ่งมีอยู่ ๔ ประการ คือ
๑ สังวรปธาน เพียรระวังบาปอกุศลมิให้เกิดขึ้น
๒ ปหานปธาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
๓ ภาวนาปธาน เพียรทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔ อนุรักขณาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อมแต่ให้เจริญบริบูรณ์
อันคำว่า ปธานะ แปลกันง่ายๆ เข้าใจง่ายๆ ว่าเพียร สัมมัป คือสัมมา ก็แปลว่าชอบ คำว่าปธานะนี้
ก็แปลตามศัพท์ว่า ทรงไว้ข้างหน้า คือตั้งไว้ข้างหน้า อันหมายความว่าเป็นความเพียรที่พึงกระทำก่อน ไม่ใช่กระทำในภายหลัง
และคำว่าปธานะนี้ ก็มาใช้หมายถึงสิ่งที่เป็นประธาน เช่นพระพุทธรูปซึ่งตั้งอยู่เป็นหลักสำคัญในอุโบสถ หรือในโบสถ์
ก็เรียกว่าพระประธาน พระพุทธเจ้าเมื่อประทับอยู่ในหมู่สงฆ์ ก็เรียกว่าประทับอยู่เป็นประธานแห่งสงฆ์ บุคคลที่นั่งอยู่ข้างหน้า
เป็นประธานของการประชุมก็เรียกว่าประธานที่ประชุม ก็ตรงตามศัพท์ว่าดำรงอยู่ข้างหน้า หรือตั้งไว้ข้างหน้า
และความเพียรที่มาเรียกว่าปธานนี้ จึงมีความหมายว่า เป็นความเพียรที่พึงตั้งขึ้นไว้เบื้องหน้า พึงกระทำก่อน
เพราะว่าทุกคนนั้นย่อมมีสิ่งที่พึงทำหลายอย่าง ผู้ที่มีธุระมาก ก็ต้องมีความเพียรที่จะต้องกระทำมาก แต่ในบรรดาธุระที่กระทำนั้น
จะทำเรื่องใดเป็นที่ ๑ เรื่องใดเป็นที่ ๒ เรื่องใด เป็นที่ ๓ หรือว่าในเวลาใดในเวลาหนึ่ง จะพึงทำเรื่องใดในเวลานั้น
และเมื่อได้กำหนดไว้ดั่งนี้ ถ้ากำหนดไว้ว่าเป็นเรื่องที่พึงทำที่ ๑ ที่ ๒ เรื่องที่พึงทำเป็นที่ ๑ ก็เรียกว่าเป็นเรื่องที่เป็นประธาน
ความเพียรที่พึงกระทำในเรื่องนั้น ก็เรียกว่า ปธาน หรือว่าถ้ากำหนดเวลา ว่าในเวลาใดจะทำเรื่องใด ถึงเวลานั้นก็ทำเรื่องนั้น
เรื่องนั้นก็เป็นประธานของเรื่องทั้งหลายในเวลานั้น คือจะต้องทำในเวลานั้น และความเพียรที่กระทำก็เรียกว่า ปธาน
ดั่งเช่นในเวลานี้เป็นเวลาที่ท่านผู้มุ่งปฏิบัติธรรม กำหนดไว้ว่าจะมาฟังธรรมมาปฏิบัติธรรม ในเวลานี้เรื่องการปฏิบัติธรรม
เรื่องการฟังธรรมปฏิบัติธรรมจึงเป็นประธาน เรื่องอื่นก็งดไว้ก่อน และความเพียรที่พึงทำก็เรียกว่าเป็นประธาน
สัมมัปปธาน ๔ (๑)
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร
คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์
อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ
https://sites.google.com/site/smartdhamma/sammappthan-4-1