การทำบุญในปัจจุบันสามารถทำได้อย่างสะดวกและสบาย ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญผ่านการโอนเงินทางแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์ การส่งของใช้ที่สภาพยังใช้ได้ให้กับหน่วยงานต่างๆ ผ่านทางไปรษณีย์ หรือแม้กระทั่งซื้ออาหารชุดที่ทำสำเร็จไปใส่บาตรพระในเช้าก่อนทำงานก็ตาม
แน่นอนว่าความเร่งรีบบวกกับความเคยชินอาจชวนให้คนส่วนใหญ่หลงลืมไปว่าในอาหารชุดสำเร็จรูปที่ขายตามท้องตลาดส่วนใหญ่มีโปรตีนและสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายไม่ครบถ้วน ในขณะที่มีปริมาณน้ำตาล น้ำมัน เกลือ กะทิ หรือโซเดียมมากเกินกว่าความต้องการ เมื่อพระสงฆ์ฉันอาหารลักษณะนี้ไปเรื่อยๆ จะทำให้พระสงฆ์อาพาธ (เจ็บป่วย) ด้วยโรคต่างๆ
ซึ่งหากดูจากรายงานสถานการณ์ปัญหาโภชนาการในสงฆ์ ของโครงการสงฆ์ไทยไกลโรค ปี 2559 ที่สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จะพบว่า 5 โรคยอดฮิตของพระสงฆ์ไทยคือ โรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ปอด โรคหัวและหลอดเลือด ตามลำดับ ซึ่งสาเหตุของการเจ็บป่วยในพระสงฆ์เกิดจากการฉันอาหารที่มีไขมันสูงและดื่มน้ำปานะที่มีรสหวาน เฉลี่ย 2 แก้ว/วัน รวมถึงออกกำลังกายน้อย เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายของพระสงฆ์อย่างการเดินรอบวัด กวาดลานวัด ยังไม่เพียงพอสำหรับการเผาผลาญพลังงานในแต่ละวัน
เมื่อฆราวาสอย่างเราเป็นผู้ถวายอาหารให้พระสงฆ์ ทั้งการใส่บาตรและถวายเพล อีกทั้งพระสงฆ์ ไม่สามารถเลือกฉันอาหารเองได้ ฆราวาสก็ควรคำนึงเลือกอาหารคุณภาพดีไปถวาย สำหรับฆราวาสญาติโยมที่ไม่สะดวกประกอบอาหารนำไปถวายพระด้วยตัวเองก็สามารถเลือกซื้ออาหารสำเร็จไปใส่บาตรได้ตามเดิม เพียงแต่ขอให้เพิ่มความใส่ใจในการเลือกซื้ออาหารลงไปอีกนิด พิจารณาดูอีกหน่อยว่าอาหารเหล่านั้นมีสารอาหารครบถ้วนเพียงพอหรือไม่ ไม่จำเป็นที่จะต้องถวายกับข้าวหลายอย่าง ท่านสามารถเลือกถวายกับข้าวเพียง 1 อย่าง แต่เป็น 1 เมนูอาหารที่มีคุณภาพส่งเสริมต่อการมีสุขภาพที่ดีได้
ทั้งนี้
ในส่วนของแม่ค้าแม่ขายที่ประกอบอาหารก็อย่าลืมคำนึงถึงสุขภาพของพระสงฆ์ เพราะในยุคปัจจุบันคนนิยมซื้ออาหารสำเร็จเป็นส่วนมาก หากแม่ค้ายังคงประกอบอาหารแบบเดิม มีผักน้อยชนิด ยังปรุงอาหารรสชาติจัดจ้าน และเน้นเมนูที่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบค่อนข้างเยอะ แนวโน้มการเจ็บป่วยของพระสงฆ์ไทยก็อาจไม่ลดลงจากเดิมเท่าไหร่นัก
เมื่อแม่ค้าเป็นมือหนึ่งในการประกอบอาหารและปรุงรสชาติ ทีมเว็บไซต์ สสส. จึงนำเคล็ดลับการประกอบอาหารที่เป็นการปรุงอาหารด้วยความคำนึงและใส่ใจสุขภาพพระสงฆ์ไทย ด้วยการ
‘ใส่สุขภาพ เสริมข้าวกล้อง เสริมผัก เสริมปลา เสริมนม สรร-ปานะ และ สรร-กิจนิมนต์’ มาฝากดังนี้ค่ะ
1. เสริมข้าวกล้อง เพิ่มใยอาหารด้วยวิตามิน : ด้วยการผสมข้าวกล้องและข้าวขาวอย่างละครึ่ง ข้าวกล้องมีประโยชน์ต่อหัวใจ ลดความเสี่ยงไขมันอุดตันเส้นเลือด ช่วยระบบขับถ่าย และอุดมไปด้วยวิตามินบี เนื่องจากในข้าวกล้องมีสารเส้นใยสูงกว่าข้าวขาวถึง 3-7 เท่า
2. เสริมผัก หลากชนิด : ด้วยการบริโภคผักและผลไม้ 2 ส่วน ต่อข้าว 1 ส่วน และเนื้อสัตว์หรือไข่ 1 ส่วน เพราะผักและผลไม้มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง และเบาหวานได้มากในผักและแร่ธาตุ กากใยอาหาร ทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น ทั้งนี้ผักในท้องตลาดมีหลากหลายชนิดด้วยกัน ยิ่งมีผักหลากหลายชนิดในเมนูอาหารก็ยิ่งมากไปด้วยประโยชน์ แต่น่าเสียดายที่พระสงฆ์ไม่ได้ฉันในปริมาณที่เพียงพอ เนื่องจากในอาหารตักบาตรไม่มีผลไม้ และญาติโยมไม่ได้นำมาถวาย ท่านจึงไม่ได้ฉันผักสดหรือผลไม้รสหวานน้อย อย่าง มะละกอ ฝรั่ง แอปเปิ้ล และสาลี
3. เสริมปลา ลาไกลมะเร็ง : ปลาเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 ถือเป็นอาหารสุขภาพ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและมะเร็ง ซึ่งปลายังเป็นวัตถุดิบที่รังสรรค์อาหารได้หลากหลายเมนู อาทิ ปลาผัดขึ้นฉ่าย ปลานึ่งมะนาว ยำปลาสลิด เมี่ยงปลาทู เป็นต้น อีกทั้งยังมีกรรมวิธีการทำที่หลากหลาย ทั้งนึ่ง ต้มโคล้ง ต้มยำ แกงส้ม ผัด ทอด ย่าง หรืออ่อม
4. เสริมนม ผสมกะทิ กระดูกดี : ปรับให้เมนูของคาวและหวานที่มีส่วนผสมจากกะทิเป็นเมนูสุขภาพมากขึ้น ด้วยการใช้สูตรกะทิครึ่ง+นมครึ่ง ได้สุขภาพดีโดยที่ไม่เสียรสชาติอาหาร อาหารยังคงอร่อย มีคุณค่าอาหารและแคลเซียมสูง แต่สำหรับพระสงฆ์ที่ไม่สามารถฉันนมวัว สามารถใช้นมถั่วเหลืองแทนได้ เพราะการกินไขมันมากเกินความจำเป็นอาจทำให้อ้วนง่ายและมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่นำนมวัวมาผสมสอดแทรกในเมนูอาหารเนื่องจากยังคงมีพระสงฆ์จำนวนหนึ่งมีปัญหาเรื่องกระดูกพรุน กระดูกบาง เพราะพระบางท่านไม่ดื่มนมวัวเลย ประกอบกับไม่ได้รับอาหารที่มีแคลเซียมมากนัก จึงมีความเสี่ยงมีภาวะกระดูกไม่แข็งแรงด้วย
5. สรรปานะ ลดน้ำตาล : น้ำปานะ หรือ เครื่องดื่มที่จะช่วยบรรเทาความหิวขณะท้องว่างได้ ควรมีปริมาณน้ำตาลน้อยและมีโปรตีนอยู่ด้วย อย่างเช่น โยเกิร์ต นมวัว-นมถั่วเหลือง ทั้งนี้ควรเลือกชนิดไขมันต่ำ รสชาติจืดหรือหวานน้อยแทน
6. ลดเค็ม ลดมัน รสชาติไม่จัดจ้าน : เพื่อเป็นการรักษาสุขภาพพระสงฆ์ควรลดปริมาณการปรุง ทั้ง น้ำปลา เกลือ น้ำบูดู น้ำไตปลา ปลาร้า ปลาจ่อม รวมถึงควรใช้น้ำมันในปริมาณที่น้อย หรือเปลี่ยนเป็นกรรมวิธีการต้ม อบ ตุ๋น นึ่ง แทน
เพื่อเป็นการส่งเสริมและเอื้อให้พระสงฆ์ไทยมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการฉันอาหารที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) อย่าง โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิต โครงการสงฆ์ไทยไกลโรค โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงขอเป็นอีกหนึ่งช่องทางดีๆ ที่เผยแพร่ข้อมูลและผลิตสื่อด้านโภชนาการที่ถูกต้อง ที่มีส่วนช่วยให้ฆราวาสอย่างเราๆ เลือกอาหารคุณภาพดีไปถวายใส่บาตร เพื่อที่พระสงฆ์จะได้มีสุขภาพร่างกายที่ดีอย่างยั่งยืน
ที่มา
http://health.sanook.com/7809/
เลือกของใส่บาตรอย่างไร ให้มีคุณค่า !!
การทำบุญในปัจจุบันสามารถทำได้อย่างสะดวกและสบาย ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญผ่านการโอนเงินทางแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์ การส่งของใช้ที่สภาพยังใช้ได้ให้กับหน่วยงานต่างๆ ผ่านทางไปรษณีย์ หรือแม้กระทั่งซื้ออาหารชุดที่ทำสำเร็จไปใส่บาตรพระในเช้าก่อนทำงานก็ตาม
แน่นอนว่าความเร่งรีบบวกกับความเคยชินอาจชวนให้คนส่วนใหญ่หลงลืมไปว่าในอาหารชุดสำเร็จรูปที่ขายตามท้องตลาดส่วนใหญ่มีโปรตีนและสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายไม่ครบถ้วน ในขณะที่มีปริมาณน้ำตาล น้ำมัน เกลือ กะทิ หรือโซเดียมมากเกินกว่าความต้องการ เมื่อพระสงฆ์ฉันอาหารลักษณะนี้ไปเรื่อยๆ จะทำให้พระสงฆ์อาพาธ (เจ็บป่วย) ด้วยโรคต่างๆ ซึ่งหากดูจากรายงานสถานการณ์ปัญหาโภชนาการในสงฆ์ ของโครงการสงฆ์ไทยไกลโรค ปี 2559 ที่สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จะพบว่า 5 โรคยอดฮิตของพระสงฆ์ไทยคือ โรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ปอด โรคหัวและหลอดเลือด ตามลำดับ ซึ่งสาเหตุของการเจ็บป่วยในพระสงฆ์เกิดจากการฉันอาหารที่มีไขมันสูงและดื่มน้ำปานะที่มีรสหวาน เฉลี่ย 2 แก้ว/วัน รวมถึงออกกำลังกายน้อย เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายของพระสงฆ์อย่างการเดินรอบวัด กวาดลานวัด ยังไม่เพียงพอสำหรับการเผาผลาญพลังงานในแต่ละวัน
เมื่อฆราวาสอย่างเราเป็นผู้ถวายอาหารให้พระสงฆ์ ทั้งการใส่บาตรและถวายเพล อีกทั้งพระสงฆ์ ไม่สามารถเลือกฉันอาหารเองได้ ฆราวาสก็ควรคำนึงเลือกอาหารคุณภาพดีไปถวาย สำหรับฆราวาสญาติโยมที่ไม่สะดวกประกอบอาหารนำไปถวายพระด้วยตัวเองก็สามารถเลือกซื้ออาหารสำเร็จไปใส่บาตรได้ตามเดิม เพียงแต่ขอให้เพิ่มความใส่ใจในการเลือกซื้ออาหารลงไปอีกนิด พิจารณาดูอีกหน่อยว่าอาหารเหล่านั้นมีสารอาหารครบถ้วนเพียงพอหรือไม่ ไม่จำเป็นที่จะต้องถวายกับข้าวหลายอย่าง ท่านสามารถเลือกถวายกับข้าวเพียง 1 อย่าง แต่เป็น 1 เมนูอาหารที่มีคุณภาพส่งเสริมต่อการมีสุขภาพที่ดีได้
ทั้งนี้ ในส่วนของแม่ค้าแม่ขายที่ประกอบอาหารก็อย่าลืมคำนึงถึงสุขภาพของพระสงฆ์ เพราะในยุคปัจจุบันคนนิยมซื้ออาหารสำเร็จเป็นส่วนมาก หากแม่ค้ายังคงประกอบอาหารแบบเดิม มีผักน้อยชนิด ยังปรุงอาหารรสชาติจัดจ้าน และเน้นเมนูที่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบค่อนข้างเยอะ แนวโน้มการเจ็บป่วยของพระสงฆ์ไทยก็อาจไม่ลดลงจากเดิมเท่าไหร่นัก
เมื่อแม่ค้าเป็นมือหนึ่งในการประกอบอาหารและปรุงรสชาติ ทีมเว็บไซต์ สสส. จึงนำเคล็ดลับการประกอบอาหารที่เป็นการปรุงอาหารด้วยความคำนึงและใส่ใจสุขภาพพระสงฆ์ไทย ด้วยการ ‘ใส่สุขภาพ เสริมข้าวกล้อง เสริมผัก เสริมปลา เสริมนม สรร-ปานะ และ สรร-กิจนิมนต์’ มาฝากดังนี้ค่ะ
1. เสริมข้าวกล้อง เพิ่มใยอาหารด้วยวิตามิน : ด้วยการผสมข้าวกล้องและข้าวขาวอย่างละครึ่ง ข้าวกล้องมีประโยชน์ต่อหัวใจ ลดความเสี่ยงไขมันอุดตันเส้นเลือด ช่วยระบบขับถ่าย และอุดมไปด้วยวิตามินบี เนื่องจากในข้าวกล้องมีสารเส้นใยสูงกว่าข้าวขาวถึง 3-7 เท่า
2. เสริมผัก หลากชนิด : ด้วยการบริโภคผักและผลไม้ 2 ส่วน ต่อข้าว 1 ส่วน และเนื้อสัตว์หรือไข่ 1 ส่วน เพราะผักและผลไม้มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง และเบาหวานได้มากในผักและแร่ธาตุ กากใยอาหาร ทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น ทั้งนี้ผักในท้องตลาดมีหลากหลายชนิดด้วยกัน ยิ่งมีผักหลากหลายชนิดในเมนูอาหารก็ยิ่งมากไปด้วยประโยชน์ แต่น่าเสียดายที่พระสงฆ์ไม่ได้ฉันในปริมาณที่เพียงพอ เนื่องจากในอาหารตักบาตรไม่มีผลไม้ และญาติโยมไม่ได้นำมาถวาย ท่านจึงไม่ได้ฉันผักสดหรือผลไม้รสหวานน้อย อย่าง มะละกอ ฝรั่ง แอปเปิ้ล และสาลี
3. เสริมปลา ลาไกลมะเร็ง : ปลาเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 ถือเป็นอาหารสุขภาพ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและมะเร็ง ซึ่งปลายังเป็นวัตถุดิบที่รังสรรค์อาหารได้หลากหลายเมนู อาทิ ปลาผัดขึ้นฉ่าย ปลานึ่งมะนาว ยำปลาสลิด เมี่ยงปลาทู เป็นต้น อีกทั้งยังมีกรรมวิธีการทำที่หลากหลาย ทั้งนึ่ง ต้มโคล้ง ต้มยำ แกงส้ม ผัด ทอด ย่าง หรืออ่อม
4. เสริมนม ผสมกะทิ กระดูกดี : ปรับให้เมนูของคาวและหวานที่มีส่วนผสมจากกะทิเป็นเมนูสุขภาพมากขึ้น ด้วยการใช้สูตรกะทิครึ่ง+นมครึ่ง ได้สุขภาพดีโดยที่ไม่เสียรสชาติอาหาร อาหารยังคงอร่อย มีคุณค่าอาหารและแคลเซียมสูง แต่สำหรับพระสงฆ์ที่ไม่สามารถฉันนมวัว สามารถใช้นมถั่วเหลืองแทนได้ เพราะการกินไขมันมากเกินความจำเป็นอาจทำให้อ้วนง่ายและมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่นำนมวัวมาผสมสอดแทรกในเมนูอาหารเนื่องจากยังคงมีพระสงฆ์จำนวนหนึ่งมีปัญหาเรื่องกระดูกพรุน กระดูกบาง เพราะพระบางท่านไม่ดื่มนมวัวเลย ประกอบกับไม่ได้รับอาหารที่มีแคลเซียมมากนัก จึงมีความเสี่ยงมีภาวะกระดูกไม่แข็งแรงด้วย
5. สรรปานะ ลดน้ำตาล : น้ำปานะ หรือ เครื่องดื่มที่จะช่วยบรรเทาความหิวขณะท้องว่างได้ ควรมีปริมาณน้ำตาลน้อยและมีโปรตีนอยู่ด้วย อย่างเช่น โยเกิร์ต นมวัว-นมถั่วเหลือง ทั้งนี้ควรเลือกชนิดไขมันต่ำ รสชาติจืดหรือหวานน้อยแทน
6. ลดเค็ม ลดมัน รสชาติไม่จัดจ้าน : เพื่อเป็นการรักษาสุขภาพพระสงฆ์ควรลดปริมาณการปรุง ทั้ง น้ำปลา เกลือ น้ำบูดู น้ำไตปลา ปลาร้า ปลาจ่อม รวมถึงควรใช้น้ำมันในปริมาณที่น้อย หรือเปลี่ยนเป็นกรรมวิธีการต้ม อบ ตุ๋น นึ่ง แทน
เพื่อเป็นการส่งเสริมและเอื้อให้พระสงฆ์ไทยมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการฉันอาหารที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) อย่าง โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิต โครงการสงฆ์ไทยไกลโรค โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงขอเป็นอีกหนึ่งช่องทางดีๆ ที่เผยแพร่ข้อมูลและผลิตสื่อด้านโภชนาการที่ถูกต้อง ที่มีส่วนช่วยให้ฆราวาสอย่างเราๆ เลือกอาหารคุณภาพดีไปถวายใส่บาตร เพื่อที่พระสงฆ์จะได้มีสุขภาพร่างกายที่ดีอย่างยั่งยืน
ที่มา http://health.sanook.com/7809/