Amritsar เป็นเมืองที่อยู่ในรัฐปัญจาบ
รัฐนี้มีเขตชายแดนติดกับปากีสถาน
เป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาซิกข์
เฉกเช่นเดียวกับเมืองมักกะฮ์ของอิสลาม
ใครงงว่ามักกะฮ์คืออะไร
มักกะฮ์คือเมืองเมกกะนั่นแล
แค่เขียนให้ถูกตามราชบัณฑิตยสภาเฉยๆ
สภาพอากาศเมืองนี้ค่อนข้างสุดขั้ว
ร้อนก็ร้อนจัด หนาวก็โคตรหนาว
ที่เมืองนี้มีของดีของเด็ดอยู่ที่
วัดทองคำหรือ Golden Temple
ชื่อเต็มๆ คือ Sri Harmandir Sahib
เห็นแล้วดูอ่านยากชะมัด
ขออนุญาตเรียกตามที่คนทั่วไปเขาเรียกเถอะ
นักท่องเที่ยวต่างชาติหลายคน
ถ่อกันมาถึงเมืองชายแดนแห่งนี้
เพื่อสัมผัสกับวิถีชีวิตชาวซิกข์แบบเข้มข้น
บางคนไปติดต่อขอพักกับทางวัดก็มี
ซึ่งเขาก็เปิดบริการให้พักได้ฟรี
ลองเข้าไปสอบถามด้านในได้เลย
หรือบางคนมาคอยนั่งเรียงแถว
รอรับอาหารอินเดียสาขาปัญจาบ
ที่ทางวัดเขามีแจกฟรีตามแต่ละช่วงเวลา
ส่วนตัวเรานั้น ถึงแม้จะชอบของฟรีแค่ไหน
ก็ต้องโบกมือลาอาหารอินเดีย
จริงๆ ก็ไม่ได้ไม่ชอบนะ
แต่แค่เห็นแล้วมันไม่มีกำลังใจจะกิน
แบบกว่าจะกินหมดต้องถอนหายใจไปหลายที
ตามประสาคนที่ชอบกินแต่ข้าวผัด ต้มจืด
และสารพัดอาหารจืดชืดต่างๆ
เราชอบศาสนาซิกข์นะ
เพราะเขาเปิดกว้างและมีแต่คำว่าให้
เขาไม่จำกัดว่าต้องศาสนาซิกข์เท่านั้น
ถึงจะเข้าไปพักได้ ถึงจะไปรับอาหารฟรีได้
ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ศาสนาอะไร เชื้อชาติใด
เขาก็ยินดีต้อนรับเสมอ
เพียงแค่ต้องปฏิบัติตามกฎของเขา
นั่นคือต้องถอดรองเท้า และใส่ผ้าโพกหัว
ซึ่งทางวัดมีบริการรับฝากรองเท้าฟรี
และมีตะกร้าใส่ผ้าโพกหัวสีส้มแปร๋นไว้แจกให้
(แต่อย่าลืมเอามาคืนล่ะ)
ลักษณะเด่นของคนซิกข์คือ
ผู้ชายนิยมไว้หนวดไว้เครา ไว้ผมยาว
และใส่หมวกเก็บผมเหมือนภาพด้านล่างนี้
ส่วนด้านผู้หญิง เรายังไม่เห็นความแตกต่าง
ระหว่างหญิงซิกข์กับหญิงอินเดียทั่วไป
เพราะพวกนางก็ใส่ส่าหรีเหมือนๆ กัน
ผู้ชายซิกข์มีนามสกุล Singh
ส่วนผู้หญิงมีนามสกุล Gor
เป็นเหมือนนามสกุลร่วมศาสนากัน
ทว่า แต่ละครอบครัว
ก็จะมีนามสกุลเฉพาะแยกออกมาอีกที
อย่างเช่นเพื่อนเราชื่อ Gagan
เป็นหนุ่มชาวซิกข์ จึงมี Singh เป็นนามสกุล
แต่ในขณะเดียวกันก็มีนามสกุล
ที่เป็นนามสกุลประจำครอบครัวว่า Kamboj
เวลาเขียนจึงเขียนเป็น
Gagan Singh Kamboj
เมืองนี้ไม่มีธรรมชาติที่หวือหวา
เป็นเมืองริมชายแดนที่แสนธรรมดา
เหมาะกับคนที่ชื่นชอบประวัติศาสตร์
และสถาปัตยกรรมต่างๆ
ถ้าใครคิดว่า ชั้นไม่ใช่สายบุญ
สายเดินชมความงามของอิฐและปูน
เราว่าข้ามเมืองนี้ไปก็ไม่เสียหาย
หรือใครอยากมาเช็กลิสต์ก็ทำได้
เพราะแค่วันเดียวก็สามารถเที่ยวได้ทั่วแล้ว
สถานที่หลักๆ ที่เที่ยวได้ที่ Amritsar
มีอยู่ 4 สถานที่ ดังนี้
1
แน่นอนว่าจุดหมายแรกคือวัดทองคำ
ในความคิดเห็นของเรา
วัดทองคำสวยที่สุดตอนกลางคืน
ยามที่มีสปอตไลต์สาดส่องจนเป็นสีทอง
ตอนกลางวันมันดูเป็นวัดสีเหลืองเฉยๆ
ไม่โดดเด่นมากมาย
ช่วงที่สะท้อนแสงพระอาทิตย์ตอนเช้าหรือเย็น
ก็กลายเป็นสีสวยมากๆ เหมือนกัน
วัดนี้เปิดตลอดทั้งวันทั้งคืน
นึกอยากเข้าตอนไหนก็เข้าได้เลย
ตรงกลางวัดมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
มีน้องปลาคาร์ปตัวใหญ่ว่ายวนเวียน
คนซิกข์เชื่อว่ารักษาโรคภัยไข้เจ็บได้
บางคนมาแก้ผ้าชำระร่างกายกันโต้งๆ
(เฉพาะผู้ชายแหละนะ บุญตาน้องมาก)
ส่วนผู้หญิงมีโซนให้ลงน้ำในอาคารปิดมิดชิด
แรงศรัทธานี่เจ๋งจริงๆ
ตอนที่เราไปอากาศ 15 องศาเบาๆ (ช่วงมกราคม)
น้ำเย็นเฉียบ แต่ก็มีคนมาอาบเรื่อยๆ
บางคนวักน้ำเข้าปากกินกันหลายอึกก็มี
อาจดูหยีนะ ว่ากล้ากินกันเข้าไปได้ยังไง
คนข้างๆ เพิ่งแก้ผ้าลงไปอาบเมื่อกี้
แต่เรามองว่า ตอนเราว่ายน้ำที่สระหรือทะเล
เราก็ต้องกินน้ำเข้าไปอยู่แล้วมะ
อันนี้ก็คงไม่ได้ต่างกันมาก
แต่สระน้ำที่นี่ใสมาก สงสัยระบบกรองดี
2
จุดที่สองเป็นสวนสาธารณะเล็กๆ
แต่ถ้าได้รู้ประวัติความเป็นมา
จะขนลุกเลยเวลาเข้าไป
สวนนี้ชื่อว่า Jallianwala Bagh
คำว่า ‘Bagh’ แปลว่าสวน
มีคนอินเดียถูกยิงตายเป็นร้อยๆ คนที่นี่
ตอนช่วงที่เกิดความขัดแย้งขึ้นในอินเดีย
มีกลุ่มคนในเมืองพากันมาประท้วง
ด้วยหลักอหิงสา นั่นคือไม่ใช้ความรุนแรง
แต่กลุ่มทหารอังกฤษที่เข้ามาสลายการชุมนุม
กลับพากันกราดยิงคนในสวนจนหนีกันชุลมุน
ซึ่งปกติ การจะใช้ความรุนแรงสลายม็อบ
ต้องมีการแจ้งเตือนกันก่อนล่วงหน้า
แต่นี่ทหารมาล้อมสวนไว้เลย
บล็อกประตูทางเข้าออกซึ่งมีทางเดียว
แล้วกราดกระสุนยิงรัวๆ
ที่สวนยังมีรอยกระสุนปืนนับร้อยแห่ง
ฝากฝังร่องรอยเอาไว้บนกำแพง
ปัจจุบันภาพของทหารคนที่สั่งให้ยิง
ถูกติดโชว์หราอยู่ในพิพิธภัณฑ์หน้าสวน
ถึงแม้จะดูมีความหลังมากมาย
แต่คนอินเดียก็ไม่ได้มานั่งเศร้าสร้อยกันที่นี่
บรรยากาศสวนจึงค่อนข้างคึกคัก
มีคนมาปิกนิก นอนเล่น พักผ่อนกันเต็มไปหมด
แต่ความพีกคือ...
พุ่มไม้ในสวนนี้ดันตัดแต่งเป็นรูปทหารถือปืน
มีเป็นสิบๆ พุ่มเลย
นี่มันดาร์กคอเมดี้โคตรๆ
3
จุดถัดไปอยู่หน้าสวนเลย เป็นย่านเมืองใหม่
ซึ่งเราขอเรียกมันว่าย่าน ‘New India’
รัฐบาลของรัฐปัญจาบทุ่มงบมหาศาล
ปรับปรุงอาคารบ้านเรือนแถวนี้ใหม่หมด
ทางเดินปูด้วยอิฐบล็อก ราบเรียบและสะอาด
อาคารทาสีใหม่แต่คงสไตล์เดิม
ขยะถูกจัดการจนนึกว่าไม่ใช่อินเดีย
ดูเผินๆ นึกว่ากำลังเดินอยู่ในยุโรป
สะอาดมาก โมเดิร์นมาก
แต่ถัดออกมาเพียงแค่ไม่กี่เมตร
ก็เป็นอินเดียแบบที่ทุกคนรู้จักเหมือนเดิม (ฮ่า)
อารมณ์มันจะเหมือนย่านชอปปิ้ง
มีของกิน ของฝาก ของใช้ครบ
อาหารก็มีทั้งร้านข้างทางแบบสะอาด
และอาหารเชนสโตร์สัญชาติตะวันตก
ยิ่งถ้ามาตอนกลางคืนนะ
เขาจะเปิดไฟแสงสีสวยตระการตา
เหมือนย้อนมาอีกโลกนึง
ที่ดูยังไงก็ไม่เหมือนอินเดียเลย
ใครชอบถ่ายรูปกับตึกสวยๆ คงชอบ
4
ไฮไลต์สุดท้ายของเมืองนี้คือ
การแสดงตอนเย็นที่ชายแดนอินเดียปากีสถาน
ที่ Wagah Border
ซึ่งเขามีให้ดูทุกเย็น ย้ำว่าทุกเย็น!
ก่อนที่จะปิดประตูข้ามพรมแดน
โดยทหารทั้งสองฝั่งจะมาโชว์ลีลาใส่กัน
จริงๆ เขาเดินสวนสนาม
แต่มันออกแนวเหมือนเต้นแข่งกันมากกว่า
มีการเตะขาข่มกันว่าฝ่ายไหนจะเตะได้สูงสุด
คนอินเดียและปากีสถานจากสองฟากฝั่ง
ต่างเชียร์กันเสียงดังสนั่นหวั่นไหว
ขนาดมีโชว์ทุกวันคนดูก็แน่นเอี๊ยดทุกวัน
ในขณะที่เจ้าของประเทศทั้งสอง
เชียร์ทหารฝั่งตัวเองสุดใจขาดดิ้น
นักท่องเที่ยวอย่างเราๆ
กลับมองตากันปริบๆ ว่า
เฮ้ย นี่มันอะไรวะ ไม่สนุกเลย
เราไม่สนุกจริงๆ อะ เหมือนมาดูอะไรก็ไม่รู้
มันก็ตลกและสนุกช่วงแรกๆ แหละ
แต่ผ่านไปสักสองนาทีคืออยากกลับ
เจ๊คนอินเดียที่พักที่พักเดียวกันบอกว่า
"ยูไม่อินเพราะยูไม่เข้าใจ
ความขัดแย้งของทั้งสองประเทศ
ถ้าเข้าใจแล้วจะอินเหมือนชั้น"
ใครอยากจะไปก็ต้องระวังหน่อย
เพราะมันใช้เวลาเยอะ
ถ้าค้างคืนที่ Amritsar ก็น่าสน
แต่ถ้าต้องเดินทางต่อตอนกลางคืน
ก็ต้องเช็กเวลากับคนขับดีๆ
ว่าจะกลับมาถึงตัวเมืองตอนกี่โมง
เดี๋ยวจะไม่ทันรถเอาได้
การเดินทาง
สำหรับการเดินทางในเมือง
เมืองนี้ต้องเดิน หรือไม่ก็นั่งออโต้ริกชอว์
ไม่ค่อยมีตัวเลือกมากนัก
แต่สถานที่หลักๆ จะอยู่ติดกับ 1-3
มีเพียง 4 ที่ต้องนั่งรถออกไปไกลหน่อย
ห่างจากวัดทองคำประมาณ 30 กว่ากิโล
ถ้าเดินทางบริเวณรอบๆ วัดทองคำ
เขาจะมีสามล้อแบบพลังคนปั่นให้บริการ
ราคาก็เรตสูงกว่าออโต้ริกชอว์หน่อย
หรือโดนเขาโกงมาก็ไม่รู้ (ฮ่า)
ถ้าใครอยากไปชมพิธีปิดด่าน
ตอนบ่ายๆ ของทุกวันให้ไปเดินรอ
ที่สวน Jallianwala Bagh
เขาจะมีคนขับรถมาตะโกนเรียกผู้โดยสาร
เป็นแบบหารกัน
ถ้าจำไม่ผิดน่าจะนั่งได้สิบคน
ตกคนละไม่กี่ร้อยรูปีเท่านั้นเอง
แต่ต้องเผื่อเวลานะ
ใครที่ต้องเดินทางต่อในคืนวันนั้นเลย
ไม่ขอแนะนำ เพราะมันค่อนข้างเสียเวลา
เมืองนี้เป็นเมืองที่สามารถบินมาได้
หรือจะนั่งรถบัสหรือรถไฟ
จากเมืองหลักๆ อย่างนิวเดลีก็สะดวก
ติดตามเรื่องเล่าสนุกๆ จากการเที่ยวธรรมชาติ
ตามประสาคนรักธรรมชาติ แต่ธรรมชาติไม่รัก
ได้ที่
https://www.facebook.com/mossyisnaturaldisaster/
หรือ
https://www.instagram.com/mossymouse/
กระทู้อินเดียอื่นๆ
นอนกลางดิน กินกลางทะเลทราย ริมชายแดนอินเดีย-ปากีสถาน ที่เมือง Jaisalmer
https://ppantip.com/topic/36537473
มุมไบ...ไปไหนดี 10 ที่เที่ยวเก๋ไก๋ ในเมืองบอลลีวูด ที่ไปได้ด้วยรถไฟเที่ยวละ 3 บาท
https://ppantip.com/topic/36544804
แด่ Taj Mahal ที่ไม่เคยเข้า ตามหา 5 สถานที่ส่องอนุสรณ์แห่งรักฟรี รอบเมือง Agra
https://ppantip.com/topic/36615534
[CR] ชมศาสนสถานชาวซิกข์ เรียนรู้โศกนาฏกรรมครั้งประวัติศาสตร์ของอินเดีย ที่เมือง Amritsar
Amritsar เป็นเมืองที่อยู่ในรัฐปัญจาบ
รัฐนี้มีเขตชายแดนติดกับปากีสถาน
เป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาซิกข์
เฉกเช่นเดียวกับเมืองมักกะฮ์ของอิสลาม
ใครงงว่ามักกะฮ์คืออะไร
มักกะฮ์คือเมืองเมกกะนั่นแล
แค่เขียนให้ถูกตามราชบัณฑิตยสภาเฉยๆ
สภาพอากาศเมืองนี้ค่อนข้างสุดขั้ว
ร้อนก็ร้อนจัด หนาวก็โคตรหนาว
ที่เมืองนี้มีของดีของเด็ดอยู่ที่
วัดทองคำหรือ Golden Temple
ชื่อเต็มๆ คือ Sri Harmandir Sahib
เห็นแล้วดูอ่านยากชะมัด
ขออนุญาตเรียกตามที่คนทั่วไปเขาเรียกเถอะ
นักท่องเที่ยวต่างชาติหลายคน
ถ่อกันมาถึงเมืองชายแดนแห่งนี้
เพื่อสัมผัสกับวิถีชีวิตชาวซิกข์แบบเข้มข้น
บางคนไปติดต่อขอพักกับทางวัดก็มี
ซึ่งเขาก็เปิดบริการให้พักได้ฟรี
ลองเข้าไปสอบถามด้านในได้เลย
หรือบางคนมาคอยนั่งเรียงแถว
รอรับอาหารอินเดียสาขาปัญจาบ
ที่ทางวัดเขามีแจกฟรีตามแต่ละช่วงเวลา
ส่วนตัวเรานั้น ถึงแม้จะชอบของฟรีแค่ไหน
ก็ต้องโบกมือลาอาหารอินเดีย
จริงๆ ก็ไม่ได้ไม่ชอบนะ
แต่แค่เห็นแล้วมันไม่มีกำลังใจจะกิน
แบบกว่าจะกินหมดต้องถอนหายใจไปหลายที
ตามประสาคนที่ชอบกินแต่ข้าวผัด ต้มจืด
และสารพัดอาหารจืดชืดต่างๆ
เราชอบศาสนาซิกข์นะ
เพราะเขาเปิดกว้างและมีแต่คำว่าให้
เขาไม่จำกัดว่าต้องศาสนาซิกข์เท่านั้น
ถึงจะเข้าไปพักได้ ถึงจะไปรับอาหารฟรีได้
ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ศาสนาอะไร เชื้อชาติใด
เขาก็ยินดีต้อนรับเสมอ
เพียงแค่ต้องปฏิบัติตามกฎของเขา
นั่นคือต้องถอดรองเท้า และใส่ผ้าโพกหัว
ซึ่งทางวัดมีบริการรับฝากรองเท้าฟรี
และมีตะกร้าใส่ผ้าโพกหัวสีส้มแปร๋นไว้แจกให้
(แต่อย่าลืมเอามาคืนล่ะ)
ลักษณะเด่นของคนซิกข์คือ
ผู้ชายนิยมไว้หนวดไว้เครา ไว้ผมยาว
และใส่หมวกเก็บผมเหมือนภาพด้านล่างนี้
ส่วนด้านผู้หญิง เรายังไม่เห็นความแตกต่าง
ระหว่างหญิงซิกข์กับหญิงอินเดียทั่วไป
เพราะพวกนางก็ใส่ส่าหรีเหมือนๆ กัน
ผู้ชายซิกข์มีนามสกุล Singh
ส่วนผู้หญิงมีนามสกุล Gor
เป็นเหมือนนามสกุลร่วมศาสนากัน
ทว่า แต่ละครอบครัว
ก็จะมีนามสกุลเฉพาะแยกออกมาอีกที
อย่างเช่นเพื่อนเราชื่อ Gagan
เป็นหนุ่มชาวซิกข์ จึงมี Singh เป็นนามสกุล
แต่ในขณะเดียวกันก็มีนามสกุล
ที่เป็นนามสกุลประจำครอบครัวว่า Kamboj
เวลาเขียนจึงเขียนเป็น
Gagan Singh Kamboj
เมืองนี้ไม่มีธรรมชาติที่หวือหวา
เป็นเมืองริมชายแดนที่แสนธรรมดา
เหมาะกับคนที่ชื่นชอบประวัติศาสตร์
และสถาปัตยกรรมต่างๆ
ถ้าใครคิดว่า ชั้นไม่ใช่สายบุญ
สายเดินชมความงามของอิฐและปูน
เราว่าข้ามเมืองนี้ไปก็ไม่เสียหาย
หรือใครอยากมาเช็กลิสต์ก็ทำได้
เพราะแค่วันเดียวก็สามารถเที่ยวได้ทั่วแล้ว
สถานที่หลักๆ ที่เที่ยวได้ที่ Amritsar
มีอยู่ 4 สถานที่ ดังนี้
1
แน่นอนว่าจุดหมายแรกคือวัดทองคำ
ในความคิดเห็นของเรา
วัดทองคำสวยที่สุดตอนกลางคืน
ยามที่มีสปอตไลต์สาดส่องจนเป็นสีทอง
ตอนกลางวันมันดูเป็นวัดสีเหลืองเฉยๆ
ไม่โดดเด่นมากมาย
ช่วงที่สะท้อนแสงพระอาทิตย์ตอนเช้าหรือเย็น
ก็กลายเป็นสีสวยมากๆ เหมือนกัน
วัดนี้เปิดตลอดทั้งวันทั้งคืน
นึกอยากเข้าตอนไหนก็เข้าได้เลย
ตรงกลางวัดมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
มีน้องปลาคาร์ปตัวใหญ่ว่ายวนเวียน
คนซิกข์เชื่อว่ารักษาโรคภัยไข้เจ็บได้
บางคนมาแก้ผ้าชำระร่างกายกันโต้งๆ
(เฉพาะผู้ชายแหละนะ บุญตาน้องมาก)
ส่วนผู้หญิงมีโซนให้ลงน้ำในอาคารปิดมิดชิด
แรงศรัทธานี่เจ๋งจริงๆ
ตอนที่เราไปอากาศ 15 องศาเบาๆ (ช่วงมกราคม)
น้ำเย็นเฉียบ แต่ก็มีคนมาอาบเรื่อยๆ
บางคนวักน้ำเข้าปากกินกันหลายอึกก็มี
อาจดูหยีนะ ว่ากล้ากินกันเข้าไปได้ยังไง
คนข้างๆ เพิ่งแก้ผ้าลงไปอาบเมื่อกี้
แต่เรามองว่า ตอนเราว่ายน้ำที่สระหรือทะเล
เราก็ต้องกินน้ำเข้าไปอยู่แล้วมะ
อันนี้ก็คงไม่ได้ต่างกันมาก
แต่สระน้ำที่นี่ใสมาก สงสัยระบบกรองดี
2
จุดที่สองเป็นสวนสาธารณะเล็กๆ
แต่ถ้าได้รู้ประวัติความเป็นมา
จะขนลุกเลยเวลาเข้าไป
สวนนี้ชื่อว่า Jallianwala Bagh
คำว่า ‘Bagh’ แปลว่าสวน
มีคนอินเดียถูกยิงตายเป็นร้อยๆ คนที่นี่
ตอนช่วงที่เกิดความขัดแย้งขึ้นในอินเดีย
มีกลุ่มคนในเมืองพากันมาประท้วง
ด้วยหลักอหิงสา นั่นคือไม่ใช้ความรุนแรง
แต่กลุ่มทหารอังกฤษที่เข้ามาสลายการชุมนุม
กลับพากันกราดยิงคนในสวนจนหนีกันชุลมุน
ซึ่งปกติ การจะใช้ความรุนแรงสลายม็อบ
ต้องมีการแจ้งเตือนกันก่อนล่วงหน้า
แต่นี่ทหารมาล้อมสวนไว้เลย
บล็อกประตูทางเข้าออกซึ่งมีทางเดียว
แล้วกราดกระสุนยิงรัวๆ
ที่สวนยังมีรอยกระสุนปืนนับร้อยแห่ง
ฝากฝังร่องรอยเอาไว้บนกำแพง
ปัจจุบันภาพของทหารคนที่สั่งให้ยิง
ถูกติดโชว์หราอยู่ในพิพิธภัณฑ์หน้าสวน
ถึงแม้จะดูมีความหลังมากมาย
แต่คนอินเดียก็ไม่ได้มานั่งเศร้าสร้อยกันที่นี่
บรรยากาศสวนจึงค่อนข้างคึกคัก
มีคนมาปิกนิก นอนเล่น พักผ่อนกันเต็มไปหมด
แต่ความพีกคือ...
พุ่มไม้ในสวนนี้ดันตัดแต่งเป็นรูปทหารถือปืน
มีเป็นสิบๆ พุ่มเลย
นี่มันดาร์กคอเมดี้โคตรๆ
3
จุดถัดไปอยู่หน้าสวนเลย เป็นย่านเมืองใหม่
ซึ่งเราขอเรียกมันว่าย่าน ‘New India’
รัฐบาลของรัฐปัญจาบทุ่มงบมหาศาล
ปรับปรุงอาคารบ้านเรือนแถวนี้ใหม่หมด
ทางเดินปูด้วยอิฐบล็อก ราบเรียบและสะอาด
อาคารทาสีใหม่แต่คงสไตล์เดิม
ขยะถูกจัดการจนนึกว่าไม่ใช่อินเดีย
ดูเผินๆ นึกว่ากำลังเดินอยู่ในยุโรป
สะอาดมาก โมเดิร์นมาก
แต่ถัดออกมาเพียงแค่ไม่กี่เมตร
ก็เป็นอินเดียแบบที่ทุกคนรู้จักเหมือนเดิม (ฮ่า)
อารมณ์มันจะเหมือนย่านชอปปิ้ง
มีของกิน ของฝาก ของใช้ครบ
อาหารก็มีทั้งร้านข้างทางแบบสะอาด
และอาหารเชนสโตร์สัญชาติตะวันตก
ยิ่งถ้ามาตอนกลางคืนนะ
เขาจะเปิดไฟแสงสีสวยตระการตา
เหมือนย้อนมาอีกโลกนึง
ที่ดูยังไงก็ไม่เหมือนอินเดียเลย
ใครชอบถ่ายรูปกับตึกสวยๆ คงชอบ
4
ไฮไลต์สุดท้ายของเมืองนี้คือ
การแสดงตอนเย็นที่ชายแดนอินเดียปากีสถาน
ที่ Wagah Border
ซึ่งเขามีให้ดูทุกเย็น ย้ำว่าทุกเย็น!
ก่อนที่จะปิดประตูข้ามพรมแดน
โดยทหารทั้งสองฝั่งจะมาโชว์ลีลาใส่กัน
จริงๆ เขาเดินสวนสนาม
แต่มันออกแนวเหมือนเต้นแข่งกันมากกว่า
มีการเตะขาข่มกันว่าฝ่ายไหนจะเตะได้สูงสุด
คนอินเดียและปากีสถานจากสองฟากฝั่ง
ต่างเชียร์กันเสียงดังสนั่นหวั่นไหว
ขนาดมีโชว์ทุกวันคนดูก็แน่นเอี๊ยดทุกวัน
ในขณะที่เจ้าของประเทศทั้งสอง
เชียร์ทหารฝั่งตัวเองสุดใจขาดดิ้น
นักท่องเที่ยวอย่างเราๆ
กลับมองตากันปริบๆ ว่า
เฮ้ย นี่มันอะไรวะ ไม่สนุกเลย
เราไม่สนุกจริงๆ อะ เหมือนมาดูอะไรก็ไม่รู้
มันก็ตลกและสนุกช่วงแรกๆ แหละ
แต่ผ่านไปสักสองนาทีคืออยากกลับ
เจ๊คนอินเดียที่พักที่พักเดียวกันบอกว่า
"ยูไม่อินเพราะยูไม่เข้าใจ
ความขัดแย้งของทั้งสองประเทศ
ถ้าเข้าใจแล้วจะอินเหมือนชั้น"
ใครอยากจะไปก็ต้องระวังหน่อย
เพราะมันใช้เวลาเยอะ
ถ้าค้างคืนที่ Amritsar ก็น่าสน
แต่ถ้าต้องเดินทางต่อตอนกลางคืน
ก็ต้องเช็กเวลากับคนขับดีๆ
ว่าจะกลับมาถึงตัวเมืองตอนกี่โมง
เดี๋ยวจะไม่ทันรถเอาได้
สำหรับการเดินทางในเมือง
เมืองนี้ต้องเดิน หรือไม่ก็นั่งออโต้ริกชอว์
ไม่ค่อยมีตัวเลือกมากนัก
แต่สถานที่หลักๆ จะอยู่ติดกับ 1-3
มีเพียง 4 ที่ต้องนั่งรถออกไปไกลหน่อย
ห่างจากวัดทองคำประมาณ 30 กว่ากิโล
ถ้าเดินทางบริเวณรอบๆ วัดทองคำ
เขาจะมีสามล้อแบบพลังคนปั่นให้บริการ
ราคาก็เรตสูงกว่าออโต้ริกชอว์หน่อย
หรือโดนเขาโกงมาก็ไม่รู้ (ฮ่า)
ถ้าใครอยากไปชมพิธีปิดด่าน
ตอนบ่ายๆ ของทุกวันให้ไปเดินรอ
ที่สวน Jallianwala Bagh
เขาจะมีคนขับรถมาตะโกนเรียกผู้โดยสาร
เป็นแบบหารกัน
ถ้าจำไม่ผิดน่าจะนั่งได้สิบคน
ตกคนละไม่กี่ร้อยรูปีเท่านั้นเอง
แต่ต้องเผื่อเวลานะ
ใครที่ต้องเดินทางต่อในคืนวันนั้นเลย
ไม่ขอแนะนำ เพราะมันค่อนข้างเสียเวลา
เมืองนี้เป็นเมืองที่สามารถบินมาได้
หรือจะนั่งรถบัสหรือรถไฟ
จากเมืองหลักๆ อย่างนิวเดลีก็สะดวก
ติดตามเรื่องเล่าสนุกๆ จากการเที่ยวธรรมชาติ
ตามประสาคนรักธรรมชาติ แต่ธรรมชาติไม่รัก
ได้ที่ https://www.facebook.com/mossyisnaturaldisaster/
หรือ https://www.instagram.com/mossymouse/
นอนกลางดิน กินกลางทะเลทราย ริมชายแดนอินเดีย-ปากีสถาน ที่เมือง Jaisalmer
https://ppantip.com/topic/36537473
มุมไบ...ไปไหนดี 10 ที่เที่ยวเก๋ไก๋ ในเมืองบอลลีวูด ที่ไปได้ด้วยรถไฟเที่ยวละ 3 บาท
https://ppantip.com/topic/36544804
แด่ Taj Mahal ที่ไม่เคยเข้า ตามหา 5 สถานที่ส่องอนุสรณ์แห่งรักฟรี รอบเมือง Agra
https://ppantip.com/topic/36615534
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น