ทำไมประเทศไทยเศรษฐกิจไม่ดี
ป.ล. การห้ามการเมืองเป็นมุกเฉยๆ อยากการเมืองก็ตามสบาย
สรุปคือ ก่อนหน้านี้ GDP ของเราโตมาจากการส่งออก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการส่งออกจากภาคการผลิตซึ่งค่อนข้างที่จะต้อง
พึ่งพาเงินลงทุนจากต่างประเทศ พอวันนึงเงินลงทุนจากต่างประเทศไม่มา การส่งออกจากภาคการผลิตที่คิดประมาณเป็น
80% ของการส่งออกทั้งหมดที่เป็น 70 กว่า% ของ GDP ก็ร่อยหรอ ลองคิดดูว่า ถ้าเราเป็นคนลงทุน การที่เราลงโรงงาน
ไว้จนเต็มกำลังการผลิต ขณะที่เศรษฐกิจโลกเปราะบาง ทำให้ยอดขายอาจจะไม่ได้เพิ่มขึ้นดีมาก เราก็คงไม่ลงทุนเพิ่ม
ในทางกลับกันไม่อยากมีใครตั้งโรงงานเพิ่ม ในประเทศที่สุ่มเสี่ยง / ซึ่งจะเห็นได้ว่าการขึ้นค่าแรง 300 บาทไม่ใช่ประเด็น
เพราะภาคการผลิตค่าแรงแพงกว่านั้นอยู่ตั้งนานแล้ว / การเป็น Upper-middle income ก็ไม่ใช้ประเด็นเพราะถ้าเราโตต่อ
ใครๆก็อยากมาขายของซื้อของกับตลาดที่กำลังโต เพราะฉะนั้นเราติดแทรป เนื่องจากเรากลับไปผลิตสินค้าราคาถูก
สู้กับเวียดนามหรืออินโดไม่ได้ ในทางกลับกันเราก็ผลิตสินค้ามีเทคโนโลยีเท่ามาเลเซียไม่ได้อีก
ทั้งนี้ทั้งนั้น จะเห็นได้ว่ามันไม่ใช่ประเด็นการเมืองทั้งหมด แต่ถ้าเราลองไปดูเปเปอร์ของ IMF WB ECB
จะเห็นได้เลยว่า Investment Climate เป็นปัจจัยที่สำคัญอันดับ 1 ใน 3 เพราะไม่มีใครอยากลงทุนในประเทศที่สุ่มเสี่ยง
แต่ต่อให้ประเทศเราไม่มีการเมือง ก็ยังมีเรื่องความน่าสนใจของประเทศเราอีกอยู่ดี ซึ่งเรากลับไม่ได้ไปไม่ถึง
ทำให้เราอาจจะต้องใช้นโยบายในการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น แบบสิงค์โปหรือมาเลเซียที่ประเทศ UM income และ HG income
ซึ่ง GDP ก็เนิบๆ แต่รายได้ต่อหัวเขาสูงกว่าเรา แน่นอนสิงค์โปร์จำนวนคนน้อยกว่าเรา ในขณะที่ก็มีเปเปอร์ที่ศึกษามาแล้วว่า
Trade Openness เป็นปัจจัยที่ทำให้ FDI ไหลเข้าประเทศที่รายได้อยู่ในระดับกลางมากขึ้น แต่เราก็ต้องพัฒนาในส่วนของ
Education > Innovation ไปควบคู่กัน เพื่อที่จะได้เลิกพึ่งพาเงิน FDI ในสัดส่วนที่มากในระยะยาว ซึ่งคงใช้เวลานาน
******************************************************************************************************************************
ขออนุญาติเริ่มเรื่องตั้งแต่ช่วงหลังต้มยำกุ้ง
ในช่วงปี 1997 หลังที่จากประเทศไทยบึ้มกลายเป็นโกโก้ครันช์ จากต้มยำกุ้งหม้อไฟไปแล้วนั้น
ในช่วงปี 1998 ประเทศไทยก็ได้รับเงินลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) เพิ่มขึ้น (กราฟที่ 1 เส้นสีเหลืองๆ)
ซึ่งคิดเป็น 35.8% ของอาเซียน และมากกว่า 10% มาโดยตลาด (กราฟที่ 2 เส้นเหลืองๆ)
ในปี 2008-2010 จากวิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์หลายประเทศหนีมาลงทุนในฝั่งประเทศกำลังพัฒนา
ในปี 2011 เรามีน้ำท่วมครั้งใหญ่ ซึ่งเราเอาอยู่ !!! บนชั้น 2 ของบ้าน ตกปลากันอย่างสนุกสนาน
ในปี 2012 เรามีนายกหญิงคนแรกของประเทศ พร้อมนโยบายค่าแรง 300 บาททั่วประเทศต้นปี 2013
ในปี 2013 เราเป่านกหวีดในช่วงปลายปี และในปี 2014 เกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เราจะทำตามสัญญา
ทีนี้เราอยากให้เข้าใจว่า การที่เราได้รับเงินลงทุนน้อยลงในแง่ของสัดส่วน ไม่ใช่ประเด็นเพราะเราต้องเข้าใจว่า
ประเทศเพื่อนบ้านเราเขาเพิ่งเปิดตัวได้ไม่นาน และแน่นอนเขาต้องน่าสนใจกว่าเรา แต่สิ่งที่เป็นประเด็นคือ
กราฟด้านบนเพราะตอนนี้เราไม่ได้น้ำท่วมแต่อย่างใด หลังน้ำท่วมเราประกาศค่าแรง 300 เรากลายเป็น
Upper-middle income แล้วยังไงต่อ ก็ยังเห็นเงินลงทุนจากต่างชาติเข้ามาอยู่ในช่วงปี 2012-2013
ป๋าขาของเราหายไปไหน เป็นใครไปไม่ได้ นอกจากพี่ยุ่นปี่ ญี่ปุ่น หรือพี่ยุ่นจะเจ๊ง (ไปดูต่อกราฟที่ 3)
เส้นเหลืองๆเหมือนเดิม ประเทศไทยสีเหลือง จะเห็นได้ว่าเงินลงทุนจากญี่ปุ่นปรับตัวลดลงต่อเนื่อง
มาตั้งแต่ปี 2014 แล้ว แต่ญี่ปุ่นยังคงลงทุนอยู่โดยย้ายเงินลงทุนไปยังสหรัฐและอังกฤษ
ส่วนในเอเชียนั้น พี่ยุ่นมีสัดส่วนการลงทุนเพิ่มขึ้นในอินเดีย ส่วนสัดส่วนใหญ่ยังคงอยู่ที่จีน
ต่อๆ เงินลงทุนไม่มาแล้วยังไง ใครง้อญี่ปุ่นไม่ทราบ มาดูกราฟ GDP ของเรากันต่อ สโลปปี 2014-2016 ดูคุ้นๆไหม
แต่อย่าเพิ่งด่วนสรุปไป เพราะเงินลงทุนต่างชาติเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิด GDP ซึ่งส่วนใหญ่เป็น
การส่งออกสินค้า แต่บ้านเราส่งออกบริการด้วยการท่องเที่ยวด้วย +___+ ดูกราฟต่อไปแท่งสีเหลืองๆ
สัดส่วนการส่งออกบริการคิดเป็นประมาณ 20% ขณะที่ส่วนสัดส่วนการส่งออกสินค้าคิดเป็นประมาณ 80%
และการส่งออกทั้งหมดคิดเป็นประมาณ 70% กว่าของ GDP ซึ่งเราจะเริ่มเห็นการหดตัวของ
การส่งออกสินค้า แต่อย่างไรก็ตาม เราต้องเข้าใจด้วยว่าเศรษฐกิจโลกเรายังคงเปราะบาง
สุดท้ายๆสุดเป็นกราฟ GDP ของเพื่อนบ้านเรา พร้อมลิงค์ของ IMF ไปจิ้มเล่นกันตามสบาย
สรุปคือ เงินลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) > การส่งออก > 70% ของ GDP และถ้าไม่มีการลงทุน ก็มโนเอา
ซึ่งการที่ GDP โตต่ำ พร้อมคนจำนวนน้อย แปลง่ายๆคือ ถ้าเราจะขายลูกชิ้นหมูในประเทศไทย เราจะขายได้
แถวๆ 60 ล้านไม้ไปเรื่อย ๆ ในขณะที่เพิ่มราคาขึ้นมากไม่ได้สมมติว่า 5 บาท = 5 x 60 = 300 ล้านบาท ไปเรื่อยๆ
ไม่สามารถขยายตัวขึ้นได้ทั้งฝั่ง ปริมาณ และ ราคา เพราะฉะนั้น การเติบโตแบบทุกคนโตเหมือนกัน ก็คงจะเป็นไปไม่ได้
ยิ่งถ้าเป็นตลาดหุ้นด้วยแล้ว การเติบโตแบบตู๊มๆ อาจจะต้อง selective รายตัวกันเหนื่อยพอสมควร จบด้วยประการฉะนี้แล
เหนื่อยทำกราฟจุงเบย
Source : BOT, ADB, IMF, WORLD BANK, JETRO, UNCTAD
ลิงค์จิ้มดู GDP ของ IMF
http://www.imf.org/external/datamapper/NGDP_RPCH@WEO/OEMDC/ADVEC/WEOWORLD/THA/VNM/MMR/MYS/LAO/IDN/KHM/PHL
อนาคต GDP ไทย
ป.ล. การห้ามการเมืองเป็นมุกเฉยๆ อยากการเมืองก็ตามสบาย
สรุปคือ ก่อนหน้านี้ GDP ของเราโตมาจากการส่งออก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการส่งออกจากภาคการผลิตซึ่งค่อนข้างที่จะต้อง
พึ่งพาเงินลงทุนจากต่างประเทศ พอวันนึงเงินลงทุนจากต่างประเทศไม่มา การส่งออกจากภาคการผลิตที่คิดประมาณเป็น
80% ของการส่งออกทั้งหมดที่เป็น 70 กว่า% ของ GDP ก็ร่อยหรอ ลองคิดดูว่า ถ้าเราเป็นคนลงทุน การที่เราลงโรงงาน
ไว้จนเต็มกำลังการผลิต ขณะที่เศรษฐกิจโลกเปราะบาง ทำให้ยอดขายอาจจะไม่ได้เพิ่มขึ้นดีมาก เราก็คงไม่ลงทุนเพิ่ม
ในทางกลับกันไม่อยากมีใครตั้งโรงงานเพิ่ม ในประเทศที่สุ่มเสี่ยง / ซึ่งจะเห็นได้ว่าการขึ้นค่าแรง 300 บาทไม่ใช่ประเด็น
เพราะภาคการผลิตค่าแรงแพงกว่านั้นอยู่ตั้งนานแล้ว / การเป็น Upper-middle income ก็ไม่ใช้ประเด็นเพราะถ้าเราโตต่อ
ใครๆก็อยากมาขายของซื้อของกับตลาดที่กำลังโต เพราะฉะนั้นเราติดแทรป เนื่องจากเรากลับไปผลิตสินค้าราคาถูก
สู้กับเวียดนามหรืออินโดไม่ได้ ในทางกลับกันเราก็ผลิตสินค้ามีเทคโนโลยีเท่ามาเลเซียไม่ได้อีก
ทั้งนี้ทั้งนั้น จะเห็นได้ว่ามันไม่ใช่ประเด็นการเมืองทั้งหมด แต่ถ้าเราลองไปดูเปเปอร์ของ IMF WB ECB
จะเห็นได้เลยว่า Investment Climate เป็นปัจจัยที่สำคัญอันดับ 1 ใน 3 เพราะไม่มีใครอยากลงทุนในประเทศที่สุ่มเสี่ยง
แต่ต่อให้ประเทศเราไม่มีการเมือง ก็ยังมีเรื่องความน่าสนใจของประเทศเราอีกอยู่ดี ซึ่งเรากลับไม่ได้ไปไม่ถึง
ทำให้เราอาจจะต้องใช้นโยบายในการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น แบบสิงค์โปหรือมาเลเซียที่ประเทศ UM income และ HG income
ซึ่ง GDP ก็เนิบๆ แต่รายได้ต่อหัวเขาสูงกว่าเรา แน่นอนสิงค์โปร์จำนวนคนน้อยกว่าเรา ในขณะที่ก็มีเปเปอร์ที่ศึกษามาแล้วว่า
Trade Openness เป็นปัจจัยที่ทำให้ FDI ไหลเข้าประเทศที่รายได้อยู่ในระดับกลางมากขึ้น แต่เราก็ต้องพัฒนาในส่วนของ
Education > Innovation ไปควบคู่กัน เพื่อที่จะได้เลิกพึ่งพาเงิน FDI ในสัดส่วนที่มากในระยะยาว ซึ่งคงใช้เวลานาน
******************************************************************************************************************************
ขออนุญาติเริ่มเรื่องตั้งแต่ช่วงหลังต้มยำกุ้ง
ในช่วงปี 1997 หลังที่จากประเทศไทยบึ้มกลายเป็นโกโก้ครันช์ จากต้มยำกุ้งหม้อไฟไปแล้วนั้น
ในช่วงปี 1998 ประเทศไทยก็ได้รับเงินลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) เพิ่มขึ้น (กราฟที่ 1 เส้นสีเหลืองๆ)
ซึ่งคิดเป็น 35.8% ของอาเซียน และมากกว่า 10% มาโดยตลาด (กราฟที่ 2 เส้นเหลืองๆ)
ในปี 2008-2010 จากวิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์หลายประเทศหนีมาลงทุนในฝั่งประเทศกำลังพัฒนา
ในปี 2011 เรามีน้ำท่วมครั้งใหญ่ ซึ่งเราเอาอยู่ !!! บนชั้น 2 ของบ้าน ตกปลากันอย่างสนุกสนาน
ในปี 2012 เรามีนายกหญิงคนแรกของประเทศ พร้อมนโยบายค่าแรง 300 บาททั่วประเทศต้นปี 2013
ในปี 2013 เราเป่านกหวีดในช่วงปลายปี และในปี 2014 เกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เราจะทำตามสัญญา
ทีนี้เราอยากให้เข้าใจว่า การที่เราได้รับเงินลงทุนน้อยลงในแง่ของสัดส่วน ไม่ใช่ประเด็นเพราะเราต้องเข้าใจว่า
ประเทศเพื่อนบ้านเราเขาเพิ่งเปิดตัวได้ไม่นาน และแน่นอนเขาต้องน่าสนใจกว่าเรา แต่สิ่งที่เป็นประเด็นคือ
กราฟด้านบนเพราะตอนนี้เราไม่ได้น้ำท่วมแต่อย่างใด หลังน้ำท่วมเราประกาศค่าแรง 300 เรากลายเป็น
Upper-middle income แล้วยังไงต่อ ก็ยังเห็นเงินลงทุนจากต่างชาติเข้ามาอยู่ในช่วงปี 2012-2013
ป๋าขาของเราหายไปไหน เป็นใครไปไม่ได้ นอกจากพี่ยุ่นปี่ ญี่ปุ่น หรือพี่ยุ่นจะเจ๊ง (ไปดูต่อกราฟที่ 3)
เส้นเหลืองๆเหมือนเดิม ประเทศไทยสีเหลือง จะเห็นได้ว่าเงินลงทุนจากญี่ปุ่นปรับตัวลดลงต่อเนื่อง
มาตั้งแต่ปี 2014 แล้ว แต่ญี่ปุ่นยังคงลงทุนอยู่โดยย้ายเงินลงทุนไปยังสหรัฐและอังกฤษ
ส่วนในเอเชียนั้น พี่ยุ่นมีสัดส่วนการลงทุนเพิ่มขึ้นในอินเดีย ส่วนสัดส่วนใหญ่ยังคงอยู่ที่จีน
ต่อๆ เงินลงทุนไม่มาแล้วยังไง ใครง้อญี่ปุ่นไม่ทราบ มาดูกราฟ GDP ของเรากันต่อ สโลปปี 2014-2016 ดูคุ้นๆไหม
แต่อย่าเพิ่งด่วนสรุปไป เพราะเงินลงทุนต่างชาติเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิด GDP ซึ่งส่วนใหญ่เป็น
การส่งออกสินค้า แต่บ้านเราส่งออกบริการด้วยการท่องเที่ยวด้วย +___+ ดูกราฟต่อไปแท่งสีเหลืองๆ
สัดส่วนการส่งออกบริการคิดเป็นประมาณ 20% ขณะที่ส่วนสัดส่วนการส่งออกสินค้าคิดเป็นประมาณ 80%
และการส่งออกทั้งหมดคิดเป็นประมาณ 70% กว่าของ GDP ซึ่งเราจะเริ่มเห็นการหดตัวของ
การส่งออกสินค้า แต่อย่างไรก็ตาม เราต้องเข้าใจด้วยว่าเศรษฐกิจโลกเรายังคงเปราะบาง
สุดท้ายๆสุดเป็นกราฟ GDP ของเพื่อนบ้านเรา พร้อมลิงค์ของ IMF ไปจิ้มเล่นกันตามสบาย
สรุปคือ เงินลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) > การส่งออก > 70% ของ GDP และถ้าไม่มีการลงทุน ก็มโนเอา
ซึ่งการที่ GDP โตต่ำ พร้อมคนจำนวนน้อย แปลง่ายๆคือ ถ้าเราจะขายลูกชิ้นหมูในประเทศไทย เราจะขายได้
แถวๆ 60 ล้านไม้ไปเรื่อย ๆ ในขณะที่เพิ่มราคาขึ้นมากไม่ได้สมมติว่า 5 บาท = 5 x 60 = 300 ล้านบาท ไปเรื่อยๆ
ไม่สามารถขยายตัวขึ้นได้ทั้งฝั่ง ปริมาณ และ ราคา เพราะฉะนั้น การเติบโตแบบทุกคนโตเหมือนกัน ก็คงจะเป็นไปไม่ได้
ยิ่งถ้าเป็นตลาดหุ้นด้วยแล้ว การเติบโตแบบตู๊มๆ อาจจะต้อง selective รายตัวกันเหนื่อยพอสมควร จบด้วยประการฉะนี้แล
เหนื่อยทำกราฟจุงเบย
Source : BOT, ADB, IMF, WORLD BANK, JETRO, UNCTAD
ลิงค์จิ้มดู GDP ของ IMF
http://www.imf.org/external/datamapper/NGDP_RPCH@WEO/OEMDC/ADVEC/WEOWORLD/THA/VNM/MMR/MYS/LAO/IDN/KHM/PHL