อนาคตภาษาเหนือดั้งเดิมมีแนวโน้มจะหายไปไหมครับ

เจ้าของกระทู้เป็นคนเหนือ พ่อ แม่ พูดคำเมือง เจ้าของกระทู้ก็พูดได้
พอเรียนจบมัธยม ก็เข้ามาศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยที่ กรุงเทพฯ และทำงานกรุงเทพฯ
ปีหนึ่ง กลับบ้านแค่ครั้ง 2 ครั้ง กลับบ้านแต่ละครั้งสังเกตว่าเด็กสมัยใหม่โดยเฉพาะเด็กในเมือง
จะไม่ค่อยพูดภาษาเหนือ(อู้กำเมือง) พ่อแม่ก็สอนให้ลูกพูดไทย
และอีกอย่างคือ รู้สึกว่าภาษาเหนือแบบดั้งเดิมค่อยๆหายไป จะเริ่มเป็นพูดแบบเอาคำภาษาไทยมาใส่สำเนียงเหนือ
สังเกตง่ายๆไม่ใช่ใครที่ไหนเจ้าของกระทู้เอง รวมถึงพี่น้อง และพ่อแม่ ของเจ้าของกระทู้เอง
เช่น พี่สาวพูดกับหลาน "จะไปเดินเร็ว" ทั้งที่แต่ก่อนจะเป็น "จะไปหย่างเร็ว"
หรือคำว่า "ระวังจ๋มน้ำ" ทั้งที่แต่ก่อนจะเป็น "ระวังดิ๊กน้ำ"
หรือคำว่า "ดึ๊กแล้วฮีบเข้านอน" ทั้งที่แต่ก่อนจะเป็น "เดิ๊กแล้วขะใจ๋เข้านอน" ฯลฯ
จะเป็นการพูดภาษาไทยแล้วใส่สำเนียงเหนือเข้าไปมากกว่า

เกริ่นมาซะยืดยาว
สรุปคือคำเหนือแบบดั้งเดิม มีแนวโน้มจะหายไปไหมครับ??
เพราะบางคำที่แทบจะไม่ได้ยินและลืมไปแล้ว ถ้าไม่บังเอิญไปได้ยินคนรุ่น 70+ แถวบ้านพูด เช่น " ส้าม "แปลว่า ติดใจ, "สัวะ" แปลว่า ปล่อย

เจ้าของกระทู้มาอยู่กรุงเทพฯก็แทบไม่ได้พูดภาษาเหนือกับใครเลย ทั้งเพื่อน แฟน และที่ทำงาน ด้วยสภาพแวดล้อมและสังคมที่อยู่ ไม่รู้จะพูดกับใคร

ปล.อย่าด่าว่าเจ้าของกระทู้ลืมกำพืดเลยนะครับ
อยากให้กระทู้นี้เป็นกระทู้แสดงความเห็นแลกเปลี่ยนกันว่า ภาษาเหนือแบบดั้งเดิมจะหายไปไหมครับ
แล้วอะไรเป็นสาเหตุที่แท้จริงของการหายไปของรากเหง้าภาษาเหนือในปัจจุบัน

ปล.2 แล้วคำว่า "จะไปไปไป" สรุปคือให้ไป หรือ ไม่ให้ไป
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่