.
.
An Asian tiger mosquito
(Provided by the National Institute of Infectious Diseases)
.
.
ถ้ายุงกัดและดูดเลือดคนเราไป
แม้เพียงแค่นิดเดียวนำไปใช้เป็น
พยานหลักฐานทางคดีอาญาได้
จากรายงานข่าวที่จะลงตีพิมพ์ในวารสาร
PLOS ONE
ทีมนักวิทยาศาสตร์จาก Nagoya University
ทำงานร่วมกับฝ่ายวิจัยและพัฒนา
Dainihon Jochugiku Co.,Ltd
และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
.
.
นักวิจัยจาก Nagoya University ได้พิสูจน์ว่า
เลือดคนที่ถูกยุงกัดไปแล้ว
ภายในระยะเวลา 48 ชั่วโมง
จะสืบค้นย้อนหลังไปหาเจ้าของเลือดได้
รายงานวิจัยนี้จะลงตีพิมพ์เผยแพร่ใน
U.S. scientific journal Plos One
“ เทคนิคดังกล่าวจะสามารถช่วยตำรวจ
ในการค้นหาว่า
มีใครบ้างอยู่ในที่เกิดเหตุ
ในอนาคต มันจะใช้เป็นหลักฐาน
ในการลงโทษผู้ต้องหาได้ ”
Toshimichi Yamamoto
หัวหน้าทีมวิจัยให้สัมภาษณ์
ยังไม่มีใครรู้ว่า DNA เลือดคน
ที่อยู่ในตัวยุงจะอยู่ได้นานแค่ไหน
แต่เลือดคนมีตัวบ่งชี้ DNA ของคน
จึงต้องการพิสูจน์/วิจัยเรื่องนี้
นักวิจัยได้เก็บตัวอย่างเลือดคน
จากอาสาสมัครที่ถูกยุงกัด
แล้วใช้เทคนิคที่เรียกว่า
Polymerase Chain Reaction
(PCR) ในการตรวจสอบ
PCR เครื่องมือมาตรฐานในการพิสูจน์หลักฐาน
สามารถขยายตัวอย่าง DNA ได้นับเป็นพันเท่า
.
.
.
PCR - Polymerase Chain Reaction
(IQOG-CSIC)
.
.
นักวิจัยใช้ยุงทั่วไปที่พบกันตามบ้านเรือน
พร้อมกับอาสาสมัครชาย 7 คน
อายุระหว่าง 40 - 50 ปี
หลังจากยุงกัด/ดูดเลือดคนแล้ว
มีการดูดเลือดจากยุงราว 2-4 ไมโครลิตร
เพื่อตรวจสอบร่องรอย DNA เลือดคน
ที่อยู่ภายในตัวยุง
Microlitre = One millionth of litre (10
-6) Symbol µl
นักวิจัยได้ทดสอบและพิสูจน์ยืนยันจาก DNA
ในรูปแบบต่าง ๆ ถึง 15 แบบ
ก็จับคู่ตรงกับตัวอย่างเจ้าของเลือด
ผลการทดสอบภายในเวลา 12 ชั่วโมง
ยืนยันรูปแบบ DNA ได้ถึง 15 รูปแบบ
และมีการทดสอบจนกว่าครบ 48 ชั่วโมงหลังยุงกัด
นักวิจัยก็ยังสามารถสืบค้นตัวอย่าง
จับคู่ตรงกับเจ้าของเลือดได้
แต่หลังจากเลยเวลา 48 ชั่วโมง
ก็เริ่มตรวจสอบไม่ได้แล้ว
การทดลองครั้งนี้ใช้ยุงสายพันธุ์
Culex pipiens กับ
Aedes albopictus
เพราะมีมากในเขตร้อนชื้นและเขตกึ่งร้อน
.
.
.
.
.
“ เราหวังว่าวิธีการนี้
จะช่วยเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน
หาตัวอย่างพยานหลักฐานที่เชื่อถือได้
และประมาณเวลาที่ยุงกัดคนได้ (ไม่เกิน 4 วัน) "
Toshimichi Yamamoto
ทีมนักวิจัยจะยังคงพัฒนา
ระบบผลการตรวจสอบนี้
ที่ขึ้นกับผลการวิเคราะห์ DNA
เลือดของคนที่ถูกยุงกัด
และระดับ/ระยะเวลาของ
การสลายตัวของ DNA หลังจากถูกยุงกัด
ยุงส่วนมากจะหากินภายใน
รัศมีไม่เกินกว่า 100 เมตร
และอายุของพวกมันขึ้นกับสายพันธุ์
บางชนิดมีอายุไม่กี่วันจนถึง 2-3 เดือน
ยุงตัวเมียเท่านั้นที่กัดกินเลือดคน
และมีอายุยืนกว่ายุงตัวผู้
ฆาตกรที่ยื้มเยาะในใจ
เพราะคิดว่าได้ปกปิดร่องรอยการฆาตกรรม
ให้ไร้พยานหลักฐานแบบมืออาชีพ
ไม่มีพยาน ไม่มีลายนิ้วมือ ไม่มีลายเท้า
ไม่มีเศษเส้นผม ที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานได้
อาจจบสิ้นได้เพราะพบเลือดฆาตกรในตัวยุง
ที่จับได้ในที่เกิดเหตุในเวลาไม่เกิน 48 ชั่วโมง
เรียบเรียง/ที่มา
https://goo.gl/f8uc5A
https://goo.gl/kytnnE
.
.
.
.
ยุงที่ท้องบวมเป่งไปด้วยเลือด
ตำรวจฟินแลนด์ยืนยันว่าเลือดในยุง
ตรงกับ DNA ของตัวอย่างเลือดของ
ขโมยรถยนต์รายหนึ่ง
.
.
.
ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นโจรขโมยรถยนต์ถูกจับ
เพราะตัวอย่าง DNA ของเลือด
ขโมยรถยนต์ที่พบในยุงตัวหนึ่ง
ตำรวจตรวจค้นรถยนต์
ที่ถูกขโมยมาใน Lapua ประเทศ Finland
สังเกตเห็น
ยุงตัวหนึ่งท้องบวมเป่ง
ด้วยเลือดอยู่ภายในรถยนต์
มันจึงถูกส่งไปยังห้องแลปเพื่อตรวจสอบ
พบว่า DNA จับคู่ตรงกับ
ตัวอย่างเลือดของชายต้องสงสัย
ผู้ต้องหายังยืนยันว่า
ไม่ได้ขโมยรถยนต์คันดังกล่าว
เพียงแค่โบกรถยนต์ขอติดรถยนต์ไปด้วย
ก่อนถูกปล่อยลงจากรถยนต์
โดยชายแปลกหน้า/คนขับรถยนต์
อัยการกำลังพิจารณาว่า
พยานหลักฐานดังกล่าวนี้
เพียงพอหรือไม่ที่จะส่งฟ้องผู้ต้องหาต่อไป
" มันไม่ใช่เรื่องง่าย
ในการพบยุงตัวเล็กในรถยนต์
นั่นพิสูจน์ว่าการสืบสวนสอบสวน
คดีอาชญากรรมต้องระมัดระวัง
และละเอียดรอบคอบเพียงใด
และมันเป็นเรื่องไม่ปกติเลยที่ใช้ยุง
ยุงได้สอนเราว่า
ให้จับตาดูยุงในที่เกิดเหตุ "
Sakari Palomaeki ตำรวจฝ่ายพิสูจน์หลักฐาน
กล่าวอย่างติดตลก
ที่มา
https://goo.gl/mdjruL
.
.
หมายเหตุ
ระบบผู้ต้องหา/จำเลยในคดีอาญา มี 2 ระบบ
ระบบกล่าวหา เป็นหน้าที่ตำรวจ
ต้องรวบรวมพยานหลักฐานก่อนดำเนินคดี
และนำสืบเพื่อยืนยันพยานหลักฐาน
เพื่อเอาผิดผู้ต้องหา/จำเลยในคดีอาญา
และผู้ต้องหา/จำเลยมีหน้าที่
ต้องหาพยานหลักฐานมาต่อสู้คดี
ถ้าติดคุกยิ่งลำบากในเรื่องนี้
ระบบไต่สวน เป็นหน้าที่ผู้ต้องหา/จำเลย
ต้องรวบรวมพยานหลักฐานมาสู้คดีด้วยตนเอง
เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ของตนเอง
บางครั้งศาลอาจจะพิจารณาไต่สวน
เพื่อให้ผู้กล่าวหาหาพยานหลักฐานมาเพิ่มเติม
เมืองไทยมีการใช้ทั้ง 2 ระบบ
แล้วแต่โทษฐานความผิดของคดีแต่ละประเภท
ข้อมูลเพิ่มเติม
https://goo.gl/wRbC7V (ไทย)
.
.
ยุง
ยุงตัวเมียเมื่อมีอายุได้ 2-3 วัน
จึงเริ่มออกหากินเลือดคนหรือสัตว์
เพื่อนำเอาโปรตีนและแร่ธาตุ
ไปใช้สำหรับการเจริญเติบโตของไข่ในรังไข่
แต่มียุงบางชนิดที่ไม่จำเป็นต้องกินเลือด
ก็สามารถสร้างไข่ในรังไข่ได้
เช่น ยุงยักษ์เลือดที่ยุงกินเข้าไป
ถูกย่อยหมดไปในเวลา 2-4 วัน
แต่ถ้าอากาศเย็นลง
การย่อยจะใช้เวลานานออกไป
เมื่อไข่สุกเต็มที่แล้ว
ยุงตัวเมียจะหาแหล่งน้ำ
ที่เหมาะสมในการวางไข่
หลังจากวางไข่แล้ว
ยุงตัวเมียก็ออกดูดเลือดใหม่/วางไข่ได้อีก
บางชนิดที่มีอายุยืนมากอาจไข่ได้ร่วม 10 ครั้ง
แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 4-5 วัน
แต่อาจเร็วกว่าหรือนานกว่า
ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและชนิดของยุง
ส่วนยุงตัวผู้ตลอดอายุขัย
จะกินอาหารจากแหล่งน้ำหวานของดอกไม้
หรือพืชที่ผลิตน้ำตาลในธรรมชาติ
เช่นเดียวกันกับยุงบางชนิดที่
ตัวเมียไม่กัดดูดเลือดคนหรือสัตว์เลย
ยุงตัวเมียวางไข่ประมาณ 30-300 ฟองต่อครั้ง
ขึ้นอยู่กับชนิดของยุง/ปริมาณเลือดที่กินเข้าไป
ไข่จะมีสีขาวหรือครีมเมื่อออกมาใหม่ ๆ
และในเวลาไม่กี่นาทีจะเปลี่ยนเป็น
สีน้ำตาลหรือน้ำตาลดำไปจนถึงสีดำ
ที่มา/ข้อมูลเพิ่มเติม
https://goo.gl/vbuiLW (ไทย)
DNA เลือดคนในยุงใช้เป็นพยานหลักฐานมัดตัวผู้ต้องหา
.
An Asian tiger mosquito
(Provided by the National Institute of Infectious Diseases)
.
ถ้ายุงกัดและดูดเลือดคนเราไป
แม้เพียงแค่นิดเดียวนำไปใช้เป็น
พยานหลักฐานทางคดีอาญาได้
จากรายงานข่าวที่จะลงตีพิมพ์ในวารสาร
PLOS ONE
ทีมนักวิทยาศาสตร์จาก Nagoya University
ทำงานร่วมกับฝ่ายวิจัยและพัฒนา
Dainihon Jochugiku Co.,Ltd
และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
.
.
Dainihon Jochugiku Co.,Ltd คือ
ผู้ผลิตยากันยุง ตราหัวไก่
ที่มา http://www.kincho.co.jp/kaisha/en/
.
นักวิจัยจาก Nagoya University ได้พิสูจน์ว่า
เลือดคนที่ถูกยุงกัดไปแล้ว
ภายในระยะเวลา 48 ชั่วโมง
จะสืบค้นย้อนหลังไปหาเจ้าของเลือดได้
รายงานวิจัยนี้จะลงตีพิมพ์เผยแพร่ใน
U.S. scientific journal Plos One
“ เทคนิคดังกล่าวจะสามารถช่วยตำรวจ
ในการค้นหาว่า มีใครบ้างอยู่ในที่เกิดเหตุ
ในอนาคต มันจะใช้เป็นหลักฐาน
ในการลงโทษผู้ต้องหาได้ ”
Toshimichi Yamamoto
หัวหน้าทีมวิจัยให้สัมภาษณ์
ยังไม่มีใครรู้ว่า DNA เลือดคน
ที่อยู่ในตัวยุงจะอยู่ได้นานแค่ไหน
แต่เลือดคนมีตัวบ่งชี้ DNA ของคน
จึงต้องการพิสูจน์/วิจัยเรื่องนี้
นักวิจัยได้เก็บตัวอย่างเลือดคน
จากอาสาสมัครที่ถูกยุงกัด
แล้วใช้เทคนิคที่เรียกว่า
Polymerase Chain Reaction
(PCR) ในการตรวจสอบ
PCR เครื่องมือมาตรฐานในการพิสูจน์หลักฐาน
สามารถขยายตัวอย่าง DNA ได้นับเป็นพันเท่า
.
.
PCR - Polymerase Chain Reaction
(IQOG-CSIC)
.
.
นักวิจัยใช้ยุงทั่วไปที่พบกันตามบ้านเรือน
พร้อมกับอาสาสมัครชาย 7 คน
อายุระหว่าง 40 - 50 ปี
หลังจากยุงกัด/ดูดเลือดคนแล้ว
มีการดูดเลือดจากยุงราว 2-4 ไมโครลิตร
เพื่อตรวจสอบร่องรอย DNA เลือดคน
ที่อยู่ภายในตัวยุง
Microlitre = One millionth of litre (10 -6) Symbol µl
นักวิจัยได้ทดสอบและพิสูจน์ยืนยันจาก DNA
ในรูปแบบต่าง ๆ ถึง 15 แบบ
ก็จับคู่ตรงกับตัวอย่างเจ้าของเลือด
ผลการทดสอบภายในเวลา 12 ชั่วโมง
ยืนยันรูปแบบ DNA ได้ถึง 15 รูปแบบ
และมีการทดสอบจนกว่าครบ 48 ชั่วโมงหลังยุงกัด
นักวิจัยก็ยังสามารถสืบค้นตัวอย่าง
จับคู่ตรงกับเจ้าของเลือดได้
แต่หลังจากเลยเวลา 48 ชั่วโมง
ก็เริ่มตรวจสอบไม่ได้แล้ว
การทดลองครั้งนี้ใช้ยุงสายพันธุ์
Culex pipiens กับ Aedes albopictus
เพราะมีมากในเขตร้อนชื้นและเขตกึ่งร้อน
.
.
.
“ เราหวังว่าวิธีการนี้
จะช่วยเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน
หาตัวอย่างพยานหลักฐานที่เชื่อถือได้
และประมาณเวลาที่ยุงกัดคนได้ (ไม่เกิน 4 วัน) "
Toshimichi Yamamoto
ทีมนักวิจัยจะยังคงพัฒนา
ระบบผลการตรวจสอบนี้
ที่ขึ้นกับผลการวิเคราะห์ DNA
เลือดของคนที่ถูกยุงกัด
และระดับ/ระยะเวลาของ
การสลายตัวของ DNA หลังจากถูกยุงกัด
ยุงส่วนมากจะหากินภายใน
รัศมีไม่เกินกว่า 100 เมตร
และอายุของพวกมันขึ้นกับสายพันธุ์
บางชนิดมีอายุไม่กี่วันจนถึง 2-3 เดือน
ยุงตัวเมียเท่านั้นที่กัดกินเลือดคน
และมีอายุยืนกว่ายุงตัวผู้
ฆาตกรที่ยื้มเยาะในใจ
เพราะคิดว่าได้ปกปิดร่องรอยการฆาตกรรม
ให้ไร้พยานหลักฐานแบบมืออาชีพ
ไม่มีพยาน ไม่มีลายนิ้วมือ ไม่มีลายเท้า
ไม่มีเศษเส้นผม ที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานได้
อาจจบสิ้นได้เพราะพบเลือดฆาตกรในตัวยุง
ที่จับได้ในที่เกิดเหตุในเวลาไม่เกิน 48 ชั่วโมง
เรียบเรียง/ที่มา
https://goo.gl/f8uc5A
https://goo.gl/kytnnE
.
.
.
ยุงที่ท้องบวมเป่งไปด้วยเลือด
ตำรวจฟินแลนด์ยืนยันว่าเลือดในยุง
ตรงกับ DNA ของตัวอย่างเลือดของ
ขโมยรถยนต์รายหนึ่ง
.
.
ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นโจรขโมยรถยนต์ถูกจับ
เพราะตัวอย่าง DNA ของเลือด
ขโมยรถยนต์ที่พบในยุงตัวหนึ่ง
ตำรวจตรวจค้นรถยนต์
ที่ถูกขโมยมาใน Lapua ประเทศ Finland
สังเกตเห็น ยุงตัวหนึ่งท้องบวมเป่ง
ด้วยเลือดอยู่ภายในรถยนต์
มันจึงถูกส่งไปยังห้องแลปเพื่อตรวจสอบ
พบว่า DNA จับคู่ตรงกับ
ตัวอย่างเลือดของชายต้องสงสัย
ผู้ต้องหายังยืนยันว่า
ไม่ได้ขโมยรถยนต์คันดังกล่าว
เพียงแค่โบกรถยนต์ขอติดรถยนต์ไปด้วย
ก่อนถูกปล่อยลงจากรถยนต์
โดยชายแปลกหน้า/คนขับรถยนต์
อัยการกำลังพิจารณาว่า
พยานหลักฐานดังกล่าวนี้
เพียงพอหรือไม่ที่จะส่งฟ้องผู้ต้องหาต่อไป
" มันไม่ใช่เรื่องง่าย
ในการพบยุงตัวเล็กในรถยนต์
นั่นพิสูจน์ว่าการสืบสวนสอบสวน
คดีอาชญากรรมต้องระมัดระวัง
และละเอียดรอบคอบเพียงใด
และมันเป็นเรื่องไม่ปกติเลยที่ใช้ยุง
ยุงได้สอนเราว่า ให้จับตาดูยุงในที่เกิดเหตุ "
Sakari Palomaeki ตำรวจฝ่ายพิสูจน์หลักฐาน
กล่าวอย่างติดตลก
ที่มา https://goo.gl/mdjruL
.
.
หมายเหตุ
ระบบผู้ต้องหา/จำเลยในคดีอาญา มี 2 ระบบ
ระบบกล่าวหา เป็นหน้าที่ตำรวจ
ต้องรวบรวมพยานหลักฐานก่อนดำเนินคดี
และนำสืบเพื่อยืนยันพยานหลักฐาน
เพื่อเอาผิดผู้ต้องหา/จำเลยในคดีอาญา
และผู้ต้องหา/จำเลยมีหน้าที่
ต้องหาพยานหลักฐานมาต่อสู้คดี
ถ้าติดคุกยิ่งลำบากในเรื่องนี้
ระบบไต่สวน เป็นหน้าที่ผู้ต้องหา/จำเลย
ต้องรวบรวมพยานหลักฐานมาสู้คดีด้วยตนเอง
เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ของตนเอง
บางครั้งศาลอาจจะพิจารณาไต่สวน
เพื่อให้ผู้กล่าวหาหาพยานหลักฐานมาเพิ่มเติม
เมืองไทยมีการใช้ทั้ง 2 ระบบ
แล้วแต่โทษฐานความผิดของคดีแต่ละประเภท
ข้อมูลเพิ่มเติม https://goo.gl/wRbC7V (ไทย)
.
.
ยุง
ยุงตัวเมียเมื่อมีอายุได้ 2-3 วัน
จึงเริ่มออกหากินเลือดคนหรือสัตว์
เพื่อนำเอาโปรตีนและแร่ธาตุ
ไปใช้สำหรับการเจริญเติบโตของไข่ในรังไข่
แต่มียุงบางชนิดที่ไม่จำเป็นต้องกินเลือด
ก็สามารถสร้างไข่ในรังไข่ได้
เช่น ยุงยักษ์เลือดที่ยุงกินเข้าไป
ถูกย่อยหมดไปในเวลา 2-4 วัน
แต่ถ้าอากาศเย็นลง
การย่อยจะใช้เวลานานออกไป
เมื่อไข่สุกเต็มที่แล้ว
ยุงตัวเมียจะหาแหล่งน้ำ
ที่เหมาะสมในการวางไข่
หลังจากวางไข่แล้ว
ยุงตัวเมียก็ออกดูดเลือดใหม่/วางไข่ได้อีก
บางชนิดที่มีอายุยืนมากอาจไข่ได้ร่วม 10 ครั้ง
แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 4-5 วัน
แต่อาจเร็วกว่าหรือนานกว่า
ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและชนิดของยุง
ส่วนยุงตัวผู้ตลอดอายุขัย
จะกินอาหารจากแหล่งน้ำหวานของดอกไม้
หรือพืชที่ผลิตน้ำตาลในธรรมชาติ
เช่นเดียวกันกับยุงบางชนิดที่
ตัวเมียไม่กัดดูดเลือดคนหรือสัตว์เลย
ยุงตัวเมียวางไข่ประมาณ 30-300 ฟองต่อครั้ง
ขึ้นอยู่กับชนิดของยุง/ปริมาณเลือดที่กินเข้าไป
ไข่จะมีสีขาวหรือครีมเมื่อออกมาใหม่ ๆ
และในเวลาไม่กี่นาทีจะเปลี่ยนเป็น
สีน้ำตาลหรือน้ำตาลดำไปจนถึงสีดำ
ที่มา/ข้อมูลเพิ่มเติม https://goo.gl/vbuiLW (ไทย)