มีรายงานข่าวจากหลายๆ แหล่ง พาดหัวคล้ายๆ กันว่า “เอ็มพี 3 ตายแล้ว!” หรือ “เอ็มพี 3 อิส เดธ” อะไรทำนองนั้น ทำความตกอกตกใจหรือไม่ก็เข้าใจไขว้เขวกันไปว่า อยู่ๆ เอ็มพี 3 ฟอร์แมตการบีบอัดข้อมูลเพลงดิจิทัลที่เคยสร้างปรากฏการณ์พลิกโฉมหน้าวงการนักฟังและวงการธุรกิจดนตรี กำลังล้มหายตายจากผู้ใช้ไปแล้วยังไงยังงั้น
ข้อเท็จจริงของข่าวดังกล่าวก็คือ สถาบันฟรานฮอฟเฟอร์เพื่อการศึกษาวงจรรวม (Fraunhofer Institute for Integrated Circuits) ของประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นผู้คิดค้นและเป็นเจ้าของสิทธิบัตรโปรแกรมในฟอร์แมตนี้ ประกาศอย่างเป็นทางการยกเลิกโครงการให้ใบอนุญาตการใช้งานเอ็มพี 3 อย่างเป็นทางการ เนื่องจากสิทธิบัตรของสถาบันสิ้นสุดลงแล้วเท่านั้นเอง
ในถ้อยแถลงของสถาบันฟรานฮอฟเฟอร์ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ชัดเจนว่าถึงแม้ว่า เอ็มพี 3 จะยังเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภคบางกลุ่ม แต่ฟอร์แมตใหม่ๆ อย่างเช่น เอเอซี (Advanced Audio Coding-AAC) สามารถบรรจุฟีเจอร์ต่างๆ ลงไปได้มากกว่าคุณภาพเสียงสูงกว่าและมีบิทเรตต่ำกว่ามากอีกด้วย ผลก็คือ เอเอซี เป็นที่นิยมใช้เป็น ดีฟอลต์ ออดิโอ ฟอร์แมต สำหรับการสตรีมมิง และยูทูบ โดยที่จุข้อมูลได้มากกว่าสำหรับโลกดิจิทัลในเวลานี้
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าจู่ๆ “เอ็มพี 3” ที่เราคุ้นเคยจะล้มหายตายจากไปแต่อย่างใด ในความเป็นจริง เอ็มพี 3 ยังคงใช้กันอยู่อย่างกว้างขวาง ตัวอย่างเช่น กูเกิลมิวสิก ก็ยังใช้เอ็มพี 3 เป็นฟอร์แมตพื้นฐาน แถมหลายๆ คนยังมีไฟล์เอ็มพี 3 อยู่ในฮาร์ดดิสก์อีกเป็นกะตั๊ก “พ็อดคาสต์” ทั้งหลายก็ยังผลิตออกมาในรูปเอ็มพี 3 พูดง่ายๆ ว่า เอ็มพี 3 ก็เป็นเหมือนฟอร์แมตภาพเคลื่อนไหวแบบ GIF ที่ถึงจะแย่ แต่ก็ยังแพร่หลายมาก เพราะได้รับการตอบรับมากกว่า มีอุปกรณ์และซอฟต์แวร์รองรับมากกว่า ไม่ใช่เพราะมันดีที่สุดแต่อย่างใด
ข้อเท็จจริงของการประกาศดังกล่าวจึงสะท้อนถึงความซื่อสัตย์ จริงใจ ของสถาบันฟรานฮอฟเฟอร์ ที่ต้องการประกาศให้รับรู้โดยทั่วกันว่า ต่อไปนี้ใครจะใช้เอ็มพี 3 ก็ไม่ต้องจ่ายค่าไลเซนส์อีกต่อไปแล้วเท่านั้น
ก่อนหน้านี้ ผู้ที่ต้องการนำเอาดีโคดเดอร์, เอ็นโคดเดอร์ ของเอ็มพี 3 ไปใช้ต้องจ่ายค่าอนุญาตใช้ซึ่งเป็นเงินไม่ใช่น้อยๆ ตัวอย่างเช่น แอพพลิเคชั่นไม่ว่าจะบนวินโดวส์ หรือแม็ค จะให้สามารถเล่นไฟล์เอ็มพี 3 ได้ต้องจ่าย 0.75 ดอลลาร์ต่อยูสเซอร์ หรือในกรณีของเกม ก็ต้องเสียเงินเพื่อการนี้ถึง 2.50 ดอลลาร์ต่อแผ่น (ยูสเซอร์) ซึ่งจะเท่ากับ 2,500 ดอลลาร์ ถ้าขายเกมได้ 5,000 ก๊อบปี้ เป็นต้น
ถ้าสถาบันฟรานฮอฟเฟอร์ นิ่งเฉยเสีย ก็อาจไม่มีใครไปตรวจสอบว่า เอ็มพี 3 นั้นจดสิทธิบัตรเมื่อปี 1997 และหมดอายุสิทธิบัตรลงในปีนี้สถาบันก็อาจได้เงินฟรีๆ จากผู้ผลิตที่ไม่ตรวจสอบเหล่านั้น
“เอ็มพี 3” จึงยังไม่ตาย ในทางตรงกันข้าม เมื่อกลายเป็นของฟรีแล้วอย่างนี้ เราอาจได้เห็นมันถูกนำมาใช้กันมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ออดาซิตี แอพพลิเคชั่นอัดเสียงที่เปิดให้ดาวน์โหลดฟรี ก็อาจหันมาหาฟอร์แมตนี้แทนที่จะเป็นฟอร์แมต WAV อย่างเดียวเหมือนที่เป็นอยู่ เป็นต้น
ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่า “เอ็มพี 3” จะใช้กันอยู่แพร่หลายต่อไปอีกไม่น้อยกว่า 20 ปีด้วยซ้ำไป
ข่าวจาก : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
https://www.prachachat.net/d-life/news-540
“เอ็มพี3” ตายแล้ว! จริงหรือ?
มีรายงานข่าวจากหลายๆ แหล่ง พาดหัวคล้ายๆ กันว่า “เอ็มพี 3 ตายแล้ว!” หรือ “เอ็มพี 3 อิส เดธ” อะไรทำนองนั้น ทำความตกอกตกใจหรือไม่ก็เข้าใจไขว้เขวกันไปว่า อยู่ๆ เอ็มพี 3 ฟอร์แมตการบีบอัดข้อมูลเพลงดิจิทัลที่เคยสร้างปรากฏการณ์พลิกโฉมหน้าวงการนักฟังและวงการธุรกิจดนตรี กำลังล้มหายตายจากผู้ใช้ไปแล้วยังไงยังงั้น
ข้อเท็จจริงของข่าวดังกล่าวก็คือ สถาบันฟรานฮอฟเฟอร์เพื่อการศึกษาวงจรรวม (Fraunhofer Institute for Integrated Circuits) ของประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นผู้คิดค้นและเป็นเจ้าของสิทธิบัตรโปรแกรมในฟอร์แมตนี้ ประกาศอย่างเป็นทางการยกเลิกโครงการให้ใบอนุญาตการใช้งานเอ็มพี 3 อย่างเป็นทางการ เนื่องจากสิทธิบัตรของสถาบันสิ้นสุดลงแล้วเท่านั้นเอง
ในถ้อยแถลงของสถาบันฟรานฮอฟเฟอร์ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ชัดเจนว่าถึงแม้ว่า เอ็มพี 3 จะยังเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภคบางกลุ่ม แต่ฟอร์แมตใหม่ๆ อย่างเช่น เอเอซี (Advanced Audio Coding-AAC) สามารถบรรจุฟีเจอร์ต่างๆ ลงไปได้มากกว่าคุณภาพเสียงสูงกว่าและมีบิทเรตต่ำกว่ามากอีกด้วย ผลก็คือ เอเอซี เป็นที่นิยมใช้เป็น ดีฟอลต์ ออดิโอ ฟอร์แมต สำหรับการสตรีมมิง และยูทูบ โดยที่จุข้อมูลได้มากกว่าสำหรับโลกดิจิทัลในเวลานี้
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าจู่ๆ “เอ็มพี 3” ที่เราคุ้นเคยจะล้มหายตายจากไปแต่อย่างใด ในความเป็นจริง เอ็มพี 3 ยังคงใช้กันอยู่อย่างกว้างขวาง ตัวอย่างเช่น กูเกิลมิวสิก ก็ยังใช้เอ็มพี 3 เป็นฟอร์แมตพื้นฐาน แถมหลายๆ คนยังมีไฟล์เอ็มพี 3 อยู่ในฮาร์ดดิสก์อีกเป็นกะตั๊ก “พ็อดคาสต์” ทั้งหลายก็ยังผลิตออกมาในรูปเอ็มพี 3 พูดง่ายๆ ว่า เอ็มพี 3 ก็เป็นเหมือนฟอร์แมตภาพเคลื่อนไหวแบบ GIF ที่ถึงจะแย่ แต่ก็ยังแพร่หลายมาก เพราะได้รับการตอบรับมากกว่า มีอุปกรณ์และซอฟต์แวร์รองรับมากกว่า ไม่ใช่เพราะมันดีที่สุดแต่อย่างใด
ข้อเท็จจริงของการประกาศดังกล่าวจึงสะท้อนถึงความซื่อสัตย์ จริงใจ ของสถาบันฟรานฮอฟเฟอร์ ที่ต้องการประกาศให้รับรู้โดยทั่วกันว่า ต่อไปนี้ใครจะใช้เอ็มพี 3 ก็ไม่ต้องจ่ายค่าไลเซนส์อีกต่อไปแล้วเท่านั้น
ก่อนหน้านี้ ผู้ที่ต้องการนำเอาดีโคดเดอร์, เอ็นโคดเดอร์ ของเอ็มพี 3 ไปใช้ต้องจ่ายค่าอนุญาตใช้ซึ่งเป็นเงินไม่ใช่น้อยๆ ตัวอย่างเช่น แอพพลิเคชั่นไม่ว่าจะบนวินโดวส์ หรือแม็ค จะให้สามารถเล่นไฟล์เอ็มพี 3 ได้ต้องจ่าย 0.75 ดอลลาร์ต่อยูสเซอร์ หรือในกรณีของเกม ก็ต้องเสียเงินเพื่อการนี้ถึง 2.50 ดอลลาร์ต่อแผ่น (ยูสเซอร์) ซึ่งจะเท่ากับ 2,500 ดอลลาร์ ถ้าขายเกมได้ 5,000 ก๊อบปี้ เป็นต้น
ถ้าสถาบันฟรานฮอฟเฟอร์ นิ่งเฉยเสีย ก็อาจไม่มีใครไปตรวจสอบว่า เอ็มพี 3 นั้นจดสิทธิบัตรเมื่อปี 1997 และหมดอายุสิทธิบัตรลงในปีนี้สถาบันก็อาจได้เงินฟรีๆ จากผู้ผลิตที่ไม่ตรวจสอบเหล่านั้น
“เอ็มพี 3” จึงยังไม่ตาย ในทางตรงกันข้าม เมื่อกลายเป็นของฟรีแล้วอย่างนี้ เราอาจได้เห็นมันถูกนำมาใช้กันมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ออดาซิตี แอพพลิเคชั่นอัดเสียงที่เปิดให้ดาวน์โหลดฟรี ก็อาจหันมาหาฟอร์แมตนี้แทนที่จะเป็นฟอร์แมต WAV อย่างเดียวเหมือนที่เป็นอยู่ เป็นต้น
ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่า “เอ็มพี 3” จะใช้กันอยู่แพร่หลายต่อไปอีกไม่น้อยกว่า 20 ปีด้วยซ้ำไป
ข่าวจาก : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
https://www.prachachat.net/d-life/news-540