ที่มา: หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก วันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556
นิวเดลี - ศาลสูงสุดอินเดียชี้ขาดคดีประวัติศาสตร์หลังสู้กัน 7 ปี ยกคำร้องยักษ์ใหญ่ยาสวิสขอจดสิทธิบัตรยารักษามะเร็ง ชี้ไม่ใช่ยาใหม่แค่ปรับปรุงเล็กน้อย นักเคลื่อนไหวเฮ ช่วยผู้ป่วยยากไร้ทั่วโลกเข้าถึงยาราคาถูกได้ต่อไป
เมื่อวันจันทร์ (1 เม.ย.) ศาลสูงสุดอินเดียมีคำพิพากษายกฟ้องคดีที่โนวาร์ติส ยักษ์ใหญ่เวชภัณฑ์แห่งสวิตเซอร์แลนด์ ยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรยา "กลิเวค" (Glivec) ซึ่งเป็นยารักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งอีกบางชนิด โดยศาลเห็นพ้องกับคณะกรรมการทรัพย์สินทางปัญญาอินเดียที่เคยตัดสินเมื่อปี 2552 ว่า การขอสิทธิบัตรควรให้แก่ยาชนิดใหม่อย่างแท้จริง กลิเวคที่ปรับปรุงแก้ไขใหม่ไม่ได้แตกต่างมากนักกับยาตัวเดิม
โนวาร์ติสเริ่มต่อสู้คดีขอจดสิทธิบัตรกลิเวคมาตั้งแต่ปี 2549 หลังจากสำนักงานสิทธิบัตรอินเดียปฏิเสธคำร้อง โดยอ้างกฎหมายสิทธิบัตรปี 2548 ที่มีบทบัญญัติว่า ยาตัวเดิมที่ปรุงใหม่จะจดสิทธิบัตรได้ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่า มีสรรพคุณทางการรักษามากกว่ายาตัวก่อนที่สิทธิบัตรหมดอายุไปแล้ว เพื่อป้องกันบริษัทยาใช้เทคนิคที่เรียกว่า "เอเวอร์กรีนนิง" ปรับปรุงแก้ไขเพียงเล็กน้อย แต่โนวาร์ติสยื่นอุทธรณ์เรื่อยมา โดยยืนยันว่า ได้พัฒนาปรับปรุงยากลิเวคอย่างมีนัยสำคัญ ให้ร่างกายสามารถดูดซึมได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม จึงมีคุณสมบัติที่จะได้สิทธิบัตรใหม่
คดีนี้เป็นที่จับตาอย่างมาก เพราะจะมีผลโยงใยในการนิยามขอบข่ายการคุ้มครองสิทธิบัตรของบริษัทยาข้ามชาติ เนื่องจากอินเดียได้ชื่อว่าเป็นคลังยาโลก อุตสาหกรรมยาสามัญมูลค่า 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์ของอินเดียผลิตยาสามัญเลียนแบบยาต้นฉบับรักษาวัณโรค มะเร็ง และเอดส์ เป็นที่พึ่งของผู้ป่วยยากจนในประเทศกำลังพัฒนา
นายประทีบ ซิงห์ ทนายของบริษัทซีพลา บริษัทที่ผลิตยาสามัญแบบเดียวกับกลิเวค กล่าวว่า คำพิพากษานี้จะถือเป็นบรรทัดฐานป้องกันบริษัทยาข้ามชาติได้รับสิทธิบัตรใหม่ในอินเดียสำหรับยาเดิมที่มีอยู่แล้วแต่นำไปปรับปรุงใหม่
ด้านลีนา เมงฮานี ทนายความจากองค์กรแพทย์ไร้พรมแดน กล่าวว่า คำตัดสินสร้างความโล่งอก เพราะจะช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมากทั้งในอินเดียและทั่วโลก คำตัดสินนี้ไม่ได้หมายความว่าอินเดียจะไม่คุ้มครองสิทธิบัตร หากแต่จะช่วยควบคุมความพยายามแสวงหาสิทธิบัตรหลายใบให้แก่ยาชนิดเดียว
การใช้ยากลิเวคเพื่อรักษาโรคมีค่าใช้จ่ายเดือนละ 4,000 ดอลลาร์ แต่หากเป็นยาสามัญที่หาซื้อได้ในอินเดียจะราคาประมาณ 73 ดอลลาร์
ด้านโนวาร์ติสประณามคำพิพากษาว่า จะบั่นทอนแรงจูงใจในการลงทุนเพื่อคิดค้นนวัตกรรมยาใหม่ๆ ที่เป็นทางเลือกให้แก่ผู้ป่วย
บริษัทยาแพ้คดีสิทธิบัตรอินเดีย เอ็นจีโอโล่งใจผู้ป่วยยากไร้เข้าถึงยาถูก
นิวเดลี - ศาลสูงสุดอินเดียชี้ขาดคดีประวัติศาสตร์หลังสู้กัน 7 ปี ยกคำร้องยักษ์ใหญ่ยาสวิสขอจดสิทธิบัตรยารักษามะเร็ง ชี้ไม่ใช่ยาใหม่แค่ปรับปรุงเล็กน้อย นักเคลื่อนไหวเฮ ช่วยผู้ป่วยยากไร้ทั่วโลกเข้าถึงยาราคาถูกได้ต่อไป
เมื่อวันจันทร์ (1 เม.ย.) ศาลสูงสุดอินเดียมีคำพิพากษายกฟ้องคดีที่โนวาร์ติส ยักษ์ใหญ่เวชภัณฑ์แห่งสวิตเซอร์แลนด์ ยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรยา "กลิเวค" (Glivec) ซึ่งเป็นยารักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งอีกบางชนิด โดยศาลเห็นพ้องกับคณะกรรมการทรัพย์สินทางปัญญาอินเดียที่เคยตัดสินเมื่อปี 2552 ว่า การขอสิทธิบัตรควรให้แก่ยาชนิดใหม่อย่างแท้จริง กลิเวคที่ปรับปรุงแก้ไขใหม่ไม่ได้แตกต่างมากนักกับยาตัวเดิม
โนวาร์ติสเริ่มต่อสู้คดีขอจดสิทธิบัตรกลิเวคมาตั้งแต่ปี 2549 หลังจากสำนักงานสิทธิบัตรอินเดียปฏิเสธคำร้อง โดยอ้างกฎหมายสิทธิบัตรปี 2548 ที่มีบทบัญญัติว่า ยาตัวเดิมที่ปรุงใหม่จะจดสิทธิบัตรได้ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่า มีสรรพคุณทางการรักษามากกว่ายาตัวก่อนที่สิทธิบัตรหมดอายุไปแล้ว เพื่อป้องกันบริษัทยาใช้เทคนิคที่เรียกว่า "เอเวอร์กรีนนิง" ปรับปรุงแก้ไขเพียงเล็กน้อย แต่โนวาร์ติสยื่นอุทธรณ์เรื่อยมา โดยยืนยันว่า ได้พัฒนาปรับปรุงยากลิเวคอย่างมีนัยสำคัญ ให้ร่างกายสามารถดูดซึมได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม จึงมีคุณสมบัติที่จะได้สิทธิบัตรใหม่
คดีนี้เป็นที่จับตาอย่างมาก เพราะจะมีผลโยงใยในการนิยามขอบข่ายการคุ้มครองสิทธิบัตรของบริษัทยาข้ามชาติ เนื่องจากอินเดียได้ชื่อว่าเป็นคลังยาโลก อุตสาหกรรมยาสามัญมูลค่า 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์ของอินเดียผลิตยาสามัญเลียนแบบยาต้นฉบับรักษาวัณโรค มะเร็ง และเอดส์ เป็นที่พึ่งของผู้ป่วยยากจนในประเทศกำลังพัฒนา
นายประทีบ ซิงห์ ทนายของบริษัทซีพลา บริษัทที่ผลิตยาสามัญแบบเดียวกับกลิเวค กล่าวว่า คำพิพากษานี้จะถือเป็นบรรทัดฐานป้องกันบริษัทยาข้ามชาติได้รับสิทธิบัตรใหม่ในอินเดียสำหรับยาเดิมที่มีอยู่แล้วแต่นำไปปรับปรุงใหม่
ด้านลีนา เมงฮานี ทนายความจากองค์กรแพทย์ไร้พรมแดน กล่าวว่า คำตัดสินสร้างความโล่งอก เพราะจะช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมากทั้งในอินเดียและทั่วโลก คำตัดสินนี้ไม่ได้หมายความว่าอินเดียจะไม่คุ้มครองสิทธิบัตร หากแต่จะช่วยควบคุมความพยายามแสวงหาสิทธิบัตรหลายใบให้แก่ยาชนิดเดียว
การใช้ยากลิเวคเพื่อรักษาโรคมีค่าใช้จ่ายเดือนละ 4,000 ดอลลาร์ แต่หากเป็นยาสามัญที่หาซื้อได้ในอินเดียจะราคาประมาณ 73 ดอลลาร์
ด้านโนวาร์ติสประณามคำพิพากษาว่า จะบั่นทอนแรงจูงใจในการลงทุนเพื่อคิดค้นนวัตกรรมยาใหม่ๆ ที่เป็นทางเลือกให้แก่ผู้ป่วย