MC นู๋สร้างชาติ รับหน้าที่ค่ะ
เดิมชื่อ สง่า อินทรวิจิตร เกิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 ที่จังหวัดสมุทรสาคร จบการศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟรุ่นแรก แผนกการเดินรถ มีผลงานประพันธ์คำร้องเพลงเกือบ 1,000 เพลง มีผลงานการแสดง เช่น สวรรค์มืด (2501) ,จอมใจเวียงฟ้า (2505) ,ไอ้ผาง ร.ฟ.ท.(2525) และกำกับภาพยนตร์อีกจำนวนมาก เช่น ปราสาททราย (2512) ,กิ่งแก้ว (2513) และ สื่อกามเทพ (2514)
ชาลี อินทรวิจิตร เขียนเล่าเอาไว้ ใน หนังสือ คอนเสิร์ต วันดวลเพลง ครั้งที่ 2 ชาลี อินทรวิจิตร – สุรพล โทณะวณิก และ หนังสือบันเทิง บางที ว่า...
“...5 พฤษภาคม 2545 วันฉัตรมงคล ซึ่งตรงกับวันของสมาคมนักเขียน ผ่านไปไม่กี่วันเอง
ทำให้ผมย้อนรำลึก ถึงวันที่ 5 พฤษภาคม 2541 สมาคมนักเขียน จัดรายการ กวีนิพนธ์ สู่บทเพลง โดยนักกวี นักแต่งเพลง และ นักร้อง
ผมเป็นคนหนึ่ง ที่จะต้องไปบรรยาย ความหมาย ศิลปะการเห่เรือ จาก เพลงเหมือนไม่เคย
12.00 น. ผมเดินทางมาถึงสมาคมนักหนังสือพิมพ์ (สถานที่จัดงาน – ผู้เขียน) บรรยากาศรอบๆ บริเวณ ดูคึกคักไม่เบา นักเขียนเอย นักกวีเอย เดินเข้าเดินออกกันอย่างสนิทสนม เป็นกันเอง แต่ผมก็รู้สึกจะเก้อจะเขินเพราะไม่ค่อยจะรู้จักมักจี่ใครเขาเท่าไหร่ ลุงแจ๋ว ก็ยังไม่มาสักที ผมก็เลยทำไก๋ เดินเร่ไปที่แผงหนังสือที่มีอยู่สองสามแผงข้างๆ ห้องใหญ่ที่จัดรายการ ก็เลยได้หนังสือมา 2 – 3 เล่ม ไปอ่านแก้ตะขิดตะขวง
12.30 น. ท่านนายกสมาคมนักเขียน คุณประยอม ซองทอง ท่านแลเห็นผมเข้า ท่านรีบเดินมาฉุดผมไปพบ คุณชมัยพร แสงกระจ่าง ผู้จัดรายการในวันนี้ ผมรู้สึกว่า ตัวเองเล็กและตัวลีบลงไปเป็นกอง
“โล่งใจจัง ที่พี่ชาลี มาก่อนใครเพื่อน” คุณชมัยพร พูดพร้อมกับยกมือไหว้ ผมรีบยกมือรับไหว้ตอบ คุณชมัยพร ทันที
“พี่ชาลี ต้องพูดแล้วร้อง เพลงเหมือนไม่เคย จากกาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้ากุ้ง ที่พี่แปลงมาเป็นเพลงแรกเลยค่ะ” ผมยิ้มแทนคำตอบเป็นการยอมรับกลายๆ ว่า ผมเตรียมตัวมาพร้อมแล้ว...”
และในเวลา13.00 น. สำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำนักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี ก็มีคำสั่งตามตัว ให้ไปรับเอกสาร ที่จะขอพระราชทานเข้าเฝ้าฯ เพื่อรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ เป็นลำดับที่ 28 จาก ทั้งหมด 31 คน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในบ่ายวันนั้น
ครูชาลี อินทรวิจิตร จึงไม่ได้ร้อง เพลงเหมือนไม่เคย ในงานของ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ตามที่ตั้งใจไว้ ในวันนั้น
แต่ในหนังสือ คอนเสิร์ตเชิดชูครูเพลง ครั้งที่ ๒ ชาลี อินทรวิจิตร คอลัมน์ ชาลี สร้างเพลง เพลงสร้าง ชาลี นั้น ระบุว่า
“เพลงนี้ แต่งขึ้นจากเกร็ดชีวิตช่วงหนึ่งของ สุเทพ (วงศ์กำแหง) วันหนึ่งเขาไปร้องเพลงในสถานที่แห่งหนึ่ง ขณะร้อง มีสาวไฮโซคนหนึ่ง จ้องตาเขม็งตลอดเวลา มองไปครั้งใด ถูกจ้องเสมอ
เมื่อร้องเพลงจบ จึงเข้าไปถามว่า ผมร้องอะไรผิด หรือทำอะไร ไม่ถูกต้องหรือเปล่า หญิงคนนั้นตอบว่า เปล่า ที่ฉันจ้องคุณ เพราะชอบใจ อยากชวนคุณไปทานข้าวเย็นด้วยกัน จะไปไหม สุเทพก็ไป หลังจากนั้น เกิดอะไรขึ้น ผมไม่ทราบ ต้องถามคุณสุเทพ เอง
วันต่อมา หญิงคนนั้น มานั่งฟังเพลงสุเทพ อีก แต่เธอวางกิริยาเฉย เหมือนไม่เคยรู้จัก หรือ ไม่เคยมีอะไรกัน เพลงนี้จึงเกิดขึ้น...”
พ.ศ. 2496 ครูชาลี อินทรวิจิตร เป็นนักร้องและแต่งเพลงให้ วงดนตรีประสานมิตร ของ พ.ต.อ.พุฒ บูรณะสมภพ ร่วมกันกับ พิบูล ทองธัช จำนรรจ์กุณฑลจินดา สมาน กาญจนะผลิน ประสิทธิ์ พยอมยงค์ ฯลฯ
แต่งเพลงประกอบภาพยนตร์ เป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ อีกหลายสิบเรื่อง เช่น เรื่อง สวรรค์มืด เรื่อง ๗ พระกาฬ เรื่องประทีปอธิษฐาน เรื่อง เกวียนหัก เรื่องฝนตกแดดออก เรื่องน้ำเซาะทราย ฯลฯ ได้รางวัล ตุ๊กตาทอง สุพรรณหงส์ทองคำ รางวัลเมฆขลา ฯลฯ
เพลงเอกที่เป็นอมตะ และ เพลงประกอบภาพยนตร์ที่ แต่งร่วมกันกับครูเพลงคนอื่นๆ เช่น มงคล อมาตยกุล สง่า อารัมภีร สมาน กาญจนะผลิน เอื้อ สุนทรสนาน ฯลฯ ได้รับความนิยมตลอดมา กว่า 1,000 เพลง
สาเหตุที่ ครูชาลี อินทรวิจิตร หันมาแต่งเพลง มากกว่าที่จะเป็นนักแสดง นั้น เกิดจากเหตุผลที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในช่วงนั้น คือ
“...ยุคนั้น นักร้องชายดังๆ ก็มีแค่ วินัย จุลละบุษปะ เลิศ ประสมทรัพย์ แห่ง วงสุนทราภรณ์ สถาพร มุกดาประกร ปิติ เปลี่ยนสายสืบ แห่ง วงดนตรีทรัพย์สินฯ คำรณ สัมปุณนานนท์ นักร้องลูกทุ่ง
ผมเป็นนักร้องสลับหน้าม่านละครด้วย
โฉมหน้าของ ฟากฟ้าแปรเปลี่ยนไปทุกเวลานาที ลีลาอารมณ์แห่งสีสันของบทเพลง เปลี่ยนไปตามยุคสมัย
ครูไสล ไกรเลิศ นำเด็กหนุ่มมาสู่วงการเพลงสองคน ถ้าจะเปรียบกับสมัยนี้ ก็ วัยจ๊าบ สดและซิงจริงๆ
คนหนึ่ง เสียงร้องนุ่มนวล หวานซึ้ง ไพเราะเหมือนลมกระซิบคลื่น “สุเทพ วงศ์กำแหง”
อีกคนหนึ่ง...กังวาน เสียง แจ่มชัด จัดจ้าน พลิ้วโหยสูงสุด ต่ำสุดได้โดยไม่ต้องอาศัยลูกคอช่วย เขาคือ “ชรินทร์ งามเมือง”...
ผมฟังเสียงเขาร้อง แม้กายจะสงบนิ่ง ไม่เคลื่อนไหว แต่หัวใจฉันเดินทางไปสุดปลายฟ้า
ผมสัญญากับ วัน เวลาและฤดูกาล กับดวงดาวกระพริบ ในท้องฟ้าใสของคืนแรม
ผมจะเลิกร้องเพลง หันมาแต่งเพลง
ชรินทร์ และ สุเทพ จะเป็นคนสื่อความหมายในบทเพลงของผม สู่สาธารณชน ไม่ใช่มีแต่ วินัย หรือ เลิศ แห่ง วงสุนทราภรณ์ และแล้ว ความฝันของผมก็เป็นจริง แม้จะเป็นเพียงส่วนน้อยนิดก็ตาม
วงดนตรีชื่นชุมนุมศิลปิน ก่อเกิดโดยความร่วมมือ ของ สุวัฒน์ วรดิลก (รพีพร) อดิศักดิ์ เศวตนันนท์ ทำให้มีนักร้อง ชรินทร์ งามเมือง เพ็ญศรี พุ่มชูศรี สุเทพ วงศ์กำแหง และ สวลี ผกาพันธุ์
นั่นคือ วงดนตรีชื่นชุมนุมศิลปิน เจิดจ้าในฟ้าบางกอก ให้ประชาชน ยอมรับในความสามารถ บวกกับอัจฉริยะ ของ สมาน กาญจนะผลิน สง่า อารัมภีร สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ เกษม ชื่นประดิษฐ์ ประสิทธิ์ พยอมยงค์ สง่า ทองธัช สุรพล โทณะวณิก และ ผม ชาลี อินทรวิจิตร ช่วยกัน เจียรนะไน ประกายเพชรของศิลปิน นักร้อง ทั้ง 5 ด้วยเพลงจากดวงใจ โดยเฉพาะผม...กว่าจะมาเป็นนักแต่งเพลงได้ ช่างพิลึกกึกกือ อะไรปานนั้น...”
ในปี พ.ศ. 2499 ได้แต่งเพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่องสวรรค์มืด จากบทประพันธ์ของ รพีพร (สุวัฒน์ วรดิลก) ซึ่งเป็นภาพยนตร์ 235 ม.ม. ที่ สุเทพ วงศ์กำแหง แสดงภาพยนตร์ เป็นพระเอกเรื่องแรก คู่กันกับ "สืบเนื่อง กันภัย" สาวสวยจากถิ่นไทยงาม เชียงใหม่
เป็นภาพยนตร์เพลงยิ่งใหญ่ เรื่องหนึ่งในยุคนั้น ฉายที่ โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง โดยที่ ครูชาลี อินทรวิจิตร เป็นผู้แต่ง เพลงสวรรค์มืด ร่วมกับ ครูสมาน กาญจนะผลิน ซึ่งเป็น เพลงเอก และเพลงอื่นๆ ร่วมกับ ครูล้วน ควันธรรม และ ครูสุทิน เทศารักษ์
ที่มา
https://sites.google.com/site/kruplengthai1/khru-cha-li-xinthr-wicitr
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B5_%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3
ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
ห้องเพลง**คนรากหญ้า** พักยกการเมือง มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม...มีแต่เสียง 6/7/2017 (ชาลี อินทรวิจิตร)
เดิมชื่อ สง่า อินทรวิจิตร เกิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 ที่จังหวัดสมุทรสาคร จบการศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟรุ่นแรก แผนกการเดินรถ มีผลงานประพันธ์คำร้องเพลงเกือบ 1,000 เพลง มีผลงานการแสดง เช่น สวรรค์มืด (2501) ,จอมใจเวียงฟ้า (2505) ,ไอ้ผาง ร.ฟ.ท.(2525) และกำกับภาพยนตร์อีกจำนวนมาก เช่น ปราสาททราย (2512) ,กิ่งแก้ว (2513) และ สื่อกามเทพ (2514)
ชาลี อินทรวิจิตร เขียนเล่าเอาไว้ ใน หนังสือ คอนเสิร์ต วันดวลเพลง ครั้งที่ 2 ชาลี อินทรวิจิตร – สุรพล โทณะวณิก และ หนังสือบันเทิง บางที ว่า...
“...5 พฤษภาคม 2545 วันฉัตรมงคล ซึ่งตรงกับวันของสมาคมนักเขียน ผ่านไปไม่กี่วันเอง
ทำให้ผมย้อนรำลึก ถึงวันที่ 5 พฤษภาคม 2541 สมาคมนักเขียน จัดรายการ กวีนิพนธ์ สู่บทเพลง โดยนักกวี นักแต่งเพลง และ นักร้อง
ผมเป็นคนหนึ่ง ที่จะต้องไปบรรยาย ความหมาย ศิลปะการเห่เรือ จาก เพลงเหมือนไม่เคย
12.00 น. ผมเดินทางมาถึงสมาคมนักหนังสือพิมพ์ (สถานที่จัดงาน – ผู้เขียน) บรรยากาศรอบๆ บริเวณ ดูคึกคักไม่เบา นักเขียนเอย นักกวีเอย เดินเข้าเดินออกกันอย่างสนิทสนม เป็นกันเอง แต่ผมก็รู้สึกจะเก้อจะเขินเพราะไม่ค่อยจะรู้จักมักจี่ใครเขาเท่าไหร่ ลุงแจ๋ว ก็ยังไม่มาสักที ผมก็เลยทำไก๋ เดินเร่ไปที่แผงหนังสือที่มีอยู่สองสามแผงข้างๆ ห้องใหญ่ที่จัดรายการ ก็เลยได้หนังสือมา 2 – 3 เล่ม ไปอ่านแก้ตะขิดตะขวง
12.30 น. ท่านนายกสมาคมนักเขียน คุณประยอม ซองทอง ท่านแลเห็นผมเข้า ท่านรีบเดินมาฉุดผมไปพบ คุณชมัยพร แสงกระจ่าง ผู้จัดรายการในวันนี้ ผมรู้สึกว่า ตัวเองเล็กและตัวลีบลงไปเป็นกอง
“โล่งใจจัง ที่พี่ชาลี มาก่อนใครเพื่อน” คุณชมัยพร พูดพร้อมกับยกมือไหว้ ผมรีบยกมือรับไหว้ตอบ คุณชมัยพร ทันที
“พี่ชาลี ต้องพูดแล้วร้อง เพลงเหมือนไม่เคย จากกาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้ากุ้ง ที่พี่แปลงมาเป็นเพลงแรกเลยค่ะ” ผมยิ้มแทนคำตอบเป็นการยอมรับกลายๆ ว่า ผมเตรียมตัวมาพร้อมแล้ว...”
และในเวลา13.00 น. สำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำนักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี ก็มีคำสั่งตามตัว ให้ไปรับเอกสาร ที่จะขอพระราชทานเข้าเฝ้าฯ เพื่อรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ เป็นลำดับที่ 28 จาก ทั้งหมด 31 คน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในบ่ายวันนั้น
ครูชาลี อินทรวิจิตร จึงไม่ได้ร้อง เพลงเหมือนไม่เคย ในงานของ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ตามที่ตั้งใจไว้ ในวันนั้น
แต่ในหนังสือ คอนเสิร์ตเชิดชูครูเพลง ครั้งที่ ๒ ชาลี อินทรวิจิตร คอลัมน์ ชาลี สร้างเพลง เพลงสร้าง ชาลี นั้น ระบุว่า
“เพลงนี้ แต่งขึ้นจากเกร็ดชีวิตช่วงหนึ่งของ สุเทพ (วงศ์กำแหง) วันหนึ่งเขาไปร้องเพลงในสถานที่แห่งหนึ่ง ขณะร้อง มีสาวไฮโซคนหนึ่ง จ้องตาเขม็งตลอดเวลา มองไปครั้งใด ถูกจ้องเสมอ
เมื่อร้องเพลงจบ จึงเข้าไปถามว่า ผมร้องอะไรผิด หรือทำอะไร ไม่ถูกต้องหรือเปล่า หญิงคนนั้นตอบว่า เปล่า ที่ฉันจ้องคุณ เพราะชอบใจ อยากชวนคุณไปทานข้าวเย็นด้วยกัน จะไปไหม สุเทพก็ไป หลังจากนั้น เกิดอะไรขึ้น ผมไม่ทราบ ต้องถามคุณสุเทพ เอง
วันต่อมา หญิงคนนั้น มานั่งฟังเพลงสุเทพ อีก แต่เธอวางกิริยาเฉย เหมือนไม่เคยรู้จัก หรือ ไม่เคยมีอะไรกัน เพลงนี้จึงเกิดขึ้น...”
พ.ศ. 2496 ครูชาลี อินทรวิจิตร เป็นนักร้องและแต่งเพลงให้ วงดนตรีประสานมิตร ของ พ.ต.อ.พุฒ บูรณะสมภพ ร่วมกันกับ พิบูล ทองธัช จำนรรจ์กุณฑลจินดา สมาน กาญจนะผลิน ประสิทธิ์ พยอมยงค์ ฯลฯ
แต่งเพลงประกอบภาพยนตร์ เป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ อีกหลายสิบเรื่อง เช่น เรื่อง สวรรค์มืด เรื่อง ๗ พระกาฬ เรื่องประทีปอธิษฐาน เรื่อง เกวียนหัก เรื่องฝนตกแดดออก เรื่องน้ำเซาะทราย ฯลฯ ได้รางวัล ตุ๊กตาทอง สุพรรณหงส์ทองคำ รางวัลเมฆขลา ฯลฯ
เพลงเอกที่เป็นอมตะ และ เพลงประกอบภาพยนตร์ที่ แต่งร่วมกันกับครูเพลงคนอื่นๆ เช่น มงคล อมาตยกุล สง่า อารัมภีร สมาน กาญจนะผลิน เอื้อ สุนทรสนาน ฯลฯ ได้รับความนิยมตลอดมา กว่า 1,000 เพลง
สาเหตุที่ ครูชาลี อินทรวิจิตร หันมาแต่งเพลง มากกว่าที่จะเป็นนักแสดง นั้น เกิดจากเหตุผลที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในช่วงนั้น คือ
“...ยุคนั้น นักร้องชายดังๆ ก็มีแค่ วินัย จุลละบุษปะ เลิศ ประสมทรัพย์ แห่ง วงสุนทราภรณ์ สถาพร มุกดาประกร ปิติ เปลี่ยนสายสืบ แห่ง วงดนตรีทรัพย์สินฯ คำรณ สัมปุณนานนท์ นักร้องลูกทุ่ง
ผมเป็นนักร้องสลับหน้าม่านละครด้วย
โฉมหน้าของ ฟากฟ้าแปรเปลี่ยนไปทุกเวลานาที ลีลาอารมณ์แห่งสีสันของบทเพลง เปลี่ยนไปตามยุคสมัย
ครูไสล ไกรเลิศ นำเด็กหนุ่มมาสู่วงการเพลงสองคน ถ้าจะเปรียบกับสมัยนี้ ก็ วัยจ๊าบ สดและซิงจริงๆ
คนหนึ่ง เสียงร้องนุ่มนวล หวานซึ้ง ไพเราะเหมือนลมกระซิบคลื่น “สุเทพ วงศ์กำแหง”
อีกคนหนึ่ง...กังวาน เสียง แจ่มชัด จัดจ้าน พลิ้วโหยสูงสุด ต่ำสุดได้โดยไม่ต้องอาศัยลูกคอช่วย เขาคือ “ชรินทร์ งามเมือง”...
ผมฟังเสียงเขาร้อง แม้กายจะสงบนิ่ง ไม่เคลื่อนไหว แต่หัวใจฉันเดินทางไปสุดปลายฟ้า
ผมสัญญากับ วัน เวลาและฤดูกาล กับดวงดาวกระพริบ ในท้องฟ้าใสของคืนแรม
ผมจะเลิกร้องเพลง หันมาแต่งเพลง
ชรินทร์ และ สุเทพ จะเป็นคนสื่อความหมายในบทเพลงของผม สู่สาธารณชน ไม่ใช่มีแต่ วินัย หรือ เลิศ แห่ง วงสุนทราภรณ์ และแล้ว ความฝันของผมก็เป็นจริง แม้จะเป็นเพียงส่วนน้อยนิดก็ตาม
วงดนตรีชื่นชุมนุมศิลปิน ก่อเกิดโดยความร่วมมือ ของ สุวัฒน์ วรดิลก (รพีพร) อดิศักดิ์ เศวตนันนท์ ทำให้มีนักร้อง ชรินทร์ งามเมือง เพ็ญศรี พุ่มชูศรี สุเทพ วงศ์กำแหง และ สวลี ผกาพันธุ์
นั่นคือ วงดนตรีชื่นชุมนุมศิลปิน เจิดจ้าในฟ้าบางกอก ให้ประชาชน ยอมรับในความสามารถ บวกกับอัจฉริยะ ของ สมาน กาญจนะผลิน สง่า อารัมภีร สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ เกษม ชื่นประดิษฐ์ ประสิทธิ์ พยอมยงค์ สง่า ทองธัช สุรพล โทณะวณิก และ ผม ชาลี อินทรวิจิตร ช่วยกัน เจียรนะไน ประกายเพชรของศิลปิน นักร้อง ทั้ง 5 ด้วยเพลงจากดวงใจ โดยเฉพาะผม...กว่าจะมาเป็นนักแต่งเพลงได้ ช่างพิลึกกึกกือ อะไรปานนั้น...”
ในปี พ.ศ. 2499 ได้แต่งเพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่องสวรรค์มืด จากบทประพันธ์ของ รพีพร (สุวัฒน์ วรดิลก) ซึ่งเป็นภาพยนตร์ 235 ม.ม. ที่ สุเทพ วงศ์กำแหง แสดงภาพยนตร์ เป็นพระเอกเรื่องแรก คู่กันกับ "สืบเนื่อง กันภัย" สาวสวยจากถิ่นไทยงาม เชียงใหม่
เป็นภาพยนตร์เพลงยิ่งใหญ่ เรื่องหนึ่งในยุคนั้น ฉายที่ โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง โดยที่ ครูชาลี อินทรวิจิตร เป็นผู้แต่ง เพลงสวรรค์มืด ร่วมกับ ครูสมาน กาญจนะผลิน ซึ่งเป็น เพลงเอก และเพลงอื่นๆ ร่วมกับ ครูล้วน ควันธรรม และ ครูสุทิน เทศารักษ์
ที่มา https://sites.google.com/site/kruplengthai1/khru-cha-li-xinthr-wicitr
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B5_%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3
ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น