[CR] (ความทรงจำ) โบกรถ นอนเต็นท์ ดูดาวบนดิน ชมพระอาทิตย์ขึ้น นมัสการพระธาตุดอยสุเทพ บนดอยใกล้ตัวเมืองเชียงใหม่ที่สุด

โบกรถ นอนเต็นท์ ดูดาวบนดิน ชมพระอาทิตย์ขึ้น นมัสการพระธาตุดอยสุเทพ บนดอยใกล้ตัวเมืองเชียงใหม่ที่สุด 

-------------------------------------------------------------------
ตามประวัติแห่งดอยสุเทพนั้นเชื่อกันว่า เดิมภูเขาแห่งนี้เป็นที่อยู่ของฤาษีนามว่า "สุเทวะ" ซึ่งตรงกับคำว่าสุเทพอันเป็นที่มาของชื่อดอยสูงแห่งนี้ 

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

สุเทวฤาษี

บรรพตนาม หรือชื่อดอยอันตั้งตระหง่านเป็นศรีแห่งเมืองเชียงใหม่ ที่รู้จักกันทั่วไปว่า “ดอยสุเทพ” นั้น นามดังกล่าวได้มาจากชื่อของนักพรตผู้ทรงศีลที่ชื่อ “สุเทวฤาษี”

เรื่องราวของสุเทวฤาษีหรือพระฤาษีสุเทพถูกจารึกไว้ตำนานสำคัญ ๆ ของล้านนา อาทิ ตำนานมูลศาสนา ตำนานพระธาตุดอยสุเทพ และตำนานพระธาตุดอยคำ เป็นต้น

ตำนานมูลศาสนากล่าวถึงสุเทวฤาษีด้านชื่อและทีมาว่าชื่อ “วาสุเทวะ” ออกบวชในพระพุทธศาสนาพร้อมกับกุลบุตรอีกสี่คนได้แก่ สุกกทันตะ อานุสิสสะ พุทธชฎิละและสุพรหมะ ต่อมาเห็นว่าวินัยสิกขาบทของพระพุทธองค์ประกอบกิจอันละเอียดเกินกว่าจะปฏิบัติตามได้ทั้งหมด จึงขอลาสิกขาไปบวชเป็นฤาษีอยู่ในป่าหิมพานต์ บำเพ็ญพรตจนสำเร็จปัญจอภิญญาและสมาบัติ 

อยู่มาวันหนึ่งฤาษีทั้งห้า มีความปรารถนาจะบริโภคอาหารที่มีรสเปรี้ยวและเค็มอันเป็นอาหารของมนุษย์ จึงชวนกันเหาะออกจากป่าหิมพานต์ไปอาศัยอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ โดยสุกกทันตฤาษีไปอยู่เมืองละโว้ อนุสิสสฤาษีไปอยู่หลิทวัลลีนคร พุทธชฎิลฤาษีอยู่ดอยชุหบรรพต และสุพรหมฤาษีอยู่ดอยเขางามเมืองนคร ส่วนวาสุเทวฤาษีลงมาอยู่ดอยอุจฉุบรรพตหรือดอยสุเทพในปัจจุบัน

ส่วนตำนานพระธาตุดอยสุเทพไม่ได้กล่าวว่าสุเทวฤาษีมาจากที่อื่น แต่เป็นคนพื้นเพเดิมบนดอยอุจฉุบรรพต โดยระบุว่าเป็นลูกของ “ย่าแสะ” เมื่อย่าแสะเลื่อมใสพระพุทธเจ้าจึงให้ลูกบวชในพระพุทธศาสนา แต่ในที่สุดก็ลาสิกขา แล้วบวชเป็นพระฤาษี ดั่งข้อความในผูกที่ ๑ ว่า

 “…แล้วก็หื้อลูกตนเข้าบวชในสำนักพระพุทธเจ้าหั้นแล ก็ร่ำเรียนเอากัมมัฏฐานแต่สำนักพระพุทธเจ้าก็ปฏิบัติตามคำสอนแห่งพระพุทธเจ้าไปไจ้ฯ ก็ได้ปัญจภิญาณเป็นปฏิกธรแล เมื่อพายลูน คึดใจว่าจักรักสาสิกขาบทพระพุทธเจ้ายินยาก จิ่งปลงภิกขุภาวะไว้ เท่าบวชเป็นฤาษีอยู่ ปรากฏได้ชื่อว่า สุเทวรสี หั้นแล”

ตำนานพระธาตุดอยคำระบุว่าสุเทวฤาษีเป็นคนพื้นเพเดิมเช่นกัน แต่มีรายละเอียดว่าเป็นบุตรของยักษ์ชื่อจิคำ และตาเขียว (ปู่แสะ ย่าแสะ) หลังจากที่ยักษ์จิคำและตาเขียวตาย สุเทวฤาษีก็มีหน้าที่ดูแลรักษาพระธาตุดอยคำต่อมา

บทบาทสำคัญของสุเทวฤาษีได้แก่ การสร้างเมืองหริภุญชัย โดยตำนานอ้างว่ามีสัตว์ประเภทเนื้อทรายมากินน้ำปัสสาวะที่พระฤาษีถ่ายไว้ แล้วเกิดตั้งท้องขึ้นจนคลอดลูกเป็นมนุษย์หญิงชายคู่หนึ่ง ต่อมาได้อยู่กินเป็นคู่ จนเกิดบุตรธิดามากมาย 

ฤาษีจึงเนรมิตเมืองขึ้นถึงสี่เมืองคือ มิคสังครนคร อมรปุรนคร กุลิสสนคร และปุรนคร ตามลำดับ สุดท้ายเมื่อเกิดกรณีลูกชายทุบตีแม่ในเมืองปุรนคร จนเป็นเหตุให้เมืองล่มสลาย พระฤาษีจึงสร้างเมืองหริภุญชัยขึ้นโดยความร่วมมือของสุกกทันตฤาษี ซึ่งในการสร้างนั้น ฤาษีทั้งสองไปขอต้นแบบจากอนุสิสสฤาษี ฝ่ายอนุสิสสฤาษีก็ส่งนกหัสดีลิงค์ไปคาบเอาเกล็ดหอย มาให้ สุเทวฤาษีได้ใช้ไม้เท้าขีดพื้นดินตามรูปเกล็ดหอยเพื่อเนรมิตเป็นเมืองดั่งข้อความในตำนานมูลศาสนาว่า 

“…ขณะนั้นวาสุเทวฤาษี ครั้นได้มาแล้วซึ่งเกล็ดหอย จึงเอาไม้เท้าขีดยังพื้นดินในสถานที่นั้นให้รอบเสมอดังเกล็ดหอยอันนั้น ทันใดนั้น เดชอำนาจฤทธีแห่งพระฤาษี แผ่นดินอันหนาก็ยุบลงเป็นคูรอบพระนครตามรอยปลายไม้เท้าอันพระฤาษีขีดไว้นั้น หอทิ้งทาดท้าวประการทั้งมวล ก็พุ่งขึ้นมาพร้อมบริบูรณ์”

เมื่อสร้างเมืองเสร็จ สุเทวฤาษีได้ไปเชิญพระนางจามเทวี ธิดาของกษัตริย์ผู้แห่งลพบุรี มาครองเมือง ซึ่งกษัตริย์ผู้ครองลพบุรีก็ประทานให้ ความตอนนี้ อาจารย์ไกรศรี นิมมานเหมินทร์ พรรณาเป็นกาพย์ยานี ๑๑ ใน กาพย์เจี้ยจามเทวีและวิรังคะ ว่า ๑๓๒ ฝ่ายมหา ขัตติยา มิ่งราชา ลพบุรี ประทาน จามเทวี ราชนารี ไปลำพูน

อย่างไรก็ตาม ประชาชนชาวเชียงใหม่และลำพูนต่างให้ความเคารพศรัทธาในพระฤาษีและเชื่อว่าดวงวิญญาณของท่านยังคงสถิต ณ ขุนเขาที่ตั้งตระหง่านเหนือลำน้ำแม่ระมิงค์เสมอ เมื่อมีพิธีกรรมสำคัญ ก็มักจะมีการเซ่นสรวง พลีบูชาตลอดและมีสำคัญชื่อของท่าน ก็เป็นที่มาของชื่อ “ดอยสุเทพ” ซึ่งเดิมนั้นเรียก ดอยอุจฉุบรรพตบ้าง ดอยอ้อยช้าง บ้างหรือ ดอยกาละ บ้าง แต่ชื่ออันเป็นอนุสรณ์ของท่านก็ได้รับเลือกให้เป็นชื่อเรียกขานดอยแห่งตำนานดังที่ประจักษ์กันอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้

*** ข้อมูลจาก
https://web.facebook.com/180503995669428/photos/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%A4%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5-%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1-%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81/503108913408933/?_rdc=1&_rdr
---------------------------------------------------------------------
ดอยสุเทพ เชียงใหม่ ที่ใครไปเชียงใหม่ ต้องแวะสักการะพระธาตุดอยสุเทพ ปูชนียสถานสำคัญคู่เมืองเชียงใหม่ ทว่าคุณเคยรู้เรื่องของพระธาตุมากว่าบทสวดท่องระหว่างไหว้สักการะหรือไม่?

1. พระธาตุดอยสุเทพ องค์พระบรมสารีริกธาตุถูกบรรจุไว้ใต้ดินไม่ใช้ด้านบนอย่างที่เข้าใจกัน ด้วยธรรมเนียมการสร้างพระธาตุแต่ครั้งก่อนนิยมฝังพระบรมสารีริกธาตุไว้ใต้ดินเพื่อให้เป็นเสาหลักศูนย์กลางของเมืองเชียงใหม่ ราชธานีของอาณาจักรล้านนา

2. ห้ามสตรีเข้าใกล้องค์พระธาตุ เพราะคติทางพุทธศาสนาถือว่าสตรีผู้มีรอบเดือนนั้นเป็นสิ่งสกปรก คตินี้สืบมาตั้งแต่ครั้งที่พุทธศาสนาเข้ามาในดินแดนแถบบนี้เมื่อพันปีก่อน ด้วยลักษณะความเชื่อของพุทธศาสนาที่ค่อยข้างกีดกันผู้หญิงเข้าถึงศาสนา ปัจจุบันวัดทางภาคเหนือส่วนใหญ่เคร่งครัดกฎข้อนี้มาก

3. พระธาตุดอยสุเทพ ถือเป็นเขาพระสุเมรุของล้านนาแฝงความคิดเป็นฮินดูอยู่ในพุทธศาสนา ทั้งยังเป็นหมุดหมายไว้สำหรับนักเดินทางสังเกตได้ว่าถึงเมืองเชียงใหม่แล้ว

4. เป็นหนึ่งในเจดีย์ประจำปีเกิดของคนเกิดปีมะแมและเป็นดั่งชัยชนะทางวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนาต่อกรุงรัตนโกสินทร์ในเรื่องของการเผยแพร่คติการนับถือเจดีย์ประจำปีเกิด อย่างน้อยที่สุดในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่คตินี้เริ่มแผ่เข้ามา

5. ปัจจุบันบริเวณพระธาตุดอยสุเทพมีการเวียนเทียนกันตลอด รู้หรือไม่ว่าเมื่อก่อนชาวเชียงใหม่นิยมขึ้นมาเวียนเทียนพระธาตุดอยสุเทพทุกวันพระและวันสำคัญทางพุทธศาสนา

6. ในอดีตทุกวันวิสาขาบูชาของทุกปี ชาวเชียงใหม่จะเดินข้ามคืนขึ้นดอยสุเทพไปตักบาตร ฟังธรรม บำเพ็ญเพียร บางคนอาจใช้ถนนศรีวิชัยและมีอีกกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะผู้เฒ่าผู้แก่นิยมใช้ถนนอีกเส้นหนึ่งซึ่งเป็นเส้นทางเก่ากว่าทางใต้ของของขุนเขา โดยนัดพบกันที่วัดสวนดอกและค่อยเดินขบวนขึ้นเดินผ่านบ้านฝายหินขึ้นไป เริ่มเดินตั้งแต่คืนก่อนวันวิสาขบูชาเพื่อให้ทันตักบาตรตอนเช้า

7.บันไดนาคทางขึ้นพระธาตุเดิมเป็นนาคเศียรเดียวและมีบันได 173 ขั้น ก่อนได้รับการบูรณะเป็นนาค 7 เคียรและเพิ่มขึ้นบันไดเป็น 185 ขั้นจนทุกวันนี้

8. ครูบาศรีวิชัยผู้ปฎิสังขรณ์พระธาตุดอยสุเทพเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวล้านนาต่อสู้การปฎิรูปประเทศของรัชกาลที่ 5 แนวคิดความคิดสมัยใหม่แบบตะวันตกจากราชสำนักในกรุงเทพฯ ถูกมองว่าเป็นการครอบงำและทำลายจารีตของล้านนา ครูบาศรีวิชัยจึงต้องปฎิสังขรณ์วัดหลายแห่งในภาคเหนือเพื่อรักษารากของล้านนาไว้ แม้ท่านถูกกล่าวหา (อธิกรณ์)ในทางเสื่อมเสียหลายครั้งหวังทำลายความศรัทธาของชาวล้านนาที่มีต่อท่านจนท่านมรณภาพไป

9. พระธาตุดอยสุเทพผ่านแผ่นดินไหวมา 5 ครั้ง (นับครั้ง5 พ.ค. 2557) จากบันทึกที่สืบได้ครั้งแรกหลังจากที่พระธาตุดอยสุเทพสร้างเสร็จไม่นานคือในปีพ.ศ. 2088 ในครั้งนั้นปรากฎว่าเจดีย์บริเวณพื้นราบพังทลายหมด ทว่าเจดีย์พระธาตุดอยสุเทพไม่พบบันทึกว่าเสียหาย ครั้งที่2 พ.ศ. 2344 ลูกแก้วบนฉัตรพระธาตุตกลงมา ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2532 ยอดฉัตรช่อหางหงส์หัก ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2538 ลูกแก้วบนฉัตรตกลงมาลงพื้นอีกครั้ง และครั้งล่าสุด 5 พ.ค. 2557 ยอดฉัตรเอียง

10. ใครที่เรียนหรือเคยเรียนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่คงต้องเคยผ่านการรับน้อง "ประเพณีลูกช้างขึ้นดอยนำน้องใหม่ไปนมัสการพระบรมธาตุดอยสุเทพ" กันบ้างแล้ว โดยเจตารมณ์ของประเพณีนี้เพื่อระลึกถึงการจาริกแสวงบุญตามรอยของครูบาศรีวิชัยที่ได้นำเหล่าพุทธศาสนิกชนล้านนาแผ้วถางทางเพื่อทำทางขี้นพระธาตุดอยสุเทพ ดังนั้นการตามรอยเส้นทางนี้จึงเป็นเส้นทางมหามงคลที่นักศึกษาทุกคณะได้เจริญตามรอยในทุกๆ ปี

**** ข้อมูลจาก
https://www.sanook.com/travel/1392076/
ชื่อสินค้า:   ดอยสุเทพ ดอยปุย พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศ
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่