ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สวัสดีครับ สมาชิกห้องเพลงทุกๆท่าน วันนี้วันอาทิตย์
MC WANG JIE (แอ๊ด) เข้าประจำการ อีก 1 วันครับ
วันนี้ เล่าเรื่องราวของ
ชาวอินคา และนครลับแล มาชูปิกชู ต่อจากเมื่อวานอีกนิดหนึ่ง และจะข้ามทวีปไปที่อียิปต์ เ
พื่อเปรียบเทียบ "ศิลปะ และวิทยาการ" ของชนสองดินแดนที่ห่างไกลกันมากๆ จะว่ากันตอนหลัง แต่ตอนนี้ มาคุยกันต่อจากเมื่อวานครับ
Machu Picchu กลายเป็นเมืองร้างได้อย่างไร ? นักประวัติศาสตร์ได้พบว่า มาชู ปิคชู ได้ถูกสร้างขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 เพื่อเป็นที่พำนักของนักบวช พระราชวงศ์ คนงาน และสตรีจำนวนประมาณ 1,000 คน ลักษณะอาคารและสิ่งก่อสร้างแสดงให้เห็นว่า เมืองถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งสำหรับทำเกษตรกรรม และอีกส่วนหนึ่งเป็นสถานปกครอง ความโดดเด่นของเมืองคือตำแหน่งของอาคารต่างๆ ถูกจัดวางอย่างกลมกลืนกับธรรมชาติโดยรอบ ขนาดของอาคารแสดงว่า ในยุคนั้นมีผู้คนอาศัยประมาณ 1,000 คน อาศัยอยู่ในเมืองนี้ และบ้านคนชั้นต่ำจะอยู่ชั้นล่างๆ แต่บ้านชนชั้นสูงจะอยู่ชั้นสูงขึ้นไป บางบ้านไม่มีหลังคา เพื่อให้นักบวชได้สังเกตดูดวงอาทิตย์ และดาวต่างๆ บนท้องฟ้า การรู้จักทำพื้นที่เพาะปลูกเป็นขั้นๆ ตามไหล่เขา
แสดงให้เห็นว่าชาวอินคามีความรู้และความสามารถด้านเกษตรกรรมและนิเวศวิทยา เป็นอย่างดี เพราะในเมืองมีสะพาน ท่อระบายน้ำ อุโมงค์ และหอคอยให้ทหารได้สอดแนมดูข้าศึกจากระยะไกลด้วย
บิงแฮมเชื่อว่า มาชู ปิคชู คือพระราชฐานสำหรับพักผ่อนของ
พาชาคูเต้ (Pachacute) ผู้เป็นกษัตริย์พระองค์แรกแห่งอาณาจักรอินคา การวิเคราะห์โครงกระดูก 174 ชุดที่ขุดได้ ทำให้เขารู้ว่าโครงกระดูก 150 ชุดเป็นของสตรี ดังนั้น บิงแฮมจึงสันนิษฐานว่า เมื่อกองทัพสเปนบุกเข้ายึดครอง กษัตริย์อินคาได้นำสตรีหลายคนมาหลบซ่อนที่มาชู ปิคชู เพื่อให้เหล่านางทำพิธีสวดมนต์ภาวนาของความช่วยเหลือจากเทพเจ้า และทำการบนบานขอให้เทพเจ้าสาปแช่งผู้บุกรุก แต่คำอธิษฐานทั้งหลายไร้ผล มาชู ปิคชู ยังเป็นที่หลบซ่อนตัวของเหล่าสตรีชาวอินคาอยู่อีก 40 ปี จนสตรีเหล่านั้นมีอายุมากขึ้นๆ และได้ล้มตายไปจนหมด.......นักวิชาการหลายคน ไม่เชื่อในข้อสันนิษฐานนี้ แต่ในวารสาร "ไทม์" ฉบับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2004 นักโบราณคดีอเมริกันชื่อ
ริชาร์ด เบอร์เก้อร์ (Richard Burger) แห่งมหาวิทยาลัยเยล ก็มีความคิดเห็นสอดคล้องกับบิงแฮมว่า มาชู ปิคชู มิใช่ศาสนสถาน แต่เป็นพระราชฐานสำหรับพักผ่อนพระอิริยาบถของกษัตริย์แห่งอินคาและเหล่าพระราชวงศ์ เบอร์เก้อร์ ได้ข้อสรุปนี้จากหลักฐานที่
จอห์น ฮาวแลนด์ โรว์ (John Howland Rowe) ได้พบเมื่อ 15 ปีก่อนนี้ว่า
พระบรมวงศานุวงศ์ของกษัตริย์พาชาคูเต้ ได้เคยฟ้องร้องต่อศาลเปรู ขอกรรมสิทธิ์เหนือมาชู ปิคชู คืนจากรัฐบาล (เอกสารการฟ้องร้องนี้ปัจจุบันก็ยังอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งเมืองคูซโก้) การติดตามวิเคราะห์ข้อมูลประเด็นนี้ทำให้ เบอร์เก้อร์ ได้ข้อสรุปใหม่ว่า มาชู ปิคชู เคยเป็นแหล่งพำนักของจิตรกรและศิลปินมากมาย โครงสร้างของกะโหลกศีรษะที่พบได้ช่วยให้เบอร์เก้อร์รู้ว่า ช่างประจำราชสำนัก ได้มาจากคนหลายเผ่า และมีจำนวนสตรีต่อบุรุษในอัตราส่วน 3 ต่อ 2 สตรีบางคนมิใช่สาวพรหมจารี เพราะหลายคนมีร่องรอยของการตั้งครรภ์ เพราะเหตุว่าการจะให้มาชู ปิคชู ดำรงสภาพเป็นพระราชฐานที่สูงเทียมเมฆ ต้องใช้งบประมาณเงินและกำลังคนมาก ดังนั้นหลังจากที่กษัตริย์ อะตาฮวลปา สิ้นพระชนม์แล้ว 80 ปี ชาวเมืองอินคาจึงพากันอพยพทิ้งเมืองไปอย่างถาวร แต่นักประวัติศาสตร์อีกหลายคนคิดว่า คงได้เกิดโรคระบาดอย่างรุนแรง ในอาณาจักร หรือมิฉะนั้น ชาวเมือง มาชู ปิคชู ก็ถูกชนเผ่าอื่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จนหมด
ปริศนาการละทิ้งมาชู ปิคชู จึงยังคงมีอยู่ต่อไป เพื่อให้คนที่สนใจได้ไปเยือน
มีบางคนกล่าวอ้างว่า บิงแฮม มิได้พบ มาชู ปิคชู, นักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่า ชาวนาชาวเปรูคนหนึ่งคือ ออกุสติเน่ ลิซาร์ราก้า (Augustine Lizarraga) ได้พบเมืองลับแลนี้ก่อนในปี 1902 เพราะเขาได้เขียนชื่อของเขาด้วยถ่านดำบนกำแพงอาคารที่มาชู ปิคชู แต่ ลิซาร์ราก้า มิได้รายงานสิ่งที่เขาพบให้ใครรู้ ดังนั้นเครดิตการพบ มาชู ปิคชู จึงตกเป็นของ บิงแฮม แต่เพียงผู้เดียว
ในปี 1983 องค์การ UNESCO ได้ประกาศยกย่อง มาชู ปิคชู เป็นมรดกโลกที่สำคัญ ทุกวันนี้ มาชู ปิคชู คือสัญลักษณ์ของประเทศเปรู ที่มีนักท่องเที่ยวไปเยือนวันละประมาณ 2,000 คน และในปี 2013 เป็นปีครบหนึ่งศตวรรษแห่งการพบ มาชู ปิคชู ทางมหาวิทยาลัยเยล ได้ประกาศคืนสมบัติทุกชิ้นที่ขุดพบที่ มาชู ปิคชู แก่รัฐบาลเปรูทั้งหมด
เรื่องราวของ ชาวอินคา กับนครลับแล มาชู ปิคชู ก็มีเพียงเท่านี้
ต่อไป จะกล่าวถึง ความคล้ายคลึงกันของสองอารยธรรมสองทวีป....
ดังที่ได้กล่าวในตอนต้นของกระทู้เมื่อวานนี้ว่า
อาณาจักรอินคา และไอยคุปต์ (อียิปต์) มีหลายสิ่งหลายอย่างที่คล้ายคลึงกันอย่างไม่น่าเชื่อ แน่นอนมันไม่ใช่เหตุบังเอิญ ต้องมีสาเหตุ ซึ่งจะเป็นเพราะเหตุใดนั้น คนก็ยังขบคิดสันนิษฐานกันต่อไป ยังหาข้อสรุปไม่ได้....แต่มีข้อสันนิษฐาน 2 ข้อที่ "เป็นไปได้" และถ้าเป็นจริงตามนั้น มันก็จะอธิบายความคล้ายคลึงกันต่างๆได้ลงตัว ข้อหนึ่งคือ ทฤษฎี "พระเจ้าจากอวกาศ" และอีกทฤษฎีหนึ่งคือ เป็นอารยธรรมส่งต่อจาก "แอตแลนดิส" ทวีปที่สาบสูญ (คงจะได้มาเล่าสู่กันฟังในโอกาสหน้า)
มาดูกันครับว่า สิ่งที่คล้ายคลึงกันอย่างมากมายเหล่านั้น มีอะไรบ้าง ?
(1) ปิรามิดลักษณะเดียวกัน : ทั้งปิรามิดของชาวอียิปต์โบราณ และชาวอินคา หรือก่อนอินคา ที่เหมือนกันคือ…เป็นปิรามิดที่สร้างด้วยก้อนหิน และสร้างเป็นขั้นบันได ท่ามกลางดินแดนเป็นทะเลทรายเลียบแม่น้ำ และสอดคล้องกับจุดสำคัญของพื้นที่, ทั้งสองแห่ง บรรจุศพไว้ภายใน
(2) ทำศพเป็นมัมมี่เหมือนกัน : ทั้งชาวอียิปต์โบราณ และชาวอินคาหรือก่อนอินคา เอาศพมาทำเป็นมัมมี่ เหมือนกัน มันหมายถึงชีวิตหลังความตายในโลกหน้า (หวังว่าวันหนึ่งข้างหน้าจะฟื้นคืนมาอีกครั้ง), มัมมี่ถูกบรรจุไว้ภายในปิรามิด พร้อมด้วยอาหารและเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆซึ่งเป็นของผู้ตาย, ทั้งสองอารยธรรม ต่างก็เชื่อในชีวิตหลังความตายเหมือนกัน
(3) มัมมี่นอนเอาแขนไขว้กัน เหมือนกัน : ทั้งชาวอียิปต์โบราณ และชาวอินคาหรือก่อนอินคา จัดวางศพที่ทำเป็นมัมมี่โดยให้แขนทั้งสองข้างไขว้กันวางบนอก...เพื่อแสดงสภาวะ "สมดุล" ระหว่างความตายกับการมีชีวิตอยู่ว่ามีเท่าเทียมกัน แขนทั้งสองข้างเป็นเครื่องบ่งชี้ความตรงกันข้ามที่สมดุลกันนี้ โดยไขว้กันบนหน้าอก
(4) ศพมีหน้ากากทองครอบศีรษะ เหมือนกัน : ทั้งชาวอียิปต์โบราณ และชาวอินคาหรือก่อนอินคา สวมหน้ากากทองคำให้กับศพ เป็นสัญลักษณ์การกลับเข้าสู่ความเป็นนิรันดร์, ซึ่งเป็น "อีกด้านหนึ่ง" ของผ้าที่คลุมหน้ามัมมี่นั้น, สู่บ้านในเบื้องบนในสวรรค์,ที่ซึ่งเป็นโลกวิญญาณอันเป็นนิจนิรันดร์ อันต่างจากโลกที่อยู่ด้วยกายเป็นการชั่วคราว, และสื่อถึงความเชื่อว่า ในขณะที่พวกเขายังอยู่ในนี้ จิตวิญญาณภายใน จะนำรูปแบบของความเป็นมนุษย์ไป และจะเปลี่ยนเป็นทองคำได้
(5) บ่วงสร้อยคอรูปสัตว์ เหมือนกัน : ทั้งชาวอียิปต์โบราณ และชาวอินคาหรือก่อนอินคา ยกย่องบูชาผู้ตาย ด้วยการสวมบ่วงสร้อยคอทองคำที่ตรงปลายทำเป็นรูปหัวสัตว์ 2 หัว หันหน้าออกไปในทิศตรงกันข้ามกัน, ซึ่งมีความหมายว่า พลังอำนาจของมนุษย์และสัตว์ของเรานั้นมีสภาพสมดุลกัน เท่าเทียมกัน และสงบ กับสถานที่แห่งพลังและความเป็นนิจนิรันดร์, สภาวะความ "สมดุล" นี้ ก็คือ วิธีเปลี่ยนแปลงสภาพทางเคมีของร่างกายนั้นสำเร็จบรรลุผล ก็จะกลายเป็นทอง (ตามความเชื่อของพวกเขา ทั้งสองอารยธรรม)
(6) ก้อนหินสร้างอิฐก่อกำแพงคล้ายกัน : ทั้งชาวอียิปต์โบราณ และชาวอินคาหรือก่อนอินคา ใช้ก้อนหินสร้างอิฐก่อกำแพงที่คล้ายกันมาก,แม้กระทั่งลงลึกในรายละเอียดของการแกะสลักนูนสูง หรือการ "อัด" เข้าไปในก้อนหิน, อะไรคือ ปริศนา ความลึกลับ และเหตุผลอธิบายได้ตรงนี้ ? มันสามารถอธิบายได้หรือไม่ ??
(7) การตัดก้อนหินที่แม่นยำเฉียบคม แบบเดียวกัน : ทั้งชาวอียิปต์โบราณ และชาวอินคาหรือก่อนอินคา ทำการตัดก้อนหินได้อย่างแม่นยำ เฉียบคม มีช่องว่างพอจะสอดกระดาษบางๆแผ่นหนึ่งเข้าไปได้เท่านั้นในระหว่างหินแต่ละก้อน และแทบจะไม่ใช้ปูนเลย, นี่คือสัญลักษณ์แห่งความสมบูรณ์ หรือใกล้เคียงความสมบูรณ์มากที่สุด ที่จะนำพาคนๆหนึ่งให้เข้าใกล้จิตวิญญาณและบ้านที่เป็นสวรรค์ และแหล่งกำเนิดอันเป็นนิรันดร์
(8) ประตูทางเข้าทรง 4 เหลี่ยมคางหมู เหมือนกัน : ทั้งชาวอียิปต์โบราณ และชาวอินคาหรือก่อนอินคา สร้างประตูทางเข้าทรง 4 เหลี่ยมคางหมูเหมือนกัน ซึ่งสื่อถึงความก้าวหน้าที่ยกระดับขึ้น, รูปทรง 4 เหลี่ยมคางหมูนั้นดูคล้ายกับ 3 เหลี่ยมหน้าจั่ว ซึ่งหมายถึงการขึ้นสวรรค์และการมีชัยเหนือจิตวิญญาณ, ประตูทรง 4 เหลี่ยมคางหมู มีในอารยธรรมเก่าแก่หลายแห่ง มันเกี่ยวข้องกับภาวะต่างๆของมนุษย์ที่เคยมีมาแต่อดีตกาลอันห่างไกล เมื่อผู้คนยังอยู่กันอย่างสงบและเข้าถึงสภาวะธรรมขั้นสูงสุด (นิพพาน) ได้, ประตูทางเข้านี้ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความมีปัญญาขั้นสูงที่เคยมีแห่งบรรพบุรุษ
นอกจากนี้แล้ว ทั้งชาวอียิปต์โบราณ และชาวอินคาหรือก่อนอินคา ยังทำรูปแกะสลัก "อสรพิษสมมาตรคู่แฝด" ไว้เหนือประตูทางเข้าสู่วิหารทรง 4 เหลี่ยมคางหมูนั้นด้วย เป็นความคิดที่จะทำให้พลังที่ตรงข้ามกันให้สมดุลกันให้ปรากฏในที่นี้, โดยผ่านสัตว์สองตัวนี้ในแนวสมดุลของสมมาตร, ภาพแห่ง "ความตรงกันข้ามที่สมดุล" นี้เป็นดุจ "อุดมคติ" ที่สั่งสอนกันมา ในการสร้างให้คนต้องเดินผ่านประตูทางเข้าเหล่านี้
ห้องเพลง**คนรากหญ้า** พักยกการเมือง มุมเสียงเพลง มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม มีแต่เสียง 2/7/2017 - อินคา VS ไอยคุปต์
ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สวัสดีครับ สมาชิกห้องเพลงทุกๆท่าน วันนี้วันอาทิตย์ MC WANG JIE (แอ๊ด) เข้าประจำการ อีก 1 วันครับ
วันนี้ เล่าเรื่องราวของ ชาวอินคา และนครลับแล มาชูปิกชู ต่อจากเมื่อวานอีกนิดหนึ่ง และจะข้ามทวีปไปที่อียิปต์ เพื่อเปรียบเทียบ "ศิลปะ และวิทยาการ" ของชนสองดินแดนที่ห่างไกลกันมากๆ จะว่ากันตอนหลัง แต่ตอนนี้ มาคุยกันต่อจากเมื่อวานครับ
Machu Picchu กลายเป็นเมืองร้างได้อย่างไร ? นักประวัติศาสตร์ได้พบว่า มาชู ปิคชู ได้ถูกสร้างขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 เพื่อเป็นที่พำนักของนักบวช พระราชวงศ์ คนงาน และสตรีจำนวนประมาณ 1,000 คน ลักษณะอาคารและสิ่งก่อสร้างแสดงให้เห็นว่า เมืองถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งสำหรับทำเกษตรกรรม และอีกส่วนหนึ่งเป็นสถานปกครอง ความโดดเด่นของเมืองคือตำแหน่งของอาคารต่างๆ ถูกจัดวางอย่างกลมกลืนกับธรรมชาติโดยรอบ ขนาดของอาคารแสดงว่า ในยุคนั้นมีผู้คนอาศัยประมาณ 1,000 คน อาศัยอยู่ในเมืองนี้ และบ้านคนชั้นต่ำจะอยู่ชั้นล่างๆ แต่บ้านชนชั้นสูงจะอยู่ชั้นสูงขึ้นไป บางบ้านไม่มีหลังคา เพื่อให้นักบวชได้สังเกตดูดวงอาทิตย์ และดาวต่างๆ บนท้องฟ้า การรู้จักทำพื้นที่เพาะปลูกเป็นขั้นๆ ตามไหล่เขา แสดงให้เห็นว่าชาวอินคามีความรู้และความสามารถด้านเกษตรกรรมและนิเวศวิทยา เป็นอย่างดี เพราะในเมืองมีสะพาน ท่อระบายน้ำ อุโมงค์ และหอคอยให้ทหารได้สอดแนมดูข้าศึกจากระยะไกลด้วย
บิงแฮมเชื่อว่า มาชู ปิคชู คือพระราชฐานสำหรับพักผ่อนของ พาชาคูเต้ (Pachacute) ผู้เป็นกษัตริย์พระองค์แรกแห่งอาณาจักรอินคา การวิเคราะห์โครงกระดูก 174 ชุดที่ขุดได้ ทำให้เขารู้ว่าโครงกระดูก 150 ชุดเป็นของสตรี ดังนั้น บิงแฮมจึงสันนิษฐานว่า เมื่อกองทัพสเปนบุกเข้ายึดครอง กษัตริย์อินคาได้นำสตรีหลายคนมาหลบซ่อนที่มาชู ปิคชู เพื่อให้เหล่านางทำพิธีสวดมนต์ภาวนาของความช่วยเหลือจากเทพเจ้า และทำการบนบานขอให้เทพเจ้าสาปแช่งผู้บุกรุก แต่คำอธิษฐานทั้งหลายไร้ผล มาชู ปิคชู ยังเป็นที่หลบซ่อนตัวของเหล่าสตรีชาวอินคาอยู่อีก 40 ปี จนสตรีเหล่านั้นมีอายุมากขึ้นๆ และได้ล้มตายไปจนหมด.......นักวิชาการหลายคน ไม่เชื่อในข้อสันนิษฐานนี้ แต่ในวารสาร "ไทม์" ฉบับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2004 นักโบราณคดีอเมริกันชื่อ ริชาร์ด เบอร์เก้อร์ (Richard Burger) แห่งมหาวิทยาลัยเยล ก็มีความคิดเห็นสอดคล้องกับบิงแฮมว่า มาชู ปิคชู มิใช่ศาสนสถาน แต่เป็นพระราชฐานสำหรับพักผ่อนพระอิริยาบถของกษัตริย์แห่งอินคาและเหล่าพระราชวงศ์ เบอร์เก้อร์ ได้ข้อสรุปนี้จากหลักฐานที่ จอห์น ฮาวแลนด์ โรว์ (John Howland Rowe) ได้พบเมื่อ 15 ปีก่อนนี้ว่า พระบรมวงศานุวงศ์ของกษัตริย์พาชาคูเต้ ได้เคยฟ้องร้องต่อศาลเปรู ขอกรรมสิทธิ์เหนือมาชู ปิคชู คืนจากรัฐบาล (เอกสารการฟ้องร้องนี้ปัจจุบันก็ยังอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งเมืองคูซโก้) การติดตามวิเคราะห์ข้อมูลประเด็นนี้ทำให้ เบอร์เก้อร์ ได้ข้อสรุปใหม่ว่า มาชู ปิคชู เคยเป็นแหล่งพำนักของจิตรกรและศิลปินมากมาย โครงสร้างของกะโหลกศีรษะที่พบได้ช่วยให้เบอร์เก้อร์รู้ว่า ช่างประจำราชสำนัก ได้มาจากคนหลายเผ่า และมีจำนวนสตรีต่อบุรุษในอัตราส่วน 3 ต่อ 2 สตรีบางคนมิใช่สาวพรหมจารี เพราะหลายคนมีร่องรอยของการตั้งครรภ์ เพราะเหตุว่าการจะให้มาชู ปิคชู ดำรงสภาพเป็นพระราชฐานที่สูงเทียมเมฆ ต้องใช้งบประมาณเงินและกำลังคนมาก ดังนั้นหลังจากที่กษัตริย์ อะตาฮวลปา สิ้นพระชนม์แล้ว 80 ปี ชาวเมืองอินคาจึงพากันอพยพทิ้งเมืองไปอย่างถาวร แต่นักประวัติศาสตร์อีกหลายคนคิดว่า คงได้เกิดโรคระบาดอย่างรุนแรง ในอาณาจักร หรือมิฉะนั้น ชาวเมือง มาชู ปิคชู ก็ถูกชนเผ่าอื่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จนหมด ปริศนาการละทิ้งมาชู ปิคชู จึงยังคงมีอยู่ต่อไป เพื่อให้คนที่สนใจได้ไปเยือน
มีบางคนกล่าวอ้างว่า บิงแฮม มิได้พบ มาชู ปิคชู, นักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่า ชาวนาชาวเปรูคนหนึ่งคือ ออกุสติเน่ ลิซาร์ราก้า (Augustine Lizarraga) ได้พบเมืองลับแลนี้ก่อนในปี 1902 เพราะเขาได้เขียนชื่อของเขาด้วยถ่านดำบนกำแพงอาคารที่มาชู ปิคชู แต่ ลิซาร์ราก้า มิได้รายงานสิ่งที่เขาพบให้ใครรู้ ดังนั้นเครดิตการพบ มาชู ปิคชู จึงตกเป็นของ บิงแฮม แต่เพียงผู้เดียว
ในปี 1983 องค์การ UNESCO ได้ประกาศยกย่อง มาชู ปิคชู เป็นมรดกโลกที่สำคัญ ทุกวันนี้ มาชู ปิคชู คือสัญลักษณ์ของประเทศเปรู ที่มีนักท่องเที่ยวไปเยือนวันละประมาณ 2,000 คน และในปี 2013 เป็นปีครบหนึ่งศตวรรษแห่งการพบ มาชู ปิคชู ทางมหาวิทยาลัยเยล ได้ประกาศคืนสมบัติทุกชิ้นที่ขุดพบที่ มาชู ปิคชู แก่รัฐบาลเปรูทั้งหมด
เรื่องราวของ ชาวอินคา กับนครลับแล มาชู ปิคชู ก็มีเพียงเท่านี้ ต่อไป จะกล่าวถึง ความคล้ายคลึงกันของสองอารยธรรมสองทวีป....
ดังที่ได้กล่าวในตอนต้นของกระทู้เมื่อวานนี้ว่า อาณาจักรอินคา และไอยคุปต์ (อียิปต์) มีหลายสิ่งหลายอย่างที่คล้ายคลึงกันอย่างไม่น่าเชื่อ แน่นอนมันไม่ใช่เหตุบังเอิญ ต้องมีสาเหตุ ซึ่งจะเป็นเพราะเหตุใดนั้น คนก็ยังขบคิดสันนิษฐานกันต่อไป ยังหาข้อสรุปไม่ได้....แต่มีข้อสันนิษฐาน 2 ข้อที่ "เป็นไปได้" และถ้าเป็นจริงตามนั้น มันก็จะอธิบายความคล้ายคลึงกันต่างๆได้ลงตัว ข้อหนึ่งคือ ทฤษฎี "พระเจ้าจากอวกาศ" และอีกทฤษฎีหนึ่งคือ เป็นอารยธรรมส่งต่อจาก "แอตแลนดิส" ทวีปที่สาบสูญ (คงจะได้มาเล่าสู่กันฟังในโอกาสหน้า)
มาดูกันครับว่า สิ่งที่คล้ายคลึงกันอย่างมากมายเหล่านั้น มีอะไรบ้าง ?
(1) ปิรามิดลักษณะเดียวกัน : ทั้งปิรามิดของชาวอียิปต์โบราณ และชาวอินคา หรือก่อนอินคา ที่เหมือนกันคือ…เป็นปิรามิดที่สร้างด้วยก้อนหิน และสร้างเป็นขั้นบันได ท่ามกลางดินแดนเป็นทะเลทรายเลียบแม่น้ำ และสอดคล้องกับจุดสำคัญของพื้นที่, ทั้งสองแห่ง บรรจุศพไว้ภายใน
(2) ทำศพเป็นมัมมี่เหมือนกัน : ทั้งชาวอียิปต์โบราณ และชาวอินคาหรือก่อนอินคา เอาศพมาทำเป็นมัมมี่ เหมือนกัน มันหมายถึงชีวิตหลังความตายในโลกหน้า (หวังว่าวันหนึ่งข้างหน้าจะฟื้นคืนมาอีกครั้ง), มัมมี่ถูกบรรจุไว้ภายในปิรามิด พร้อมด้วยอาหารและเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆซึ่งเป็นของผู้ตาย, ทั้งสองอารยธรรม ต่างก็เชื่อในชีวิตหลังความตายเหมือนกัน
(3) มัมมี่นอนเอาแขนไขว้กัน เหมือนกัน : ทั้งชาวอียิปต์โบราณ และชาวอินคาหรือก่อนอินคา จัดวางศพที่ทำเป็นมัมมี่โดยให้แขนทั้งสองข้างไขว้กันวางบนอก...เพื่อแสดงสภาวะ "สมดุล" ระหว่างความตายกับการมีชีวิตอยู่ว่ามีเท่าเทียมกัน แขนทั้งสองข้างเป็นเครื่องบ่งชี้ความตรงกันข้ามที่สมดุลกันนี้ โดยไขว้กันบนหน้าอก
(4) ศพมีหน้ากากทองครอบศีรษะ เหมือนกัน : ทั้งชาวอียิปต์โบราณ และชาวอินคาหรือก่อนอินคา สวมหน้ากากทองคำให้กับศพ เป็นสัญลักษณ์การกลับเข้าสู่ความเป็นนิรันดร์, ซึ่งเป็น "อีกด้านหนึ่ง" ของผ้าที่คลุมหน้ามัมมี่นั้น, สู่บ้านในเบื้องบนในสวรรค์,ที่ซึ่งเป็นโลกวิญญาณอันเป็นนิจนิรันดร์ อันต่างจากโลกที่อยู่ด้วยกายเป็นการชั่วคราว, และสื่อถึงความเชื่อว่า ในขณะที่พวกเขายังอยู่ในนี้ จิตวิญญาณภายใน จะนำรูปแบบของความเป็นมนุษย์ไป และจะเปลี่ยนเป็นทองคำได้
(5) บ่วงสร้อยคอรูปสัตว์ เหมือนกัน : ทั้งชาวอียิปต์โบราณ และชาวอินคาหรือก่อนอินคา ยกย่องบูชาผู้ตาย ด้วยการสวมบ่วงสร้อยคอทองคำที่ตรงปลายทำเป็นรูปหัวสัตว์ 2 หัว หันหน้าออกไปในทิศตรงกันข้ามกัน, ซึ่งมีความหมายว่า พลังอำนาจของมนุษย์และสัตว์ของเรานั้นมีสภาพสมดุลกัน เท่าเทียมกัน และสงบ กับสถานที่แห่งพลังและความเป็นนิจนิรันดร์, สภาวะความ "สมดุล" นี้ ก็คือ วิธีเปลี่ยนแปลงสภาพทางเคมีของร่างกายนั้นสำเร็จบรรลุผล ก็จะกลายเป็นทอง (ตามความเชื่อของพวกเขา ทั้งสองอารยธรรม)
(6) ก้อนหินสร้างอิฐก่อกำแพงคล้ายกัน : ทั้งชาวอียิปต์โบราณ และชาวอินคาหรือก่อนอินคา ใช้ก้อนหินสร้างอิฐก่อกำแพงที่คล้ายกันมาก,แม้กระทั่งลงลึกในรายละเอียดของการแกะสลักนูนสูง หรือการ "อัด" เข้าไปในก้อนหิน, อะไรคือ ปริศนา ความลึกลับ และเหตุผลอธิบายได้ตรงนี้ ? มันสามารถอธิบายได้หรือไม่ ??
(7) การตัดก้อนหินที่แม่นยำเฉียบคม แบบเดียวกัน : ทั้งชาวอียิปต์โบราณ และชาวอินคาหรือก่อนอินคา ทำการตัดก้อนหินได้อย่างแม่นยำ เฉียบคม มีช่องว่างพอจะสอดกระดาษบางๆแผ่นหนึ่งเข้าไปได้เท่านั้นในระหว่างหินแต่ละก้อน และแทบจะไม่ใช้ปูนเลย, นี่คือสัญลักษณ์แห่งความสมบูรณ์ หรือใกล้เคียงความสมบูรณ์มากที่สุด ที่จะนำพาคนๆหนึ่งให้เข้าใกล้จิตวิญญาณและบ้านที่เป็นสวรรค์ และแหล่งกำเนิดอันเป็นนิรันดร์
(8) ประตูทางเข้าทรง 4 เหลี่ยมคางหมู เหมือนกัน : ทั้งชาวอียิปต์โบราณ และชาวอินคาหรือก่อนอินคา สร้างประตูทางเข้าทรง 4 เหลี่ยมคางหมูเหมือนกัน ซึ่งสื่อถึงความก้าวหน้าที่ยกระดับขึ้น, รูปทรง 4 เหลี่ยมคางหมูนั้นดูคล้ายกับ 3 เหลี่ยมหน้าจั่ว ซึ่งหมายถึงการขึ้นสวรรค์และการมีชัยเหนือจิตวิญญาณ, ประตูทรง 4 เหลี่ยมคางหมู มีในอารยธรรมเก่าแก่หลายแห่ง มันเกี่ยวข้องกับภาวะต่างๆของมนุษย์ที่เคยมีมาแต่อดีตกาลอันห่างไกล เมื่อผู้คนยังอยู่กันอย่างสงบและเข้าถึงสภาวะธรรมขั้นสูงสุด (นิพพาน) ได้, ประตูทางเข้านี้ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความมีปัญญาขั้นสูงที่เคยมีแห่งบรรพบุรุษ
นอกจากนี้แล้ว ทั้งชาวอียิปต์โบราณ และชาวอินคาหรือก่อนอินคา ยังทำรูปแกะสลัก "อสรพิษสมมาตรคู่แฝด" ไว้เหนือประตูทางเข้าสู่วิหารทรง 4 เหลี่ยมคางหมูนั้นด้วย เป็นความคิดที่จะทำให้พลังที่ตรงข้ามกันให้สมดุลกันให้ปรากฏในที่นี้, โดยผ่านสัตว์สองตัวนี้ในแนวสมดุลของสมมาตร, ภาพแห่ง "ความตรงกันข้ามที่สมดุล" นี้เป็นดุจ "อุดมคติ" ที่สั่งสอนกันมา ในการสร้างให้คนต้องเดินผ่านประตูทางเข้าเหล่านี้