รัฐบาลโปรดรับฟัง ปัญหาด้านแรงงานต่างด้าวจาก SME ก่อนท่านจะบังคับใช้กฎหมายด้วยเถิด

ผมเชื่อว่า คนเป็น SME น่าจะมีปัญหาร่วมกัน ไม่ต่างกันมากนัก โดยเฉพาะปัญหาเรื่องแรงงาน

และเรื่องแรงงานต่างด้าว เป็นเรื่องที่สำคัญมากในภาคผลิต และ บริการ

แต่รัฐบาลไม่เคยรับฟังปัญหา ไม่เคยสอบถามผู้ประกอบการ SME โดยเฉพาะ กิจการขนาดเล็ก ว่า มีปัญหาอะไรบ้าง วันนี้ก็เอาออกมาพูดเปิดอกเลยดีกว่า

๑. สมัยทำบัตรสีชมพู แล้วบอกว่า ครบกำหนดจะได้รับ พาตสปอร์ต กับ ใบอนุญาตทำงานเล่มสีน้ำเงิน รัฐบาล ทราบไหมว่า ที่ท่านทำ ONE STOP Service

มันดีมาก โดยเฉพาะ ได้ความร่วมมือ จากแรงงานจังหวัด สาธารณสุข และ ตม. แต่ ปัญหา คือ หลังจากได้บัตรสีชมพู และรอ พาตสปอร์ต เพื่อไปทำใบ

อนุญาตสีน้ำเงิน สิ่งที่ผู้ประกอบการคือ การพิสูจน์สัญชาติ และ สถานฑูต โดยเฉพาะ สถานฑูตกัมพูชา เป็นสถานฑูต ที่ไม่ให้ความร่วมมือใดๆ นอกจาก

ไปติดต่อ กับนายหน้า เพื่อเสียเงิน และการติดต่อกับนายหน้าที่เสียเงิน เค้าจะเอาใบรับตัวจริง เราไป และถึงเวลา บางทีก็อ้างว่า ใบรับหายไปแล้ว

(และเราจ่ายเงินไปแล้ว) สุดท้าย แรงงานต่างด้าวก็ไม่ได้ พาสสปอร์ต นี่คือปัญหาจริงๆ ที่เกิดขึ้น
ไปถาม สนง.แรงงาน เค้าก็บอกว่า คนละหน่วยงาน

ช่วยไม่ได้ ทั้งที่ ค่าใช้จ่าย ที่เกิดจริงจากภาครัฐ ต่อคน ไม่แพง ตอนทำบัตรสีชมพู จำได้รวมพิสูจน์สัญชาติ ประมาณ ห้าพันบาท ต่อคน ไม่รวม ค่ารถ

ค่าเสียเวลาที่ต้องพาแรงงานไปเอง แต่ ถ้าต้องจ่ายใต้โต๊ะ เพื่อให้ได้พาสสปอร์ต น่าจะต้องเพิ่มอีก สามสี่พันบาท ขึ้นอยู่กับช่วงเวลา

๒. แรงงานต่างด้าว ย้ายงานบ่อยมาก โอกาส ที่มีแรงงานต่างด้าว สิบคน เค้าจะอยู่กับ ผู้ประกอบการครบปี มีไม่ถึง สี่คน ถ้าเป็นแบบนี้ ผู้ประกอบการจะทำ

อย่างไร เมื่อคนออก ก็ต้องหาคนเข้า และ เนื่องจาก ลักษณะ แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงาน จะไม่เหมือน แรงงานไทย คือ แรงงานต่างด้าว จะเข้ามา

ทำงานเป็น กลุ่ม เป็น ครอบครัว ดังนั้น เมื่อเข้าจะไป ก็ไปเป็นกลุ่มเลย
คนเหล่านี้ เค้าไม่สนใจ กฎ ไม่เคยบอกก่อนล่วงหน้า หนึ่งเดือน หรือสิบห้าวัน

เมื่อเค้าจะไป รับเงินเสร็จ เค้าก็ไปเลย ไม่แม้จะบอกลา (จริงๆ แรงงานไทย ก็เป็น)

๓. ผู้ประกอบการไม่ใช่ อยากทำผิดกฎหมาย ถามท่านรัฐบาลเหอะ ท่านคิดว่า ผู้ประกอบการชอบเหรอ ที่เดี๋ยวมี ตำรวจ ตม. มาปิดหน้าร้าน เดี๋ยวก็ตำรวจ

ท้องที่ เดี๋ยวก็ แรงงานจังหวัด มาปิด ทุกคนอยากทำถูกกฎหมาย อยากให้ความร่วมมือ แต่กฎหมายที่ท่านออก ผุ้ประกอบการสามารถทำได้จริงหรือ

เอาแค่ แรงงานที่มีพาสปอร์ต มีใบอนุญาตทำงาน ต้องรายงานที่ ตม. ทุกสามเดือน ท่านทราบไหม เว็บที่ ตม. บอกว่า เข้ามารายงานตัวผ่านเว็บได้

มันใช้ไม่ได้ บางทีก็ใช้ได้ บางทีก็ใช้ไม่ได้ แล้ว  ตม. อยู่ไกลริบ ไม่มีรถเมล์ผ่าน เข้าซอยไป อยู่ในทุ่งนา (แปลกใจมาก ทำไม สนง.อื่นๆ เช่าตึกอยู่

ใจกลางเมือง แต่ สนง. ตม. ไปอยู่ในซอยลึก ไม่มีแม้รถสองแถวผ่าน) เอกสาร ที่ยื่นที่ ตม. ไม่เคยเป็นไปตามที่ ตม. ประกาศไว้ในเว็บ

เปลี่ยนแปลงตามใจ จนท. พึ่งเห็นตอนทำบัตร สีชมพู ที่ลดความยุ่งยากไปมาก ท่านรัฐบาล คนทำมาหากิน ไม่มีใครอยากทำผิดหรอก เพราะ ทุกคน

ไม่มีเงินเดือนประจำ ปิดร้านไป ก็คือ ไม่มีรายได้ ท่านเข้าใจไหม  ท่านเข้าใจไหม   ท่านเข้าใจไหม  ท่านเข้าใจไหม

สุดท้าย ถ้าท่านจะเอากฎหมายที่ออกมาใหม่ ท่านอยากจะปรับให้แรงเป็นล้าน ก็ได้ สะใจดี แต่ ท่านต้องทำให้ กฎหมายของท่านมันปฏิบัติได้

มีความเป็นไปได้  แก้ปัญหาที่เป็นอยู่ ไม่ใช่ ใช้วิธีเดิมๆ ที่มีกลุ่ม หนึ่งมารับผลประโยชน์ คนที่เสนอกฎหมายท่าน ก็กลุ่มเดิมๆ ที่เค้า ใช้กฎหมายเดิม

สร้างผลประโยชน์ให้กับเค้าอยู่ ท่านนายก ท่านไม่ทราบจริงๆหรือ


วิธีแก้ปัญหา

๑ ท่านสามารถออกบัตรสีชมพูได้ ผ่าน ONE Stop service แต่ บัตรนั้นเป็นบัตรเพื่อขึ้นทะเบียนให้ได้รู้ว่า แรงงานต่างด้าวคือใคร อยู่ที่ไหนในปัจจุบัน

ทำงานอะไร แต่ ขอให้ท่าน อนุญาตให้เปลี่ยนงาน เปลี่ยนนายจ้างได้ และ อย่าเปิดทำบัตรสีชมพู เพียงครั้งเดียว เพราะ เอ็มโอยู ไม่สามารถ ทันต่อ

ความต้องการแรงงาน
ท่านอาจจะออกบัตรสีชมพู แล้วกำหนดระยะเวลา หนึ่งปี ให้ไปทำพิสูจน์สัญชาติ แต่ถ้า ลูกจ้างอยู่ในระยะเวลา พิสูจน์สัญชาติ

แล้ว ทางสถานฑูต ไม่สามารถออกพาสปอร์ตให้ได้ ก็สามารถมาต่อ บัตรสีชมพูได้ จุดนี้ ท่านก็ไม่ต้องกังวน เรื่องความมั่นคง ผู้ประกอบการพร้อมรายงาน

ว่าเค้ามีลูกจ้าง ชื่ออะไร เป็นใคร หรือ ถ้าท่านจะให้ทำ เอ็มโอยู ระยะเวลา ให้ลูกจ้างกลับไปรอประเทศต้นทาง ต้องไม่เกิน สองอาทิตย์

ปัจจุบัน รอเป็นเดือนๆ สุดท้ายลูกจ้างก็ไปทำอย่างอื่น  พวกเค้าเป็นแรงงาน ถ้าต้องรอเป็นเดือนๆ อยากถามท่านนายก ว่า ท่านให้พวกเค้ากินอะไร ใช้จ่าย

อะไร เอาเงินที่ไหน

๒. บัตรสีชมพู ข้างหลัง ควรทำแบบบัตรบริจาคโลหิต สามารถ ต่อระยะเวลาได้ ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ถ้ามีลูกจ้างหลายๆคน คชจ. ต่อปี ทำบัตร

คนละ ห้าพันบาท ก็ยังพอรับได้ แต่อยากให้ จ่ายเป็นงวดๆ เช่น งวดละหกเดือน ท่านอยากเก็บภาษี การใช้แรงงานต่างด้าวก็ได้ แต่ขอให้จ่ายทุกๆ หกเดือน

ถ้าแรงงานคนนี้ออกไป เราก็ไม่ต้องมีภาระ ต้องจ่ายให้เค้าทั้งปี และ ถ้าเป็นไปได้ อยากให้มี สนง. แรงงานต่างด้าวโดยเฉพาะ เปิด ร่วมกับ ตำรวจ ตม.

อยู่ในแหล่งชุมชน ที่เข้าถึงได้ง่าย
แรงงานต่างด้าว เค้าจะได้สะดวกมารายงานตัว ถ้าเป็นไปได้ มีทุกอำเภอไปเลย แต่ละอำเภอ ก็มี ตำรวจ ตม. หนึ่ง

ท่าน คอยประจำการ รับรายงาน ทุกๆ สามเดือน เพราะ บอกแล้ว ว่าเว็บรายงานตัวมันใช้งานไม่ได้ หรือ จะอยู่ที่ อบต.ก็ได้ เพราะ อบต. ส่วนใหญ่ อยู่

ในชุมชน

สุดท้ายนี้ อยากย้ำอีกครั้ง ว่า ผู้ประกอบการ ไม่มีใครอยากทำผิดกฎหมาย แต่ กฎหมายของท่านที่ออกมา มันเอื้อประโยชน์ ให้กลุ่ม ขรช. กลุ่มหนึ่ง

หรือ หลายกลุ่ม ได้ประโยชน์ จากการเก็บส่วยในจุดนี้ ถ้าท่านนายก อยากแก้ปัญหาจริงๆ ท่านต้องรับฟัง คห. ผู้ประกอบการบ้างนะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่